Jumaat, 29 Disember 2017

ภาษามลายูโบราณ สิ่งที่เราควรรู้ไว้บ้าง

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
          ภาษามลายูโบราณ
          เป็นส่วนหนึ่งของตระกูลภาษานูซันดารา  มีความรุ่งเรื่องตั้งแต่ศตวรรษที่  7 จนถึงศตวรรษที่  13 ในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย  เป็นภาษา lingua  franca  (ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน)  และเป็นภาษาที่ใช้ในการปกครอง  ผู้ที่พูดภาษามลายูโบราณ  ส่วนใหญ่จะอยู่ในแหลมมลายู  ,หมู่เกาะเรียว  และสุมาตรา

          ภาษามลายูโบราณกลายเป็นภาษา lingua  franca  และภาษาที่ใช้ในการปกครองเพราะ
           1.  มีลักษณะเรียบง่าย  และง่ายต่อการรับอิทธิพลจากภายนอก

          2.  ไม่มีการผูกติดกับความแตกต่างทางชนชั้นของสังคม

          3.  มีระบบที่ง่ายกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับภาษาชวา

          ภาษาชวานั้นค่อนข้างจะยากต่อการสื่อสาร เพราะว่าถ้าผู้พูดมีสถานะทางชนชั้นที่แตกต่างกันหรือมีวิจัยที่แตกต่างกัน  ความหมายหนึ่งจะใช้คำที่แตกต่างกันตามสถานะหรือวัยของผู้พูด  ภาษามลายูโบราณได้รับอิทธิพลจากระบบของภาษาสันสฤตมีการใช้คำสันสฤตในการสร้างคำที่เป็นเชิงความรู้

          ภาษามลายูง่ายต่อการรับอิทธิพลของภาษาสันสฤตนั้นเป็นเพราะ
           1. อิทธิพลของศาสนาฮินดู

          2. ภาษาสันสฤตอยู่ในสถานะของภาษาของชนชั้นขุนนางและมีสถานะทางสังคมที่ค่อนข้างสูง

          3.  ภาษามลายูง่ายต่อการใช้ตามสถานการณ์และตามความต้องการของผู้พูด

ภาษามลายูโบราณที่มีตามหลักศิลาจารึกในศตวรรษที่  7  ซึ่งเขียนด้วยอักขระปัลลาวา (Pallawa)

-         ศิลาจารึก  Kedukan  Bukit , Palembang (683)

-         ศิลาจารึก Talang Tuwo ใกล้กับ Palembang (684)

-         ศิลาจารึก Kota Kapur , Pulau Bangka (686)

-         ศิลาจารึก Karang Brahi , meringin.Jambi (686)


          ภาษามลายูโบราณที่มีในหลักศิลาจารึกที่  Gandasuli , ชวากลาง (832)  เขียนด้วยอักขระ Nagiri
 
                                        ศิลาจารึก   Kedukan  Bukit
                                                ศิลาจารึก Talang Tuwo 
                                                   ศิลาจารึก Karang Brahi 
                                                  ศิลาจารึก Kota Kapur
                                                     ศิลาจารึก Kota Kapur


ลักษณะของภาษามลายูโบราณ

-         เติมไปด้วยคำที่ยืมมาจากภาษาสันสกฤต

-         การสร้างประโยคมีลักษณะของภาษามลายู

-         เสี่ยง บ (B)  จะเป็นเสียง ว (W) ในภาษามลายูโบราณ  เช่น  บูลัน  -  วูลัน 
          (เดือน)

-         เสี่ยง อือไม่มี เช่น Dengan (ดืองัน) – Dangan (ดางัน) – กับ

-         คำว่า Ber  จะเป็น Mar  ในภาษามลายูโบราณ  เช่น  berlepas – marlapas

-         คำว่า di  จะเป็น Ni  ในภาษามลายูโบราณ  เช่น  diperbuat – miparwuat

-         อักขระ ฮ (h)  จะหายไปในภาษามลายูสมัยใหม่  เช่น  Semua – samuha , Saya – Sahaya


Ahad, 10 Disember 2017

Maphilindo และแนวคิดของการรวมชนชาติมลายูเข้าเป็นหนึ่งเดียว

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
 นาย Diosdado Macapagalประธานาธิบดีประเทศฟิลิปปินส์
           สามประเทศในกลุ่มชาติพันธุ์มลายู
บุคคลผู้เป็นตัวหลักในการจัดตั้งกลุ่ม Maphilindo
MAPHILINDO

Maphilindo เป็นคำย่อมาจาก  Malaya, the Philippines, และ Indonesia เป็นองค์กรสมาพันธรัฐมลายูของกลุ่มชนชาติมลายู    แรกเริ่มเป็นแนวความคิดของนาย Wenesclao Vinzons เพื่อรวมชนชาติมลายูเข้าด้วยกัน     เมื่อนาย  Diosdado Macapagal เป็นประธานาธิบดีของประเทศฟิลิปปินส์  ต่อมาในปี 1963  เขาต้องการสร้างความคิดอุดมคติของนายโฮเซ  รีซาลให้เป็นจริง  จึงเสนอจัดตั้ง Maphilindo  แต่ปรากฏว่าต่อมาไม่สามารถรวมตัวกันได้  แม้ว่าจะมีการเซ็นสัญญากันแล้วก็ตาม  เพราะมีการจัดตั้งประเทศมาเลเซียขึ้นก่อน  จนเกิดความขัดแย้งระหว่างมาเลเซียที่ตั้งใหม่กับประเทศอินโดเนเซีย
            Ishak  Haji  Muhammad 
  Ahmad  Boestamam
Ibrahim  Yaakub
Dr. Burhanuddin  Al-Helmi
แนวคิดของการรวมชนชาติมลายูเข้าเป็นหนึ่งเดียว
Melayu Raya  เป็นแนวคิดของการรวมชนชาติมลายูเขาเป็นหนึ่งเดียว  นั้นคือชนชาวมลายูที่ปัจจุบันอาศัยอยู่ในประเทศมาเลเซีย, อินโดเนเซีย, บรูไน และสิงคโปร์ เข้าเป็นประเทศเดียวกันบางครั้งคำว่า Melayu Raya จะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Indonesia Raya  แนวคิดนี้มีการเสนอขึ้นในประเทศอินโดเนเซียโดยกลุ่มผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีซูการ์โน  และพรรคการเมืองในมาเลเซีย เช่น พรรคมลายูแห่งชาติมาลายา  ซึ่งเ
ป็นพรรคการเมืองก่อนการกำเนิดของพรรคอัมโน (UMNO) ที่มีผู้นำหลายคนเช่น Ibrahim  Yaakub, Dr. Burhanuddin  Al-Helmi, Ahmad  Boestamam, Ishak  Haji  Muhammad และอื่นๆ



Jumaat, 1 Disember 2017

ดร. อาลี ชารีอาตี (Dr. Ali Shariati) นักสังคมวิทยาชาวอิหร่าน

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
ชีวประวัติดร.  อาลี  ชารีอาตี  (Dr. Ali Shariati)  (1933–1977)
เป็นนักสังคมวิทยาชาวอิหร่าน  งานเขียนส่วนใหญ่จะเป็นด้านสังคมวิทยาศาสนา  เกิดในปี 1933 ที่เมืองมาซีนาน (Mazinan) ซึ่งเป็นส่วนย่อยของเมืองซาบเซวาร์ (Sabzevar)  ประเทศอิหร่าน   บิดาของเขาเป็นนักชาตินิยมก้าวหน้าและเป็นนักการศาสนา  ซึ่งมีผลทำให้การเข้าร่วมในขบวนการทางการเมืองของ ดร. อาลี  ชารีอาตีในเวลาต่อมา

ในสมัยที่เรียนอยู่ที่วิทยาลัยครู  เขาได้คบค้าสมาคมกับเยาวชนที่มาจากชนชั้นด้อยทางเศรษฐกิจ   เขาเองมีความรู้เกี่ยวกับวิชาสังคมวิทยาสมัยใหม่และปรัชญา  โดยเขาได้รับอิทธิพลจากงานเขียนของ Moulana Rumi และ Muhammad Iqbal. เขาได้รับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยมาชฮัด (University of Mashhad)   ต่อมาศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นที่มหาวิทยาลัยปารีส   (University of Paris)  โดยเขาได้รับปริญญาเอกด้านสังคมวิทยา ในปี 1964. ต่อมาในปี 1965 เขาได้เข้าเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยมาชฮัด (University of Mashhad)   เขาได้รับการยอมรับจากผู้คนในด้านความรู้วิชาการของเขา 

จนเขาถูกจับโดยพระเจ้าชาห์   เมื่อเขาถูกปล่อยตัว เขาได้เดินทางไปยังกรุงเตหะราน  โดยเข้าสอนที่สถาบันการศึกษาที่มีชื่อว่าสถาบันฮุสเซ็นนียา เอร์ชาด    การสอนของเขายิ่งเพิ่มจำนวนผู้เข้าฟังมากขึ้น  จนทางพระเจ้าชาห์ทำการจับกุมเขาและนักศึกษาจำนวนหนึ่ง    เขาถูกจำคุกเป็นเวลา 18 เดือน  ต่อมาได้รับการปล่อยตัว  เมื่อ  20 มีนาคม  1975 โดยมีเงื่อนไขห้ามมีการสอน  การพิมพ์งานเขียน  หรือเข้าไปเกี่ยวข้องใดๆกับกิจกรรมทางการเมือง  ทางหน่วยราชการลับของพระเจ้าชาห์ที่ชื่อว่า  SAVAK จะติดตามการเคลื่อนไหวของเขาทุกย่างก้าว

เขาปฏิเสธเงื่อนไขดังกล่าวโดยเดินทางออกนอกประเทศ  ไปยังประเทศอังกฤษ   สามสัปดาห์ต่อมาเขาสิ้นชีวิต   โดยมีการประกาศว่าเป็นโรคหัวใจวาย  แต่เป็นที่รับรู้ว่าการตายของเขาเกี่ยวข้องกับหน่วยราชการลับของพระเจ้าชาห์ที่ชื่อว่า  SAVAK    สุสานของเขาตั้งอยู่บริเวณสุสานของนางไซนับ  บินตีอาลี (Zainab bint Ali)  ในกรุงดามัสกัส  ประเทศซีเรีย

สำหรับงานเขียนของเขาที่สำคัญมีดังนี้  Hajj (The Pilgrimage), Where Shall We Begin?, Mission of a Free Thinker, The Free Man and Freedom of the Man, Extraction and Refinement of Cultural Resources,  Martyrdom (book), Arise and Bear Witness, Ali, Declaration of Iranian's Livelihood, Islamology งานเขียนของเขามีจำนวนมาก  ส่วนหนึ่งได้รับการแปลเป็นภาษามลายูและภาษาไทย  สำหรับหนังสือที่แปลเป็นภาษาไทย  ส่วนหนึ่งมีอยู่ในหอสมุด จอห์น  เอฟ. เคเนดี้   มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี