Ahad, 30 Januari 2022

Puisi Wajah Wajah Patani Baru

                     Wajah Wajah Patani Baru

Aku melihat sejarah masa silam

Ketika Negeri ini masih di sudut peta dunia

Perkampungannya terletak di pesisir pantai

Pelabuhannya tak pernah diacuhkan

Pengembara dan nakhoda asing

 

Patani mewarnawarni Nusantara

Patanilah pusat pendidikan agama

Patanilah tempat para ulama Al-Fatani

Patanilah kilang kitab-kitab jawi

 

Aku melihat Patani kini

Ketika Negeri ini sudah hilang dari peta dunia

Rumah batu tersegam di bandar-bandar

Rumah mewah tersegam di mana mana

Anak muda mencari dunia

Anak muda mencari budaya asing

Anak muda mencari bahasa asing

Anak muda mencari jatidiri asing

 

Aku melihat Ratu Hijau

Aku melihat Ratu Kuning

Aku melahat Ratu Biru

Aku melihat para ulubalangnya

Mereka menitis air mata

 

Kerana anak cucunya tidak menghargai

Bahasa Melayu, Budaya Melayu dan Jatidiri Melayu

Di Bumi Patani

 

 

Hamra  Hassan

PPN VII Singapura

Selasa, 25 Januari 2022

Machmud Badaruddin II

 Machmud Badaruddin II

 

di atas kijing rumah limas

keris dihunus ke depan

belanda dan keparat

yang menginjak-injak

harga diri,

menyusun strategi.

 

dalam gemuruh ombak kali musi

gelegak dendam dan darah yang

tercecer di kain songket pun

merebak ke ubun-ubun

hingga kebencian menjadi

api

 

dalam perjalanan

iring-iringan kapal belanda

berlayar dari neraka

moncong meriam dan

selongsong peluru pun

bertebaran ke kajang angkap

 

:‘’Nadjamudin, Nadjamudin !!’’

teriakan itu menusuk pilu

 

lalu,

di atas perapian,

Sultan Machmud Badaruddin

menitikkan kemarahan

dalam cairan darah

di jantungnya.

 

pistol dan  kelewang pun

kocar-kacir dalam kepungan

yang lengkap

 

tak hanya darah

siasat dan kekejian pun mengalir

di atas pengkhianatan Nadjamudin

maka,

sejarah pun menghilang

tanpa jejak

 

’’Machmud Badaruddin!’’

teriakan itu berlayar ke

laut lepas

 

rantai panjang dan belenggu

membelit di sekujur

perlawanan yang lelah. 

 

tak ada lagi garis komando

tak ada lagi pekik perlawanan

laut hanya lorong sepi

yang membawa kepedihan

sepanjang sejarah gelap

di ternate.

 

Machmud Badarrudin!

bawalah Plembang ke

perlawanan yang jauh dan jauh

sebab,

di ujung kemudi kapal

itulah apimu meranggas

dendam.


anto narasoma

September 1985



Ahad, 9 Januari 2022

นักศึกษาสาขาวิชามลายูศึกษาลงภาคสนามร่วมโครงการครอบครัวอุปถัมภ์ ที่ประเทศมาเลเซีย

โดยนิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

การทำโครงการครอบครัวอุปถัมภ์ในรัฐปาหัง และรัฐนัครีซัมบีลัน รวมทั้งเดินทางไปสัมผัสกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย สร้างประสบการณ์ใหม่ๆให้นักศึกษา และในครั้งนี้ ลองมาดูบันทึกของนายอารีฟ อดีตนักศึกษามลายูศึกษาเขาขียนถึงประสบการณ์ของตัวเอง ดังต่อไปนี้ :-

 

เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2549  กลุ่มนักศึกษาได้มีการรวมตัวกันที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เพื่อที่จะเดินทางไปประเทศมาเลเซีย โดยที่กลุ่มนักศึกษามีทั้งหมด 18 คน ชาย 7 คน หญิง 11 คน ซึ่งนักศึกษากลุ่มนี้เป็นนักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษา และในวันแรกของการเดินทาง เราได้เดินทางเข้าทางอำเภอตากใบของจังหวัดนราธิวาส และพอข้ามไปในประเทศมาเลเซีย โดยมีการประทับตราพาสปอร์ตเพื่อที่จะเข้าประเทศมาเลเซีย ซึ่งถือว่าเป็นการเดินทางเข้าประเทศมาเลเซียเป็นครั้งแรกของตัวผม ทำให้ผมมีความรู้สึกที่ตื่นเต้นพอสมควร และผมคิดว่าเพื่อนๆอีกหลายคนก็มีความรู้สึกไม่ต่างจากผม และการเดินทางเข้าประเทศมาเลเซียในครั้งนี้เป็นการลงภาคสนามของนักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษา

 

ความรู้สึกที่มีต่อหมูบ้านแรกที่ผมไปอยู่นั้น คือ หมู่บ้านกัวลาบือรา(Kg. Kuala Bera) ซึ่งวันแรกผมมีความรู้สึกว่า ผมกลัวและไม่กล้าที่จะสื่อสารพูดคุยกับพวกเขาคือพูดกันง่ายๆ คือเวลาคุยก็ถ้าเขาถามมาคำหนึ่ง ผมก็จะตอบไปคำหนึ่งไม่กล้าที่จะพูดมาก อาจจะเป็นหน้าตาของพวกเขาด้วยที่มีหน้าตาค่อนข้างดุ  เพราะว่าบ้านที่ผมไปอยู่นั้นเป็นครอบครัวใหม่ซึ่งแต่งได้ไม่นานมากนัก คราวนี้ทำให้ผมได้มีความคิดขึ้นมาว่าคนเราจะดูที่หน้าตาอย่างเดียวไม่ได้บางทีหน้าตาดุ แต่ใจดีก็ได้ และบางคนก็หน้าตาดีแต่นิสัยไม่ได้เรื่องก็มีจากที่ผมประสบมา แต่พอพูดคุยนานๆ กับพวกเขาก็เกิดความเคยชิน 

 

พวกเขาก็ใจดีมากๆ เหมือนกันไม่ว่าจะเป็นครอบครัวของ มารีย๊ะ ที่อยู่หน้าบ้านของผมและบ้านข้างหรือว่าในระแวกนั้นต่างก็ใจดีซึ่งทำให้ ผมคิดว่าระหว่างตัวเรากับครอบครัวและชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงมีความรู้สึกดีๆเกิดขึ้นมากมายไม่ว่าจะเป็นตัวของผมเองหรือว่าครอบครัวที่ผมอยู่ด้วย ทั้ง พ่อ แม่ พี่ชายอีกสองคน และน้อง ๆ อีก3 คนและคนอื่น ๆก็คือพูดง่ายๆ มีความรักความผูกพันธุ์ที่เกิดขึ้น ความรักที่เกิดขึ้น และทำให้ผมมีความรู้สึกว่า การมีพี่ชายแล้วมันเป็นยังไง มีความรู้สึกยังไง มีทั้งดีและไม่ดี  

 

โดยที่หมู่บ้านแรกก็คือที่ หมู่บ้านหมู่บ้านกัวลาบือรา (Kg. Kuala Bera) ตั้งอยู่ที่รัฐปาหัง( Negeri Pahang Darul Makmur) ของประเทศ มาเลเซีย  และ ครอบครัวอุปถัมภ์ (Keluarga angkat) ของผมก็มีพ่ออุปถัมภ์(Ayah angkat) ชื่อว่าอับดุลฮาดี ( Abdul Hadi) และแม่อุปถัมภ์( Ibu angkat) ชื่อว่าอาลีซา(Aliza)  ซึ่งครอบครัวนี้เป็นครอบครัวใหม่ เป็นครอบครัวที่พึ่งแต่งงาน  ผมสังเกตได้จากพ่อก็คือจะแต่งกายเหมือนคนวัยรุ่นอีก แม่ก็เหมือนกัน และที่บ้านผมอาศัยอยู่นั้นเป็นศูนย์รวมของพวกวัยรุ่นในหมู่บ้าน โดยทุกคืนเด็กวัยรุ่นจะมาอยู่ที่บ้านของผมเกือบทุกคืน ทำให้ผมมีความรู้สึกว่าคนในหมู่บ้านนี้มีความสามัคคี มีการรวมกลุ่มเวลาจะทำงานร่วมกันหรือมาพูดคุยหรืออะไรทำร่วมกัน

 

และตัวผมเองพออาศัยอยู่นานๆก็ทำให้เกิดความรู้สึกว่า มันเกิดทั้งความรักและความผูกพันขึ้นมา  คือ ระหว่างผมกับพ่อ แม่ พี่ชาย และน้องๆและคนอื่นที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง และที่สำคัญอย่างยิ่งกับตัวผมจากการที่ได้ไปประเทศที่มาเลเซียในครั้งนี้ทำให้ผมได้ทั้งพ่อแม่อุปถัมภ์  พี่น้องอุปถัมภ์ และที่สำคัญที่ผมอยากจะได้มากที่สุดก็คือ พี่สาว และ น้องสาวเพราะว่าตัวผมเองนั้นก็ไม่มี พี่สาว และไม่มีน้องสาวด้วย และที่หมู่บ้านแห่งนี้ผมมีครอบครัวอุปถัมภ์(Keluarga angkat) ถึง 3 ครอบครัว ก็คือครอบครัวแรกคือครอบครัวพ่อ Abdul Hadi กับ แม่ Aliza ครอบครัวที่สองคือครอบครัวแม่ Anida และครอบครัวสุดท้ายคือครอบครัวแม่ Amida  

 

ตอนที่ผมอาศัยอยู่ที่นี่นั้นผมจะมีความสนิทสนมกันชาวบ้านในหมู่บ้านอย่างมากเพราะว่าพวกเขานั้น ดีกับผมมาก ตรงนี้มันก็ทำให้เกิดความสนิทสนม และความรักขึ้นมา และพ่อ แม่ทั้ง 3 บ้านนี้ก็ดูแลผมเป็นอย่างดี เอาใจใส่ผมดูแลผมอยู่ตลอดเวลา ก็คือว่า ตอนที่ผมอยู่นั้น อาหารเช้าผมก็จะไปรับประทานบ้านนี้ พออาหารเที่ยงผมก็ไปรับประทานอีกบ้านหนึ่ง และพออาหารเย็นหรือว่าอาหารค่ำก็ไปกินอีกบ้านหนึ่ง ซึ่งผมคิดว่าทั้ง 3 บ้านนี้มีความสนิทสนม มีความรัก ให้กับผม ดูแลผมเหมือนกับผมนั้นเป็นคนหนึ่งหรือเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัว และอีกอย่างผมจำได้เลยว่า นางสาวซอบารียะ (ดีเร๊าะ) ได้เล่าถึงน้องสาวอุปถัมภ์ของเขาซึ่งผมเองก็มีความผูกพัน และมีความรักให้กับน้องสาวอุปถัมภ์ของนางสาว ซอบารียะ(ดีเร๊าะ) เหมือนกัน น้องสาวคนนี้ มีอายุ 8 ขวบ มีชื่อว่าน้อง Adiba  คือวันนั้นเป็นเวลาเช้าของวันสุดท้ายก็เกิดเหตุการณ์หนึ่งคือ หลังจากที่ น้อง Adiba นั้นละหมาด ซุบฮีเสร็จแล้ว น้องเขาไปนอนขว้างประตูก็คือจะบ่งบอกว่าน้องไม่อยากให้นางสาวซอบารียะ (ดีเร๊าะ)นั้นจากไป และจากที่นางสาวซอบารียะ(ดีเร๊าะ)  เล่าให้ฟังแล้วทำให้ผมรู้สึกว่าคนที่หมู่บ้านกัวลาบือรานั้นมีความรักให้กับพวกเราเป็นอย่างมาก

 

และที่สำคัญก็ทำให้ผมมีความรู้สึกว่าผมอยากจะอยู่ที่หมู่บ้านกัวลาบือราไม่อยากจากไปที่อื่น  และในช่วงที่อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านกัวลาบือรานั้นก็มีเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ที่ทำให้ผมและเพื่อน ๆ นั้นเกิดความสามัคคีภายในกลุ่ม 18 คน เพราะว่ามีการทำงานร่วมกันและทำกิจกรรมร่วมกัน ก็ทำให้เกิดความสนิทสนมขึ้นมา ก็คือจากคนที่ไม่เคยคุยกันเลยก็มาคุยกันและเกิดความสนิทสนมกัน คือได้ทั้ง เพื่อน พ่อแม่อุปถัมภ์  พี่สาวน้องสาวอุปถัมภ์ และอีกมากมาย แต่ผมคิดว่าที่ไหนที่เราอยู่แล้วเรารู้สึกว่าเรามีความสุข เวลามันก็จะเดินเร็ว ก็เหมือนกับที่เราอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านกัวลาบือรา  เพราะว่าเวลาที่เราอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านกัวลาบือรานั้นเป็นเวลาแค่เพียงสัปดาห์เดียวเอง และในความคิดนั้นเราควรจะอยู่เพียงที่เดียวเองเพราะว่าเราจะได้ศึกษาถึงชีวิตความเป็นอยู่ ของคนในหมู่บ้านว่าเป็นอย่างไร

               

ตอนที่พวกเราอยู่ที่หมู่บ้านกัวลาบือรานั้นพวกเราก็ได้ไปดูและไปสัมผัสกับชีวิตของชนมลายูดั้งเดิม(Orang asli) เป็นเผ่าSemelai  ซึ่งผมคิดว่าชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขานั้นจะดีกว่าเราเป็นอย่างมาก  ขนาดพวกเขาอยู่ในป่า อยู่ในเขา ก็คือเราสามารถบ่งบอกได้ว่าทางรัฐบาลของมาเลเซียนั้นดูแลประชาชนได้อย่างทั่วถึง และวันสุดท้ายนั้นบ้านที่อยู่ข้างบ้านผมก็มีการจัดงานแต่งงานขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ก็ทำให้พวกผมได้รู้ถึงวัฒนธรรมของชาวมลายู ที่หมู่บ้านกัวลาบือราว่ามีการจัดงานแต่งงานอย่างไร

 

พอมาถึงวันสุดท้ายที่พวกเราจะต้องไปจากหมู่บ้านกัวลาบือราทุกคนก็จากกันด้วยรอยยิ้มเป็นส่วนมาก แต่ก็มีส่วนน้อยที่จากกันโดยน้ำตา ซึ่งเราสามารถคิดและรู้สึกว่าทุกคนต่างก็มีความสุขและอยากให้เราอยู่ต่อ และในเรื่องอุปสรรคนั้นในทางด้านความคิดและความรู้สึกว่าเป็นปัญหานั้นไม่มีเลย ส่วนมากแล้วจะความรู้สึกที่ดีๆ ความรักและการดูแลเอาใจใส่จากคนในหมู่บ้าน

 

ความรู้สึกที่มีต่อหมู่บ้านที่สอง คือหมู่บ้านนิคมสร้างตนเองเมิงกวง (Felda Mengkuang)ที่รัฐปาหัง  ในหมู่บ้านนิคมสร้างตนเองเมิงกวงวันแรกที่ไปถึงนั้นเขาก็ต้อนรับพวกเราที่งานเลี้ยงแต่งงาน และที่หมู่บ้านนี้ผมได้อยู่กับเพื่อนอีกคนหนึ่ง คือนายอับดุลฟาตะห์  คือหมู่บ้านที่สองนี้เราจะอาศัยอยู่กันสองคนซึ่งทางเขาจะจัดการให้เพราะว่าเพื่อนบางคนก็มีที่ไม่สามารถพูดภาษามลายูได้ ก็คือจะให้คนที่พูดภาษามลายูไม่ได้อยู่กับคนที่พูดภาษามลายูได้เพราะว่าจะช่วยเหลือกันในทางด้านภาษาและการสื่อสาร และผมคิดว่าผมโชคดีมากที่สุดคือผมได้อยู่กับครอบครัวของคนอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี โดยที่แม่ Kadiyah มาแต่งงานกับพ่อ Mohm Zuki  และแม่ Kadiyah ก็ได้โอนสัญชาติเป็นคนมาเลเซีย 

 

ซึ่งแม่ Kadiyah คนนี้มีลูกอยู่ 4 คน ซึ่งถ้ารวมผมกับนายอับดุลฟาตะห์แล้วก็เป็น 6 คน  ซึ่งน้องทั้ง 4 คน นั้นเรียนหนังสือกันทุกคน โดยจะมีการศึกษาทุกคนและมีหลายระดับ คือ คนแรกลูกคนโตชื่อเล่นว่า Along จะเรียนอยู่ในระดับ มหาวิทยาลัย คนที่สองคือ ชื่อเล่นว่า Kakak จะเรียนอยู่ในระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายซึ่งผมก็ได้ไปดูโรงเรียนของน้องสาวอุปถัมภ์แล้วถือว่ามีความแตกต่างกับโรงเรียนมัธยมของทางประเทศไทยเป็นอย่างมาก คือโรงเรียนของเขาจะใหญ่กว่ามากถ้ามาเทียบกับโรงเรียนของประเทศไทย คนที่สามมีชื่อเล่นว่า Angahจะเรียนอยู่ในระดับการศึกษาทางด้านการอาชีพ ซึ่งน้องคนที่ 3 นั้นศึกษาอยู่ด้านเทคนิคที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ และคนสุดท้ายคือ Adik นั้นเรียนอยู่ในระดับประถมศึกษา แต่ใน 4 คนนี้ที่สนิทกับผมมากที่สุด คือ น้องคนที่ 3 คือ Angah  เพราะว่าในช่วงที่พวกเราอยู่นั้นน้องจะอยู่บ้านตลอดไม่ได้ไปเรียนเพราะว่า ยังรอหนังสือเรียกตัวของวิทยาลัยดังนั้นเราจะสนิทกับคนที่ 3 มากกว่าเพราะว่าเวลาเรามีอะไร

 

หรือว่าเราจะไปที่ไหนน้องก็จะขับรถไปส่งตลอดมีอะไรก็จะคุยกับน้องเขา ความสนิทสนมนั้นก็จะทำให้เรากล้าที่จะคุย และในทางด้านแม่Kadiyah นั้นถือว่าเป็นคนที่ใจดีมากที่สุด ขนาดเสื้อผ้าแม่เขาจะจัดการซักให้ และจะคอยจะจัดการอาหารเช้า อาหารเที่ยง และอาหารเย็น และอาหารค่ำรวมถึงอาหารว่าง เช่น น้ำชา ขนม และอื่น ๆ และที่ผมมีความรู้สึกประทับใจในครอบครัวนี้มากที่สุดคือ ผมมีความรู้สึกว่าตัวผมนั้นเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวเพราะว่าผมรู้สึกรักและมีความผูกพันกับน้องๆทุกคนแม้ว่าบางคนจะไม่ค่อยพูดกับผม เช่น Kakak น้องคนที่สองตั้งแต่วันแรกที่ผมเข้าไปอยู่นั้นเขาไม่เคยเขามาคุยกับผมเลยเพราะว่าวันที่เราไปอยู่ที่บ้านนั้น น้องเขาไปเรียนพอดี เลยทำให้ไม่ได้คุยกัน ถึงแม้ว่าน้องเขาจะไม่มาคุยกับเราแต่การกระทำของน้องเขาบ่งบอกได้อย่างดีเลยว่าน้องเขาก็รักพวกเราเหมือนกันเพราะว่า คืนวันสุดท้ายที่เราจะจากไปอีกที่หนึ่งนั้นน้องเขาก็อยู่รอเพื่อที่จะส่งพวกเราและวันสุดท้ายในตอนกลางคืนน้องเขาไม่ได้นอนเลยเพราะว่าน้องเขานั่งทำสายข้อมือให้กับผมและนั่งทักพวงกุญแจให้กับผมและนายอับดุลฟาตะห์ ซึ่งทำให้ผมรู้ว่าน้องเขาก็เป็นห่วงพวกผมเหมือนกัน

 

และในวันที่สามที่ผมอยู่ที่บ้านของพ่อ Mohm Zuki กับแม่ Kadiyah ผมก็ชวนเพื่อน ๆ หลายๆคนมาทำอาหารกินที่บ้าน ก็ได้ทำ ต้มย้ำ กับผัดผัก และได้เชิญชาวบ้านบางส่วนที่มีความสนิทสนมให้มารับประทานอาหารที่บ้าน และที่สำคัญชาวบ้านในหมู่บ้านทุกคนก็เป็นกันเองเหมือนกันไม่มีใครถือตัว  และตอนรับพวกเราเป็นอย่างดีและอีกอย่างหนึ่งในทางด้านอาหารการกินก็คือว่าเวลาไปข้างนอกหรือว่าออกไปทำกิจกรรมที่ไหนก็ต้องจบหรือว่าต้องปิดท้ายกับการรับประทานอาหารทุกครั้งด้วย เช่นน้ำชา ขนม และอื่นๆ และอีกมากมาย และพอเวลากลับบ้านก็ต้องกินอีก เพราะว่าทางบ้านที่เราอาศัยอยู่นั้นก็จะเตรียมอาหารให้กับเรา

 

ซึ่งตอนมาอยู่ที่หมู่บ้านนิคมสร้างตนเองเมิงกวง (Felda Mengkuang) ก็มีชาวอินเดียประมาณ 3-4 ครอบครัวอยู่ด้วย ซึ่งในช่วงที่พวกเราอยู่นั้นก็มีการจัดงานแต่งงานของชาวอินเดียขึ้นอย่างยิ่งใหญ่แต่เสียดายที่ผมไม่ได้ไปเพราะว่าวันนั้น พ่อกับแม่ไม่ว่างที่จะพาไปแต่จากที่ได้ดูรูปจากที่เพื่อนถ่ายมาให้ดูก็จัดงานได้อย่างยิ่งใหญ่เหมือนกันโชคดีที่เพื่อนได้ถ่ายรูปกลับมาให้ดูก็ทำให้ได้ทราบถึงวัฒนธรรมการแต่งงานของชาวอินเดีย ที่หมู่บ้านนิคมสร้างตนเองเมิงกวงนั้นเป็นชาวบ้านที่อยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานนิคมสร้างตนเองของรัฐบาลมาเลเซีย 

 

ผมคิดว่าชาวมาเลเซียนั้นจะเป็นคนโชคดีเพราะว่าทางรัฐบาลของมาเลเซียจะจัดการเรื่องที่อยู่อาศัย จัดการเรื่องการทำงานและในเรื่องที่ดินทำกินให้กับชาวบ้านด้วย และชาวนิคมสร้างตนเองนั้นอยู่เฉย ๆ ก็ยังได้เงินเดือนด้วย แต่ว่าในทางด้านผลิตผลที่ได้มานั้นพอไปขายแล้ว พอได้เงินมา ทางรัฐบาลก็จะมีการหักส่วนหนึ่งทุกครั้ง

พูดง่าย ๆ คือการผ่อนจ่ายแต่ละเดือนขึ้นอยู่กับผลผลิตว่าได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งตัวผมเองก็คิดว่าเป็นสิ่งที่ดี   ตอนที่ผมอยู่ที่หมู่บ้านนิคมสร้างตนเองเมิงกวงนั้นผมก็มีความสนิทสนมกับคนๆหนึ่งก็คือครอบครัวอุปถัมภ์ของนางสาวนูรฮูดาคือผมจะสนิทกับ  แม่อุปถัมภ์ของฮูดาและน้อง ๆ อีก 3 คน ซึ่งมีอายุประมาณ 8 ขวบ  ผมมีความรู้สึกว่าตัวผมมีความผูกพันกับครอบครัวที่หมู่บ้านนิคมสร้างตนเองเมิงกวงมากกว่าที่อื่น วันสุดท้ายนั้นเราก็ได้จากกันด้วยน้ำตาพวกเราเกือบทั้งหมดที่ร้องไห้ออกมาเพราะมีความรักให้ต่อกันและกันและมีความผูกพันก็คือเราจะมีความประทับใจในแต่ละที่ที่แตกต่างกัน ตัวผมเองนั้นผมคิดว่าเวลาจากกันนั้นผมจะไม่ร้องไห้แต่ที่หมู่บ้านนิคมสร้างตนเองเมิงกวง 

 

ครั้งนี้มันกลั้นน้ำตาไม่ได้เลยทำให้ต้องร้องไห้ออกมา และผมจำภาพของวันสุดท้าย วันของการจากลาได้ตลอดเวลาก็คือว่าวันนั้นผมโดนแม่ๆอุปถัมภ์ ประมาณ 4-5 คนได้ที่เข้ามากอดและหอมแก้มผม ทำให้ผมมีความรู้สึกว่าพวกแม่ ๆอุปถัมภ์ นั้นรักและเป็นห่วงผมและเพื่อน ๆ จริงๆ  และส่วนในทางด้านของ ปัญหาหรือว่าอุปสรรคนั้นก็ไม่มีเพราะว่าหมู่บ้านที่เราอยู่นั้นเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ สามารถที่จะไปหากันได้  และที่หมู่บ้านนิคมสร้างตนเองเมิงกวงนั้นก็เป็นวัฒนธรรมความเป็นอยู่และทำให้ผมได้เรียนรู้ชีวิตอีกแบบหนึ่งของชาวมาเลเซียอีกแบบหนึ่ง

                 

ความรู้สึกที่สุดท้ายคือ ที่หมู่บ้านปือดัสตืองะห์( Kampong Pedas Tengah) ที่รัฐนัครีซึมบีลันดารุลคูซุส( Negeri Sembilan Darul Khusus) วันแรกที่ไปถึงผมเห็นความแตกต่างในทางด้านวัฒนธรรมของคนรัฐนัครีซึมบีลันก็คือพอพวกผมไปถึงนั้นก็จะมีการโปรยข้าวสาร โดยจะมีผู้หญิงมาต้อนรับและคอยโปรยข้าวสารก็คือความคิดผมนั้นผมรู้สึกว่าเขาต้องการที่จะขจัดและไล่สิ่งที่เลวร้ายที่อยู่ติดตัวกับตัวพวกเรา ซึ่งจะเป็นการตอนรับที่แตกต่างก็คือที่อื่นอาจจะต้อนรับแบบธรรมดา

 

และที่รัฐนัครีซึมบีลันนั้นผมมีพี่น้องทั้งหมด 9 คน รวมผมกับนายอับดุลฟาตะห์ ก็เป็น 11 คน แต่ที่อยู่ที่บ้านนั้นมีเพียง 6 คน เพราะว่าแต่งงานไปแล้ว 2 คน และอีกคนก็เป็นทหารเรืออยู่ นานๆ ก็กลับบ้านครั้งหนึ่ง ก็ไม่ได้เจอ แต่ 2 คนที่แต่งงานแล้วพอรู้ว่า แม่ที่บ้านรับลูกอุปถัมภ์( Anak Angkat )พี่ทั้ง 2 คนก็กลับมาเพื่อที่จะเจอกับพวกเรา ความเป็นอยู่ที่หมู่บ้านปือดัสตืองะห์นั้นก็มีอุปสรรคก็คือ การที่ผมกับนายอับดุลฟาตะห์อยู่ไกลกว่าเพื่อนและเวลาจะทำกิจกรรมอะไรบางวันก็ไม่มีรถออกไปและบางวันก็จะต้องเดิน และสังคมที่นี้นั้นจะมีความแตกต่าง กับสังคมสองที่สังคมที่ผ่านมา

 

คือสังคมที่รัฐนัครีซึมบีลันนั้นชาวบ้านทุกคนจะดูแลเรา เอาใจเรา ก็คือมีความผูกพันดีต่อกัน แต่ว่าสังคมที่นี้นั้นเขาจะมีความเห็นแก่ตัวมาก ๆ เพราะว่าสังคมที่นี้นั้นอาจจะเป็นเพราะว่าเป็นสังคมเมืองเลยเห็นเรื่องของตนเองเป็นเรื่องใหญ่ แต่ว่ามีอยู่คนหนึ่งที่ทำงานอยู่คนเดียวและดีกับพวกเรามากที่สุดก็คือ ผู้ใหญ่บ้าน ท่านจะดูแลพวกเราทุกคนเลยคอยช่วยเหลือพวกเราตลอด และภรรยาของผู้ใหญ่บ้านก็ใจดีเหมือนกัน แต่บ้านของผมอยู่นั้นที่ผมสนิทสนมมากที่สุดคือน้องคนที่ 6 และน้องคนสุดท้องเพราะว่าน้องทั้งสองนั้นเข้ามาคุยกับผมตลอดเวลากลับบ้านหลังไปทำกิจกรรมเสร็จแม้ว่าครั้งแรกของการคุยนั้นบางครั้งอาจจะคุยไม่รู้เรื่อง แต่ว่าพอคุยนานก็ทำให้ฟังรู้เรื่อง เพราะว่าภาษาถิ่นของรัฐนัครีซึมบีลันนั้นเป็นภาษาเฉพาะของรัฐเลยทำให้เป็นภาษาที่แปลก

 

และบางครั้งน้องทั้ง 2 คนก็ชวนผมไปเล่นตะกร้อกับคนในหมู่บ้าน และในทางด้านอาหารการกินนั้นที่นี้ส่วนมากจะกินเผ็ด การมาอยู่ที่รัฐนัครีซึมบีลันนั้นส่วนมากจะเป็นการไปทัศนศึกษาตามสถานที่สำคัญโดยส่วนใหญ่ทำให้ได้รู้เรื่องของสถานที่สำคัญต่าง และในวันสุดท้ายของการอยู่ที่รัฐนัครีซึมบีลัน เราก็ได้ไปทัศนศึกษาที่รัฐมะละกาก็ไปศึกษาตามสถานที่สำคัญของรัฐมะละกาโดยในวันนั้นก็มี แม่ ๆอุปถัมภ์ ที่รัฐนัครีซึมบีลัน ไปกับพวกเราด้วยพอถึงเวลาตอนเย็นก็กลับมาส่ง แม่ ๆอุปถัมภ์ ที่รัฐนัครีซึมบีลัน 

 

แล้วพวกเราก็เดินต่อไปที่กรุงกัวลาลัมเปอร์โดยไปอยู่ที่บ้านพัก ของสมาพันธ์นักเขียนแห่งชาติมาเลเซีย หรือ Rumah GAPENA ที่อยู่ใกล้ ๆกับ Dewan Bahasa  dan Pustaka  เป็นเวลาสองวัน และเวลาสองวันนี้ก็คือเป็นการเที่ยวและซื้อของฝากให้กับคนที่บ้านแล้วพวกเราก็กลับบ้านพร้อมกับกลุ่มนักศึกษาวิชาเอกเอก ภาษามลายู แต่ว่าการมาที่กรุงกัวลาลัมเปอร์นี้ก็ทำให้ผมได้รู้จักกับวัยรุ่นปัตตานีที่มาเปิดร้านอาหารอยู่ที่นี้ ประมาณ 5-6 คน

 

การมามาเลเซียครั้งนี้ทำให้ผมได้รู้จักกับวัฒนธรรมของชาวมาเลเซียซึ่งแต่ละที่จะมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน และทำให้ได้รู้จักกับคนที่มาเลเซีย และทำให้ผมกล้าที่พูดออกมาว่าผมก็มี พ่อแม่อุปถัมภ์  พี่น้องอุปถัมภ์ และเพื่อนๆ อยู่ที่ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งการมาที่ประเทศมาเลเซียครั้งนี้พวกเราทั้ง 18 คน ต้องชม และ ยกเครดิตให้กับอาจารย์นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซันเพราะว่าตอนแรกผมรู้มาว่าการไปแต่ละที่ของพวกเรา 18 คนนี้อาจารย์ไม่ได้เตรียมตัวและไม่ได้เตรียมโครงการเลย ก็คือพูดง่าย ๆ อย่างที่อาจารย์ชอบพูดว่า เป็นการเอาพวกเรา 18 คน ไปปล่อยเกาะ และค่อยคิดว่าจะเอายังไงต่อ สาขาวิชามลายูศึกษาทำให้พวกเราได้ผจญภัยที่ประเทศมาเลเซีย