Rabu, 26 Februari 2025

ลูกหลานชาวมลายูปาตานีในจังหวัดสุลาเวซีใต้ อินโดเนเซีย

โดย นายนิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

                                    เขตแดนหมู่บ้านปาตานี

                                    ร้านบักหมี่โจโตปาตานี

เรื่องราวการตั้งถิ่นฐานของชาวมลายูปาตานีในจังหวัดสุลาเวซีใต้ อินโดเนเซีย เป็นสิ่งที่ผู้เขียนสนใจมานานมาก ด้วยจากเรื่องราวที่ได้อ่านบทความของ “อ. บางนรา” ในนิตยสาร “อัลญีฮาด” เกี่ยวกับที่ดาโต๊ะมหาราชาเลลา (Datuk Maharajalela) พร้อมชาวมลายูปาตานี ได้เดินทางไปยังเกาะสุลาเวซี พร้อมใช้ธงในอดีตที่เรียกว่า ธง Buluh Perindu และปกหลังของนวนิยายเชิงประวัติศาสตร์ที่เขียนโดย คุณอาเรนาวาตี ศิลปินแห่งชาติของมาเลเซีย ก็กล่าวถึงเรื่องราวการอพยพของชาวมลายูปาตานีไปยังเกาะสุลาเวซี เมื่อผู้เขียน ภรรยา ลูกชายตัวเล็ก และอาจารย์ซาวาวี ปะดาอามีน แห่งสาขาวิชามลายูศึกษา มอ. ปัตตานี ได้มีโอกาสไปสัมมนาที่เกาะสุลาเวซี จึงขอให้ ศาสตราจารย์ ดร. มุคลิส ฮัดราวี เพื่อนจากคณะวัฒนธรรมศึกษา แห่งจากมหาวิทยาลัยฮาซานุดดิน สุลาเวซี ช่วยพาไปหมู่บ้านปาตานี ที่อ่านมาจากปกหลังของงานเขียนนวนิยายของคุณอาเรนาวาตี และจากการบอกเล่าของคุณซัฟรุลลอฮ ซันเร ชาวสุลาเวซีใต้เพื่อนอีกคนของผู้เขียน แถมเพื่อนผู้นี้ยังว่า บอกธง ธง Buluh Perindu อยู่ที่บ้านใคร ผู้เขียนจึงจดชื่อบุคคลที่อ้างนั้น ลงในสมุด และถามสภาพภายในหมู่บ้าน เพื่อนผู้เขียนบอกว่า ก็เหมือนชาวบ้านทั่วไปของชาวประมง เพราะอยู่ไม่ห่างจากริมหาดทะเลมากนัก มีการทำเสื่อจากต้นกระจู๊ดขาย ทำให้ภาพที่ได้รับการบอกเล่ามาเกี่ยวกับหมู่บ้านปาตานี ช่างมีสภาพที่แตกต่างกันบ้าง กับที่ได้พบจริง ปกหลังของนวนิยายเชิงประวัติศาสตร์ที่เขียนโดย คุณอาเรนาวาตี

                ปกของนวนิยายเชิงประวัติศาสตร์ที่เขียนโดย คุณอาเรนาวาตี

               ปกหลังของนวนิยายเชิงประวัติศาสตร์ที่เขียนโดย คุณอาเรนาวาตี

ดาโต๊ะมหาราชาเลลาได้รับที่ดินเป็นที่ตั้งถิ่นฐานทางใต้ของเมืองท่าซอมบาโอปู และสถานที่นั้นตั้งเช่นกันว่า “ปาตานี” ในที่สุดชาวมมลายูทั้งหลายก็เลือกดาโต๊ะมหาราชาเลลาเป็นหัวหน้า กษัตริย์รัฐโฆวา ก็ไม่ขัดข้อง ตั้งแต่นั้นมา มีการเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมตะวันออกมากมายในสังคมและรัฐโฆวา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับเครื่องประดับเสื้อผ้า ซึ่งยังคงพบเห็นได้ในปัจจุบัน เช่น เสื้อผ้าของลูกหลานเชื้อเจ้า  ชุดเจ้าสาว สร้อยข้อมือหัวมังกร กริชที่มีฝักและปลายทอง สร้อย กระดุม งานแกะสลักทุกชนิด และอื่นๆ ด้วยสายใยของศาสนาอิสลาม  ชาวมลายูจึงเป็นที่รักของเจ้าเมือง”


“Datuk Maharajalela diberi tempat tinggal disebelah selatan Somba Opu, dan tempat itu dinamakan juga “Patani”. Akhirnya Datuk Maharajalela itu, oleh orang orang Melayu dipilih sebagai kepala mereka Raja Gowapun tiada berkeberatan. Sejak itu banyak perubahan timur dibawanya ke dalam masyarakat dan Kerajaan Gowa, terutama mengenai perhiasan pakaian, yang kini masih didapati bekas-bekasnya, seperti pakaian anak raja, pada pengantin, ponto (gelang) bernaga, tatarap (keris bersarung dan berhulu emas) rantai buluh kancing merak, segala macam ukiran ukiran dan lain lain. Dengan semua itu dan dengan pertalian agama Islam maka orang orang Melayu sangat di sayang oleh raja.”

                              บ่อน้ำชาวมลายูปาตานีรุ่นแรกๆ

หลังจากที่พวกเราพบผู้นำชุมชนที่หมู่บ้านปาตานี ได้สอบถามเกี่ยวกับธง Buluh Perindu แต่ได้รับคำตอบว่าที่หมู่บ้านปาตานีไม่มีเก็บ ก่อนหน้านี้ เพื่อนชาวเมืองมากัสซาร์ บอกว่า ธงถูกนำไปเก็บที่กรุงจาการ์ตา ซึ่งไม่รู้ว่า เท็จจริงแค่ไหน อย่างไรก็ตาม ผู้นำชุมชนได้พาไปดูบ่อน้ำเก่าแก่ที่กล่าวว่า เป็นบ่อน้ำแรกๆของชมชนชาวมลายูปาตานี  รวมทั้งของเก่า และได้พาไปที่ปากอ่าว ที่ชาวบ้านบอกว่า เป็นสถานที่ที่ชาวมลายูปาตานีได้อพยพจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นบกที่รัฐโฆวา เกาะสุลาเวซี อินโดเนเซีย


ทฤษฎีความเป็นมาของชาวมลายูมีหลากหลายทฤษฎี บางก็ว่า ชาวมลายูมีต้นกำเนิดมาจากยูนาน ประทศจีน  (ทฤษฎีนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากคนทั่วไปแล้ว) บางทฤษฎีก็กล่าวว่า ชาวมลายูมีต้นกำเนิดมาจากไต้หวัน (ทฤษฎีนี้ก็ไม่ค่อยได้รับการยอมรับในปัจจุบันเช่นกัน) มีทฤษฎีใหม่ๆ เกิดขึ้น บางทฤษฎีก็ว่า ชาวมลายูมีต้นกำเนิดมาจากชาวอาหรับและตะวันออกกลาง (ทฤษฎีนี้กำลังเผยแพร่ และคนบางส่วนก็เชื่อในทฤษฎีนี้) มีอีกทฤษฎีหนึ่งว่ากล่าวว่า ชาวมลายูไม่ได้มาจากไหน แต่ชาวมลายูมีต้นกำเนิดมาจากภูมิภาคนี้แหละ ทฤษฎีนี้ เรียกว่า ทฤษฎีซุนดาแลนด์ ชาวมลายูมีต้นกำเนิดมาจากหมู่เกาะซุนดาแลนด์ ส่วนใครจะเชื่อทฤษฎีไหน หรือไม่เชื่อทฤษฎีใดๆ ก็เป็นเรื่องแต่ละคน มีอาจารย์มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย (Universiti Indonesia) คนหนึ่งกล่าวว่า เราไม่จำเป็นต้องพูดถึงว่าเรามาจากไหน แต่เราควรมาศึกษาว่า เราไปอยู่ที่ไหนบ้าง ไปยังประเทศศรีลังกา ไปยังประเทศมาดากัสการ์ ไปยังประเทศซูรินาเม (ละตินอเมริกา) ไปยังประเทศออสเตรเลีย ไปยังตะวันออกกลาง เรามาสร้างเครือข่าย เพื่อเป็นสะพานในการพัฒนาทางเศรษฐศาสตร์ การศึกษา ฯลฯ ในครั้งนี้เราวกถึงการอพยพของชาวมลายูปาตานีไปยังดินแดนอื่นๆ เช่นเกาะสุลาเวซี

                ปากอ่าวที่ชาวมลายูปาตานีขึ้นบกมาจากปาตานี ประเทศไทย

กล่าวกันว่าการอพยพของชาวมลายูไปยังสุลาเวซีใต้ ปะกอบด้วย 2 คลื่นระหว่างศตวรรษที่ 16 ถึง 17 ด้วยการค้า การเผยแพร่ศาสนาอิสลาม และการหาดินแดนที่สงค้นหาสถานที่สงบสุขมากขึ้น จากต้นฉบับจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติของ RI ม้วน (ม้วน) 77/15 บันทึกว่าบสุขกว่า คลื่นคือการเดินทางของ Datuk Leang (มาจากปาตานี) และ Datuk Makotta (มาจากมีนังกาเบา) โดยเดินทางมาที่สุลาเวซีใต้ในปี 1512 และจากการสมรสของชาวมลายูปาตานีกับชาวมีนังกาเบานี้ เกิด Datuk Rajabถือกำเนิดรุ่นที่ 2 จาก Datuk Leang  และต่อมาเกิดคลื่นลูกที่ 2 คือ การเดินทางของมหาราชาเลลา และคณะผู้ติดตามของเขาและธง Buluh Perindu คนกลุ่มขึ้นบกที่สุลาเวสีใต้ในปี 1632  สันนิฐานว่า ด้วยมีคนมลายูปาตานีรุ่นแรกได้มาอาศัยอยู่ในสุลาเวซีมาก่อนแล้ว


สุสานของดาโต๊ะเลียงชาวมลายูปาตานีรุ่นแรกที่มาตั้งถิ่นฐานในสุลาเวซีใต้ สังเกตขนาดของต้นพิกลที่ใหญ่หลายคนโอบ

                                         สุสานดาโต๊ะเลียง 

                                   สุสานที่ชาวบ้านเรียกว่า สุสานปาตานี

ในหมู่บ้านปาตานี ทางผู้นำชุมชนและชาวบ้านพาไปที่บริเวณสุสานเก่า สุสานแห่งนี้ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า สุสานปาตานี มีสุสานหนึ่งชื่อว่าสุสาน Datuk Leang  เป็นผู้นำชุมชนมลายูในหมู่บ้านปาตานี เมื่อถามว่า สุสานนี้เป็นของผู้ใด ทางชาวบ้านตอบว่าเป็นสุสาน Datuk Leang  แต่มีบางบทความวิชาการระบุว่า เป็นสุสาน Datuk Rajab เมื่อสอบถามทาง ศาสตราจารย์ ดร. มุคลิส ก็ได้รับการยืนยันว่า   เป็นสุสาน Datuk Leang

อ้างอิง


Bahtiar, Orang Melayu di Sulawesi Selatan, Jurnal Walasuji, Volume 9, No. 2, Desember 2018.

https://shorturl.at/WeQvj


Muhlis Hadrawi, Integrasi Melayu Melayu di Sulawesi Selatan. Kajian Berdasarkan Lontara, UKM, Malaysia.

https://shorturl.at/lXmnY


Muhlis hadrawi , Sea Voyages and Occupancies of Malayan Peoples at the West Coast of South Sulawesim, International Journal of Malay-Nusantara Studies,  Vol. 1, No. 1, May 2018.

https://shorturl.at/Msczh


Muhammad Saleh Tajuddin ddk., Political and Historical Relations of Patani Kingdom in Thailand And Patani Village in Indonesia. Jurnal Politik Profetik, Vol. 10. Tahun 2022.

https://shorturl.at/gQAnk


Rismawidiawati, Integrasi Orang Melayu di Takalar (XVI-XVII), Walasuji Volume 8, No. 1, Jun 2017.

https://shorturl.at/wxLkn


Syamsuri Ali, Patani and the 15th Century Malay Ulama Network: A Historical Study of the Kitab Tarikh Fathani by Sheikh Faqih Ali al-Fathani, International Journal of Science and Society, Volume 5, Issue 2, 2023

https://shorturl.at/Lmgfj

Tiada ulasan: