ในหัวข้อเรื่องชื่อว่า
นักการศาสนาจากปาตานีในประเทศมาเลเซีย เป็นหัวข้อที่ผู้เขียนนำมาจากหนังสือประวัติศาสตร์ปัตตานี
ที่เขียนโดย คุณอาหมัด ฟัตฮี อัลฟาตานี
และผู้เขียนได้แปลขึ้น โดยมีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เป็นเจ้าของโครงการแปลหนังสือวิชาการ โดยผู้เขียนได้นำเรื่องที่คุณอาหมัด
ฟัตฮี อัลฟาตานี ได้เขียนขึ้นเกี่ยวกับนักการศาสนาที่เป็นชาวปาตานีในมาเลเซีย
แต่ที่แน่ชัดที่สุดในบรรดาผู้อพยพมาจากปาตานี
หรือ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปยังประเทศมาเลเซียเหล่านี้คือ บรรดานักการศาสนา ไม่เหมือนผู้อพยพที่ไม่ใช่นักการศาสนา
ส่วนใหญ่จะหายไปภายหลังจากการสูญหายไปของตัวเขาหรือบทบาทของเขา ชื่อนักการศาสนาเหล่านี้ยังคงอยู่ตลอดสมัยด้วยปัจจัยหลายอย่าง
ที่สำคัญเพราะเขาได้ทิ้งงานเขียนและศิษย์ที่สืบทอดแนวคิดของเขาภายหลังเขาตายไปแล้ว
เช่นในรัฐตรังกานู
มีนักการศาสนาชาวปาตานีรุ่นแรกที่ค้นพบได้ว่าอพยพไปยังรัฐตรังกานูดารุลอีมานแห่งนี้
คือ เชค อับดุลกาเดร์ บูกิต บายัส (Sheikh Abdul Kadir Bukit Bayas) เชื่อว่าเขามารัฐตรังกานูราวต้นศตวรรษที่ 19 เสียอีก
เพราะความปราดเปรื่องของเขา เขาถึงถูกแต่งตั้งให้เป็นครูสอนศาสนาในพระราชวัง พร้อมเป็นมุฟตี หรือผู้นำฝ่ายศาสนาแห่งรัฐตรังกานู โดยสุลต่านโอมาร์ (ค.ศ. 1839 – 1876) ภายหลังจากเขายังมีโต๊ะเชคดูยง,
ตวนฮาซัน เบอซุท และตวนฮัจญีฮุเซ็น บ้านกำปงลาปู
พร้อมบุตรของเขาที่ชื่อโต๊ะครูฮัจญีมูฮัมหมัด พวกเขาทั้งหมดล้วนเป็นนักการศาสนาที่มีชื่อเสียงของรัฐตรังกานูในศตวรรษที่ 19
(ยกเว้น 2
คนหลังที่มีชีวิตอยู่จนถึงต้นศตวรรษที่
20) ได้สร้างลูกศิษย์จำนวนมาก งานเขียนในรูปของตำราศาสนา
พร้อมมีความเสียสละไม่น้อยในด้านการดำรงอยู่ของหลักการศรัทธาและจิตวิญญาณของประชาชนรัฐตรังกานู
ส่วนในรัฐเคดะห์นั้น นักการศาสนาจากปาตานี หรือ
สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีชื่อเสียงมาก
คือ โต๊ะเชคยารุม เขาดั้งเดิมมาจากบ้านบันดัง บาดัง, ปัตตานีได้อพยพไปยังรัฐเคดะห์ ตอนปลายศตวรรษที่ 19 ด้วยการเปิดปอเนาะที่เดอร์ฆา (ถนนลังฆาร์)
ชื่อที่แท้จริงของเขาคือฮัจญีวันอิดริส
บินฮัจญีวันยามาล แต่ที่ได้ชื่อว่า เชคยารุม
(เข็ม)
เพราะความแหลมคนของความคิด
และความรัดกุมของเขาเมื่อได้ถกปัญหา
ภายหลังจากเขาแล้วคือ
ฮัจญีอิสมาแอล บิน มุสตาฟา
(บิดาของโต๊ะครูฮัจญีฮุเซ็น
โต๊ะจิโดล), ปะจูฮิม
การเยาะมาตีและอื่น ๆ อีก
สำหรับที่รัฐสลังงอร์แล้ว มีบันทึกชื่อ
เชคคุลอิสลาม หรือผู้นำฝ่ายศาสนาคนหนึ่งที่รู้ว่ามาจากปาตานี คือ
เต็งกูมาห์มุดซุห์ดี บินเต็งกูอับดุลราห์มาน
ที่เซอเบอรังไปรในพื้นที่สุไหงดูวา มีนักการศาสนาชาวปาตานีที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งมาสอนและเปิดปอเนาะที่นั่น เขาคือตวนมีนาล หรือ ชื่อจริงว่าฮัจญีไซนัลอาบีดิน บินอาหมัด หรือมูฮัมหมัด ผู้เขียนตำราชื่อ Kashf al-Lithan และ Aqidat al Najin เล่มที่มีชื่อเสียงเหล่านั้น เขาเสียชีวิตที่ปาดังลาลัง, สุไหงดูวา วันเดือนปีนั้นข้าพเจ้ายังไม่ค้นพบ
สำหรับในรัฐกลันตัน จำนวนผู้อพยพชาวปัตตานีไม่ว่าอยู่ในกลุ่มใดทั้งนักการศาสนาหรืออดีตผู้มีความเห็นต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนมีเป็นจำนวนมาก มีมากกว่าในบรรดารัฐอื่น ๆ การอพยพของประชาชนปาตานีไปยังรัฐกลันตันรวมทั้งครอบครัวเจ้าเมืองและบรรดาขุนนางทั้งหลาย
ความจริงเนื้อที่ไม่เพียงพอสำหรับการบันทึก แม้ว่าเพียงครอบครัวที่มีชื่อเสียงในรัฐกลันตันปัจจุบันที่มีบรรพบุรุษมาจากปาตานี ยังไม่ได้รวมถึงกลุ่มประชาชนทั่วไปเป็นที่แน่ชัดว่าใครก็ตามที่เป็นคนมลายูกลันตันในปัจจุบัน พวกเขาจะพูดด้วยความรวดเร็วทันทีว่า “แน่นอนข้าพเจ้ามีญาติพี่น้องที่ปาตานี” ซึงชัดเจนที่สุดสำหรับพวกเขาที่อยู่ในอำเภอตุมปัต อำเภอปาเสมัส อำเภอตาเนาะห์ แมเราะ และอำเภอโกตาบารู รัฐกลันตัน
นอกจากการ “อพยพ” ไปยังบรรดารัฐต่างๆในแหลมมลายู ประชาชนปาตานีมีจำนวนมากที่อพยพไปยังนครมักกะห์ และรัฐมลายูอื่น ๆ ในภูมิภาคมลายู มีหลายครอบครัว ชาวปาตตานีได้อพยพไปยัเมืองซัมบัสและเมืองปอนเตียนนักในจังหวัดกาลีมันตันตะวันตก ไปยังหมู่เกาะเรียว และฝั่งทะเลตะวันออกของสุมาตรา แล้วยังมีที่ไปถึงบรูไนและอาเจะห์
Tiada ulasan:
Catat Ulasan