ผู้เขียนเคยได้ยินชื่อของเปาะจิเว็ง หรือนายอิบราฮิม ตั้งแต่ยังวัยรุ่น ด้วยเขาจะเป็นชาวมาเลเซีย
ที่เดินทางมาเยี่ยมเยียนญาติพี่น้องในโอกาสวันฮารีรายาอีดิลอัฎฮาเกือบจะทุกปี บางปีจะพาเงินมาซื้อวัว
เพื่อการกุรอ่านด้วย เขาเป็นชาวมาเลซีย ที่มีบรรพบุรุษ มาจากปาตานี
หรือจังหวัดชายแดนภาคใต้ การที่เขามีจิตสำนึกว่า เขามีบรรพบุรุษมาจากมาจากปาตานี
หรือจังหวัดชายแดนภาคใต้นี้เอง ทำให้เขายังคงสานสัมพันธ์กับญาติพี่น้องฝั่งไทย
ซึ่งแตกต่างกับบางคน บางครอบครัว ความสัมพันธ์กับญาติพี่น้องฝั่งไทย จะห่างเหิน ในครั้งนี้ ผู้เขียนขอนำงานเขียนของคุณอาหมัด ฟัตฮี อัลฟาตานี จากหนังสือ เรื่อง
ประวัติศาสตร์ปัตตานี ที่ผู้เขียนได้แปลเป็นภาษาไทย โดยมีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี เป็นเจ้าของโครงการแปลหนังสือวิชาการ คุณอาหมัด ฟัตฮี อัลฟาตานี ได้เขียนถึงเปาะจิเว็ง
หรือนายอิบราฮิม มีดังนี้
ในปี
ค.ศ. 1986
ครั้งที่ข้าพเจ้าแวะละหมาดที่มัสยิดวาดิลฮุสเซ็น ที่บ้านตะโละมาเนาะ ในอำเภอบาเจะ
จังหวัดนราธิวาส
ข้าพเจ้าเห็นรถป้ายมาเลเซียคันหนึ่งจอดอยู่หน้าบ้านโต๊ะบิลาลมัสยิดชื่อ นายฮัจญีอิบราฮิม
เมื่อข้าพเจ้ามีโอกาสได้สลามกับเจ้าของรถคันดังกล่าวภายหลังจากละหมาดเสร็จ
ข้าพเจ้าได้ทราบว่าเขามาเยี่ยมเยียนครอบครัวที่บ้านตะโละมาเนาะและหมู่บ้านใกล้เคียง “ปู่ของข้าพเจ้ามาจากที่นี่” เขากล่าว
“ทุกปีถ้ามีโอกาสข้าพเจ้าพาลูกและครอบครัวมาเยี่ยมเยียนเพื่อสายสัมพันธ์จะได้ไม่ขาดตอน” เขากล่าวเสริม
ในการพูดคุยต่อมา
ข้าพเจ้ารู้สึกว่าเขาเป็นอดีตเสมียนที่สำนักงานกอฎีแห่งเมืองปาริต บุนตาร์, รัฐเปรัค
เขาเกษียณเมื่อต้นศตวรรษที่ 1980 ประมาณการว่าเขาเกิดราวปลายทศวรรษที่ 1920 ถ้าเป็นจริงที่ว่าปู่ของเขามาจากบ้านตะโละมาเนาะและอพยพไปยังรัฐเปรัค มาเลเซีย จึงสามารถคาดการณ์ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นช่วงหลังของศตวรรษที่ 19
คุณอาหมัด ฟัตฮี อัลฟาตานี ยังได้เขียนเสริมถึงชาวปาตานีอีกว่า
ก่อนหน้านี้ข้าพเจ้าพำนักอยู่ที่บ้านบังโฆล ยาบัต ในอำเภอรือเสาะ, นราธิวาส ในปี ค.ศ. 1964 เพื่อนบ้านของข้าพเจ้าชื่อเต็งกูยะห์ (ข้าพเจ้าไม่ทราบชื่อเต็มของเขา) กล่าวแก่ข้าพเจ้าว่า พระราชินีประเทศมาเลเซียในขณะนั้น หรือเป็นพระราชินีแห่งรัฐเปอร์ลิสในปัจจุบัน เป็นลูกพี่ลูกน้องของเขา ครูศาสนาคนหนึ่งบอกแก่ข้าพเจ้าโดยไม่ได้ตั้งใจว่า รมต. การคลังคนปัจจุบันคือ ดาโต๊ะ ศรี ราฟีดะห์ อาซีซ มาจากเซอลามา รัฐเปรัค มีบรรพบุรุษมาจากครอบครัวสำคัญจากปูยุด ปัตตานี
จากการสังเกตของผู้เขียนเอง (คุณอาหมัด ฟัตฮี อัลฟาตานี) หลายต่อหลายคนอดีตมุขมนตรีรัฐเปรัค เช่น ดาโต๊ะ ศรี กามารูดิน มัตอีซา และวันมูฮัมมัด วัน เตะห์ ล้วนเป็นที่รู้ว่ามีบรรพบุรุษหรือครอบครัวมาจากปัตตานี
นอกจากนั้นมีหลายหมู่บ้านในรัฐเปรัค โดยเฉพาะในเขตฮูลูเปรัค เป็นที่รู้ว่าบุกเบิกโดยผู้อพยพชาวปัตตานี ข้าพเจ้ายังจำได้ดี ครั้งที่รัฐบาลมาเลเซียสร้างเขื่อนเตอเมิงฆอร์ (Temenggor) หลายปีที่ผ่านมา หลายหมู่บ้านจำต้องอพยพเพราะเป็นบริเวณพื้นที่น้ำท่วม บทความชิ้นหนึ่งที่ข้าพเจ้าอ่านในหนังสือพิมพ์ได้เล่าถึงความเป็นมาของหมู่บ้านเหล่านี้เป็นหมู่บ้านที่บุกเบิกโดยประชาชนจากปาตาานี พวกเขาตั้งถิ่นฐานที่หมู่บ้านดังกล่าวจนกระทั่งถูกบังคับให้อพยพเนื่องจากโครงการเขื่อนที่กล่าวมาแล้ว ตามคำบอกเล่าของประชาชน พวกเขาที่ถูกอพยพในปัจจุบันนี้เป็นลูกหลายชั้นที่สามหรือสี่ภายหลังมีการบุกเบิกหมู่บ้าน
เป็นที่แน่ชัดว่าบรรดาหมู่บ้านเหล่านี้ถูกบุกเบิกช่วงกลางศตวรรษที่ 19 นั้นคือภายหลังจากปาตานีเข้าสู่ยุคความวุ่นวายและล่มสลายจากสงครามและการก่อกบฏ
ในรัฐเคดะห์ มีผู้นำคนหนึ่งชื่อ “โต๊ะมอริส”
ที่หมู่บ้านกุโบร์ปันยัง
เขามีชื่อเต็มว่า “โต๊ะบอมอห์ อิดริส”
หลังจากเป็นผู้นำชุมชนในท้องถิ่นต่อต้านสยามที่รัฐเคดะห์ในต้นศตวรรษที่ 19 จากข้อมูลที่ได้รับจากประชาชนกล่าวว่าเขามาจากปาตานี
ในบทความที่ถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “เบอรีตา
มิงฆู”
(ข้าพเจ้าลืมวันเดือนปี)
คุณบาฮารุดดิน อาดัม ได้เขียนเกี่ยวกับประวัติเมืองเกอมามัน รัฐตรังกานู
ตามที่เขาเขียน
เมืองเกอมามันปัจจุบัน
เดิมเป็นหมู่บ้านชาวประมงที่บุกเบิกโดยผู้อพยพสงครามจากปาตานีในทศวรรษที่ 1820
เป็นที่เชื่อว่ารัฐตรังกานูมีลูกหลานผู้มาจากปาตานีจำนวนมาก
ไม่เพียงจำกัดเพียงอำเภอเบอซุตและสะติวที่อยู่ใกล้กัน ยังไกลไปจนถึงปากาและเกอมามัน ครั้งที่ข้าพเจ้า “แอบ”
เข้าร่วมในการสัมมนาอิสลามที่ตรังกานูในเดิอนมิถุนายน ค.ศ. 1991 ที่ผ่านมา
ข้าพเจ้าได้ยินคำกล่าวจากผู้รายงานบทความการสัมมนาคือ ดร. ชาฟีอี
อาบูบาการ์ (Dr.Shafie Abu
Bakar) จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย (Universiti Kebangsaan
Malaysia) โดยกล่าวว่าครอบครัวเขาที่ปากกามาจากตระกูล “แม่ทัพปาตานีที่พ่ายแพ้สงครามต่อสยาม” เขากล่าวว่าบรรดาแม่ทัพเหล่านี้ได้ล่าถอยจากปาตานีแวะที่ริมฝั่งทะเลรัฐตรังกานู แล้วบุกเบิกตั้งถิ่นฐานใหม่รวมทั้งในปากา
ที่เขียนมาข้างตนเป็นส่วนหนึ่งที่คุณอาหมัด ฟัตฮี อัลฟาตานีเขียนในหนังสือ “ปรวัติสาสตร์ปัตตานี หรือประววัติศาสตร์ปาตานี”
Tiada ulasan:
Catat Ulasan