Selasa, 28 Julai 2020

ชนเผ่าจูรุ อีกชนเผ่าที่เป็นชนเผ่าหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์มลายู-โปลีเนเซียในประเทศเวียดนาม

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน 
ชนเผ่าจูรุ  เป็นหนึ่งในห้าชนเผ่าที่จัดอยู่ในจัดอยู่ในตระกูลมลายู-โปลีเนเซียของประเทศเวียดนาม  คำว่า จูรุ ในภาษาเวียดนาม มีความหมายว่า คน  จากการสำรวจประชากรของประเทศเวียดนามในปี 2019 ปรากฏว่า มีประชากรชนเผ่าจูรุ อยู่ 23,242 คน[1]  ชนเผ่าจูรุ เป็นอีกชนเผ่าหนึ่งในตระกูลภาษามลายู-โปลีเนเซีย ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชาวจาม  ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในจังหวัดจังหวัดลำดง ในที่ราบสูงตอนกลางของเวียดนาม  ภาษาชนเผ่าจูรุ จัดอยู่ในตระกูลกลุ่มภาษาจาม (Chamic language) ซึ่งเป็นสาขาตระกูลกลุ่มภาษามลายู-โปลีเนเซีย   โดยตระกูลภาษามลายู-โปลีเนเซีย ประกอบด้วยภาษาจาม ภาษาจาไร หรือ เกียไร ภาษาเอเด หรือ ระแด ภาษาจุรู และภาษารักไล ซึ่งมีความสัมพันธ์กับภาษามลายู และภาษาอินโดเนเซีย[2]


กล่าวกันว่าในช่วงยุคอาณานิคมของฝรั่งเศสนั้น ผู้นำที่มีอิทธิพลมากที่สุดในพื้นที่เมืองดาลัต ซึ่งเป็นเมืองเอกของจังหวัดลำดง คือชนเผ่าจูรุ  ชนเผ่าจูรุถือว่าเป็นกลุ่มคนที่ก้าวหน้าที่สุดในบรรดาชาวเขาทั้งหลาย เนื่องจากพวกเขามีความสัมพันธ์ เชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับชาวจาม

นอกจากนั้นชาวจูรุยังนำวัตกรรมทางเศรษฐกิจบางอย่างมาจากชาวจาม โดยเฉพาะในด้านการทอผ้าเครื่องปั้นดินเผา รวมทั้งการไถในปี 1907  ส่วนหนึ่งของชนเผ่าจูรุนับถือศาสนาคริสต์โดยการเผยแพร่ศาสนาของชาวเวียดนามที่นับถือศาสนาคริสต์


สำหรับ Vinh Phong[3]  ได้เขียนบทความขึ้น โดยได้กล่าวว่า ชนเผ่าจูรุที่อาศัยอยู่ในที่ราบสูงตอนกลางของประเทศเวียดนามได้อนุรักษ์งานวรรณกรรมและงานศิลปะ ซึ่งเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่มีค่ายิ่ง รวมทั้งบทกวีเพลงพื้นบ้านและภาษิตสรรเสริญการปกครองของผู้หญิง สำหรับชนเผ่าจูรุมีเครื่องดนตรีที่ไม่เหมือนใครหลายอย่าง เช่นกลอง ฆ้องและฉาบ  สำหรับฆ้องของชนเผ่าจูรุมีฆ้อง 3 ชุด ในขณะที่กลุ่มชนเผ่าอื่น ๆ เช่นเซดังจะถือฆ้องและเต้นรำไปรอบ ๆ ห้อง แต่ชนเผ่าจูรุจะแขวนฆ้องหรือวางไว้บนชั้นวางเพื่อเล่น


ชนเผ่าจูรุจะประดิษฐ์เครื่องใช้ในครัวเรือนหลายประเภท โดยในช่วงฤดูแล้งตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคมครอบครัวชนเผ่าจูรุจะเผาเตาเผาเพื่อผลิตภัณฑ์ดินเผา  ชนเผ่าจูรุจะยึดถือประเพณีทางมารดา หรือ matrilineage ดังนั้นสตรีจึงเป็นผู้ปกครองในครอบครัว ผู้หญิงจะตัดสินใจทุกอย่างในครอบครัว เด็กใช้ชื่อสกุลของมารดา ในชุมชนชนเผ่าจูรุบางแห่งยังคงรักษาประเพณีของ "การทาบทามผู้ชายมาเป็นสามี" 

นั้นคือเมื่อหญิงหญิงชนเผ่าจูรุตกหลุมรักกับผู้ชาย พ่อแม่ของเธอจะไปที่บ้านของชายเพื่อทำข้อเสนอการแต่งงาน เมื่อฤดูใบไม้ผลิมาถึง ครอบครัวของหญิงสาวเลือกวันที่ดีที่จะนำเงินบริจาคมาที่บ้านของผู้ชาย พวกเขาเสนอแหวนแก่ผู้ชาย ถ้าฝ่ายชายยอมสวมแหวน นั้นหมายถึงฝ่ายชายจะยอมรับการแต่งงาน หากเขาปฏิเสธตัวแทนของหญิงสาวกลับบ้าน แต่สัญญาว่าจะกลับมาอีกครั้งจนกว่าครอบครัวของชายจะเห็นด้วย ผู้หญิงที่ยากจนหลายคนไม่สามารถมีสามีได้ หลังจากพิธีแต่งงานเจ้าบ่าวมักอาศัยอยู่กับครอบครัวของเจ้าสาว แต่ในบางสถานการณ์เจ้าสาวจะอยู่กับครอบครัวของเจ้าบ่าว  พิธีฉลองการต้อนรับเจ้าบ่าวเข้าสู่ครอบครัวของเจ้าสาว แม่ของเจ้าสาวจะครอบคลุมผ้าพันคอที่มีคู่เพื่อให้การแต่งงานที่ยาวนานและมีความสุข


นอกจากนั้นมีการกล่าวถึงชนเผ่าจูรุ[4] ว่า ชนเผ่าจูรุมีการดำเนินชีวิตโดยประกอบอาชีพการเกษตรแบบดั้งเดิมด้วยการเพาะปลูกในที่ดินสองชนิด คือดินโคลนและดินแห้ง มีการชลประทานรวมถึงการสร้างคูน้ำคัน คูเขื่อน ฯลฯ ผู้คนมีสวนทั้งในภูเขาและที่บ้าน นิยมการเลี้ยงสัตว์และสัตว์ปีกเป็นที่ การล่าสัตว์ ส่วนงานหัตถกรรมนั้นได้รับการพัฒนา รวมถึงการทอผ้า การถักสานและการทำเครื่องปั้นดินเผา  ส่วนอาหารนั้น อาหารที่สำคัญที่สุดคือข้าว ซึ่งมักปรุงในหม้อดิน อาหารเสริม ได้แก่ ข้าวโพดมันสำปะหลังและมันเทศ อาหารอื่น ๆ ได้แก่ หน่อไม้ป่าผักปลาและเนื้อสัตว์ ผู้ชายและผู้หญิงชอบสูบบุหรี่ยาสูบ ซึ่งปลูกในพื้นที่ของตนเอง


ศาสนสถานและพิธีกรรมของชนเผ่าจูรุ
ส่วน Doan Bich Ngo[5] ได้เขียนบทความถึงศาสนสถานของชนเผ่าจูรุ โดยกล่าวว่า เทพเจ้าของชนเผ่าจูรุคือ Pa Ka Rah โดยเชื่อว่าเป็นเทพผู้พิทักษ์ของชนเผ่าจูรุ  ในตำนานเล่าว่า ในสมัยก่อนชนเผ่าจูรุถูกรังควานโดยชนกลุ่มน้อยเผ่าหนึ่ง ดังนั้นชนเผ่าจูรุจึงมีชีวิตที่ลำบาก ทาง Pa Pa Rah ใช้ความแข็งแกร่งและพลังของเขาในการนำชนเผ่าจูรุ เพื่อขับไล่ผู้บุกรุก ยึดคืนดินแดนของบรรพบุรุษ หลังจากขับไล่ศัตรูแล้ว เขาได้สอนผู้คนให้รู้จักการชลประทาน การทำการเกษตรในที่ดิน  ชนเผ่าจูรุได้สร้างศาสนสถานขึ้น คือ Maxara I และ Maxara ll โดยสร้างขึ้นใช้สถาปัตยกรรมที่ค่อนข้างเรียบง่าย ทำจากไม้ไผ่ไม้และมุงจาก ด้านในเป็นแท่นไม้เพื่อวางสิ่งของบูชาและแท่นบูชา โดยชนเผ่าจูรุจะทำจัดพิธีกรรมปีละครั้งในวันที่ 15 ของเดือน 1 ของปฏิทินจันทรคติ ในวันนี้ชนเผ่าจูรุจะรวมตัวกันที่วัดเพื่อรำลึกถึงเทพเจ้าของพวกเขา ในขณะเดียวกันพวกเขาก็อธิษฐานขอเทพเจ้า เพื่อให้พวกเขามีสุขภาพที่ดี เพาะปลูกพืชได้ดี มีความมั่งคั่งมากขึ้น


มีการกล่าวถึงชนเผ่าจูรู[6] ว่า เป็นชนเผ่าที่มีภรรยาหรือสามีคนเดียว หรือ  Monogamy ผู้นำหมู่บ้านจะเรียกว่า Po-play เป็นผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งจากลูกบ้าน ฝ่ายหญิงจะเป็นผู้เลือกสามีของเธอเอง โดยสามีจะอาศัยอยู่กับครอบครัวของฝ่ายภรรยา ชนเผ่าจูรุจะเคารพบูชาบรรพบุรุษของพวกเขา แต่ในบ้านไม่มีแท่นบูชา


และ To Dong Hai ได้เขียนบทความลงในนิตยสารทางกฎหมายของประเทศเวียดนาม[7] ได้เขียนถึงชนเผ่าจูรุว่า ชนเผ่าจูรุ มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับกลุ่มชาวจาม จึงมีความคล้ายคลึงกัน ในเรื่องภาษาภาษาและวัฒนธรรม จึงมีการสันนิฐานว่าชนเผ่าจูรุ เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชาวจามที่อาศัยอยู่ในชายฝั่งตอนกลางของประเทศเวียดนาม เป็นกลุ่มซึ่งออกจากถิ่นกำเนิดเดิมเพื่อหาดินแดนใหม่  ในชุมชนจูรุจะมีผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิญญาณที่แท้จริงของหมู่บ้านคือหมอผีที่เรียกว่า "yuh" หรือ "gru" ซึ่งเป็นผู้จัดระเบียบและดำเนินพิธีกรรมทั้งหมดของชุมชนและครอบครัว  

ในชุมชนชนเผ่าจูรุ เด็ก ๆ จะมีชื่อตระกูลตามชื่อตระกูลของมารดา ทาง To Dong Hai ได้เขียนเพิ่มเติมว่า ตามประเพณีและการปฏิบัติของชนเผ่าจูรุ ในการคิดริเริ่มการแต่งงานนั้น เมื่อผู้หญิงชนเผ่าจูรุ พบผู้ชายที่เธอรัก เธอก็จะแจ้งให้พ่อแม่และครอบครัวของเธอ เพื่อครอบครัวของฝ่ายหญิงจะสู่ขอการแต่งงาน หากครอบครัวของฝ่ายชายยอมรับข้อเสนอ ก็จะมีการจัดพิธีแต่งงานซึ่งครอบครัวของฝ่ายหญิงสาวจะมอบของขวัญให้กับฝ่ายชาย 

การจัดพิธี การทาบทามผู้ชายมาเป็นสามี หรือ ที่เรียกว่า bắt chồng
และจัดทำตามขั้นตอนเพื่อใส่แหวนหมั้นไว้บนนิ้วของฝ่ายชาย ทั้งสองฝ่ายจะหารือเกี่ยวกับวันแต่งงานและพิธีซึ่งมักจัดขึ้นอย่างเคร่งขรึมเป็นเวลาสามถึงสี่วัน ขึ้นอยู่กับความสามารถทางเศรษฐกิจของครอบครัวฝ่ายเจ้าสาว หลังจากงานแต่งงานเจ้าสาวจะอยู่ในบ้านสามีของเธอเป็นเวลา 15 วันก่อนพาเจ้าบ่าวไปอยู่กับครอบครัวของเธอ สามีตายจะถูกฝังไว้ในสุสานของครอบครัวฝ่ายภรรยาของพวกเขา


กฎหมายจารีตประเพณีของชนเผ่าจูรุ ห้ามมิให้มีการล่วงประเวณี ซึ่งคชนเผ่าจูรุถือว่าเป็นการดูถูกเทพเจ้าและอาจส่งผลกระทบต่อพืช การเลี้ยงโคและความปลอดภัยของหมู่บ้านทั้งหมด ผู้ล่วงประเวณีจะต้องถูกนำตัวขึ้นศาลต่อหน้าศาลจารีตประเพณี แต่สำหรับชนเผ่าจูรุร่ำรวยนั้น สามารถที่จะมีเมียน้อยได้ ถ้าได้รับการยินยอมจากภรรยาหลวงได้ และแม่ม่ายสามารถแต่งงานกับพี่ชายหรือน้องชายของสามีที่เสียชีวิตของเธอ หลังจากที่ได้ไว้ทุกข์ให้หลังหนึ่งปี ในขณะเดียวกันพ่อม่ายเองก็สามารถแต่งงานกับน้องสาวหรือหลานสาวของภรรยาผู้ล่วงลับได้ เพื่อที่จะอยู่กับครอบครัวของภรรยาต่อไปและใช้ทรัพย์สินของพวกเขา


[1] Report on Results of the 2019 Census General Statistics Office of Vietnam,   
  https://gso.gov.vn
[2] Country Social Analysis Ethnicity and Development in Vietnam, Social Development Unit
  Sustainable Development Department East Asia and Pacific Region The World Bank,14:
  2009.
[3] Vinh Phong, Unique culture of the Churu, https://vovworld.vn,  Thursday, April 27, 2017.
[4] Churu Ethnic Group http://www.tuanlinhtravel.com/
[5] Doan Bich Ngo, Worshipping of Churu People and the legendary Maxara temple,
  https://www.dalattrip.com/
[6] Vietnam War A Memior Ethnic peoples https://vwam.com/
[7] To Dong Hai The “ChuRu” customs and practices, https://vietnamlawmagazine.vn/
  25 Februari 2011.



Jumaat, 24 Julai 2020

ชนเผ่ารักไล หนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์มลายู-โปลีเนเซียในประเทศเวียดนาม

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน 
ชนเผ่ารักไล (Raglai) บางครั้งก็เรียกว่า โอรังไกล เป็นหนึ่งในห้าชนเผ่าที่จัดอยู่ในตระกูลภาษามลายู-โปลีเนเซียในประเทศเวียดนาม  คำว่า รักไล ในภาษารักไล มีความหมายว่า ชาวป่า  จากการสำรวจประชากรของประเทศเวียดนามในปี 2019 ปรากฏว่า มีประชากรชนเผ่ารักไล อยู่ 146,613 คน[1]  ชนเผ่ารักไล มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชาวจาม ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในจังหวัดคานห์โฮ ตั้งอยู่ชายฝั่งภาคใต้ตอนกลางของเวียดนาม และจังหวัดนินห์ถ่วน  ตั้งอยู่ชายฝั่งตอนกลางใต้ของประเทศเวียดนาม
ภาษารักไล จัดอยู่ในตระกูลกลุ่มภาษาจาม (Chamic language) ซึ่งเป็นสาขาตระกูลกลุ่มภาษามลายู-โปลีเนเซีย   โดยตระกูลภาษามลายู-โปลีเนเซีย ประกอบด้วยภาษาจาม ภาษาจาไร หรือ เกียไร ภาษาเอเด หรือ ระแด ภาษาจุรู และภาษารักไล ซึ่งมีความสัมพันธ์กับภาษามลายู และภาษาอินโดเนเซีย[2]

ภาษารักไล แบ่งออกเป็น 4 สำเนียง ประกอบด้วย
1. สำเนียงเหนือ
2. สำเนียง Du Long
3. สำเนียง Cac Gia
4.สำเนียงใต้

ภาษาและวัฒนธรรมรักไลจะถูกเก็บรักษาไว้ผ่านวรรณคดี ตำนานเรื่องเล่า สุภาษิต โดยผู้เฒ่าคนแก่จากรุ่นสู่รุ่น ชาวรักไลจะเป็นกลุ่มที่ยึดถือความเชื่อดั้งเดิม  (animism) ชาวรักไลเชื่อว่าทุกอย่างมีวิญญาณ พวกเขาใช้ชื่อของภูเขา หิน ต้นไม้หรือสัตว์เป็นชื่อครอบครัวและเทวดาจะเป็นผู้พิทักษ์พวกเขา ระบบความเชื่อของชาวรักไลนั้น เชื่อว่าผู้ที่สูงสุดของพวกเขา เป็นเทพเจ้าแห่งสวรรค์อยู่เคียงข้างกับภูเขา ป่าไม้ และหินที่โดดเด่น เรียกว่า Giang

ชาวรักไล อาศัยอยู่ในบ้านสูงชันที่ทำจากไม้ไผ่ที่มีหลังคามุงจากบนพื้นที่สูงใกล้แหล่งน้ำ ซึ่งแตกต่างจากบ้านเสาสูงส่วนใหญ่ของกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ในที่ราบสูงตอนกลางของเวียดนาม
ชาวรักไลซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการเชื่อมโยงกับอาณาจักรจัมปา ตามตำนานกล่าวว่าในระหว่างการล้มสลายของเมืองปันดูรังกา ในปี 1832 เจ้าชายจามได้มอบสมบัติและเอกสารสำคัญให้แก่ชาวรักไลรักษา  ทำให้เวลาชาวจามจะจัดงาน Kate Festival ต้องเกี่ยวข้องกับชาวรักไลด้วย

ผู้เฒ่าในหมู่บ้านหนึ่งกล่าวว่าเขาจำได้ว่า ชาวรักไลเคยเป็นสังคมที่จัดอยู่ในระบบผู้หญิงถูกมองว่าเป็นหัวหน้าครอบครัว โดยผู้ชายชาวรักไลต้องอาศัยอยู่ในบ้านภรรยาของเขาตลอดชีวิต  ผู้หญิงที่แก่ที่สุดในครอบครัวจะทำหน้าที่บริหารกิจการครอบครัวทั้งหมด  การยึดถือระบบจารีตประเพณีสายตระกูลฝ่ายมารดา (matrilineage) นี้เหมือนกับชาวจาม และชาวมีนังกาเบาบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดเนเซีย

เมื่อมีการหมั้นหมายระหว่างชายหญิง ในกรณีผู้หญิงมีการทรยศนอกใจฝ่ายชาย ฝ่ายหญิงจะต้องเสียค่าปรับอย่างหนัก

ชนเผ่ารักไลจะมีเพียงโคตรตระกูล (Clan) เพียงสี่โคตรตระกูลเท่านั้น โคตรตระกูลดังกล่าว คือ Chamale, Pi Nang, Ka Tor และ Ha Vau

ชาวรักไลจะอาศัยอยู่ทางด้านตะวันออกของเทือกเขา Truong Son ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดคานห์โฮ และจังหวัดนินห์ถ่วน  ชาวรักไลจะอยู่ร่วมกับธรรมชาติและรักษาคุณค่าทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชนเผ่าตัวเอง[3]  ชาวรักไลจะจัดพิธีงานแสดงความกตัญญู
ชาวรักไลจะอาศัยอยู่ในหุบเขาลึกที่ล้อมรอบด้วยภูเขาสูง พวกเขาใช้เครื่องมือง่าย ๆ เช่นขวานเคียวและขุดไม้เพื่อทำงานในฟาร์มและเลี้ยงควายหมูไก่และเป็ด ในอดีตพวกเขาเลี้ยงสัตว์เลี้ยงในบ้านเพื่อทำพิธีกรรมเท่านั้น ตอนนี้พวกเขาขายหรือแลกเปลี่ยนสัตว์และใช้เป็นอาหาร ชาวรักไลมีความชำนาญและมีความคิดสร้างสรรค์ พวกเขาสานภาชนะหวายและไม้ไผ่หลายประเภท

ชาวรักไลได้แบ่งปันความคล้ายคลึงกันทางวัฒนธรรมกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ในที่ราบสูงตอนกลาง แต่ได้พัฒนาอัตลักษณ์ของตนเอง ในขณะที่กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ใช้ชีวิตแบบเร่ร่อนเผาป่าเพื่อทำนาขั้นบันไดและล่าสัตว์ป่า  ชาวรักไลอาศัยอยู่บนที่ดินที่บรรพบุรุษของพวกเขา

บ้านของชาวรักไลนั้นสร้างขึ้นตามประเพณีบนภูเขา โดยปกติแล้วคน 3 หรือ 4 รุ่นหรือชั่วอายุ จะอยู่ด้วยกันในบ้านหลังเดียว บ้านยาวแบบดั้งเดิมได้มีการสร้างรั้วที่แข็งแรงมีประตูหนึ่งหรือสองประตู บ้านทุกหลังมีท่อไม้ไผ่ถือน้ำฤดูใบไม้ผลิไปที่บ้านสำหรับการใช้งานทุกวัน

ในอดีตนั้นผู้ชายชาวรักไลจะสวมเพียงผ้าเตี่ยว ตอนนี้พวกเขาสวมเสื้อและกางเกง ผู้หญิงสวมชุด ผู้หญิงชอบใส่สร้อยคอกำไลและต่างหูสีบรอนซ์และสีเงิน

ชาวรักไลนั้นหลังจากการแต่งงานแล้ว ชายคนหนึ่งจะกลายเป็นแรงงานที่สำคัญสำหรับครอบครัวของภรรยา แต่การตัดสินใจที่สำคัญต่างๆนั้นเป็นการตัดสินโดยครอบครัวของภรรยา เด็กใช้ชื่อสกุลของแม่และลูกสาวเพียงคนเดียวเท่านั้นที่มีสิทธิ์ได้รับมรดก ซึ่งสิ่งที่ยึดถือนี้ เป็นการยึดถือตามสายมารดา หรือ matrilineage

ชาวรักไลเชื่อว่าหลังจากความตายวิญญาณยังคงมีชีวิตอยู่ในอีกโลกหนึ่ง นักวิจัยด้านมานุษยวิทยาที่ชื่อว่า Mau Quoc Tien อธิบายว่า ชาวรักไลจะรักษาประเพณีเก่าแก่ของการบูชาผู้เสียชีวิต คนเป็นต้องรับผิดชอบต่อการทำพิธีศพและแสดงความเคารพต่อคนตายต่อไป

การมีส่วนร่วมของชาวรักไลในมหกรรมงานกาเตของชาวจาม[4]
การจัดมหกรรมงานกาเต สิ่งหนึ่งนั้นคือพิธีกรรมแรก ชุดที่ใส่สำหรับเทพนั้น แม้จะเป็นงานของชาวจาม แต่ไม่ได้ถูกนำมาจากชาวจาม แต่มาจากชนเผ่ารักไล ซึ่งเป็นชนละชนเผ่ากันกับชนชาวจาม 
มหกรรมงานกาเต เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ของชาวจาม  โดยในจังหวัดนินห์ถ่วน จะมีโบสถ์ที่มีชื่อว่า  Po Klaung Garai, โบสถ์ Po Rome และโบสถ์ Po Nugar  ส่วนจังหวัดบินห์ถ่วน จะมีโบสถ์ที่ชื่อว่า Po Dam ตั้งอยู่ในอำเภอ Tuy Phong และโบสถ์ Po Sah Inu ตั้งอยู่ในเมือง Phan Thiet ซึ่งจัดขึ้นในเดือนที่เจ็ดของชาวจาม ตามปฏิทินของอินเดีย  สำหรับเครื่องแต่งกายของเทพนั้น ชาวรักไลจะเก็บเครื่องแต่งกายของเทพในหมู่บ้าน Tra No หมู่บ้าน Phuoc Ha Ha จังหวัดนินห์ถ่วน  
ชาวรักไลและชาวจามนั้นแยกกันไม่ออกเป็นเวลาหลายศตวรรษแล้ว พวกเขาจะแบ่งปันที่อยู่อาศัย การมีภาษาที่สัมพันธ์กัน รวมทั้งความสัมพันธ์ทางธุรกิจและกิจกรรมทางวัฒนธรรมทั่วไป ทุกวันนี้จะพบชาวรักไลทุกๆที่ ที่มีชาวจามอาศัยอยู่ ชาวรักไล จะอาศัยอยู่ในแถบตอนกลางของประเทศ ดังนั้นชาวจามจึงเรียกชาวรักไลว่าชาวจามที่ราบสูง และในทางกลับกัน ชาวจามจะเรียกตัวเองว่าชาวจามที่ลุ่ม

ภาษาจาม และภาษารักไล จะอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษามลายู-โปลีเนเซีย เฉกเช่นภาษาเอเด  ภาษาจูรุ ภาษาจาไร แต่ภาษาจามกับภาษารักไล จะมีความใกล้ชิดมากกว่าภาษาอื่นๆ ด้วยเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ คำศัพท์ของทั้งสองภาษาจะเหมือนกัน มีเพียงสระเดียวเท่านั้นที่ใช้สระ 'a' และอีกสระหนึ่งใช้ 'u' เพื่อให้พวกเขาสามารถเข้าใจซึ่งกันและกันได้ดี

ภาษาของชาวรักไล ด้วยอยู่ในกลุ่มตระกูลภ-ษามลายู-โปลีเนเซีย หลายๆคำ มีความคล้ายหรือเหมือนกับภาษามลายู  เช่น 

ภาษาไทย        ภาษามลายู        ภาษารักไล
ถนน              ยาลัน (jalan )     ดาลา (dala) หรือ จายา (jala) 
ตา                มาตา (mata )     มาตา (mata)
ปลา              อีกัน (ikan)         อีกา (ika)
ดืม                มีนุม (minum)    มีญุม (minyuum)
วัว                ลึมบู (lembu)     ลามอ (lamo)
ไก่                อายัม (ayam)      มานุ (manu) 
      คำว่า มานุ (manok) ในภาษาตากาล๊อค ก็หมายถึง ไก่ เช่นกันน้ำ               อาเอร์ (air)          ไอค์ (aik)
วันนี้             ฮารีอีนี (hari ini)   ฮารีอีนี (hari ini)
นี้                 อีนี (ini)              อูนี (ini)
นั้น              อีตู (itu)              อีตู (itu)                          
เดือน           บูลัน (bulan)        บลา (bla)
ปี                ตาฮุน (tahun)      ตฮู/ทู(thu)
เครื่องดนตรีของชาวรักไล[5]
ชาวรักไลมีเครื่องดนตรีหลายชนิด เช่น- ฆ้องแบนที่เรียกว่า Ma La เครื่องดนตรีเป่าที่เรียกว่า Sarakel และเครื่องดนตรีที่เรียกว่า Chapi เครื่องดนตรีถือเป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาวรักไล ชาวรักไลจะใช้เครื่องดนตรีในพิธีกรรมต่างๆที่สำคัญ เช่นพิธีกรรมเพื่อกล่าวคำอำลาครั้งสุดท้ายแก่ผู้เสียชีวิตหรือเพื่อเฉลิมฉลองข้าวใหม่ รวมทั้งการแสดงมหากาพย์

เครื่องดนตรีจากหินที่เรียกว่า Lithophone ถูกประดิษฐ์โดยชาวรักไล ถูกพบใน Khanh Son จังหวัดคั้นห์หว่า ว่าประดิษฐ์มาเป็นพัน ๆ ปีมาแล้ว
เครื่องดนตรีที่เรียกว่า Chapi เป็นอีกหนึ่งเครื่องดนตรีของชาวรักไล เสียงของเครื่องดนตรีที่เรียกว่า Chapi นี้จะมีลักษณะคล้ายกับเสียงฆ้องแบนที่เรียกว่า Ma La โดยทำจากท่อนไม้ไผ่ยาวประมาณ 30 ซม. และมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 ซม. เนื่องจากขนาดที่เล็กและเล่นง่ายครอบครัวชาวรักไลส่วนใหญ่จึงมีเครื่องดนตรีที่เรียกว่า Chapi


ส่วนตัวเห็นว่าสมควรที่ชาวมลายูที่อาศัยอยู่ในประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย อินโดเนเซีย บรูไน และสิงคโปร์ รวมทั้งที่อื่นๆด้วย สร้างสานความสัมพันธ์กับชาวรักไล และชนเผ่าอื่นๆที่อยู่ในกลุ่มภาษามลายู-โปลีเนเซีย ของประเทศเวียดนาม จะเป็นการสานความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรม แล้วนำสู่การสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่อไป

:- ภาพส่วนหนึ่งจากเว็บ dangcongsan.vn และ picuki


[1] Report on Results of the 2019 Census General Statistics Office of Vietnam,   
  https://gso.gov.vn
[2] Country Social Analysis Ethnicity and Development in Vietnam, Social Development Unit
  Sustainable Development Department East Asia and Pacific Region The World Bank,14:
  2009.
[3] Raglai ethnic group in southern central Vietnam, Monday, June 22, 2015, Voice of Vietnam
  World,https://vovworld.vn
[4] A Festival Called Kate, No 3, Vol.11 , October – November2015,  
[5] https://vovworld.vn/   Typical musical instrument of the Raglai  Monday, July 20, 2015