Selasa, 1 Julai 2025

Wawasan Patani – sebuah puisi dari Patani

Oleh Nik Abdul Rakib Bin Nik Hassan

Kali ini akan kemukakan sebuah puisi tajuknya Wawasan Patani oleh Hamra Hassan. Puisi ini lahir dari idea memperjuangkan bahasa Melayu di Patani, Selatan Thailand oleh Dr. Phaosan Jehwe  Dan mendapat ilham dari sebuah puisi dari Sdr Haji Jawawi dari Brunei. Inilah sebuah puisi dengan tajuk “Wawasan Patani”

Wawasan Patani


Bahasa Melayu Bahasaku di Patani

Bahasanya lembut penuturannya indah

Bahasa Melayu bahasa perpaduan rumpunku

Bahasa penghubung antara Nusantara


Bahasa Melayuku Bahasa ibunda

tiada bahasa Melayuku hilanglah Melayu di bumi Patani

megah bertapak bahasa Melayu di Nusantara

mengharum wangi ke seluruh Nusantara


Bahasa Melayu bahasa bumi Patani

lambang  maruah bumi pertiwi

jadilah bumi Patani ini sebagai tanah Melayu

bahasa Melayu bangsa Melayu sebagai pasaknya


Bahasa Melayu Bahasaku di Patani

apakah wawasan pemuda untuk menjunjung

agar ia dapat menembusi dunia

dengan bermadah lantang dan lembut bicaranya


Bahasa Melayu kebanggaanku di  bumi Patani

bahasa Melayu jangan diganti bahasa asing

kerana bahasa Melayu melambangkan bangsa

Pemuda Patani menjagalah Warisan Patani


Hamra Hassan

Patani, Thailand Selatan.

Ahad, 29 Jun 2025

พบปะนักวิชาการระดับศาสตราจารย์ ดร. ชาวมาเลเซีย เชื้อสายไทยพุทธ

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

สืบค้นประวัติศาสตร์เมืองระแงะ  ตอนที่ 3

พบปะนักวิชาการระดับศาสตราจารย์ ดร. ชาวมาเลเซีย เชื้อสายไทยพุทธ

คณะศึกษาสืบค้นประวัติศาสตร์เมืองระแงะ  จาก ศูนย์สมุทรรัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มอ. ปัตตานี มีคุณ Na Nitchaya คุณ Sophia Hajisamae ร่วมกับ ศูนย์นูซันตาราศึกษา ได้เริ่มเข้าไปสัมผัสมหาวิทยาลัยมาเลเซียกลันตัน วิทยาเขตอำเภอยือลี รัฐกลันตัน เหตุที่พวกเราเข้าไปสัมผัสมหาวิทยาลัย เพราะนอกจากพวกเราทำการศึกษาค้นคว้าในเรื่องประวัติศาสตร์แล้ว พวกเรายังต้องดูด้านการพัฒนาการศึกษา การพัฒนาด้านเศรษฐกิจด้วย เพื่อเปรียบเทียบระหว่างเมืองระแงะเก่า ที่อยู่ฝั่งจังหวัดนราธิวาส และรัฐกลันตัน มหาวิทยาลัยมาเลเซียกลันตัน วิทยาเขตอำเภอยือลี เริ่มเปิดเต็มตัวเมื่อ 1 มกราคม 2012 มีเนื้อที่ 279 เอเคอร์ (669  ไร่) มีคณะอยู่ 3 คณะ คือ คณะอุตสาหกรรมเกษตร คณะธรณีศาสตร์ และคณะวิศวกรรมชีวภาพและเทคโนโลยี พวกเราได้ประสานกับอดีตรองอธิการของมหาวิทยาลัย คณะเราจึงได้เข้าพบผู้อำนวยการวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยมาเลเซียกลันตัน ซึ่งถ้าในประเทศไทย คงเป็นรองอธิการบดีวิทยาเขต เพราะประเทศไทยตำแหน่งรองอธิการบดีในบางมหาวิทยาลัยค่อนข้างจะเฟ้อ ที่มหาวิทยาลัยวิทยาเขตอำเภอยือลี มีผู้อำนวยการ เป็นชาวมาเลเซีย เชื้อสายไทยพุทธ หรือที่เรียกว่า ชาวสยาม คือ ศาสตราจารย์ ดร. Aweng A/L Eh Rak ถ้าแปลเป็นเป็นไทย ก็ ศาสตราจารย์ ดร. อาเว็ง บุตรชายไอ้รักษ์  เลยถามว่า ท่านอาจารย์มีชื่อทางภาษาไทยว่า อะไร ท่านตอบว่า ศาสตราจารย์ ดร. วิน ศรีสุวรรณ

Isnin, 23 Jun 2025

สืบค้นประวัติศาสตร์เมืองระแงะ เยี่ยมสุสานเจ้าเมืองสายบุรี มัยศูนย์อำยาจที่อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส

 โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

คณะศึกษาสืบค้นประวัติศาสตร์เมืองระแงะ  จาก ศูนย์สมุทรรัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา  มอ. ปัตตานี ร่วมกับ ศูนย์นูซันตาราศึกษา   เริ่มต้นเยี่ยมสุสานนิอาดัส เจ้าเมืองสายบุรีที่อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส เจ้าเมืองผู้เป็นพี่ชายของนิดียะห์ (?) เจ้าเมืองระแงะ ที่มีศูนย์อำนาจ ซึ่งสถานที่ตั้งศูนย์อำนาจมีสองเวอร์ชั่น ที่ต้องสืบค้นต่อไป สิ่งที่เห็นว่า ยังมีความผิดพลาดคือ ยังเขียนว่า สุสานเจ้าเมืองยี่งอ ทั้งที่ความจริง สมควรเขียนว่า สุสานเจ้าเมืองสายบุรี สมัยศูนย์อำนาจอยู่ที่ยี่งอ ดังที่ปรากฏในบันทึกของพงศาวดารเมืองปัตตานี ในประชุมพงศาวดารภาคที่ 3  ( หน้า 13 ปี 2473)  และหนังสือของ อ. บางนรา (หน้า 62 ปี 2523)


Isnin, 16 Jun 2025

คำว่า เงิน ในภาษามลายูจะเรียกว่า ดูวิต เป็นคำในภาษาฮอลันดา เดิมเป็นอัตราเงินที่ฮอลันดาใช้ในอินโดเนเซีย

นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน


คำว่าเงิน ในภาษามลายูจะเรียกว่า ดูวิต สำหรับในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเรียกว่า ดูวิ  ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ จะรู้จัก ดูวิ  ภาษามลายูส่วนหนึ่งนอกจากยืมคำภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษ ภาษาโปร์ตุเกส แล้วก็มียืมมาจากภาษาฮอลันดา คำว่า ดูวิต ดูวิ มาจากคำภาษาฮอลันดา เดิมคำว่า ดูวิต ดูวิ เป็นชื่ออัตราเงินของเจ้าอาณานิคมฮอลันดา หรือ VOC (Vereenigde Oostindische Compagnie) ที่ใช้ในอาณานิคมอินโดเนซีย  กล่าว่า คำว่า ดูวิต ดูวิ มีการใช้ในอินโดเนเซีย ตั้งแต่ปี 1726 ภาษามลายูที่ใช้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้จึงไม่ใช่ภาษาของคนชายขอบ แต่ถ้าคนที่ใช้มีการพัฒนาภาษาให้ดีขึ้น จะเป็นภาษาที่สามารถจะใช้สื่อสารทั้วโลกมลายู Malay Archipelago (อินโดเนเซีย มาเลเซีย บรูไน มลายูสิงคโปร์)







Sabtu, 14 Jun 2025

ปาตานีและปาหัง สองแห่งแรกที่เข้ารับศาสนาอิสลาม

 โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

ปาตานีและปาหัง สองแห่งแรกที่เข้ารับศาสนาอิสลาม

J.V. Mills เขียนบทความถึงบันทึกของ Godinho De Eredia ในบทความเรื่อง "Eredia Description of Malacca" ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารของ the Malayan Branch of the Royal Asiatic Society ตีพิมพ์เมื่อปี 1930 หน้า 49 โดยกล่าวว่า De Eredia ซึ่งเป็นชาวโปรตุเกส บันทึกไว้ในปี 1613 ว่า

ยิ่งกว่านั้น ศรัทธาแห่งมูฮัมหมัด (อิสลาม) ได้รับการยอมรับในปาตานี และปาหัง บนชายฝั่งตะวันออกของรัฐโยโฮร์ และในเกาะบางเกาะในหมู่เกาะที่มีกลิ่นหอม (น่าจะหมายถึงเครื่องเทศ) โดยเฉพาะในส่วนของบันตัมในเกาะชวา ต่อมาได้รับการยอมรับและสนับสนุนโดยพระราชินีของรัฐมะละกาในปี ค.ศ. 1411






Khamis, 5 Jun 2025

ถนนปาตานี เมืองกัวลาตรังกานู ความสัมพันธ์ระหว่างปาตานีกับรัฐตรังกานู

ความสัมพันธ์ระหว่างปาตานีกับรัฐตรังกานู   

ในประวัติศาสตร์ ได้บันทึกว่า สุลตานซัยนาลอาบีดิน (Sultan Zainal Abidin)  ซึ่งครองราชย์ระหว่าง 1725-1733 เป็นลูกบุญธรรมเจ้าเมืองปาตานี และได้แต่งงานกับนางรูกายะห ลูกพี่ลูกน้องเจ้าเมืองปาตานี การขึ้นครองรัฐตรังกานูของสุลตานซัยนาลอาบีดิน  มีผลทำให้มีผู้ติดตามชาวปาตานเดินทางไปตั้งถิ่นฐานในรัฐตรังกานูด้วย  เจ้าเมืองปาตานีจึงส่งผู้ติดตามชาวปาตานีเป็นจำนวน 80 ครอบครวไปยังรัฐตรังกานู  สําหรับชาวปาตานีที่อพยพมาพร้อมตุนซัยนาลอาบีดิน ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่หมู่บ้านปาตานี แม้ปัจจุบันหมู่บ้านจะไม่มีอีกแล้ว แต่ยังมีป้ายชื่อถนนบริเวณนั้นชื่อว่า ถนนปาตานี


Ahad, 1 Jun 2025

หมู่บ้านปูเลาดูยงกือจิล เมืองกัวลาตรังกานู

หมู่บ้านปูเลาดูยงกือจิล เมืองกัวลาตรังกานู หมู่บ้านที่เป็นที่สอนศาสนาของสองนักการศาสนาจากปาตานี คือ เชคอับดุลกาเดร์ บูกิตบายัส (วันอับดุลกาเดร์ บินันอับดุลราฮิม) และเชคดูยุง (วันอับดุลลอฮ บินวันมูฮัมหมัดอามีน) หวัง่ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐตรังกานูกับปาตานี จะมีการสานสัมพันธ์ตลอดไป