Jumaat, 30 Ogos 2013

31 สิงหาคม วันชาติมาเลเซีย : ความจริงที่เราต้องรู้เกี่ยวกับประเทศมาเลเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
สำหรับคนไทยโดยทั่วไป เรายังไม่ค่อยรู้เกี่ยวกับประเทศมาเลเซียมากนัก หรือถ้าเรารู้ก็อาจรู้เพียงเล็กน้อย จนอาจเรียกได้ว่ารู้น้อยมาก ทั้งๆที่ประเทศมาเลเซียถือเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ถือได้ว่ามีปัญหากับประเทศไทยน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ
 
 
ที่เราเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศมาเลเซีย เช่นวันชาติ หรือวันเอกราชของประเทศมาเลเซีย ซึ่งโดยสภาพความเป็นจริงแล้ว เรายังมีความเข้าผิดๆเกี่ยวกับวันสำคัญของประเทศมาเลเซีย  ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับวันสำคัญของประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดต่อกับจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา จังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล
วันที่ 31  สิงหาคม
เป็นวันชาติ หรือวันเอกราชของประเทศมาเลเซีย นั้นเป็นความเข้าใจของคนไทยโดยทั่วไป รวมทั้งคนมาเลเซียเองบางส่วนที่ไม่รู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของการจัดตั้งประเทศมาเลเซีย  ในความเป็นจริงแล้ว วันที่ 31  สิงหาคม ไม่ใช่เป็นวันเอกราชของประเทศมาเลเซีย ด้วยวันที่ 31  สิงหาคม 1957  เป็นวันเอกราชของประเทศมาลายา ซึ่งเป็นดินแดนในปัจจุบันของประเทศมาเลเซียที่ตั้งอยู่บนแหลมมลายู  โดยขณะที่ประกาศเอกราชของประเทศมาลายานั้น ยังไม่มีประเทศมาเลเซีย แต่ทางรัฐบาลมาเลเซียให้ความสำคัญกับ วันที่ 31  สิงหาคม มีการเฉลิมฉลองวันนี้อย่างใหญ่โต กลายเป็นที่เข้าใจว่า วันที่ 31  สิงหาคม เป็นวันเอกราช หรือวันชาติของประเทศมาเลเซีย ทั้งๆที่ขณะนั้นรัฐซาบะห์ และรัฐซาราวัค ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซียยังไม่ได้รับเอกราช ยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ
วันที่ 16  กันยายน
เป็นวันจัดตั้งประเทศมาเลเซีย  ก่อนหน้านี้ทางรัฐบาลมาเลเซียให้ความสำคัญกับวันนี้น้อยมาก ในขณะที่ทางรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัคจะให้ความสำคัญกับวันนี้เป็นอย่างมาก  ด้วยวันที่ 16  กันยายน 1963 เป็นวันที่ประเทศมาลายา รัฐซาบะห์ รัฐซาราวัค และสิงคโปร์ ได้ร่วมกันจัดตั้งประเทศมาเลเซีย แม้ต่อมาสิงคโปร์จะถูกให้ออกจากการเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซียก็ตาม  ในขณะที่มีการจัดตั้งประเทศมาเลเซียนั้น ประเทศมาลายาได้รับเอกราชแล้วเมื่อ วันที่ 31  สิงหาคม 1957  ส่วนรัฐซาราวัคได้รับเอกราชจากอังกฤษแล้วเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 1963 และรัฐซาบะห์ ได้รับเอกราชจากอังกฤษแล้วเมื่อ 31  สิงหาคม 1963
การจัดตั้งประเทศมาเลเซียนี้ สำเร็จขึ้นมาได้ก็โดยรัฐซาบะห์เสนอเงื่อนไข 20 ประการ  ส่วนรัฐซาราวัคเสนอเงื่อนไข 18 ประการ เพื่อให้ประเทศมาลายายอมรับ เมื่อประเทศมาลายายอมรับแล้ว ทั้งสองรัฐจึงพร้อมเข้าร่วมในการจัดตั้งประเทศมาเลเซีย ส่วนหนึ่งของเงื่อนไขเหล่านั้นก็ยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบัน เช่น
“มาเลเซีย” ต้องเป็นชื่อของประเทศที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่
ความเป็นจริงบรรดานักการเมืองในประเทศมาลายา พยายามที่จะให้ชื่อประเทศที่เกิดใหม่นี้ว่า ประเทศมลายูรายา หรือ Melayu Raya (The Great Malay)  แต่หนึ่งในเงื่อนไขของรัฐซาบะห์มีว่า ประเทศที่จัดตั้งใหม่นี้จะต้องใช้ชื่อว่าประเทศมาเลเซียเท่านั้น จะต้องไม่ใช้คำว่าประเทศมลายูรายา ด้วยกลุ่มชนเผ่าต่างๆในรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัคนั้นมีมากมาย กลุ่มประชากรในรัฐซาบะห์นั้นชนกลุ่มใหญ่ประกอบด้วยชาวกาดาซันดูซุน ชาวบาจาว ชาวมูรุต ฯลฯ และรัฐซาราวัคนั้นชนกลุ่มใหญ่ประกอบด้วยชาวอีบัน ชาวมลานาว ส่วนชาวมลายูในทั้งสองรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัคนั้นเป็นชนกลุ่มน้อย ไม่ใช่ชนกลุ่มใหญ่  ดังนั้นการใช้ชื่อประเทศใหม่นี้ว่า ประเทศมาเลเซีย จึงมีความเหมาะสมมากกว่า และชื่อมาเลเซีย หรือ Malaysia นี้ผู้ที่สร้างชื่อนี้ให้โด่งดังคือ Wenceslao Q. Vinzon นักการเมืองชาวฟิลิปปินส์ที่เขียนหนังสือชื่อว่า Malaysia Irredenta เป็นหนังสือที่เรียกร้องให้มีการรวมกลุ่มชาติพันธุ์มลายูเข้าด้วยกัน โดยเขียนในปี 1932  และเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาก็มีการค้นพบเอกสารในหอจดหมายเหตุรัฐซาบะห์ ในเอกสารที่ชื่อว่า Sabah Gazzete ฉบับปี 1897 ก็มีการบันทึกถึงคำว่า Malaysia และ Malaysian
“อำนาจพิเศษ”ของรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัค
ในข้อเรียกร้องของรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัค การเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซียนั้น ขอสงวนอำนาจพิเศษของตนเอง เช่นอำนาจในการบริหารรัฐ อำนาจตรวจคนเข้าเมือง ดังนั้นสิ่งที่เราไม่ค่อยรับรู้คือแม้แต่ในปัจจุบัน ผู้คนจากรัฐต่างๆในประเทศมาเลเซียที่ตั้งบนแหลมมลายู หรือรัฐในอดีตประเทศมาลายา เมื่อต้องการเดินทางไปยังรัฐซาบะห์หรือรัฐซาราวัคสามารถจะอาศัยอยู่ในรัฐทั้งสองได้เพียง 3 เดือนเท่านั้น ถ้าต้องการจะอยู่อาศัยนานกว่านั้นก็จำเป็นต้องทำ Work Permit หรือแม้แต่ข้าราชการจากรัฐในแหลมมลายู เมื่อต้องไปรับราชการในรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัค ก็ต้องทำ Work Permit

ตัวอย่างหนังสือเดินทางของข้าราชการครูจากรัฐเปรัคที่ต้องเดินทางไปทำงานในรัฐซาราวัค

 


Permata : Sebuah puisi dari Patani, Selatan Thailand.

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
บทกวีชื่อว่า Permataku เขียนโดย Hamra Hassan เป็นบทกวีที่บรรยายถึงดินแดนปัตตานีที่เต็มไปด้วยนักการาสนาอิสลาม ที่สร้างชื่อเสียงให้กับปาตานี
                           Permataku
                  Darussalam nama negeriku
                  Darul Maarif nama tanahairku
                  Darul  Fatanah nama bumiku
                  Negeriku,  Tanahairku,  Bumiku
                  Disinilah nama nama besar  Al-Fatani di     
                  Nusantara
                  Sheikh Daud Abdullah
                  Sheikh Ahmad Mohd. Zain
                  Tengku Mahmud Zuhdi di Darul Ehsan
                  Sheikh Ahmad Nor di Darul Iman
                  Sheikh Ibrahim di Darul Amanata
                  Syeikh Abdul Qadir Abdur Rahman di 
                  Patani
                  Sheikh Abdul Rahman Gudang di Siak 
                  Seri Indrapura
                  Sheikh Abdul Jalil di Mempawah 
                  Kalimantan
                  Syeikh Ali bin Faqih di Kalimantan Barat
                  Nama -namamu membungai
                  Negeriku,  Tanahairku,  Bumiku,
                  Jasa -jasamu menyinari
                  Negeriku,  Tanahairku,  Bumiku,
                 Permataku,
                 Engkaulah membungai, menyinari
                 Manusia di seluruh Nusantara.
                  
                               Hamra Hassan

Sabtu, 24 Ogos 2013

ภาษามลายูอักขระยาวี : จังหวัดชายแดนภาคใต้ และโลกมลายู

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
                จากการเกิดเหตุการณ์ไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้นับตั้งแต่ปี 2547  สิ่งหนึ่งที่รัฐไทยใช้ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว คือการคืนอัตลักษณ์มลายูกลับคืนสู่สังคมมลายูในพื้นที่ดังกล่าว  และหนึ่งในนั้นคือการส่งเสริมให้มีการเพิ่มภาษามลายูอักขระยาวีในป้ายสถานที่ราชการต่างๆ ซึ่งมีการดำเนินการทั้งในระดับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และในระดับจังหวัดต่างๆ โดยเฉพาะจังหวัดปัตตานี  แต่การเพิ่มภาษามลายูอักขระยาวีในป้ายสถานที่ราชการต่างๆนั้น เต็มไปด้วยอุปสรรค ด้วยภาษามลายูอักขระยาวีในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นมีหลากหลายสำนักแนวคิด
                ก่อนที่ชาวมลายูจะรับศาสนาอิสลามนั้น ชาวมลายูก็มีอักขระที่ใช้อยู่แล้ว เรียกว่าอักขระปัลลาวา ต่อมาเมื่อชาวมลายูเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม จึงมีการนำอักขระยาวีมาใช้  อักขระยาวีคือการนำอักขระอาหรับมาใช้ในการเขียนภาษามลายู พร้อมเพิ่มอักขระขึ้นมาใหม่ที่ไม่มีเสียงในภาษาอาหรับอีก 5 อักขระ คือ  چ ڠ ڤ ڽ ݢ  ปัจจุบันเพิ่มอักขระอีก 2 อักขระ คือ ۏ  ى (ไม่มี 2 จุดอยู่ใต้อักขระ สำหรับสระ เ-อ)
คำว่า อักขระยาวี (Aksara Jawi) เป็นที่เรียกกันในประเทศมาเลเซีย จังหวัดชายแดนภาคใต้ สิงคโปร์ และบรูไนดารุสสาลาม ส่วนในประเทศอินโดเนเซียนั้น จะเรียกว่า อักขระมลายูอาหรับ  เพื่อไม่ให้สับสนกับอักขระยาวีในประเทศดังกล่าว ด้วยอักขระยาวีในประเทศอินโดเนเซีย หมายถึงอักขระชวาที่ใช้ในการเขียนภาษาชวา แต่ถ้าใช้อักขระอาหรับที่มีการเพิ่มอักขระที่ไม่มีเสียงในภาษาอาหรับเหมือนอักขระยาวีในประเทศมาเลเซีย จังหวัดชายแดนภาคใต้ สิงคโปร์ และบรูไนดารุสสาลาม จะเรียกว่าอักขระเปฆอน (Aksara Pegon) ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เขียนภาษาชวาในสถานศึกษาศาสนาอิสลามในเกาะชวา
อักขระเปฆอน
ร้านค้าที่ค้าขายหนังสือศาสนาอิสลาม
หนังสือศาสนาอิสลาม
หนังสือศาสนาอิสลาม
รูปแบบการเขียนอักขระยาวีมีหลากหลายรูปแบบ แต่ที่มีชื่อเสียงคือการเขียนแบบซาอฺบา (Za’ba)  ซึ่งคิดค้นโดยนักวิชาการมาเลเซียที่ชื่อว่า Zainal Abidin Ahmad (Za’ba)  โดยเขาเขียนหนังสือชื่อ Daftar Ejaan Melayu (Jawi-Rumi) หรือ การสะกดภาษามลายู (อักขระยาวี-อักขระรูมี)ในปี 1949
.              ต่อมามีการพัฒนารูปแบบการเขียนอักขระยาวี  โดยในปี 1986 มีการเขียนหนังสืออีกเล่มชื่อว่า Pedoman Ejaan Jawi yang Disempurnakan หรือ แนวการสะกดอักขระยาวีที่สมบูรณ์แบบ เป็นหนังสือที่สรุปจากการประชุมสัมมนาการเขียนอักขระยาวีระดับชาติของมาเลเซียในปี 1984   และจากผลสรุปของการประชุมสัมมนาในปี 1984  รวมกับผลจากการประชุมการเขียนอักขระยาวีของศูนย์อิสลาม สำนักนายกรัฐมนตรี ปี 1991 และการสัมมนาการเขียนอักขระยาวีระดับชาติของมาเลเซียในปี 1993 โดยทางคณะกรรมการการสะกดอักขระยาวีของศูนย์อิสลาม สำนักนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย และสภาภาษาและวรรณกรรมของมาเลเซีย (Dewan Bahasa dan Pustaka) ได้ดำเนินกาศึกษในระหว่างปี 1993-1994




จนต่อมาทำให้เกิดพัฒนารูปแบบการเขียนอักขระยาวี ใช้ชื่อว่า Pedoman Umum Ejaan Jawi Bahasa Melayu หรือ แนวการสะกดอักขระยาวีในภาษามลายู ซึ่งกลายเป็นหนังสือชื่อ Daftar Kata Bahasa Melayu (Rumi-Sebutan-Jawi ( Jilid 1-2 หรือ รวมคำศัพท์ภาษามลายู (อักขระรูมีเป็นอักขระยาวี)  เล่ม 1-2 พิมพ์ในปี 2005 โดยสภาภาษาและวรรณกรรมของมาเลเซีย (Dewan Bahasa dan Pustaka) ซึ่งบางครั้งจะรู้จักในชื่อว่าการเขียนอักขระยาวีแบบเดวัน
อักขระยาวีแบบซาอฺบา (Za’ba)กับอักขระยาวีแบบเดวัน
                การเขียนอักขระยาวีแบบเดวันก็ยังคงใช้พื้นฐานของการเขียนอักขระยาวีแบบซาอฺบา (Za’ba)  เพียงมีการพัฒนา โดยการเพิ่มอักขระตัว V จาก و เป็น ۏ   รวมทั้งอักขระ ف  ที่ใช้ได้ทั้ง ป และ ฟ  เช่น فتا อ่านว่า เปอตา หมายถึง แผ่นที่ หรือ فجر อ่านว่า ฟายาร์ หมายถึง รุ่งอรุณ แต่การเขียนอักขระยาวีแบบเดวัน จะมีการแยกชัดเจนระหว่าง ป จะใช้ ڤ และ ฟ จะใช้ ف  คือ เปอตา จากเขียน فتا  กลายเป็น ڤتا  ส่วนคำว่า ฟายาร์ คงเดิมเป็น فجر
             ส่วนหนึ่งก็มีการเพิ่มอักขระ ا ในคำศัพท์เดิมที่ไม่มี เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน เช่น คำว่า เมือง หรือ บันดาร์ จาก بندر  มาเป็น باندر   คำบางคำมีการเขียนคำเดียว แต่อ่านได้ 2 แบบ เช่น لنتيق  อ่านได้ทั้ง ลันติก (แต่งตั้ง) และเลินติก (งอน) การเพิ่มอักขระ ا ในคำต่างๆเหล่านี้ ไม่ค่อยจะเป็นที่ยอมรับของคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยชินกับการเขียนในรูปแบบเดิม
                อักขระยาวีของจังหวัดชายแดนภาคใต้จะไปในทิศทางใด
                ถ้าเรายังยึดติดกับท้องถิ่น ยึดติดกับจารีตนิยม และต้องการให้คนในท้องถิ่นอ่าน ต้องการให้คนในท้องถิ่นนิยม ก็ต้องใช้ในรูปแบบของอักขระยาวีแบบซาอฺบา (Za’ba)  แต่ถ้าเราต้องการให้สอดคล้องกับการใช้อักขระยาวีในประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และบรูไน เราก็ต้องใช้อักขระยาวีแบบเดวัน แม้ในระยะแรกๆอาจจะไม่ได้รับการยอมรับ และถูกต่อต้านบ้างจากผู้คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 
เมื่อประชาคมอาเซียนเกิดขึ้นในปี 2558 อะไรจะเกิดขึ้นกับการใช้ภาษามลายูอักขระยาวีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถ้าเราจะผลิตตำราศาสนาอิสลามในภาษามลายูอักขระยาวี เพื่อจัดจำหน่ายในประเทศเพื่อนบ้านเช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ และบรูไนดารุสสาลาม  เราก็ต้องปรับตัวการใช้ภาษามลายูอักขระยาวีให้เหมือนเขา จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ใช่วิ่งอยู่กับที่  แต่ต้องเคลื่อนไปข้างหน้า เคลื่อนให้ทันการใช้ภาษามลายูอักขระยาวีในประเทศเพื่อนบ้านดังกล่าว

Isnin, 12 Ogos 2013

แบกเป้ลุยกลุ่มประเทศอินโดจีน ตอน 3 : ผจญภัยในประเทศเวียดนาม

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2013 เมื่อได้ประทับตราหนังสือเดินทางที่ด่านน้ำพาวของประเทศลาวแล้ว รถบัสได้เดินทางไปล่วงหน้า ไปรอที่ด่านด่านเก่าแจว (Cau Treo) ของฝั่งประเทศเวียดนาม  ทำให้คณะนักศึกษามลายูศึกษาต้องเดินเท้าจากด่านนำพาวของประเทศลาวไปยังด่านเก่าแจว (Cau Treo) ของฝั่งประเทศเวียดนามทางเป็นระยะทางไกลพอควร แต่ก็ไม่ได้กังวล ก็อย่างที่กล่าวไว้ตั้งแต่ต้น นอกจากที่ได้ทำการบ้าน โดยการสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตแล้ว อาจารย์วาสน์ มุขยานุวงศ์ ก็เป็นอีกท่านหนึ่งที่ให้ข้อมูลการเดินทางตลอดการเดินทาง 
 อาจารย์วาสน์ มุขยานุวงศ์
อาจารย์วาสน์ มุขยานุวงศ์ ใช้เฟสบุ๊คแนะนำการเดินทาง
การเดินเท้าครั้งนี้สร้างความตื่นเต้นพอควร ข้อมูลที่ค้นหามาได้บอกว่าให้เดินตามชาวเวียดนาม ชาวลาวที่เดินทางไปยังด่านฝั่งประเทศเวียดนาม คณะนักศึกษามลายูศึกษาก็เดินตาม แต่รู้สึกว่าการเดินเท้าของคณะนักศึกษามลายูศึกษาอาจช้าไปบ้าง ทำให้บางช่วงต้องรีบเร่งให้ทันพวกเขา  สภาพภูมิประเทศและบรรยากาศทั้งในฝั่งประเทศลาวและฝั่งประเทศเวียดนาม เหมือนเป็นการเดินทางอยู่บริเวณเทือกเขา อยู่ในที่สูง  ฝั่งด่านประเทศลาวนั้นไม่มีสภาพความเป็นชุมชนบริเวณชายแดนเลย มีเพียงร้านค้า 2-3 ร้านเท่านั้น 
 รถบรรทุกซุงจากลาว
 รถบรรทุกซุงจากลาว
 อาคารก่อนเข้าตรวจคนเข้าเมืองฝั่งเวียดนาม
 กำลังปรับพืนที่ ถนน


 สู่ด่านตรวจคนเข้าเมืองฝั่งเวียดนาม
 หลักกิโลเมตรบริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองเวียดนาม
หลักกิโลเมตรบอกระยะทาง
ในระหว่างทางไปยังด่านของเวียดนาม ก็จะเริ่มเห็นการก่อสร้างอาคาร นอกจากนั้นเต็มด้วยรถบรรทุกไม้ซุง น่าจะมาจากประเทศลาวเพื่อไปยังประเทศเวียดนาม เมื่อถึงด่านฝั่งประเทศเวียดนาม เรียกว่า ด่านด่านเก่าแจว (Cau Treo) ก็ยังคงไม่มีชุมชนในบริเวณนั้น  ที่ด่านของฝั่งประเทศเวียดนาม คณะนักศึกษามลายูศึกษาได้พบกับคณะชาวตะวันตกอีกกลุ่มหนึ่ง ไม่รู้ว่าด้วยความเป็นชาวต่างชาติหรือเปล่า ทำให้คณะนักศึกษามลายูศึกษากับกลุ่มชาวตะวันตกต้องจ่ายค่าอะไรก็ไม่รู้ 2 หมื่นดอง คิดเป็นเงินไทยประมาณ 30 บาท 
สองหมื่นดอง จ่ายโดยไม่มีใบเสร็จ
ไม่รู้ว่าค่าอะไร จ่ายให้เจ้าหน้าที่ตม.เวียดนาม
เก็บภาพหน้าตม.เวียดนาม
เก็บภาพเริ่มเข้าสู่ประเทศเวียดนาม
กระเป๋าหน้าเสื้อผ้า กระเป๋าหลังเสบียงอาหาร
รอเพื่อนๆประทับตราหนังสือเดินทาง
นักแบกเป้จากรูสะมิแล ม. สงขลานครินทร์ ปัตตานี
พาเจ้าตัวน้อยลุยอินโดจีน
ตอนนั้นกำลังงงกับการเรียกเก็บเงินที่ไม่มีใบเสร็จเหมือนประเทศลาว จึงไม่ได้คำนวณว่าคิดเป็นเงินไทยได้เท่าไร ส่วนในใจก็กำลังเดือดกับระบบการเก็บอย่างนี้ ในขณะที่ประเทศเวียดนาม กับประเทศไทย มันก็อยู่ในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันแล้ว แต่ยังมีระบบลักษณะนี้อีก สิ่งแรกที่คิดในขณะนั้นคือ ที่คิดว่าประเทศเวียดนามจะสามารถทันประเทศไทยในการพัฒนาด้านต่างๆนั้น คงจะไม่ใช่แล้ว สิ่งเล็กๆน้อยๆแค่นี้ยังแก้กันไม่ได้ แล้วนับประสาอะไรกับปัญหาใหญ่อื่นๆ
เมื่อเสร็จจากการประทับตราหนังสือเดินทางแล้ว ก็เดินทางต่อไปหารถบัสที่คณะนักศึกษามลายูศึกษาขึ้นมาจากประเทศลาว คณะนักศึกษามลายูศึกษาต้องตกใจกับกระเป๋า สัมภาระของพวกเราที่ถูกทิ้งกองไว้ ไม่ไกลจากรถบัส เพื่อรอการสแกนตรวจ  เพื่อเสร็จสิ้นการแสกนแล้ว คณะเราก็นำกระเป๋า สัมภาระไปเก็บไว้ในรถบัส แล้วขึ้นรถบัสเมื่อเดินทางต่อไป
ถนนระหว่างทาง ผลาดเมื่อไร ลงเหวเมื่อนั้น
ถนนที่แคบ จนน่ากลัว
ตลอดการเดินทางช่วงแรกจะเป็นการเดินทางบนเทือกเขา ที่สูง ถนนค่อนข้างแคบ บางช่วงน่าหวาดเสียว นักศึกษาคนหนึ่งบอกว่าเขาสามารถถ่ายภาพที่น่าหวดเสียวนั้นได้ ปรากฏว่าเป็นถนนด้านหนึ่งทรุด  นั้นหมายถึงว่าถ้ารถบัสไปก็จะตกเหวแน่นอน  ไม่มีการป้องกัน แจ้งเตือน ถ้าเป็นการเดินทางในช่วงกลางคืนก็น่าจะมีความเสี่ยงพอสมควร การเดินทางจากด่านเก่าแจว (Cau Treo)ของประเทศเวียดนาม ตั้งแต่เช้า โดยมีเป้าหมายกรุงฮานอย เมืองหลวงของประเทศเวียดนาม ต้องผ่านเมืองต่างๆ คณะของเราได้สัมผัสสภาพความเป็นบ้านเมือง วิถีชีวิตของชาวเวียดนาม  โดยเมื่อข้ามด่านมายังชายแดนเวียดนามแล้วจะถึงเมืองวินห์ ซึ่งเป็นเมืองเอกของจังหวัดเหง่อานและยังเป็นบ้านเกิดของโฮจิมินห์ วีรบุรุษของประเทศเวียดนามอีกด้วย วินห์ถือเป็นเมืองขนาดใหญ่แห่งหนึ่งและเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยอันดับสามของประเทศ จุดเด่นของเมืองคือสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่มีอนุสาวรีย์ของโฮจิมินห์ตั้งอยู่เพื่อเป็นเกียรติ จุดนี้ยังเป็นแหล่งรวมตัวของผู้คนในเมืองอีกด้วย

แม้ว่าช่วงอาหารเที่ยงจะมีการแวะจอดกลางทาง แต่คณะนักศึกษามลายูศึกษาก็ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ ดังนั้นเสบียงอาหาร ขนมต่างๆที่มีตราฮาลาจากประเทศไทยและมาเลเซีย ที่ซื้อที่สถานีขนส่งสายใต้นครหลวเวียงจันทนของประเทศลาวซึ่งเป็นอาหารเช้าเที่ยงของคณะเรา ตลอดเส้นทางสิ่งที่ผู้เขียนกลัวที่สุดคือการเดินทางถึงกรุงฮานอยในเวลากลางคืน ตามที่ได้ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต เพราะเมื่ออ่านข้อมูลเหล่านั้น สร้างความหวาดกลัวพอสมควร ด้วยจะเต็มไปด้วยรถแท็กซี่ รถรับจ้างมาถามที่คณะเราจะไป เราต้องปฏิเสธ แล้วหารถข้างนอกสถานี นอกจากนั้นยังมีรถเมล์สาย 8 ไปยังบริเวณ ทะเลสาบฮว่านเกี๋ยม ( Hoan Kiem Lake) ซึ่งก็เป็นแหล่งที่มีโรงแรม และนักท่องเที่ยวชอบไปพักบริเวณนั้น 
ราวบ่ายสี่กว่ารถบัสก็เดินทางถึงสถานีขนส่งแห่งหนึ่งของประเทศเวียดนาม ก่อนการเดินทางได้ตรวจร้านอาหารอิสลามในกรุงฮานอยกับอินเตอร์เน็ต ปรากฏว่ามีร้านอาหารหนึ่งชื่อว่า ร้าน Nisa Restaurant แถมในรูปมีโรงแรมตั้งอยู่ข้างๆ  เป็นโรงแรมที่ไม่แพงนัก  แต่เมื่อโทร ถามปรากฏว่า เป็นโอเปอเรเตอร์รับสายจากประเทศมาเลเซีย จึงไม่ได้จองไว้ ดังนั้นจึงเก็บที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของโรงแรมไว้ เพราะคิดว่าน่าจะเป็นโรงแรมที่ดีที่สุด เพราะตั้งอยู่ข้างร้านอาหารฮาลาล
ที่สถานีขนส่งของประเทศเวียดนาม คณะนักศึกษามลายูศึกษาได้พบชาวเวียดนามคนหนึ่ง รู้ภายหลังว่าเป็นเจ้าพนักงานการตลาดของบริษัทแห่งหนึ่ง คณะเราขอความช่วยเหลือให้เขาโทรไปถามว่าโรงแรม The Asia Paradise ตั้งอยู่บริเวณไหนของกรุงฮานอย หลังจากนั้นเขาบอกมีรถเมล์ไปยังบริเวณโรงแรมดังกล่าว แต่คณะเรามีจำนวนมากเกินไปและมีกระเป๋าสัมภาระ จึงให้เขาช่วยหาแท็กซี่เพื่อพาคณะของเราไปยังโรงแรมดังกล่าว จากสถานีขนส่งแห่งนั้น ไปยังบริเวณที่ตั้งของโรงแรมค่อนข้างไกล ค่ารถแท็กซี่ค่อนข้างแพง แต่ด้วยแต่ละคันมีนักศึกษา 4-5 คน จึงใช้วิธีเฉลี่ยค่ารถ ทำให้แต่ละคนรู้สึกว่าค่ารถไม่แพงมากนัก  รถแท็กซี่เวียนหาโรงแรม จนในที่สุดก็ได้เจอโรงแรมที่เราต้องการ หลังจากนั้นผู้เขียนกับนักศึกษาอีกสองคน จึงเข้าไปสอบถามราคาที่พัก ปรากฏว่าแพงกว่าที่โฆษณาในอินเตอร์เน็ต  แต่ก็ดีใจที่ยังมีห้องว่าง และสามารถพักอยู่ใกล้กับร้านอาหารมุสลิม
เพิ่งขึ้นสถานีรถบัส กรุงฮานอย
สภาพสถานีรถบัสกรุงฮานอย
อาคารหนึ่งภายในสถานีรถบัส
ชาวเวียดนามผู้ใจดี ช่วยติดต่อสถานที่ตั้งโรงแรม
เมื่อคณะนักศึกษามลายูศึกษาเข้าที่พัก อาบน้ำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กลางคืนเราก็ออกจากโรงแรมเพื่อไปทานอาหารมื้อแรกในประเทศเวียดนามที่ร้าน Nisa Restaurant  ที่ร้านอาหารแห่งนี้ ก็ได้เจอกับนักศึกษาจาก Singapore Management University ประเทศสิงคโปร์ 2 คน มาเที่ยวประเทศเวียดนาม นอกจากนั้นยังได้พบสามีภรรยารุ่นหนุ่มสาวคู่หนึ่งจากประเทศมาเลเซีย โดยภรรยาเป็นศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยมาลายา ก็สามารถสร้างเครือข่ายศิษย์เก่าได้อีกคน พอช่วงท้ายก็ได้เจอกับชาวมาเลซียที่มาทำงานกับบริษัทระหว่างประเทศที่ทำธุรกิจในกรุงฮานอย ซึ่งเขาแจ้งว่านอกจากร้านนี้แล้วยังมีร้านอาหารฮาลาลอีกร้านหนึ่งเป็นของชาวอินเดียมาเลเซียมุสลิม หรือที่รู้จักในนามของชาวมามะ (Mamak) ราคาอาหารที่ร้านนี้อาจไม่แพงสำหรับชาวสิงคโปร์ และมาเลเซียที่พกพาเงินเพื่อการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ แต่ว่าราคาอาหารที่ร้านนี้ค่อนข้างจะแพงสำหรับคณะของเรา ซึ่งจัดอยู่ในประเภทแบกเป้  เมนูทั้งหมดจะมีกำกับด้วยภาษามลายู นั้นแสดงว่าเป็นร้านสำหรับนักท่องเที่ยวสิงคโปร์ มาเลเซีย หรืออินโดเนเซีย โดยเฉพาะ  ราคาข้างผัดจานละ 95,000 ดอง หรือ 140 บาท  นับว่าไม่ใช่ธรรมดาสำหรับคณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยภูมิภาคเช่นเรา 
เจอกับศิษย์เก่าม.มาลายา
ข้าวมื้อแรกในกรุงฮานอย
ถ่ายภาพกับนักศึกษาสิงคโปร์
ป้าย เมนู ราคาอาหาร
มื้อที่อร่อยที่สุดมื้อหนึ่ง
แค่จานละร้อยกว่าบาท !!!
นักศึกษาชายหนึ่งเดียวของทริปนี้กับเจ้าตัวน้อยที่มีทุกทริป
ด้วยคณะเรามีเวลาที่กรุงฮานอยค่อนข้างจำกัด เพราะผู้เขียนกำหนดเดินทางแบกเป้ลุยกลุ่มประเทศอินโดจีนในเวลาที่ใกล้จะเปิดเทอม ดังนั้นแต่ละประเทศ แต่ละเมืองคณะเราจะอยู่เพียงวันสองวันเท่านั้น ไม่เช่นนั้นคณะเราจะเดินทางถึงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เมื่อมหาวิทยาลัยได้เปิดเทอมแล้ว ยังจากคณะของเราได้เดินท่องราตรีกรุงฮานอย  สิ่งแรกที่คณะเราเดินทางคือบริเวณทะเลสาบฮว่านเกี๋ยม (Hoan Kiem Lake) เพื่อหาโรงละครหุ่นกระบอกน้ำ  นับเป็นเรื่องที่ตลก หรือเรียกว่าไม่ทำการบ้านของเราก็ได้ คือการเดินทางมาประเทศเวียดนามครั้งนี้ เราไม่ได้หัดพูด ท่องจำภาษาเวียดนามแม้แต่สักคำเดียว เมื่อหาโรงละครหุ่นกระบอกน้ำ  เราเลยไม่รู้ว่าในภาษาเวียดนาม หรือแม้แต่ภาษาอังกฤษเรียกว่าอะไร  ใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษที่สื่อถึงโรงละคร และทำมือเป็นกำลังเชิดหุ่น วนไป วนมาบริเวณทะเลสาบฮว่านเกี๋ยม (Hoan Kiem Lake) ถามตำรวจบ้าง วัยรุ่นบ้าง ในที่สุดก็เจอ แต่ปรากฏว่าโรงละครหุ่นกระบอกน้ำปิดแล้ว เขาเปิดรอบค่ำราวทุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นช่วงที่เราเพิ่งจะถึงโรงแรมที่พักด้วยซ้ำ   และจะมีรอบพรุ่งนี้ราว สามโมงเย็น ซึ่งก็เป็นเวลาที่คณะเราต้องเดินทางต่อไปยังเมืองโฮชิมินห์ สรุปคะเราก็ต้องทำใจ ไม่สามารถดู ละครหุ่นกระบอกน้ำ
    
โรงละครหุ่นกระบอกน้ำ
ในช่วงที่ท่องราตรีกรุงฮานอยนั้น แม้ว่าจะมีเวลาที่น้อยนิด แต่คณะเราก็เก็บเกี่ยวประสบการณ์ ศึกษาสภาพบ้านเมือง วิถีชีวิตของชาวกรุงฮานอย   ซึ่งนับว่าเป็นประสบการณ์ที่น่าประทับใจเป็นอย่างยิ่ง เมื่อเห็นว่าได้เวลาพอสมควร คณะเราก็เดินเท้ากลับไปยังโรงแรมที่พัก  ในโรงแรมได้เปิดทีวีของประเทศเวียดนาม แม้จะรู้ว่าฟังเท่าไรก็ไม่เข้าใจ แต่เปิดไว้เพื่อให้ภาษาเวียดนามเป็นที่คุ้นหูขณะที่อยู่ในประเทศเวียดนาม  ก็ต้องแปลกใจ เมื่อปรากฏว่าหนังการ์ตูนที่โด่งดังของประเทศมาเลเซียที่ชื่อว่า Upin Ipin ก็มีการเปิดฉายในทีวีของประเทศเวียดนามด้วย ด้วยภาษาเวียดนาม ผู้เขียนเริ่มรู้สึกว่าประเทศมาเลเซียได้เริ่มรุกทางเศรษฐกิจเข้าไปยังประเทศเวียดนามแล้ว
กับอนุสาวรีย์ในกรุงฮานอย
หน้าอนุสาวรีย์ในกลางกรุงฮานอย
บนถนนในกรุงฮานอย
ภาพแม่ค้ากำลังขายผลไม้
ในวันรุ่งขึ้น 28 พฤษภาคม 2013 ในช่วงเช้า เพื่อเป็นการประหยัดเงิน  เมื่อสอบถามได้ความว่าทางโรงแรมที่พักมีบริเวณน้ำร้อน ทางคณะเราทานอาหารเช้าด้วยหมี่สำเร็จรูปหลากหลายยี่ห้อที่มีตราฮาลาล ที่ซื้อเป็นเสบียงมาจากประเทศไทย  จากเมื่อคืนที่ได้พูดคุยกับพนักงานโรงแรมให้จองที่นั่งรถไฟเพื่อเดินทางไปยังเมืองโฮชิมินห์ ปรากฏว่าที่นั่งมีไม่พอกับจำนวนนักศึกษา  ทำให้ตัดสินใจเดินทางไปเมืองโฮชิมินห์กับรถ Sleeping Bus แต่ก็หวั่นกับความปลอดภัย เพราะระยะทางค่อนข้างไกลมาก แต่ในเมื่อไม่มีทางเลือก ก็จำเป็นต้องไปกับรถ Sleeping Bus  จากนั้นก็สอบถามบริเวณที่ตั้งของมัสยิดในกรุงฮานอยกับพนักงานชาวเวียดนามมุสลิมของร้าน Nisa Restaurant น่าจะเป็นชาวจามว่ามัสยิดอยู่ห่างจากบริเวณที่ตั้งของร้านอาหารไหม เมื่อทราบที่ตั้งพร้อมที่อยู่ในภาษาเวียดนามสำหรับรถแทกซี่ คณะเราก็เรียกรถแทกซี่ เพื่อให้พาไปยังมัสยิดดังกล่าว
พนักงานโรงแรมเอเชียพาราไดซ์ กรุงฮานออย
ทานหมี่แห้งยี่ห้อไทย มีตราฮาลาล ที่ล๊อบบี้โรงแรม
เก็บภาพที่ล๊อบบี้โรงแรม
ที่มัสยิดดังกล่าว มีชื่อว่ามัสยิด อัลนูร์ (Masjid Al-Noor) คณะเราก็เขาไปสำรวจสภาพภายในมัสยิด ด้วยชาวจามมุสลิมในกรุงฮานอย ค่อนข้างมีน้อย มัสยิดแห่งนี้จึงเป็นที่ก่อสร้างโดยชาวมุสลิมอินเดีย  ด้วยคณะเราเดินทางไปมัสยิดไม่ตรงกับช่วงการละหมาด ทำให้ไม่พบผู้คนภายในมัสยิด  ภายหลังจากเก็บภาพเป็นที่ระลึกแล้ว คณะเราก็เดินทางกลับไปยังโรงแรม เพื่อเตรียมกระเป๋า สัมภาระในการเดินทางต่อไปยังเมืองโฮชิมินห์   เมื่อเตรียมกระเป๋า สัมภาระเรียบร้อยแล้ว คณะเราก็สั่งข้าวที่ร้าน Nisa Restaurant สำหรับทานเป็นอาหารเย็นหรือค่ำระหว่างการเดินทาง  สำหรับผู้เขียนต้องการประหยัดจึงหลีกเลี่ยงสั่งข้าว แต่กลับสั่งโรตี ที่บ้านเราเรียกว่า โรตีจายา (Roti canai) มา  1 ชุด แต่พนักงานร้านบอกว่าโรตี 1  ชุดเล็กมาก สมควรสั่ง 2 ชุด ผู้เขียนจึงสั่ง 2 ชุด เมื่อรับโรตี 2 ชุด แล้วก็ยังรู้สึกว่าน้อยมาก และแทบลมจับ เมื่อราคาโรตี 2 ชุด ราว 300 บาท  จึงเพิ่งนึกได้ว่าโรตีนั้น น่าจะมีการนำเข้ามาจากประเทศมาเลเซีย ทำให้ราคาค่อนข้างจะสูงมากๆๆ สูงกว่าราคาข้าวผัดเสียอีก

โรงแรมเอเชียพาราไดซ์
กลางกรุงฮานอย
ที่มัสยิดอัล-นูร์ กรุงฮานอย
สติกเกอร์ประกาศห้ามใช้โทรศัพท์ภายในมัสยิด เป็นภาษามลายู
ภายในบริเวณมัสยิดอัล-นูร์
หน้ามัสยิดอัล-นูร์
เมื่อได้อาหารที่สั่งแล้ว ทางพนักงานโรงแรมจึงเรียกแทกซี่เพื่อให้ส่งคณะของเราไปยังสถานที่จอดรถ Sleeping Bus ซึ่งจะออกเดินทางไปเมืองโฮชิมินห์ ราวบ่ายสามโมงเย็น   รถ Sleeping Bus คันที่จะไปยังเมืองโฮชิมินห์ มีสภาพที่แตกต่างจากรถ Sleeping Bus จากนครหลวงเวียงจันทน์ไปยังกรุงฮานอย  รถSleeping Bus จากนครหลวงเวียงจันทน์ไปยังกรุงฮานอย  เป็นรถมีที่นอน 2 ชั้น มี 2 แถว แถวหนึ่งสามารถนั่งนอนได้ 2 คน  ส่วนรถ Sleeping Bus จากกรุงฮานอยไปเมืองโฮชิมินห์ แม้จะเป็นรถมีที่นอน2 ชั้น เหมือนกัน แต่มี 3 แถว แถวหนึ่งนั่งนอนได้ 1 คน ซึ่งน่าจะดีกว่า มีความเป็นส่วนตัวมากกว่า
รถ Sleeping bus ที่จะไปเมืองโฮชิมินห์

พ่วงมาลัยรถอยู่ทางซ้ายมือ
สภาพรถ Sleeping bus
เก็บภาพที่ระลึกในรถ Sleeping bus
ที่นั่งชั้นสองของ Sleeping bus
ที่นั่งชั้นสองของ Sleeping bus ไปเมืองโฮชิมินห์
ลุยเวียดนาม 44 ชั่วโมงบนรถ Sleeping bus
ระยะทางอันยาวไกลบนรถ  Sleeping bus
ชายเดียวแห่งคณะนักศึกษามลายูศึกษา
เจ้าตัวซนลุยเวียดนาม
การเดินทางที่ค่อนข้างจะใช้เวลาที่นานมาก มีการพักแวะตลอดระยะทาง  ข้อดีของการเดินทางด้วยรถ Sleeping Bus มีมากกว่าการเดินทางด้วยรถไฟ ตรงที่สามารถดูสภาพบ้านเมือง สภาพวิถีชีวิต ทิวทัศน์ ผ่านเมืองต่างๆที่ได้จดจำในแผนที่ประเทศเวียดนาม  การเดินทางช่วงนี้ถือเป็นการเดินทางที่ทรหดที่สุดของคณะนักศึกษากลุ่มนี้ เพราะใช้เวลาถึง 2 คืน บนรถ Sleeping Bus  หลังจากรถ Sleeping Bus ออกจากกรุงฮานอยแล้ว พอช่วงเย็นก็มีการจอดทานอาหารเย็น แต่คณะนักศึกษาของเราก็ใช้วิธีทานอาหารที่ซื้อมาจากร้าน Nisa Restaurant  ตลอดการเดินทางในช่วงกลางคืน ก็นอนพักด้วยความเหน็ดเหนื่อย
วันที่ 29 พฤษภาคม 2013 ตลอดทั้งวันคณะเราอยู่บนรถ Sleeping Bus แม้ว่าทั้งในช่วงเวลาอาหารเช้า อาหารเที่ยง และอาหารเย็น รถ  Sleeping Bus  จะจอดตามรายทาง เพื่อให้ผู้โดยสารลงมาทานอาหารแต่คณะนักศึกษามลายูศึกษาก็ไม่สามารถทานอาหารได้ ดังนั้นอาหารเช้าของคณะนักศึกษาก็ยังคงเป็นเสบียงอาหาร ขนมที่ซื้อมาจากประเทศไทย และสถานีขนส่งสายใต้นครหลวงเวียงจันทน์  ส่วนผู้เขียนก็เช่นกัน เพียงแถมด้วยโรตีที่เหลือจากเมื่อคืนอีกส่วนหนึ่ง  สำหรับอาหารเที่ยงก็เช่นเดียวกัน คณะเราก็ทานอาหาร ขนมที่ซื้อมาจากประเทศไทย และสถานีขนส่งสายใต้นครหลวงเวียงจันทน์   คณะนักศึกษามลายูศึกษาเริ่มอ่อนล้าอย่างเห็นชัด ถามคณะนักศึกษาว่าจะมาแบบนี้อีกไหม เสียงส่วนใหญ่ปฏิเสธบอกว่าไม่เอาแล้ว ลำบากทั้งการเดินทาง ลำบากทั้งอาหารการกิน  ตลอดทางบางคนก็เอาแต่หลับด้วยความเหน็ดเหนื่อย บางคนก็ถ่ายเก็บภาพเป็นที่ระลึก บางคนสนุกกับการดูสภาพบ้านเมือง ส่วนอาหารเย็นก็ไม่ต่างจากอาหารมื้อเช้า และมื้อเที่ยง แต่เสบียงเริ่มเหลือน้อยมาก ผู้เขียนจึงต้องแบ่งส่วนหนึ่งให้กับนักศึกษาบางคน  กลางคืนแต่ละคนก็หลับด้วยความเหน็ดเหนื่อยเหมือนเดิม
สภาพทุ่งนาเวียดนาม
รุ่งเช้าแรกของการเดินทางอันยาวนาน 44 ชั่วโมงบนรถ Sleeping bus
โรตี 4 แผ่าเล็กๆบางๆราคาเกือบ 300 บาท
แวะจอดทานอาหารกลางทาง อาศัยอาหารจากกรุงฮานอย
แวะพักทานอาหารกลางทาง
ป้ายแหล่งจอดรถของบริษัทรถ Sleeping bus
บรรยากาศระหว่างทาง
ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2013 วันนี้ถือเป็นวันที่รอคอยของคณะนักศึกษา ด้วยวันนี้รถ Sleeping Bus  จะเดินทางถึงเมืองโฮชิมินห์  ระหว่างทางเมืองแล้ว เมืองเล่าที่คณะเราคิดว่าน่าจะถึงเมืองโฮชิมินห์แล้ว แต่ก็ไม่สักครั้ง จนในที่สุด รถ Sleeping Bus  ก็เดินทางเข้าเมืองโฮชิมินห์จริงๆ เมื่อสังเกตป้ายร้านค้าเขียนว่าตั้งอยู่ในเมืองโฮชิมินห์ มีการเขียนชื่อเขตและชื่อเมืองโฮชิมินห์  เมื่อรถถึงสถานีรถขนส่งของเมืองโฮชิมินห์แล้ว มีรถแท็กซี มีรถจับจ้างสอบถามสถานที่ที่เราจะไป สิ่งแรกที่ต้องทำคือให้คณะนักศึกษารวมกลุ่มกัน จากนั้นให้บางคนเฝ้ากระเป๋า สัมภาระ ส่วนบางคนก็ไปทำธุระส่วนตัวในห้องน้ำภายในบริเวณสถานีขนส่ง  หลังจากนั้นให้ไปรวมกลุ่มกันภายในอาคารของสถานีขนส่ง
สภาพการจราจรในเมืองโฮชิมินห์
รถ Sleeping bus จอดที่สถานีรถเมืองโฮชิมินห์
จากนั้นผู้เขียนได้ติดต่อซื้อซิมโทรศัพท์ด้วยภาษาใบ้จากร้านค้าในอาคารดังกล่าว เต็มได้ด้วยความลำบาก สื่อสารกันคนละช่อง ใช้เวลานานกว่าจะสำเร็จ เมื่อซื้อซิมแล้ว เพื่อป้องกันความผิดพลาดจึงให้ทางร้านเปิดซิม สุดท้ายทางร้านก็ต้องเปลี่ยนซิมใหม่อีกครั้ง เมื่อสามารถใช้โทรศัพท์ได้ ผู้เขียนก็โล่งอก เพราะในเมืองโฮชิมินห์ ผู้เขียนก็มีเครือข่ายพอสมควร  จึงได้โทรศัพท์ไปหาดร. ราชา สามัด ฮั่น  นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม เมืองโฮชิมินห์ ซึ่งงสำเร็จการศึกษาปริญญาโท ปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยมาลายา เขาแจ้งว่าให้ไปพักที่โรงแรมบริเวณตลาดเบนธังห์ ของเมืองโฮชิมินห์ เขาเห็นว่ามีชาวมาเลเซียจำนวนมากพักในบริเวณนั้น
จากนั้นจึงเรียกแท็กซี่มา 2 คัน เพื่อให้ไปส่งที่บริเวณตลาดเบนธังห์  ได้ตัดสินกับคณะนักศึกษาว่าเมื่อรถส่งไปที่โรงแรมใดในบริเวณตลาดเบนธังห์ ก็จะไม่เข้าไปพักทันที แต่จะให้วิธีสำรวจโรงแรมต่างๆที่อยู่ในบริเวณนั้น  ขณะรถแท็กซี่กำลังผ่านบริเวณใกล้เคียงตลาดเบนธังห์ ก็เห็นป้ายร้านค้าทั้งร้านอาหารฮาลาล ร้านขายเสื้อผ้ามุสลิม ที่เขียนป้ายเป็นภาษามลายู  เริ่มรู้สึกบริเวณตลาดเบนธังห์ น่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยว แหล่งซื้อสินค้าของชาวมาเลเซียจริง  เมื่อรถจอดที่หน้าโรงแรมแห่งหนึ่ง ก็ให้คณะนักศึกษารวมกลุ่มกันที่ข้างๆโรงแรมที่แท็กซี่จอด หลังจากนั้นผู้เขียนกับนักศึกษาอีกสองคน ก็เดินเท้าสำรวจ สอบถามราคาที่เห็นว่าไม่แพงนัก และคณะนักศึกษามลายูศึกษาสามารถพักได้  ด้วยการเดินทางของคณะนักศึกษาเริ่มมาค่อนทางด้วย งบประมาณจึงเริ่มเหลือไม่มากนัก ต้องประหยัดอย่างที่สุด ในที่สุดก็ได้เจอโรงแรมเล็กๆสะอาดส่วนราคานั้นเมื่อเราไม่ต้องการอาหารเช้าราคาก็ลดลงอีกอยู่ไม่ห่างจากบริเวณตลาดเบนธังห์มากนัก ชื่อว่าโรงแรมบอสส์ 
รวมกลุ่มข้างๆโรงแรม ก่อนจะไปสำรวจโรงแรมราคาปานกลาง
โรงแรมเล็กๆ ราคาปานกลาง เหมาะสำหรับนักแบกเป้อย่างคณะนักศึกษามลายูศึกษา
ที่ล๊อบบี้ของโรงแรมบอสส์ เมืองโฮชิมินห์
พร้อมหน้า พร้อมตาที่ล๊อบบี้โรงแรม
เมื่อเราเข้าพักที่โรงแรมเรียบร้อยแล้ว เวลาค่อนบ่ายคณะเราจึงเดินทางไปทานอาหารเที่ยงที่ร้านอาหารฮาลาล ซึ่งมีหลายร้านในบริเวณดังกล่าว  คณะเราเลือกร้านที่ไม่ใหญ่ ตั้งอยู่ชั้น 2 ของร้านขายเสื้อผ้า ที่คณะเราคิดว่าราคาน่าจะไม่แพงมากนัก  เมื่อเข้าไปชั้นบนของร้านอาหารดังกล่าว ได้ความว่าร้านนี้เป็นร้านสาขาจากร้านแรกที่มีลูกค้าชาวมาเลเซียเต็มตลอด จนต้องมาขยายสาขาที่บริเวณตลาดเบนธังห์  และสอบถามพนักงานร้านก็ได้ความว่าเป็นร้านที่ชาวมาเลเซียร่วมหุ้นกับชาวจามมุสลิมเวียดนาม  หลังจากนั้นก็ได้เดินทางเข้าไปในตัวอาคารตลาดเบนธังห์ ก็สร้างความตกใจเป็นอย่างมาก ปรากฏว่าพ่อค้า แม่ค้าเรียกคณะเราให้ซื้อสินค้าด้วยภาษามลายู ซึ่งพอจะพิสูจน์ได้ว่าบริเวณตลาดเบนธังห์เป็นแหล่งที่ชาวมาเลเซียมาจับจ่ายซื้อสินค้าจริง พอตอนค่ำดร. ราชา สามัด ฮั่น โทรศัพท์แจ้งว่าเขายังอยู่นอกเมืองโฮชิมินห์  จึงขอส่งนักศึกษาปริญญาโทของเขาที่ศึกษาเกี่ยวกับชาวที่ราบสูง ซึ่งอยู่ในกลุ่มชาวมลายู-โปลีเนเซียด้วย  พอนักศึกษาปริญญาโทชาวเวียดนามคนนี้ ซึ่งไม่ใช่ชาวจามมุสลิมมาพบ ปรากฏว่าเขาไม่สามารถพูดทั้งภาษามลายูและภาษาอังกฤษ  ถึงอย่างไร เราก็อุ่นใจบ้าง อย่างน้อยมีเจ้าถิ่นอยู่กับเรา  ปัญหา อุปสรรค ในการเดินทางน่าจะมีน้อยลง หรือความปลอดภัยของคณะเราก็น่าจะมีหลักประกัน
สาวชาวจามกำลังเชื้อเชิญคณะนักศึกษามลายูศึกษาทานอาหาร
ร้านกาซิม  บาบา ร้านร่วมทุนชาวมาเลเซียกับชาวจามเวียดนาม
ภายในร้านอาหารกาซิม  บาบา
ทานอาหารด้วยความอร่อย เมื่อไม่คิดถึงราคาที่ค่อนข้างแพง
นายกาซิม  บาบา (ซ้ายมือ) ผู้มาเปิดร้านอาหารสาขา 2 
กำลังคิดเงินว่า ทั้งหมดกี่แสนดอง 
ดังนั้นในช่วงค่ำนั้น คณะนักศึกษามลายูศึกษาจึงให้นักศึกษาปริญญาโทคนนั้นพาไปยังสถานที่ขายตั๋วรถที่จะเดินทางไปยังกรุงพนมเปญในวันพรุ่งนี้ หลังจากจัดการเรื่องตั๋วรถเรียบร้อยแล้ว จึงให้นักศึกษาปริญญาโทพาไปเยี่ยมมัสยิดกลางในเมืองโฮชิมินห์  เดินทางได้สักพักก็ถึงมัสยิดญามิอฺ เมืองโฮชิมินห์  คณะนักศึกษามลายูศึกษาจึงเข้าไปสำรวจสภาพมัสยิด  ขณะที่คณะเราเดินเข้าตัวอาคารมัสยิดก็พอป้ายที่เขียนด้วยภาษามลายูว่า ทางไปอาบน้ำละหมาด  และเมื่อเข้าไปยังตัวอาคารก็ได้เจอข้อความเขียนห้ามเปิดโทรศัพท์ในมัสยิด ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีชาวมลายู โดยเฉพาะชาวมาเลเซียเดินทางมายังมัสยิดแห่งนี้เป็นจำนวนมาก ต่อมาได้พบกับอิหม่ามและโต๊ะเซียะ มัสยิดญามิอฺ จากการพูดคุยด้วยภาษามลายู ปรากฏว่าอิหม่ามพูดภาษามลายูกลางได้ค่อนข้างดีมาก ถ้าไม่บอกว่ากำลังอยู่ในเมืองโฮชิมินห์  ก็จะนึกว่าอิหม่ามเป็นชาวมาเลเซีย  ก็ได้รับคำตอบว่าอิหม่ามเป็นชาวจังหวัดอันเกียงของประเทศเวียดนาม เคยไปศึกษาศาสนาอิสลามทั้งในประเทศมาเลเซีย และที่ปอเนาะดาลอ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี  ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นเป็นตัวเชื่อมระหว่างโลกมลายูกับโลกอินโดจีนอย่างแท้จริง  
บรรยากาศเย็นๆในเมืองโฮชิมินห์
เดิน  เดิน  เดิน กลางเมืองโฮชิมินห์
หน้ามัสยิดยามิอฺ กลางเมืองโฮชิมินห์
ป้ายภาษามลายูบริเวณมัสยิดยามิอฺ เมืองโฮชิมินห์
กับอิหม่ามมัสยิด ผลิตผลทางการศึกษาศาสนาจากมาเลเซียและปัตตานี
อิหม่าม ผู้เรียนศาสนาจากปอเนาะดาลอ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
เก็บภาพหน้ามัสยิดยามิอฺ กับเจ้าหน้าที่บริษัทเปโตรนัสมาเลเซีย (ขวามือสุด)
บรรยากาศการพักผ่อนกลางเมืองโฮชิมินห์
กลางเมืองโฮชิมินห์
โบสถ์คริสต์โบราณ กลางเมืองโฮชิมินห์
บรรยากาศกลางเมืองโฮชิมินห์
หน้าอนุสาวรีย์ลุงโฮ เมืองโฮชิมินห์
ร้านสะดวก Circle K
ตลาดกลางคืน เบนธังห์
หน้าอนุสาวรีย์กษัตริย์เหงียน เมืองโฮชิมินห์
ขณะที่เรากำลังจะถ่ายรูปหมู่หน้ามัสยิด ปรากฏว่าเจอกับชาวมาเลเซียคนหนึ่ง สอบถามได้ความว่าเขามาทำงานกับบริษัทน้ำมันเปโตรนัสของมาเลเซีย เขาบอกว่าในเมืองโฮชิมินห์ มีอาคารของบริษัทเปโตรนัสด้วย เมื่อเสร็จสิ้นการเยี่ยมมัสยิดแล้ว นักศึกษาปริญญาโทคนนั้นจึงพาคณะนักศึกษาไปเยี่ยมสถานที่สำคัญๆเท่าที่จะพาไปได้ในคืนนั้น ซึ่งก็ได้เก็บภาพเป็นที่ระลึกทั้งบริเวณอนุสาวรีย์ลุงโฮ  อาคารไปรษณีย์ยุคอาณานิคม  โบสถ์คริสเตียนยุคอาณานิคม และลานชาวเวียดนามเดินเล่น   เมื่อเห็นว่าสมควรแก่เวลา คณะนักศึกษามลายูศึกษาก็เดินเท้ากลับมายังบริเวณตลาดเบนธังห์ 
โดยแวะทานอาหารค่ำที่บริเวณตลาดดังกล่าว ซึ่งมีร้านอาหารมุสลิมชาวจามให้เลือกมากมาย  แต่สันนิฐานว่าน่าจะเป็นร้านอาหารที่ชาวมาเลเซียร่วมทุนกับชาวจามมุสลิมมากกว่า เพราะว่าแต่ละร้านจะมีชื่อเป็นภาษามลายูบ้าง มีธง หรือสื่อความหมายถึงความเป็นมาเลเซีย  นักศึกษาบางส่วนเข้าไปทานอาหารในร้านที่ค่อนข้างหรู จัดร้านค่อนข้างดี แต่บางคนก็มาทานอาหารกับผู้เขียนที่ร้านเดิมที่ทานช่วงเช้า เพียงร้านนี้พอช่วงกลางคืน แทนที่จะเปิดบริเวณชั้น 2 เหมือนช่วงกลางวัน กลับจัดร้านในพื้นที่ว่างหน้าร้านข้างถนน  นอกจากอาหารเมนูเหมือนเดิมแล้ว ยังมีการขายโรตี (Roti Canai) คนทำหน้าที่เป็นอินเดีย น่าจะเป็นชาวอินเดียมาเลเซียมุสลิม หรือที่เรียกกันว่ามามะ (Mamak)
ร้านอาหารฮาลาลกาซิม บาบา
บริเวณที่เต็มด้วยร้านอาหารฮาลาล
เต็มด้วยร้านอาหารฮาลาล คล้ายมินิมาเลเซีย
ร้านเสื้อผ้ามุสลิมฮายะหบาซีเราะห์
ร้านเสื้อผ้ามุสลิม ซาอิดะห์ อาซีซ
ร้านอาหารมุสลิม ฮัจญีบาซีเราะห์
 ร้านเสื้อผ้ามุสลิม มินห์คอลเลคชั่น
 ร้านอาหารมุสลิมชื่อมลายูว่า ซือไร (ตะไคร้)
 ร้านอาหารมุสลิม กาซิม บาบา
 ร้านอาหารมุสลิม กาซิม  บาบา
 ร้านอาหารมุสลิมกำปงมลายู
 หน้าร้านอาหารมุสลิมกำปงมลายู
 ร้านอาหารมุสลิมกำปงมลายู
 ร้านเสื้อผ้ามุสลิมซีนา คอลเลคชั่น
 ร้านเสื้อผ้ามุสลิม Wy & Rine
 ร้านเสื้อผ้ามุสลิม Cantik Style
 ร้านเสื้อผ้ามุสลิม Aysha Collection
 ร้านเสื้อผ้า Abdul Aziz & Saedah
 ร้านอาหารมุสลิม Serai (ตะไคร้)
ร้านอาหารมุสลิมชื่อมลายู ว่า ซือไร หรือ ตะไคร้
ร้านอาหารมุสลิม วารงไซ่งอน
ร้านอาหารและร้านเสื้อผ้ามุสลิมฮัจญีฮาลิม
ร้านเสื้อผ้ามุสลิมฮัจญีฮาลีม
ชาวมุสลิมจาม กำลังขายเครื่องแต่งกายมุสลิม บริเวณตลาดเบนธังห์
ก่อนหน้าการเดินทางมาประเทศเวียดนาม ผู้เขียนและทีมงานรายการ “ดีสลาตัน ณ แดนใต้” สถานีโทรทัศน์ช่อง ThaiPBS ได้เดินทางไปยังเมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน  ประเทศมาเลเซีย โดยไปถ่ายทำรายการเกี่ยวกับร้าน OTOP ของไทยที่ไปจัดจำหน่ายที่เมืองดังกล่าว  แต่ปรากฏว่าร้านได้เจ๊งก่อนหน้าที่ทีมงานรายการ “ดีสลาตัน ณ แดนใต้”จะไปเสียอีก เลยใช้วิธีแถมการสัมภาษณ์นักวิชาการในมหาวิทยาลัยมาเลเซียกลันตัน  หนึ่งในนักวิชาการผู้ให้สัมภาษณ์คือศาสตราจารย์ ดร. ฮารุน  ดาวุด ผู้ชำนาญด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นเมืองมลายู  ในมหาวิทยาลัยดังกล่าว เมื่อผู้เขียนบอกแก่คณบดีคณะนวัฒกรรม เทคโนโลยี และมรดกทางวัฒนธรรม ของมหาวิทยาลัยดังกล่าวว่าจะพานักศึกษาไปกลุ่มประเทศอินโดจีน ศาสตราจารย์ ดร. ฮารุน  ดาวุด ก็แจ้งว่าเขาจะไปประเทศเวียดนามเหมือนกัน เพื่อศึกษาเกี่ยวชนชาวจามมุสลิม แต่ผู้เขียนเพียงรับฟังไม่ได้สนใจมากนัก
ในกลางคืนของวันที่ 30 พฤษภาคม 2013 นั้น ไม่นึกว่า ณ บริเวณตลาดเบนธังห์จะได้พบกับศาสตราจารย์ ดร. ฮารุน  ดาวุด อีกครั้ง เขาก็แจ้งว่าดร. ราชา สามัด ฮั่น ส่งนักศึกษามาดูแลเหมือนกัน แต่เขาให้นักศึกษาคนนั้นกลับไป ด้วยมีปัญหาเรื่องพูดภาษามลายูและภาษาอังกฤษไม่ได้  แต่คณะนักศึกษามลายูรับไว้ อย่างน้อยก็อุ่นใจในเรื่องความปลอดภัย  เมื่อแต่ละคนเสร็จจากการทานอาหารแล้ว ก็ปล่อยเป็นอิสระ บางคนจะกลับโรงแรมที่พัก แต่ก็มีบางส่วนยังคงต้องการท่องราตรีบริเวณตลาดเบนธังห์ ก็ถือเป็นโอกาสสัมผัสวิถีชีวิตของชาวเวียดนาม
วันรุ่งขึ้น 31 พฤษภาคม 2013  ทางดร. ราชา สามัด ฮั่น และนักศึกษาปริญญาโทของเขาแจ้งว่าตอนนี้อยู่ที่ล๊อบบี้ของโรงแรม ผู้เขียนจึงรีบลงมา ร่วมไปทานอาหารเช้าที่ร้านบาซีเราะห์ (Basiroh)ซึ่งถือว่าเป็นร้านอาหารที่ราคาถูกกว่าร้านอื่นในบริเวณเดียวกัน  ตอนแรกนึกว่ามีการสั่งอาหารแบบเวียดนาม แต่เมื่ออาหารมาถึงกลายเป็นอาหารเช้าแบบมาเลเซีย คือข้าวที่เรียกว่า นาซีเลอมะ (Nasi lemak) และกะหรี่ปั๊บ ส่วนราคานั้น  ก็นับว่าถูกกว่าร้านอื่นจริง แต่เมื่อเทียบอาหารประเภทเดียวกันในประเทศมาเลเซีย ก็ยังนับว่ายังแพงพอควร  หลังจากนั้น ดร. ราชา สามัด ฮั่น ก็เดินทางกลับไปยังมหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม เมืองโฮชิมินห์ ส่วนนักศึกษาปริญญาโทก็ยังคงอยู่กับคณะนักศึกษามลายูศึกษา   เมื่อคณะนักศึกษามลายูศึกษาแต่ละคนได้ทานอาหารเช้าเรียบร้อยแล้ว และจัดเก็บกระเป๋า สัมภาระแล้ว ก็เดินทางไปยังสถานที่จอดรถเพื่อเดินทางไปยังกรุงพนมเปญต่อไป
ชาวรัฐตรังกานู(ที่สามจากซ้าย) แต่งงานกับชาวเมืองโฮชิมินห์ 
ทานอาหารที่ร้านอาหารมุสลิม
กับฮัจญีฮาลิม เจ้าของร้านอาหารมุสลิม ร้านเสื้อผ้ามุสลิม และกิจการการท่องเที่ยว
กับ ดร. ราชา สามัด ฮั่น นักวิชาการแห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม 
อาหารเช้าสไตล์มาเลเซีย ที่ร้านอาหารฮัจญีบาซีเราะห์
ข้าวสไตล์มาเลเซีย ที่เรียกว่านาซีเลอมะ
ดร. ราชา สามัด ฮั่น ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยมาลายา มาเลเซีย
กะหรี่ปั๊บเวียดนาม
ดร. ราชา สามัด ฮั่น กับศิษย์ที่ทำวิจัยเรื่องชนชาวที่ราบสูงตระกูลมลายู-โปลีเนเซีย
เก็บภาพที่ระลึกกับ ดร. ราชา สามัด ฮั่น
ฮัจญีบาซีเราะห์ เจ้าของร้านอาหารมุสลิม เจ้าของร้านเสื้อผ้ามุสลิม
กับ ดร. ราชา สามัด ฮั่น ที่ล๊อบบี้โรงแรมบอสส์
ด้วยระยะทางจากเมืองโฮชิมินห์ ไปกรุงพนมเปญใช้เวลาเพียง 6 ชั่วโมง ดังนั้นสภาพรถคันที่จะไปยังกรุงพนมเปญ จึงมีสภาพเหมือนกับรถบัสประเทศไทย หรือมาเลเซีย มีสภาพเป็นที่นั่งแบบทั่วๆไป เมื่อรถออกจากเมืองโฮชิมินห์  คณะนักศึกษามลายูศึกษาก็เก็บเกี่ยวภาพวิถีชีวิตของชาวเวียดนามที่ได้พบเห็นสองข้างทาง  รถวิ่งได้ไม่กี่ชั่วโมง ก็ถึงบริเวณชายแดนประเทศเวียดนาม-กัมพูชา  บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองฝั่งประเทศเวียดนาม มีชื่อว่าด่านหม็อกบ่าย (Moc Bai) จังหวัด.เตยนีง (Tay Ninh) ราว 80 กม.ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือนครโฮจิมินห์ 

 รถบัสสายเมืองโฮชิมินห์-กรุงพนมเปญ
 เตรียมเก็บกระเป๋า สัมภาระ เตรียมเดินทางไปกรุงพนมเปญ
 เก็บภาพบนรถบัสสายเมืองโฮชิมินห์-กรุงพนมเปญ
 ครั้งแรกรถบัสสายเมืองโฮชิมินห์-กรุงพนมเปญ
 ดีค่ะ !! รถบัสสายเมืองโฮชิมินห์-กรุงพนมเปญ
 เหนื่อยค่ะ รถบัสสายเมืองโฮชิมินห์-กรุงพนมเปญ
ยิ้มสู้ รถบัสสายเมืองโฮชิมินห์-กรุงพนมเปญ
ชายเดี่ยว บนรถบัสสายเมืองโฮชิมินห์-กรุงพนมเปญ 
 ขนมปังห้างบิ๊กซี ปัตตานี ขนมปังหมดอายุที่สามารถประทังชีวิตจนเข้ากัมพูชา
ขนมปังบิ๊กซี หมดอายุวันที่ 26 พฤษภาคม แต่ยังกินได้ในวันที่ 31 พฤษภาคม 
 สภาพการค้าขายริมทาง
 รถบัสภายในเมืองโฮชิมินห์
 สิ่งของ อุปกรณ์ของชาวเวียดนามที่จะไปประกอบอาชีพในกัมพูชา
 สภาพการใช้นรจักยานยนต์ในประเทศเวียดนาม
 อาคารตรวจคนเข้าเมืองหม็อกบ่าย ฝั่งประเทศเวียดนาม
 เก็บภาพหน้าอาคารตรวจคนเข้าเมืองหม็อกบ่าย ประเทศเวียดนาม
 ภาพหน้าอาคารตรวจคนเข้าเมืองหม็อกบ่าย ประเทศเวียดนาม
 สาวฉวยโอกาสกอดหนุ่มน้อยจอมซน หน้ารถที่จะพาไปกรุงพนมเปญ
ภาพที่ระลึกบริเวณตรวจคนเข้าเมืองหม็อกบ่าย ประเทศเวียดนาม
คณะนักศึกษามลายูศึกษาก็ลงจากรถบัส ก็เข้าอาคารตรวจคนเข้าเมืองของประเทศเวียดนาม เพื่อประทับตราหนังสือเดินทาง  เมื่อประทับหนังสือเดินทางเสร็จก็ขึ้นรถเพื่อข้ามไปยังด่านตรวจคนเข้าเมืองบ่าเว็ต (Ba Vet) ฝั่งประเทศกัมพูชา   คำกล่าวสุดท้ายที่ผู้เขียนกล่าวในใจ คือ บ๊าย บาย เวียดนาม หวังว่าโอกาสหน้าคงจะได้ไปเยี่ยมอีกครั้ง