Khamis, 29 Oktober 2020

นายอิสฮัก ฮัจญีมูฮัมหมัด (Ishak Haji Muhammad) นักต่อสู้ชาตินิยมฝ่ายซ้าแห่งมาเลเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน 

จะรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า Pak Sako ความจริงเป็นชื่อที่มากชื่อเขาในภาษาญี่ปุ่น นั้นคือ อิซาโกซัน (Isako-san) เขามีนามปากกาหลายชื่อ เช่น  Anwar, Hantu Raya, Isako San และ Pandir Modeเขาเกิดเมื่อปี 1909 ที่หมู่บ้านชื่อว่า  Kampung Bukit Seguntang อำเภอเตอเมอร์โล๊ะห์ รัฐปาหัง ได้รับการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนมลายูชื่อ  Sekolah Melayu Kg. Tengah อำเภอเตอเมอร์โล๊ะห์ ในปี 1919  ต่อมาเขาเรียนต่อที่ โรงเรียนอังกฤษชื่อว่า Sekolah Inggeris Clifford เมืองกัวลาลีปิส รัฐปาหัง ในปี  1924 จนถึง 1928   เขาจบประกาศนียบัตรการศึกษาจากโรงเรียนอังกฤษในอำเภอราอุบ รัฐปาหัง เมื่อปี 1929

ต่อมาเขาศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นที่วิทยาลัยมลายูกัวลากังซาร์ (Maktab Melayu Kuala Kangsar) หรือ  MCKK ซึ่งเป็นโรงเรียนชั้นนำ เพื่อทำหน้าที่เป็นข้าราชการของมาลายา (Malayan Civil Service). ในปี 1930  โดยเคยเขาทำงานเป็นผู้ช่วยปลัดอำเภอ ผู้พิพากษาชั้น 2 และอาจารย์สอนภาษามลายู  ก่อนที่เข้าสู่วงการเขียนหนังสือ   ในปี 1934  เขาลาออกจากราชการ  เขาเคยถูกจำคุก 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกในปี 1948 -1953 ครั้งที่สองในปี 1965-1966

ในปี 1938 เขาเป็นผู้ก่อตั้งองค์กรร่วมกับนายอิบราฮิม   ยะอากู๊บ  (Ibrahim  Yaakub) โดยใช้ชื่อว่า Kesatuan Melayu Muda ถือเป็นองค์การฝ่ายซ้ายแรกๆ ของชาวมลายูในบริติชมาลายา ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่สองได้ 2 ในปี 1945 ได้ร่วมการก่อตั้งพรรคการเมือง ชื่อว่าพรรคชาวมลายูแห่งชาติมาลายา หรือ  Parti Kebangsaan Melayu Malaya  ต่อมาได้รับเลือกเป็นรองประธานพรรคชาวมลายูแห่งชาติมาลายา

 

เป็นนักเขียนที่เขียนหนังสือตั้งแต่ทศวรรษที่ 1930 จนถึง1950  เคยทำงานกับหนังสือพิมพ์  Utusan Melayu   ภายใต้การนำของ Abdul Rahim Kajai  เขาเขียนนวนิยาย  เรื่องสั้น  บทความ  บันทึกความจำ   เฉพาะที่เก็บไว้ในหอสมุดแห่งชาติมาเลเซียมีมากกว่า 1,000 ชิ้น   ผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาคือ  Putera Gunung Tahan และ Anak Mat Lela Gila   เขาได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ด้านวรรณกรรมจากมหาวิทยาลัยมาลายาเมื่อ  29 มิถุนายน 1973     ต่อมาเมื่อเขาได้รับรางวัล  Pejuang Sastera จากนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย   เขาเสียชีวิตเมื่อ ที่  7 พฤศจิกายน November 1991 รัฐสลังงอร์ สุสานของเขาตั้งอยู่ที่บ้านเกิดของเขาที่รัฐปาหัง


นายอิสฮัก  ฮัจญีมูฮัมหมัด  เป็นนักชาตินิยม ที่มีความฝันในการจัดตั้งประเทศขึ้นมา เป็นการรวมชาติพันธุ์มลายูเข้าด้วยกัน โดยรวมอินโดเนเซีย มาเลเซีย บรูไน เข้าด้วยกัน

หนังสือของเขามีมากมาย เช่น

1.     Putera gunung tahan, Utusan Publications & Distributors, 2000.

2.     Memoir Pak Sako : putera gunung Tahan, UKM, 1997.

3.     Budak beca / Pak Sako, Marwilis Publisher, 1992.

4.     Biografi Pak Sako : hidup meniti ranjau (oleh Wahba), Dewan     

        Bahasa dan Pustaka, 1991

5.     Pepatah petitih , Creative Enterprise, 1989.

6.     Renungan Pak Sako

7.     Budak beca. Marang: Mohamad bin A. Rahman, 1957.

8.     Judi karam. Singapura: Geliga, 1958.

9.     Pengantin baru. Singapura: Geliga.

10.   Putera Gunung Tahan. Singapura: Geliga, 1937.

มีการนำชื่อของเขาไปตั้งชื่อถนน ชื่ออาคาร และอื่นๆ เช่น

1. ถนนปะซาโก (Jalan Pak Sako)  เมืองเตอเมอร์โล๊ะห์ รัฐปาหัง

2. วิทยาลัยปะซาโก (Kolej Pak Sako)  มหาวิทยาลัยอุตสาหกรรมแห่งรัฐสลังงอร์

3. สถาบันปะซาโก (Akademi Pak Sako) กัวลาลัมเปอร์ เป็นสถาบันฝึก อบรมด้านการเขียน

Khamis, 15 Oktober 2020

ประเทศสหพันธรัฐมาลายา

โดย นิอับดุลรากิ๊บ   บินนิฮัสซัน

สหพันธรัฐมาลายา

       จัดตั้งขึ้นเมื่อ 31 มกราคม 1948 ประกอบด้วย 11 รัฐในคาบสมุทรมลายู คือ 4 รัฐที่ตั้งอยู่ในรัฐมลายูที่เป็นสหพันธรัฐ (Federated Malay States), 5 รัฐที่ตั้งอยู่ในรัฐมลายูที่ไม่เป็นสหพันธรัฐ (Unfederated Malay States)และอีก 2 รัฐที่ตั้งอยู่ในสเตร็ทเซ็ตเติ้ลเมนท์ คือรัฐมะละกาและรัฐปีนัง โดยก่อนหน้านี้ ระหว่างปี 1946-1948  ทั้ง 11 รัฐข้างต้นทางอังกฤษได้จัดรวมกันเป็นสหภาพมลายา หรือ Malayan Union   แต่ได้รับการคัดค้านจากชาวมลายู ทางอังกฤษจึงได้เปลี่ยนระบบการปกครองจากสหภาพมาลายามาเป็นการจัดตั้งสหพันธรัฐมลายา    โดยสหพันธรัฐมาลายาได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อวันที่ 31  สิงหาคม  1957  มีตุนกูอับดุลราห์มาน ปุตราเป็นนายกรัฐมนตรี (Tunku Abdul Rahman Putra)


การลงชื่อสนธิสัญญา จัดตั้งสหพันธรัฐมาลายาที่ King House กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันพุธ ที่ 21 มกราคม 1948

การจัดตั้งประเทศมาเลเซีย

ประเทศมาเลเซียเกิดขึ้นจากความคิดของตุนกูอับดุลราห์มาน ปุตรา (Tunku Abdul Rahman Putra) โดยต้องการรวมสหพันธรัฐมาลายา, สิงคโปร์, ซาราวัค, บอร์เนียวเหนือ (ซาบะห์) และบรูไนเข้าด้วยกัน  สำหรับแนวคิดการจัดตั้งประเทศมาเลเซียนี้ได้มีการประกาศเมื่อ 27 พฤษภาคม 1961 แต่การเสนอจัดตั้งครั้งนี้ได้รับการต่อต้านและพบอุปสรรคหลายอย่าง เช่น

 

1.     เกิดการผจญหน้า (Confrontation) จากประเทศอินโดนีเซีย

2.     การเรียกร้องสิทธิของฟิลิปปินส์เหนือรัฐซาบะห์

3.     ได้รับการต่อต้านจากพรรคประชาชนบรูไน (Parti Rakyat  Brunei)

4.     ได้รับการต่อต้านจากบางพรรคการเมืองในรัฐซาราวัค

 

อย่างไรก็ตามการจัดตั้งประเทศมาเลเซียประสบความสำเร็จเมื่อ 16 กันยายน 1963  ในประเทศมาเลเซียนั้นถือว่าวันชาติของประเทศมาเลเซียคือ วันที่ 31  สิงหาคม  ส่วนวันที่ 16 กันยายน ถือว่าเป็นวันมาเลเซีย หรือวันจัดตั้งประเทศมาเลเซีย   บางคนอาจเข้าใจว่าชื่อของประเทศนี้มาจากการประดิษฐ์คำของชาวมาเลเซีย  ความจริงแล้วคำว่า มาเลเซีย หรือ Malaysia  นั้น มีมานานเป็นร้อยปีมาแล้ว แต่คนที่สร้างชื่อเสียงให้แก่คำว่า มาเลเซีย กลับเป็นชาวฟิลิปปินส์  มีชื่อว่า นายเวนเซสลาว  คิว. วินซันส์ (Wenceslao  Q. Vinzons)   เขาเขียนหนังสือเล่มหนึ่ง ในปี 1932  นายเวนเซสลาว  คิว. วินซินส์  ได้บรรยายถึงความเป็นของมาในเรื่องโลกมลายู-โปลีเนเซีย  เขาบรรยายที่มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์(University of The Philippines) ตามหัวข้อหนังสือที่เขาเขียน  ซึ่งมีชื่อว่า  “Malaysia Irredenta”  เขาเรียกร้องให้มีการรวมตัวของชนชาติมลายูเข้าด้วยกัน  ถือได้ว่าเขาคนแรกๆ ที่สร้างชื่อเสียงให้แก่คำว่า “Malaysia”  ก่อนที่จะมีการนำชื่อนี้มาเป็นชื่อประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน

 

อ้างอิง

Mohd Fuad  Sakdan , Asas Politik Malaysia, Dewan Bahasa dan Pustaka, Kuala Lumpur, 1999

Khamis, 8 Oktober 2020

ตัน ศรี ดาโต๊ะ ฮัจยี มูฮัมหมัดอัสรี ฮัจยีมูดา (Tan Sri Datuk Haji Mohd Asri Haji Muda) อดีตหัวหน้าพรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย (พาส




โดย  นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

       ขอแนะนำอดีตนักการเมืองคนหนึ่งที่เคยมีบทบาทในทางการมืองในรัฐกลันตัน และระดับประเทศของมาเลเซีย และเขาเคยมีชื่อเสียงในประเทศไทย ครั้งยังเป็นหัวหน้าพรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย (PAS) จนเกิดการประท้วงขึ้นในประเทศไทย หาว่ามีการแทรกแซงกิจการภายในของประเทศไทย

  

       เขาเกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 1923 และถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 1992 เป็นอดีตประธานพรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย (PAS)    เกิดที่หมู่บ้านมัสยิด โกตาบารู รัฐกลันตัน และได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานในด้านศาสนา ภาษามลายูและภาษาอังกฤษ ที่โรงเรียนของคณะกรรมการอิสลามแห่งรัฐกลันตัน (Majlis Ugama Islam dan Adat Istiadat Melayu Negeri Kelantan), เมืองโกตาบารู และได้รับการศึกษาอย่างไม่เป็นทางการจากปอเนาะมัสยิดมูฮัมมาดี โกตาบารู และในปี 1947 ท่านได้สอนที่ Madrasah Al-Ihya Asy – Syariaff, ฆูนุง ซือมังฆง รัฐเปรัคในฐานะครูสอนศาสนา

       บทบาททางการเมือง

       เขาเริ่มได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งรัฐกลันตัน เมื่อปี 1959 จนถึง 1963 และเขาเคยได้รับแต่งตั้งเป็นมุขมนตรีรัฐกลันตัน ตั้งแต่ปี 1972 ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาที่ดินและการพัฒนาดินแดน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 1973 จนถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน 1977  ต่อมาเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 1977 พรรค PAS ออกจากการเป็นพรรคร่วมของพรรคแนวร่วมแห่งชาติ (Barisan Nasional)

       เขาเริ่มได้รับการแต่งตั้งใหดำรงตำแหน่งประธานพรรค PAS เมื่อปี 1971 หลังจากการเสียชีวิตของดร. บูรฮานูดีน เฮลมี (Dr. Burhanuddin Helmi) และฮัจยี มูฮัมหมัดอัสรี ฮัจยีมูดา เป็นผู้ที่นำพรรค PAS เข้าร่วมกับพรรคแนวร่วมแห่งชาติในปี 1974 แต่ว่าในช่วงเวลาดังกล่าวเขาได้เกี่ยวข้องกับเรื่องอื้อฉาวของการคอรัปชั่นหลายอย่าง จนกระทั่งเขาจำเป็นต้องวางตำแหน่งลง เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 1982 ภายใต้การกดดันของกลุ่มเคร่งศาสนา หรือกลุ่มจารีตนิยม ซึ่งส่วนหนึ่งจะเรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มนักการศาสนา หรือ  “Kumpulan Kebangkitan Ulama”

       และเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 1983 เขาได้ออกจากการเป็นสมาชิกของพรรค PAS และได้จัดตั้งพรรคขึ้นมาใหม่ชื่อว่าพรรคฮิซบุล มุสลีมีน มาเลเซีย (Parti Hizbul MMuslimin Malaysia ) หรือ HAMIM เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 1983 ต่อมาในวันที่ 2 กรกฎาคม 1983  เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานพรรค HAMIM ก่อนที่จะวางตำแหน่งลงเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 1988 และได้เข้าร่วมกับพรรคอัมโน เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 1988

 

       นอกจากนี้เขาเคยได้รับเลือกให้เป็น Tokoh Maal Hijrah ในปี 1991 และเขาได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 1992 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์

       ความสัมพันธ์กับจังหวัดชายแดนภาคใต้

ตัน ศรี ดาโต๊ะ ฮัจยี มูฮัมหมัดอัสรี ฮัจยีมูดามีความสัมพันธ์ที่ดี  มีเครือญาติที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้   ในยคหนึ่งชื่อของเขาเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวไทยทั้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้และประเทศไทย  เพราะประมาณปีทศวรรษที่ 1970 เขาประกาศสนับสนุนการต่อสู้ของกลุ่มที่ต่อสู้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้  จนเกิดการประท้วงในประเทศไทย  นักวิชาการบางส่วนกล่าวว่าที่ฮัจยี มูฮัมหมัดอัสรี ฮัจยีมูดาพูดนั้นเป็นเรื่องของการเห็นอกเห็นใจ(sympathy) มากกว่าที่จะเป็นเรื่องการสนับสนุนที่เป็นวัตถุ สิ่งของ


ประมวลภาพอื่นๆของตัน ศรี ดาโต๊ะ ฮัจยี มูฮัมหมัดอัสรี ฮัจยีมูดา

อ้างอิง

Mohamed Asri bin Haji Muda. 1993.Memoir politik Asri: meniti arus. Penerbit Universiti Kebangsaan Malaysia.