Sabtu, 8 Februari 2025

อาณาจักรลังกาสุกะในประวัติศาสตร์ไทย

โดย นายนิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

ภาพวาดบนผ้าไหมม้วน เขียนในสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ คริสต์ศตวรรษที่ 10-12 แสดงภาพราชทูตอชิตะจากลังกาสุกะเดินทางส่งบรรณาการยังประเทศจีน ในสมัยพระจักรพรรดิเอวียน (ปี 552-554) แห่งราชวงศ์เหลียง (จากหนังสือ “พัฒนาการทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ๓ จังหวัดชายแดนใต้”, สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม 2564)

ลังกาสุกะในเอกสารโบราณต่างๆ จากหนังสือ “พัฒนาการทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ๓ จังหวัดชายแดนใต้”, สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม 2564


เมื่อครั้งที่ได้โพสต์ลง Facebook เรื่องปาตานีมีจริงในประวัติศาสตร์ไทย เพื่อให้ความเห็น ให้หลักฐานอีกมุม ว่าปาตานีมีจริงในประวัติศาสตร์  ก็มีการถก มีการเถึยง สิ่งที่ถกเถียง นั้นคือเรื่องคำว่า ปาตานี ปัตตานี ปะตานี หรือ ตานี ซึ่งความจริงแล้ว จะชื่ออะไร ก็แล้วแต่ ล้วนเป็นพื้นที่เดียวกัน เพียงแต่ละคน อาจเรียกต่างกัน แต่เมื่อถามคนในพื้นที่แล้ว ย่อมจะมีคำว่า ปาตานี เป็นเสียงส่วนใหญ่  เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน ปลายปีที่แล้ว ผู้เขียนได้รับเชิญเป็นวิทยากรที่โรงเรียน Laguna Resort and Spa ตามที่ผู้เขียนได้รับงบประมาณจากสวก. หรือ ในปัจจุบัน คือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว เรื่องการเมือง การปกครองมาเลเซีย   โดยบรรยายการเมืองมาเลเซีย กับการแก้ปัญหาภาคใต้  ผู้เข้าร่วมสัมมนา มีจากกรมประชาสัมพันธ์ ร่วมทั้งนายทหารจาก กอ. รมน. ส่วนหน้า  ค่ายอิงยุทธบริหารสำหรับแผ่นสไลด์แผ่นสุดท้ายของผู้เขียน ในขณะที่ผู้ดำเนินการสัมมนารีบเร่งให้ผู้เขียนจบให้เร็วที่สุด เพราะกินเวลาคนอื่นหลายนาที จนสังเกตได้ว่า สไลด์แผ่นสุดท้ายไม่ค่อยมีใครสนใจมากนัก ผู้เขียนบอกในที่สัมมนาว่า ถ้าแต่ละฝ่ายยังไม่เปิดใจกว้าง มันก็ยากที่จะแก้ไขปัญหาได้  เพราะแต่ละฝ่ายมีโลกทัศน์ที่แตกต่างกัน สไลด์แผ่นสุดท้ายมีข้อความสั้นๆ คือ  “สำหรับประเทศไทย “ปาตานี” เป็นกิจการภายในของประเทศไทย คนอื่นไม่ควรมาแทรกแซง  แต่สไหรับโลกมลายู ปาตานีเป็นส่วนหนึ่งของโลกมลายู”   และเมื่อเลิกสัมมนา ก็นั่งรอรถในห้องอาหาร ดื่มกาแฟพลางๆ  ผู้เขียนบอกกับนายมหารคนหนึ่ง  ท่านมียศเป็นพลตรี และมีตำแหน่งเป็นรอง ผอ.รมน.ภาค 4 สน.  โดยผู้เขียนบอกว่า ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการบิดเบือนหลักฐานทางประวัติศาสตร์  เช่นบอกว่าปาตานีไม่มีในประวัติศาสตร์  เมื่อมันมีในประวัติศาสตร์ ก็บอกว่ามีในประวัติศาสตร์ ซิครับ  แล้วหาหลักฐานอื่น หาแนวทางอื่นในการสร้างความปรองดอง ไม่เช่นนั้น มันก็เหมือนเอาน้ำมันราดลงกองไฟ  


เมื่อผู้เขียนโพสต์ลง Facebook เรื่องปาตานีมีจริงในประวัติศาสตร์ ก็มีคนหนึ่ง ที่ไม่ได้เรียนประวัติศาสตร์ โต้ว่า ในสมัยสุโขทัยก็ไม่มีปัตตานี ผู้เขียนจึงจำเป็นต้องใช้หลักฐาน และกลักฐานที่ค่อนข้างจะมั่นคง คือ เอาหลักฐานจากหนังสือหนังสือ “พัฒนาการทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ 3 จังหวัดชายแดนใต้”, สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม 2564) เพราะถ้าเอาหลักฐานอื่น ก็ยังคงไม่ยอมรับ

ผู้เขียนได้โพสต์ลงใน Facebook ว่าด้งนี้

ลังกาสุกะในแผนที่โบราณของจีน จากหนังสือ “พัฒนาการทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ๓ จังหวัดชายแดนใต้”, สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม 2564


มีคนรู้จักและบางคนถามว่า ไม่มีปาตานี (หรือ ปัตตานี ปะตานี ตานี จะชื่ออะไรก็แลวแต่ ล้วนเป็นพื้นที่เดียวกัน ศาสตราจารย์ ดร. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความหมายว่า ปาตานี หมายถึงพื้นที่ในอดีตของจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดยะลา ส่วนปัตตานี หมายถึงจังหวัดปัตตานี) ในประวัติศาสตร์ยุคสุโขทัยจริงหรือ ก็ตอบว่า ใช่  เป็นความจริงครับ ด้วยอาณาจักรสุโขทัย ตั้งขึ้นมาในพุทธศตวรรษที่ 18  หรือคริสต์ศัตวรรษที่ 13  ส่วนปาตานี หรือ ปัตตานี ปะตานี ตานี จะชื่ออะไรก็แล้วแต่ เกิดขึ้นในราวคริสต์ศัตวรรษที่ 15-ต้นคริสต์ศัตวรรษที่ 16 มันจะมีปาตานี หรือชื่ออะไรในพื้นที่เดียวกันได้อย่างไร มันคนละยุค คนละสมัย ในยุคสมัยสุโขทัยนั้น ในดินแดนบริเวณนั้น มีชื่อว่า ลังกาสุกะ ซึ่งบางยุคกล่าวว่า ลังกาสุกะ มีดินแดนครอบคุมทั้งสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และรัฐเคดะห์

ลังกาสุกะในแผนที่โบราณของจีน จากหนังสือ “พัฒนาการทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ๓ จังหวัดชายแดนใต้”, สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม 2564


 หลักฐานการมีอยู่ของลังกาสุกะ ไม่ว่าจะเป็นเมืองโบราณอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี  ภาพวาดราชทูตอชิตะ (อาชิตั๋ว) จากลังกาสุกะ ที่พิพิธภัณฑ์เทียนอันเหมิน กรุงปักกิ่ง  เป็นภาพวาดบนผ้าไหมม้วน เขียนในสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ คริสต์ศตวรรษที่ 10-12 แสดงภาพราชทูตอชิตะจากลังกาสุกะเดินทางส่งบรรณาการยังประเทศจีน ในสมัยพระจักรพรรดิเอวียน (ปี 552-554) แห่งราชวงศ์เหลียง (อ้างจากหนังสือ “พัฒนาการทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ๓ จังหวัดชายแดนใต้”, สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม 2564) และผมเอง เคยไปดูเอกสารโบราณในรูปแบบบทกวีชื่อ Nagara Kertagama หรือ ที่นักวิชาการส่วนหนึ่งเรียกว่า นครกฤติคม ที่สำนักงานหนึ่งของประเทศอินโดเนเซีย ที่เขียนขึ้นโดย Empu Prapanca เมื่อปี 1365 หรือ 660 ปีก่อน  โดยประเทศเนเธอร์แลนด์มอบคืนให้ประเทศอินโดเนเซีย เมื่อปี  1970 จึงได้รับมอบคืนให้แก่ประเทศอินโดเนเซีย ในบทกวีโบราณดังกล่าว อาณาจักรมาชาปาฮิต มีอิทธพลเหนือ ลังกาสุกะ ไซม์วัง กลันตัน ตรังกานู มีข้อความในหนังสือบทกวี Nagara kertagama ว่า


Langkasuka len ri Saimwang, i Kalaten I terengganu, ……Niran Sanusa Pupul - Langkasuka(patani), Saimwang, kelantan, Terengganu, ……..Semuanya berkumpul dalam satu Nusantara)


ซึ่งเพื่อนที่ทำงานที่หนีวบงานราชการนั่น ซึ่งจบด้านอักขระโบราณกล่าวว่า อิทธิพลเหนือ น่าจะหมายถึงอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรม คำโบราณคำนั้น มีความหมายว่า มิตร

สามารถอ่านหนังสือคำแปลในหนังสือ  Nagara Kertagama (นครกฤติคม) ของ  ศ. ดร. Raden Benedictus Slamet Muljana ปี 1953 และสำหรับผู้ที่ใจเปิดกว้าง สามารถอ่านหนังสือ “รัฐปัตตานีใน”ศรีวิชัย” เก่าแก่กว่ารัฐสุโขทัยในประวัติศาสตร์ ผู้แต่ง ศรีศักร วัลลิโภดม, ประพนธ์ เรืองณรงค์, รัตติยา สาและ, ปรามินทร์ เครือทอง, ธงชัย วินิจจะกูล และสุจิตต์ วงษ์เทศ”  และอีกไม่นาน จะมีวิทยานิพนธ์ปริญญาโทเกี่ยวกับศึกษาลังกาสุกะโดยเฉพาะของนักศึกษามหาวิทยาลัยในไต้หวัน

และใน Facebook ได้เขียนเพิ่มเติมเป็นภาษามลายูว่า

Ada kenalan dan sesetengah orang menanyakan saya, adakah betul Patani (atau Pattani, Patani, Tani, apa sahaja namanya, sebenarnya semua terletak di kawasan yang sama, Profesor Dr. Chaivat Sathananta, bekas pensyarah di Universiti Thammasat, menjelaskan Patani (satu T) bermaksud Wilayah Pattani. Wilayah Narathiwat Dan Wilayah Yala, dan Pattani (dua TT)  bermaksud Wilayah Pattani) Sahaja, tidak berada dalam sejarah Empayar Sukhothai. Jawapan saya: Ya, betul sekali.


Alasannya Sukhothai ditubuhkan pada abad ke-18 Era Buddha atau abad ke-13 Masihi. Bagi Patani pula ditubuhkan sekitar abad ke-16 masihi. Agak mustahil Patani berada di era Sukhothai. Kerana kedua duanya  berada di era yang berbeza. Sebaliknya di kawasan Patani pada masa Empayar Sukhothai itu wujudnya Kerajaan Langkasuka. Ada juga sesetengah ahli akademi mengatakan Langkasuka pada satu zaman merangkumi kawasan Kedah dan Patani.


Bagi mereka yang hati terbuka, anda boleh membaca buku “Negeri Patani di "Sriwijaya", lebih tua daripada sejarah Sukhothai”. Tulisan (dalam bahasa Thai) Prof. Dr. Rattiya Salleh dll. Dan tidak berapa lama lagi akan keluarnya tesis MA khusus Langkasuka dari universiti di Taiwan.

 

Tiada ulasan: