Khamis, 27 Februari 2025

10 มีนาคม 2025 ครบ 116 ปี สนธิสัญญาอังกฤษ-สยาม 1909

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เมื่อ 10 มีนาคม 2025 ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็มีการจัดงานเสวนา สัมมนากัน เรื่องสนธิสัญญาอังกฤษ-สยาม 1909 หรือ Anglo-Siamese 1909 ในสนธิสัญญานั้นสยามให้อำนาจแก่อังกฤษเหนือ 4 รัฐมลายู ได้แก่รัฐกลันตัน รัฐตรังกานู รัฐเคดะห์ และรัฐเปอร์ลิส และอังกฤษให้อำนาจสยามเหนือปาตานี (สามจังหวัดชายแดนภาคใต้) 

ซึ่งเมื่อดูแผนที่อังกฤษปี 1862 (British Malaya Map 1862, By Lt Col. H.S. Thuillier, Surveyor General of India.)  ก็เขียนว่า รัฐกลันตัน รัฐตรังกานู เป็นรัฐ “Tributary to Siam but protected by treaty with the British Government” ส่วนรัฐเคดะห์ และปาตานี เป็น “Tributary to Siam” และอะไรทำให้รัฐเคดะห์ รัฐเปอร์ลิส เป็นส่วนหนึ่งรัฐที่อยู่ในอำนาจอังกฤษ ในขณะที่ปาตานีกลายเป็นมีสยามมีอำนาจเหนือ และสนธิสัญญานี้ นอกจากอักฤษกับสยามแบ่งอำนาจต่อกัน ยังมีการแลกเปลี่ยนดินแดนกัน โดยแบ่งเขตใหม่ มีผลทำให้มีการเปลี่ยนแปลงเขตแดนรัฐกลันตันกับเมืองระแงะ รัฐเคดะห์ (รวมกับตำบลปริก เป็นอำเภอสะเดา) รัฐเปอร์ลิสกับจังหวัดสตูล ในครั้งนี้จะขอกล่าวถึงเขตแดนรัฐกลันตันกับเมืองระแงะ  โดยใช้แม่น้ำสุไหงโกลก เป็นเขตแดน ดังนั้นดินแดนส่วนที่เป็นยือลี ดาบง ดินแดนของเมืองระแงะมอบให้รัฐกลันตัน ส่วนดินแดนรัฐกลันตันที่เรียกว่า Small corner of Norteast Kelantan มอบให้สยาม 


จัดตั้งเป็นอำเภอตากใบ (ประกาศจัดตั้งอำเภอตากใบ อำเภอสะเดา ดู ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศตั้งอำเภอสะเดา และอำเภอตากใบ เล่ม 26 หน้า 1107 ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 2 สิงหาคม ร.ศ. 128) ดินแดนในส่วนของรัฐกลันตัน ที่ต้องมอบให้สยาม เคยถาม ศ.ดร. นิอันวาร์ นิมาห์มุด นักประวัติศาสตร์นามอุโฆษชาวมาเลเซีย ว่ามีชาวรัฐกลันตัน ประมาณเท่าไรที่ตกค้างกลายเป็นชาวปาตานี ท่านตอบว่า ประมาณ 3,000 คน จากจำนวนนั้น เป็นเวลา 116 ปีต่อมา น่าจะลูกหลานเป็นหมื่นๆคน จากการไม่ยอมกลับไปอยู่ฝั่งรัฐกลันตัน เพราะยังรักไร่สวนของตนเอง ไม่อยากให้เราพูดถึง สนใจถึงสนธิสัญญาอังกฤษ-สยาม 1909 หรือ Anglo-Siamese 1909 แต่เราไม่ยอมศึกษาเนื้อหา ศึกษาความเป็นมาของสนธิสัญญา มีงานวิจัย วิทยานิพนธ์หลายเล่มทั้งไทย มาเลเซีย ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ หนึ่งในนั้นคือ วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของ Thamsook Numnonda เรื่อง Anglo-Siamese Negotiations 1909, University of London, 1966

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

Tiada ulasan: