Jumaat, 8 November 2024

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ดาโต๊ะ ไซนาลอาบีดิน กลิง (Profesor Emeritus Datuk Dr Zainal Kling) นักวิชาการนามอุโฆษแหงมาเลเซีย

โดย นายนิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2024 มีข่าวจากมาเลเซียได้รายงานว่า  นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ คือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ดาโต๊ะ ไซนาลอาบีดิน กลิง (Profesor Emeritus Datuk Dr Zainal Kling) ได้เสียชีวิตลง เมื่อเวลา 04.30 น. ตามเวลามาเลเซีย ทีโรงพยาบาลชาห์อาลาม รัฐสลังงอร์ มาเลเซีย สำหรับศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ดาโต๊ะ ไซนาลอาบีดิน กลิง (Profesor Emeritus Datuk Dr Zainal Kling) นับเป็นนักวิชาการที่รอบรู้ของประเทศมาเลเซีย เมื่อหลายปีก่อนผู้เขียนได้ร่วมสัมมนาในประเทศบรูไนดารุสสาลาม โดยได้ร่วมพักห้องเดียวกันที่โรงแรมในประเทศบรูไนดารุสสาลามกับศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ดาโต๊ะ ไซนาลอาบีดิน กลิง (Profesor Emeritus Datuk Dr Zainal Kling) สองสามวัน ในขณะที่ได้ร่วมห้องเดียวกันนั้น ผู้เขียนก็ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ดาโต๊ะ ไซนาลอาบีดิน กลิง (Profesor Emeritus Datuk Dr Zainal Kling) หนึ่งสิ่งที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในห้องโรงแรมที่ประเทศบรูไนดารุสสาลาม คือ ได้ถามท่านว่า ท่านจบในสาขาอะไร เพราะเห็นสามารถที่จะขึ้นเวทีรวมเสวนาในหัวข้อต่างๆ ทั้งวรรณกรรม ภาษามลายู ประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา เพราะผุ้เขียนสงสัย แม้จะรู้วา ท่านอยู่ในสายสังคมวิทยา มานุษยวิทยา ท่านก็ตอบแบบ การร่วมงานกับเพื่อน พรรคพวกในหลากหลายสาขา ทำให้ เป็นคนที่สามารถนำประสบการณ์ต่างๆ มาพูด มาบรรยายในหลากหลายสาขา

ในครั้งนี้ เรามาทำความรู้จักกับศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ดาโต๊ะ ไซนาลอาบีดิน กลิง (Profesor Emeritus Datuk Dr Zainal Kling) นะครับ 

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ดาโต๊ะ ไซนาลอาบีดิน กลิง (Profesor Emeritus Datuk Dr Zainal Kling) เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 1944 ในรัฐมะละกา ในช่วงสิ้นสุดการยึดครองมลายาของญี่ปุ่น เขาเติบโตมาในบรรยากาศแบบหมู่บ้านและเข้าเรียนในโรงเรียนที่ใช้ภาษามลายูในปี 1950 โรงเรียนมลายูเป็นรูปแบบการศึกษารูปแบบเดียวที่พบในหมู่บ้านมลายูเกือบทุกหมู่บ้าน ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เด็กมลายูก็จะออกมาเป็นกรรมกร ชาวนา ชาวประมง หรือตำรวจ และทหารที่เสี่ยงชีวิตเพื่อปกป้องความปลอดภัยให้ทุกคน กล่าวคือ พวกเขาอยู่ที่ระดับล่างของสังคม คือเป็นสิ่งที่เจ้าอาณานิคมอังกฤษได้วางแผนไว้แล้ว ยกเว้นคนไม่กี่คนที่จะออกมาเป็นเจ้าหน้าที่และพนักงานระดับล่างในหน่วยงานของรัฐ


ต่อมาโรงเรียนมัธยมที่ใช้ภาษามลายูได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนตวนกูอับดุลราห์มาน (Sekolah Tuanku Abdul Rahman (STAR) ถนนไทเกอร์เลน (Tiger Lane) รัฐเปรัค ซึ่งเป็นโรงเรียนสมัยใหม่ที่นำชื่อของพระราชาธิบดีคนแรกมาเป็นชื่อโรงเรียน จากเด็กในหมู่บ้านที่ยากจนมากมาสู่เด็กสมัยใหม่ เขาสามารถได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเป็นนักเรียนชั้นม.6 และสามารถเข้ามหาวิทยาลัยมาลายาในปี 1964 โรงเรียนตวนกูอับดุลราห์มาน ได้กลายเป็นดวงดาวที่ส่องสว่างบนท้องฟ้าของประเทศมาเลเซียในยุคนั้น เพื่อช่วยให้ชาวมลายูหลายพันคน เด็ก ๆ จะได้รับการยกระดับการศึกษา ซึ่งไม่เพียงจะไม่กลายมาเป็นชนชั้นที่ยากจนและขัดสนอีกต่อไป ดังนั้นการใช้ชีวิตในหอพักเป็นเวลาหนึ่งทศวรรษในโรงเรียนของเขาทำให้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ดาโต๊ะ ไซนาลอาบีดิน กลิง (Profesor Emeritus Datuk Dr Zainal Kling) หลุดพ้นจากวงจรอุบาทว์ คือการกดขี่ต่อผู้เรียนที่ใช้ภาษามลายู

จากนั้นเขาได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมาลายา (Universiti Malaya) และสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต (B.A.Hons) ในปี 1964-1966/67 และปริญญาโทสาขาศิลปศาสตร์ (MA Hons) ที่มหาวิทยาลัยมาลายาเช่นเดียวกันในปี 1967-1969-70 และเขาศึกษาต่อจนถึงปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยฮุลล์ ประเทศอังกฤษ ในปี 1970-1973/74


ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ดาโต๊ะ ไซนาลอาบีดิน กลิง (Profesor Emeritus Datuk Dr Zainal Kling) เคยเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติมาลเซีย (Universiti Kebangsaan Malaysia) ในปี 1977/78 เขาเป็นผู้ตรวจสอบ หรือ Reader วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยไซนส์มาเลเซีย รัฐปีนัง ในปี 980/81 เขาเป็นอาจารย์พิเศษ และผู้ดูแลหลักสูตรการอบรมระดับอุดมศึกษา ทีมหาวิทยาลัยมาลายา ในปี 1983/85 เป็นอาจารย์พิเศษวิชามานุษยวิทยา ของหลักสูตรการอบรมพยาบาล มหาวิทยาลัยมาลายา ในปี 1985/89 เขามีโอกาสเป็นอาจารย์สอนสาขาวิชาวิเคระห์สังคมที่วิทาลัยตำรวจ (Police College) ที่เมืองกัวลากูบูบารู รัฐสลังงอร์ ในปี 1985 และเป็นอาจารย์พิเศษสาขาวิชาสังคมวิทยา ที่ State University of New York (SUNY-ITM) เป็นโครงการร่วม หรือ Join Education Programme ดำเนินการที่เมืองซูบังจายา กัวลาลัมเปอร์ ในปี 1985/87 เขายังเป็นคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรสำหรับมัคคุเทศก์ ขององค์การสงเสริมการท่องเที่ยวแห่งมาเลเซีย ในปี 1988 เขาเป็นอาจารย์พิเศษสำหรับผู้เข้าอบรมเป็นมัคคุเทศก์ องค์การสงเสริมการทิองเที่ยวแห่งมาเลเซีย ในปี 1989


ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ดาโต๊ะ ไซนาลอาบีดิน กลิง (Profesor Emeritus Datuk Dr Zainal Kling) เข้าสู่ระดับการบริหาร โดยเริ่มตั้งแต่ระดับล่างคือ


เป็นหัวหน้าหอนักศึกษาที่ชื่อว่า Kolej ke 4 (Fourth Residential College) โดยในมหาวิทยลัยมาลายา นั้นคือทุกหอพักนักศึกษาจะต้องมีอาจารย์ผู้ดูแลหอพัก โดยต้องพักอาศัยร่วมหอพักกับนักศึกษา เพื่อสามารถดูแลนักศึกษาตลอด 24 ชั่วโมง โดยดำรงตำแหน่งระหว่างเดือนพฤษภาคม 1976-เดือนธันวาคม 1978


ต่อมาดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ หรือ มาเลเซียเรียกว่า tutor ของมหาวิทยาลัยมาลายา ระหว่างเดือนมิถุนายน 1967- เดือนกันยายน 1969


ต่อมาเป็นอาจารย์ระดับเรียกว่า ผู้ช่วยอาจารย์ หรือ Pembantu Pensyarah ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์  1974- เดือนธันวาคม 1977


เป็นรองศาสตราจารย์ หรือ Prof. Madya ระหว่างเดือนธันวาคม 1977-1992 ในมหาวิทยาลัยมาลายา ไม่มีตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์อย่างในประเทศไทย


และได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ ในปี 1992


หัวหน้าภาควิชาสังคมวิทยา มานุษยวิทยา ของมหาวิทยาลัยมาลายา ในเดือนเมษายน ในปี 1984/88


เป็นคณบดีของคณะศิลปะศาสตร์และสังคมศาตร์ มหาวิทยาลัยมาลายา ระหว่างพฤษภาคม 1993 - เมษายน 1995


ได้รับแต่งตั้งเป็นรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมาลายา ฝ่ายกิจกรรมนักศึกษา ในเดือนเมษายน 1995 จนเกษียณก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณ หรือ Profesor Emeritus ของมหาวิทยาลัยต่างๆ  เริ่มตั้งแต่มหาวิทยาลัยอุตารามาเลเซีย (Universiti Utara Malaysia) โดยรับตำแหน่งศาสตราจารย์ของศูนย์ศึกษารัฐบาล หรือ Pusat Pengajian Kerajaan ของคณะกฎหมาย รัฐบาล และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (College of Law, Government and International Studies)  ของมหาวิทยาลัยอุตารามาเลเซีย (Universiti Utara Malaysia)


ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ดาโต๊ะ ไซนาลอาบีดิน กลิง (Profesor Emeritus Datuk Dr Zainal Kling) เป็นคนต่อต่อต้านนโยบาย PPSMI สำหรับนโยบาย PPSMI หรือ Pengajaran dan Pembelajaran Sains dan Matematik dalam Bahasa Inggeris หมายถึงการสอนและการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์โดยใช้ภาษาอังกฤษ (PPSMI) เป็นชื่ออย่างเป็นทางการของนโยบายการศึกษาของมาเลเซียที่กำหนดให้ภาษาอังกฤษเข้ามาแทนที่ภาษาประจำชาติ/ภาษาแม่เป็นสื่อกลางของวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในทุกระดับของการศึกษา นโยบาย PPSMI มักเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันอย่างถึงพริกถึงขิง นับตั้งแต่ถูกนำมาใช้โดยฝ่ายบริหารของยุค ดร. มหาเธี บิน โมฮัมหมัด ในปี 2003 และในสุดท้ายนโยบายนี้จะถูกยกเลิกโดยสิ้นเชิงในปี 2012 ตามที่ประกาศโดยรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการของมาเลเซีย ตัน ศรี มูห์ยิดดิน ยัสซิน

       การประชุมที่เรียกว่า Kongres Maruah Melayu หรือสมัชชาศักดิ์ศรีมลายู

สำหรับการยอมรับของกลุ่มฝ่ายมลายูที่มีต่อศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ดาโต๊ะ ไซนาลอาบีดิน กลิง (Profesor Emeritus Datuk Dr Zainal Kling) นับวาสูงพอควร คือ ครั้งมีการประชุมที่เรียกว่า Kongres Maruah Melayu หรือสมัชชาศักดิ์ศรีมลายู ที่ประกอบด้วยบรรดาพรรคการเมืองฝายมลายู และองค์กร NGO เมื่อ 6 ตุลาคม 2019 จัดขึ้นที่สนามกีฬามาลาวาตี (Stadium Malawati) เมืองชาห์อาลาม รัฐสลังงอร์ เป็นการชุมนุมของชาวมลายู เพื่อแสดงพลังความสามัคคี โดยมีนายมหาเธร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมด้วย การประชุมครั้งนั้นได้ให้ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ดาโต๊ะ ไซนาลอาบีดิน กลิง (Profesor Emeritus Datuk Dr Zainal Kling) เป็นประธานของการประชุม


ผลงานเขียนของศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ดาโต๊ะ ไซนาลอาบีดิน กลิง (Profesor Emeritus Datuk Dr Zainal Kling)


Zainal Kling.(1995) The Malay family: Beliefs and realities. Journal of comparative family studies, 26 (1). pp. 43-66. ISSN 0047-2328


Zainal Kling.(2013) Budaya unggul pekerja awam / badan berkanun. In: Pembudayaan pekerja dalam arus transformasi negara. Institut Pemikiran Tun Dr. Mahathir Mohamad, Sintok, pp. 65-84. ISBN 9789670193076


Zainal Kling.(2006) UMNO and BN in the 2004 election: The political culture of complex identities. In: Malaysia recent trends and challenges. Institute of Southeast Asian Studies, Singapore, pp. 157-194. ISBN 9812303367


Zainal Kling.(2015) Merdeka daripada apa? (6 September 2015). in Mingguan Malaysia, p. p. 8.


Zainal Kling.(2016) Hang Tuah: Adiwira sebenar bangsa Melayu. (3 April 2016). in Utusan Malaysia, p. p. 10.


Zainal Kling.(2003) The changing international image of Brunei. Southeast Asian Affairs 1990 (1). pp. 89-100. ISSN 0377-5437

 


Khamis, 31 Oktober 2024

ศิลาจารึกเกอบนโกปี (Prasasti Kebonkopi II) ศิลาจารึกภาษามลายูแห่งชวาตะวันตก อินโดเนเซีย

โดย นายนิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

เมื่อกล่าวถึงศิลาจารึกในโลกมลายู นับว่า มีมากมาย และหลากหลายภาษา ในกลุ่มศิลาจารึกที่ใช้ภาษามลายูนั้น กระจายมีทั้งในประเทศมาเลเซีย อินโดเนเซีย สำหรับครั้งนี้ ก็กล่าวถึงศิลาจารึกหนึ่งในประเทศอินโดเนเซีย ที่ใช้ภาษามลายู และขอกล่าวถึงศิลาจารึกเกอบนโกปี II (Prasasti Kebonkopi II) คำว่า เกอบนโกปี แปลได้ว่า สวนกาแฟ แต่คำว่าศิลาจารึกเกอบนโกปี หมายถึงสถานที่พบศิลาจารึก ซึ่งพบที่เกอบนโกปี เรามาทำความรู้จักถึงศิลาจารึกเกอบนโกปีกันนะครับ


ศิลาจารึกเกอบนโกปี II (Prasasti Kebonkopi II) หรือ ศิลาจารึกปาเซร์มัวรา (Prasasti Pasir Muara) หรือ ศิลาจารึก Rakryan Juru Pangambat เป็นศิลาจารึกที่เก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงชื่อเฉพาะของซุนดา มีอายุตั้งแต่ปีซากาศักราช 854 หรือ ค.ศ. 932 ศิลาจารึกนี้พบที่หมู่บ้านเกอบนโกปี เมืองโบโฆร์  และ ใกล้กับศิลาจารึกเกอบนโกปี I (Prasasti Kebonkopi I) และได้ตั้งชื่อให้แตกต่างไปจากศิลาจารึกเก่าสมัยตารูมานาฆารา


นักโบราณคดี ศาสตราจารย์ ดร. เอฟ.ดี.เค. บอช (Prof Dr. F. D. K. Bosch) ซึ่งศึกษาศิลาจารึกนี้กล่าวว่า ศึกษาศิลาจารึกนี้เขียนเป็นภาษามลายูโบราณ  โดยระบุว่า กษัตริย์แห่งซุนดาได้กลับคืนสู่บัลลังก์อีกครั้ง และการตีความเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปีค.ศ. 932 น่าเสียดายที่ศิลาจารึกนี้สูญหายไป และถูกขโมยไปในช่วงที่เกิดความวุ่นวายในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณทศวรรษที่ 1940


ศิลาจารึกเกอบนโกปี II (Kebonkopi II) ถูกค้นพบที่หมู่บ้าน Pasir Muara หมู่บ้าน Ciaruteun Ilir อำเภอ Cibungbulang เมือง Bogor จังหวัดชวาตะวันตก ในศตวรรษที่ 19 ระหว่างการแผ้วถางป่าเพื่อสร้างสวนกาแฟแห่งใหม่ ศิลาจารึกนี้อยู่ห่างจากศิลาจารึกเกบอนโกปี I ((Kebonkopi I) ประมาณ 1 กิโลเมตร (ศิลาจารึกตาปะฆายะห์)


ศิลาจารึกนี้สามารถอ่านได้ว่า

Ini sabdakalanda Rakryan Juru Pangambat I kawihaji panyaca pasagi marsandeca ~ ba(r) pulihkan hajiri Sunda


ศิลาจารึกนี้สามารถให้คำแปลว่า

ศิลาจารึกนี้เป็นคำพูดของ Rakryan Juru Pangambat (นักล่าหลวง) ในปีซากาศักราช 458 ว่า “berpulihkan hajiri Sunda” หรือ ผู้มีอำนาจ (คำสั่ง) จะถูกส่งกลับไปยังกษัตริย์แห่งซุนดา


การตีความ

ศิลาจารึก chandrasengkala เขียนไว้ว่า ปีซากา ศักราช 458 อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์บางคนกล่าวว่าปีจารึกนี้ต้องอ่านย้อนหลังว่าซากาศักราช 854  (ค.ศ. 932) เพราะอาณาจักรซุนดาไม่สามารถดำรงอยู่ได้ในปี ส.ศ. 536 ในยุคของอาณาจักรซุนดา ตารุมานาฆารา (ค.ศ. 358-669)


ศิลาจารึกนี้เขียนด้วยอักษรกาวี แต่ภาษาที่ใช้คือภาษามลายูโบราณ ศาสตราจารย์ ดร. เอฟ.ดี.เค. บอช (Prof Dr. F. D. K. Bosch) ตั้งข้อสันนิฐานว่า การใช้ภาษามลายูโบราณบ่งบอกถึงอิทธิพลของอาณาจักรศรีวิชัยที่มีต่อชวาตะวันตก นอกจากนี้เขายังเปรียบเทียบระหว่างช่วงเวลา ค.ศ. 932 ของศิลาจารึก นี้กับปี 929 ซึ่งตรงกับการเปลี่ยนแปลงศูนย์กลางทางการเมืองของอาณาจักรมาตารัมจากภาคกลางไปยังชวาตะวันออก


นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศส โกลด กิโยต์ (Claude Guillot) จากสถาบัน École française d'Extrême-Orient เสนอว่าศิลาจารึกเกอบนโกปี II (Kebonkopi II) เป็นการประกาศเอกราช (อาจมาจากอาณาจักรศรีวิชัย) ของอาณาจักรซุนดาที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ เอ็ม. ซี. ริกเลฟส์ (M. C. Ricklefs) นักประวัติศาสตร์ชาวออสเตรเลียยังสนับสนุนข้อเสนอแนะนี้ในหนังสือของเขาชื่อว่า  A History of Modern Indonesia ตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 1200.


ชื่อของซุนดาถูกกล่าวถึงครั้งแรกในศิลาจารึกนี้ อย่างไรก็ตาม คำจารึกนี้ระบุว่า “berpulihkan hajiri Sunda” สามารถตีความได้ว่าก่อนหน้านี้เคยมีกษัตริย์แห่งซุนดามาก่อน และตำแหน่ง (อำนาจ) ของเขาก็ได้รับการฟื้นฟูในที่สุด ในขณะที่ชื่อคำว่า "ปังกัมบัต" หรือ Pangambat แปลว่า "นักล่า" จึงตีความได้ว่ากษัตริย์ทรงเป็นนักล่าที่เก่งกาจ

Rabu, 30 Oktober 2024

ศิลาจารึกภาษามลายูที่อำเภอพอร์ตดิคซัน รัฐนัครีซัมบีลัน มาเลเซีย

โดย นายนิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

เมื่อกล่าวถึงศิลาจารึกภาษามลายูในประเทศมาเลเซีย เรามักจะกล่าวถึงศิลาจารึกที่รัฐตรังกานู แต่ความจริงแล้วยังมีอีกหนึ่งหลักศิลาจารึกที่รัฐนัครีซัมบีลัน ศิลาจารึกนี้ จะรู้จักในนามของหลักศิลาจารึกที่เมืองพอร์ตดิคซัน สำหรับหลักศิลาจารึกนี้มีรายละเอียดดังนี้


ศิลาจารึกนี้ใช้ภาษามลายูโดยใช้อักษรกาวีหรืออักษรชวาโบราณ ผสมกับการใช้อักษรอักษรยาวี สามารถเห็นศิลาจารึกนี้และหลุมฝังศพของเชคอาหมัด มายูนา ที่เสียชีวิตประมาณปี ฮิจเราะห์ศักราช 872 (ค.ศ.1467/68) ได้ที่ศูนย์ประวัติศาสตร์ปังกาลันเกิมปัส ใกล้กับดมืองพอร์ตดิคสัน งานจารึกที่ศิลาจารึกบนหินสุสานของเชคอาหมัด มายูนา ถือเป็นมรดกตกทอดทางประวัติศาสตร์จากศิลาจารึกในการใช้ภาษามลายูที่ผสมผสานระหว่างอักษรยาวีกับอักษรกาวีหรืออักษรชวาโบราณที่พบในมาเลเซีย ศิลาจารึกนี้ทำการอ่านโดย J.G. de Casparis และจัดพิมพ์ใน JMBRAS, Volume III, bahagian I, 1980.


สามารถอ่านได้ว่า

bismi'llahi'l-rahmani'l-rahimi

dara buta buka ata-tada milikna Ah-mat Majanu berbawat

daya/seda ahmat Pwan balat anak sadang

Ahmad Majanu ma malaga pada alah


สามารถให้ความหมายในปัจจุบันได้ว่า

Dengan nama Allah yang maha Pengasih, lagi Penyayang,

makam ini kepunyaan Ahmad Majanu, wira yang berjuang.

Ahmad gugur bersama-sama isteri Balat dan anak lelakinya.

Semasa berjuang dia gugur.


สามารถแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า

ในนามของพระเจ้า ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงกรุณาปรานี

สุสานนี้เป็นของอาหมัด มายานู วีรบุรุษผู้ต่อสู้

อาหมัดเสียชีวิตพร้อมกับภรรยาและลูกชายของบาลัท

ขณะต่อสู้เขาก็เสียชีวิตลง


สามารถอ่านได้ว่า

bismi'llahi'l-rahmani'l-rahimi

pertama Ahmad Maja-nu masuk ke jalan tat-kala raja-raja danan ba-

tun barah talang ketangkap lalagi phana wassalam 1385


สามารถให้ความหมายในปัจจุบันได้ว่า

Dengan nama Allah yang maha Pengasih lagi Penyayang

Ahmad Majanu adalah yang mula-mula muncul di tepi jalan

ketika raja dan Tun (?) Barah Talanga ditangkap. Akhirnya beliau ghaib (dalam tahun Saka 1385).”


สามารถให้ความหมายในภาษาไทยได้ดังนี้ว่า:

ในนามของพระเจ้า ผู้ทรงเมตตาและเมตตาเสมอ

อาหมัด มายานู เป็นคนแรกที่ปรากฏอยู่ริมถนน เมื่อกษัตริย์และตุน (?) บาราห์ ตาลังกา ถูกจับกุม ในที่สุดเขาก็หายไป (ในปีศก 1385)”


ความเข้าใจของผู้เขียน ความหมายของคำว่า Ghaib หรือ หาย น่าจะหมายถึง ตาย เสียชีวิต



ทำการอ่านโดยฮัจญียายูลี (Tuan Haji Jajuli) ได้แปลงจากอักษรยาวีเป็นอักขระโรมัน ได้ดังนี้:-


Ini adalah dar al-ijaar bi-nikmati-Llah makam Syeikh Ahmad

Majnun malam raya pergi mulai sanah pada Hijrah Salla-Llah 'alaihi wa-sallam dari lapan ratus Hijrah nabi lebih dua malam pada … Sultan Mansur radhi-Allah 'anhu ini …”


ทำการอ่านโดยศาสตราจารย์ ดร. ชาห์รีร์ มูฮัมหมัดซีน  ได้แปลงจากอักษรยาวีเป็นอักขระโรมัน ได้ดังนี้:-


Ini adalah dar al-ijaar bi-nikmati-Llah makam Syeikh Ahmad Majnun malam raya pergi mulai sanah pada Hijrah Salla-Llah 'alaihi wa-sallam dari

lapan ratus Hijrah nabi…(Mungkin tujuh puluh atau seerti dengannya)… lebih dua malam pada … Sultan Mansur radhi-Allah 'anhu ini Amin …”

Khamis, 17 Oktober 2024

งานสัมมนานานานชาติด้านวรรณกรรมอินโดเนเซีย ครั้งที่ 33 ที่เมืองปาเล็มบัง สุมาตราใต้ อินโดเนเซีย

โดย นายนิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

ผู้เขียนได้ร่วมงานสัมมนาด้านวรรณกรรมต่างๆ โดยได้พบปะนักเขียน นักวรรณกรรมชาวอินโดเนเซีย และจากการได้พบปะกับนักเขียนชาวอินโดเนเซียนี้เอง ผู้เขียนได้รับข้อความว่า ทางสมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซีย (Himpunan Sarjana-Kesusastraan Indonesia - HISKI) จะมีการจัดงานสัมมนาประจำปีของสมาคมฯในเดือนปลายเดือนตุลาคม 2024 พร้อมที่จะไปร่วมเป็นหนึ่งในองค์ปาฐก หรือ Keynote Speaker  ไหม ด้วยในช่วงที่ได้รับการติดต่อนั้น ยังมีเวลาอีกหลายเดือน จึงตอบรับพร้อมที่จะเดินทางไปร่วมงาน แต่พอใกล้งาน ทางเจ้าภาพที่มหาวิทยาลัยศรีวิชัย หรือ Universitas Sri Wijaya แจ้งว่า จะร่วมการประชุมแบบ offline หรือ online ก็ตอบว่า ถ้ามีองค์ปาฐกจากต่างประเทศบางท่าน จะร่วมประชุมแบบ online ผู้เขียนจึงตอบว่า ขอร่วมประชุมแบบ online ก็แล้วกัน และในการสัมมนาครั้งนี้ มีองค์ปาฐกจำนวนหนึ่งเข้าร่วมโดยทาง online มีนักวิชาการจากเยอรมัน นักวิชาการจากญี่ปุน นักวิชาการจากรัฐซาบะห์ มาเลเซีย


ในการสัมมนาวิชาการครั้งนี้ มีนักวิชาการด้านวรรณกรรมทั่วอินโดเนเซีย ยังมีองค์ปาถกมาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น

มหาวิทยาลัย Goethe University of Frankfurt ประเทศเยอรมัน

Universiti Malaysia Sabah และ  UPSI ประเทศมาเลเซีย

Universidade de Lisboa ประเทศโปร์ตุเกส

Akita University ประเทศญี่ปุ่น

Nuantara Studies Center ประเทศไทย

ตัวแทนจากสาธารณรัฐซานมารีโน (อิตาลี)


ในการนี้ ขอเสนอความเป็นมาของสมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซีย ซึ่งผู้เขียนคิดว่า ทางศูนย์นูซันตาราศึกษา จะทำงานร่วมมือกับทางสมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซียในโอกาสต่อไป


สมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซีย (Himpunan Sarjana-Kesusastraan Indonesia - HISKI) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 1984 ในเมืองตูกู ปุนจัก จังหวัดชวาตะวันตก หนึ่งในผู้ก่อตั้งและผู้ริเริ่มองค์กรนี้คือศาสตราจารย์ ดร. ซาปาร์ดี โยโก ดาโมโน่ (Prof. Dr. Sapardi Djoko Damono) นักเขียนรางวัลซีไรต์ ปี 1986


สมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซีย:

1. ส่งเสริมและพัฒนาความคิดและความคิดสร้างสรรค์ของสมาชิก

ในสาขาวรรณกรรม

2. เผยแพร่ผลการดำเนินงานเพื่อความก้าวหน้า ความรู้ การศึกษา และวัฒนธรรมอีกด้วย

3. เพิ่มกิจกรรมวรรณกรรมในหมู่ประชาชนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของสมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซีย

1. จัดการประชุมทางวิชาการ

2. จัดการฝึกอบรมและการประชุมเชิงปฏิบัติการ

3. เผยแพร่ผลการดำเนินงานของเป้าหมายของสมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซีย

4. ส่งเสริมความเชี่ยวชาญให้กับสถาบันการศึกษาในด้านต่างๆ เช่น สาขาการพัฒนา การสอน และการวิจัยวรรณกรรม

5. มีส่วนร่วมในกิจกรรมระดับชาติและระดับนานาชาติอย่างแข็งขัน

เพื่อปรับปรุงวิชาชีพและความรู้

6. ดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ตามหลักการและวัตถุประสงค์ของเป้าหมายของสมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซีย


สมาชิกของสมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซียประกอบด้วย

(1) สมาชิกสามัญ (ผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาวัฒนธรรม ภาษา และวรรณคดี ตลอดจนนักวิชาการด้านการศึกษาภาษาและวรรณกรรมของอินโดเนเซีย ทั้งในระดับภูมิภาคและต่างประเทศ) และ

(2) สมาชิกกิตติมศักดิ์ (บุคคลธรรมดา ทั้งชาวอินโดเนเซียและชาวต่างชาติ) ซึ่งมีความสนใจและมีส่วนร่วมในการพัฒนาวรรณกรรม การจัดการของสมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซียประกอบด้วยการจัดการจากส่วนกลาง การจัดการผู้แทน (ซึ่งตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค สถาบัน/หน่วยงาน หรือที่มหาวิทยาลัย) และคณะกรรมการของสมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซีย


กิจกรรมต่างๆของสมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซีย เช่น

โรงเรียนวรรณกรรม (Sekolah Sastra)

โรงเรียนวรรณกรรมเป็นหนึ่งในโครงการงานที่สมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซีย จัดขึ้นทุกเดือนในสัปดาห์แรกและสัปดาห์ที่สอง โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นช่องทางในการสำรวจทฤษฎี วิธีการ และการศึกษานวัตกรรมทางวรรณคดี มีการอภิปรายเพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถแลกเปลี่ยนความคิดหรือแนวคิดแบบโต้ตอบได้

โครงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (Tukar Tutur Sastra)

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านวรรณกรรมเป็นหนึ่งในโครงการของสมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซีย ซึ่งหัวหน้าสาขาของสมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซียจะร่วมมือกันและเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อแจ้งเกี่ยวกับปัญหาวรรณกรรมในพื้นที่ของตน โครงการนี้ดำเนินการเดือนละครั้งทุก ๆ สัปดาห์ที่สาม จุดมุ่งหมายของการจัด Literature Speech Exchange คือเพื่อนำมาแลกเปลี่ยนด้านวรรณกรรมที่มีอยู่ในอินโดเนเซีย

สุนทรพจน์ด้านวรรณกรรม (Pidato kesusastraan)

เป็นโครงการการทำงานจากสมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซียส่วนกลาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดแนวคิดบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับวรรณกรรม โครงการนี้ยังจัดให้มีพื้นที่สำหรับการอภิปรายระหว่างวิทยากรเพื่อให้การกล่าวสุนทรพจน์สามารถนำไปใช้ในชีวิตวรรณกรรมได้

 สมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซียสู่โรงเรียน (Hiski Masuk Sekolah)

สมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซียสู่โรงเรียนกับชุมชน (Hiski Bersama Komunitas)






ความร่มมือสมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซียกับองค์กรอื่นๆ (Hiski Berkerjasama dengan Lembaga Lain)


 

Isnin, 14 Oktober 2024

นายอัซรีซาล นูร์ (Asrizal Nur) นักกวีผู้ประยุกต์การอ่านบทกวีกับมัลตีมีเดีย (Puisi Multimedia) ชาวอินโดเนเซีย

โดย นายนิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

ในปี 2015 เมื่อครั้งที่ผู้เขียนและเพื่อนๆ ร่วมกับบรรดานักศึกษาสาขาวิชามลายูศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้จัดงาน “งานสัมมนาวรรณกรรมภูมิภาคมลายู ครั้งที่ 8” หรือ “Pertemuan Penyair Nusantara VIII” ที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจบโครงการสัมมนาครั้งนี้ โดยพักคืนสุดท้ายที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา  ทางผู้เขียนในฐานะเป็นหนึ่งคณะทำงานฝ่ายไทย และรับหน้าที่เป็นประธานจัดงาน“งานสัมมนาวรรณกรรมภูมิภาคมลายู ครั้งที่ 8” หรือ “Pertemuan Penyair Nusantara VIII” ในครั้งนั้น โดยได้เชิญคุณนายอัซรีซาล นูร์ (Asrizal Nur) และทางนายอัซรีซาล นูร์ (Asrizal Nur) ได้เข้าร่วมงานสัมมนาครั้งนั้นด้วยความเต็มใจ  แต่หลังจากนั้นในเวลาต่อมา ผู้เขียนก็ได้ร่วมงานสัมมนาด้านวรรณกรรมในประเทศอินโดเนเซีย หลายต่อหลายครั้ง ให้เห็นถึงการแปลกในการอ่านบทกวีของนายอัซรีซาล นูร์ (Asrizal Nur) โดยการอ่านบทกวีของเขา จะมีการผสมผสานกับมัลตีมีเดีย ที่ในอินโดเนเซีย เรียกว่า Puisi Multimedia ทำให้การอ่านบทกวีของเขาจะแปลกกว่านักกวีคนอื่น และดึงดูดผู้ฟัง ผู้ชมได้เป็นอันมาก  ในครั้งนี้ขอแสดงขอเสนอประวัติ และผลงานของนายอัซรีซาล นูร์ (Asrizal Nur)

นายอัซรีซาล นูร์ (Asrizal Nur)  เกิดที่เมืองเปกันบารู จังหวัดเรียว เมื่อ 16 พฤศจิกายน 1969 เป็นนักเขียน นักกวีชาวอินโดเนเซีย เขามีชื่อเสียงจากบทกวีที่เขียนและอ่านพร้อมผสมผสานกับเสียงดนตรีและมัลตีมีเดียที่มีลักษณะเฉพาะ


นายอัซรีซาล นูร์ (Asrizal Nur)  เป็นที่รู้จักในฐานะหนึ่งในผู้ริเริ่มงาน “วันกวีนิพนธ์อินโดเนเซีย-Hari Puisi Indonesia” ซึ่งเป็นที่รู้จักดีที่สุดจากคอนเสิร์ตบทกวีมัลติมีเดียอันตระการตา ซึ่งเป็นผลงานที่มอบสีสันใหม่ให้กับการอ่านและแสดงบทกวีในอินโดเนเซีย เขาแสดงการอ่านบทกวีในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไนดารุสสาลาม ไทย และเกาหลีใต้


ตั้งแต่วัยเด็ก นายอัซรีซาล นูร์ (Asrizal Nur)  มีส่วนร่วมในงานเกี่ยวกับงานศิลปะและการละคร หลังจากโตขึ้น นายอัซรีซาล นูร์ (Asrizal Nur)  ได้ย้ายไปอยู่กรุงจาการ์ตาในปี 1995 และตั้งแต่ปี 2002 เขาได้อาศัยอยู่ในเมืองเดป๊อก (Depok) ซึ่งเป็นชานเมืองของกรุงจาการ์ตา และเป็นเมืองที่ตั้งของมหาวิทยาลัยอินโดเนเซีย (Universitas Indonesia) ที่มีชื่อของอินโดเนเซีย


ในฐานะศิลปิน นายอัซรีซาล นูร์ (Asrizal Nur) ยังเป็นที่รู้จักในฐานะคนสำคัญที่ทำการละครแรงงาน โดยมีคณะการแสดง ชื่อว่า Sanggar Pabrik โดยเป็นคณะการแสดงที่จะกระตุ้น ให้ผู้ใช้แรงงานตระหนักถึงความสำคัญของชนชั้นแรงงาน โดยผ่านงานศิลปะ อย่างไรก็ตาม ความพยายามของเขา มักถูกขัดขวางโดยรัฐบาลยุคระบบใหม หรือ Orde Baru (ยุคประธานาธิบดีซูฮาร์โต)  ซึ่งจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก ในปี 1995 การแสดงของคณะ Sanggar Pabrik ที่มีชื่อว่า Surat Cinta Kepada Marsinah (จดหมายรักถึงมาร์ซีนะห์) ถูกยกเลิกโดยรัฐ จนต้องขึ้นศาลยุติธรรม จนในที่สุดศาลอินโดเนเซีย ที่เรียกว่า Pengadilan Tata Usaha Negara (PTUN) หรือ Sate Administrative Court ลงมติให้ทางคณะการแสดง Sanggar Pabrik ชนะในศาล หลังจากนั้นรัฐบาลอินโดเนเซีย ได้ออกระเบียบฉบับที่ 3 กำหนดให้ออกแนวปฏิบัติว่ากิจกรรมทางวัฒนธรรมทุกอย่างไม่จำเป็นต้องดำเนินการขอใบอนุญาต และถือว่าข้อระเบียบที่ประกาศนี้ เป็นหนึ่งในคุณูปการด้านศิลปะในประเทศมีความอิสระมากขึ้น ในปี 1997 เขาและภรรยาที่เพิ่งคลอดบุตร และเพื่อนๆ ของพวกเขาถูกจับกุมและจำคุกฐานจัดงานศิลปะเพื่อคนชายขอบ กลุ่มคนใช้แรงงาน แต่หลังจากเข้าสู่ยุคปฏิรูป หรือ ยุคที่ระบบซูฮาร์โตล้มสลาย เขากลับไปทำกิจกรรมทางวัฒนธรรมและจัดอ่านบทกวี รวมทั้งการอ่านบทกวีที่เรียกว่า Puisi Multimedia ทั้งในและต่างประเทศ

เขามีบทบาทในการพัฒนาบทกวีในอินโดเนเซีย นายอัซรีซาล นูร์ (Asrizal Nur) ริเริ่ม "บทกวีมัลติมีเดีย" จากนั้นก็ริเริ่มวันกวีนิพนธ์อินโดเนเซีย (Hari Puisi Indonesia) และยังแนะนำบทกวีอินโดเนเซีย บนเวทีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ภายในประเทศ นอกเหนือจากการเขียนและอ่านบทกวีแล้ว นายอัซรีซาล นูร์ (Asrizal Nur) ยังทำกิจกรรมต่างๆ อีกด้วย หนึ่งในนั้นทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินในการแข่งขันบทกวีต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ครั้งหนึ่งเขาเคยเป็นผู้ตัดสินในการแข่งขันอ่านบทกวีระดับชาติที่จัดโดย Forum Muda Cendekia (Formaci) จังหวัดชวากลาง ร่วมกับนักเขียนนามอุโฆษ ฟาติน ฮามามะห์ (Fatin Hamama)และนายเซนดัง มุลยานา (Sendang Mulyana) อาจารย์ของมหาวิทยาลัยดังระดับประเทศอินโดเนเซีย ที่ชื่อว่ามหาวิทยาลัยซือบือลัสมาเร็ต (UNNES)

ในการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของนายอัซรีซาล นูร์ (Asrizal Nur) คือการจัดงานที่ชื่อว่า Anugerah Pantun Mutiara Budaya Indonesia โดยเป็นงานที่มีความชื่นชมสูงสุดสำหรับนักเคลื่อนไหวด้านวรรณกรรมที่เรียกว่าปันตุน (Pantun) ในอินโดเนเซีย ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2020 ที่เมืองบาตัม จังหวัดหมู่เกาะเรียว สำหรับอินโดเนเซีย มีนโยบายหนึ่ง ที่บางประเทศอาจจะไม่มี นั้นคือการสนับสนุนนักกวี นักวรรณกรรมในการสร้างหน่วยงาน สถานที่สร้างกิจกรรมด้านวรรณกรรม วัฒนธรรม ผู้เขียนมีเพื่อนนักเขียนคนหนึ่ง เป็นข้าราชการระดับสูง มีบทบาทในทางการเมือง กล่าวว่า เขามีที่ดินผืนหนึ่งบนเกาะที่เขาเกิด ต่อไปจะเมื่อเกษียณจากราชการ เขาจะของบประมาณจากรัฐบาลมาสร้างอาคารเพื่อกิจกรรมทางวรรณกรรม ทางวัฒนธรรม ด้วยรัฐบาลอินโดเนเซีย มีนโยบายเกี่ยวกับการสนับสนุนด้านวรรณกรรม ด้านวัฒนธรรม ทำให้ผู้เขียนเข้าใจนายอัซรีซาล นูร์ (Asrizal Nur) มากขึ้น เมื่อเพื่อนจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้คนหนึ่งเคยพูดว่าไม่รู้ว่า นายอัซรีซาล นูร์ (Asrizal Nur) เขาของบประมาณจากรัฐบาลอย่างไรในการสร้างบ้านของเขา เพื่อเป็นบ้านทำกิจกรรมด้านวรรณกรรม วัฒนธรรม ภายใต้ชื่อว่า Rumah Seni Asrizal Nur ต่อมาได้จัดตั้งกลุ่มนักวรรณกรรมภายใต้ชื่อ Perkumpulan Rumah Seni Seni Asrizal Nur หรือชื่อย่อว่า PERRUAS โดยผู้เขียนรับเป็นตัวแทนกลายๆของกลุ่ม  Perkumpulan Rumah Seni Asrizal Nur สำหรับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้


บทกวีของนายอัซรีซาล นูร์ (Asrizal Nur) หัวข้อ “Negeri Pantun


Negeri Pantun

(Kepada Tanungpinang)

Aku saksikan mata air kata

Meluap di lafaz pemantun

Jika berlabuh di dermaga kota

Dipeluk peradaban negeri pantunahkan


Bahkan laut bahkan ikan

Riak air dan gelombang

Pantai, pasir dan awan

Nelayan dan air pasang


Air memberi kata ke laut

Riaknya berpantun gelombang

Gelombang seru bertaut

Mengalir pantun di air pasang


Air pasang berpantun pada ikan

Ikan membalas kata riang

Riang kata umpan nelayan

Ikan dipancing dibawa pulang


Ikan pantun di lahap perut kota

Jadikan orang berlidah pantun

Tuntun cakap, mematut kata

Adat Melayu bertuah santun


Asrizal Nur

Tanjungpinang, 2007.

จากหนังสือ Lambaian Nusantara dari Kota Singa โดยมี Djamal Tukimn และ Ahmad Tahir เป็นบรรณาธิการ เป็นหนังสือเนื่องในโอกาสจัดงาน Pertemuan Penyair Nusantara VII


สำหรับกลุ่มนักวรรณกรรมภายใต้ชื่อ Perkumpulan Rumah Seni หรือชื่อย่อว่า PERRUAS ได้ทำกิจกรรมต่างๆ เช่น


2019 จัดงาน Festival Literais Perruas

2020 จัดงาน Gerakan Menulis Pantun Budaya

2021 จัดงาน Gerakan 1000 Guru Asean Menulis Pantun

ต่อมาจัดงาน rekor MURI เป็นการรวมเล่มบทกวีประเภทปันตุนที่เป็นเล่มหนาที่สุด


รางวัลที่นายอัซรีซาล นูร์ (Asrizal Nur) ได้รับ

ชนะเลิศอ่านบทกวีระดับชาติ Lomba Baca Puisi Piala HB Jassin (1996)

รางวัล Anugerah Sagang สำหรับนักนักวรรณกรรมชาวจังหวัดเรียว 2007


องค์กรทางสังคม

ประธาน Paguyuban Seniman Indonesia SBSI (1996-2000)

ผู้ก่อตั้งสมาคมที่ชื่อว่า Persatuan Artis Melayu Dangdut Indonesia เมืองเดป๊อก (Depok)

ประธานสภาศิลปวัฒนธรรมเมืองเดป๊อก หรือ Dewan Kesenian Depok ( 2015 – ปัจจุบัน)

ประธานมูลนิธิที่ชื่อว่า Yayasan Panggung Melayu (2005 – 2014)

ประธานกลุ่ม Perkumpulan Rumah Seni Asnur

เลขาธิการมูลนิธิที่ชื่อว่า Yayasan Hari Puisi Indonesia (2004 – ปัจจุบัน)


ผลงานของนายอัซรีซาล นูร์ (Asrizal Nur)

Sang yang Hitam (1992)

Umar Bin Khattab (1992)

Merambah Belantara Naga (1993)

Antologi Puisi Nusantara (2006)

Rampai Melayu Asia Tenggara (2006)

Kumpulan puisi Portugal, Malaysia dan Indonesia (2008)

Percakapan Pohon dan Penebang (YPM, 2009)

Musi, Pertemuan Penyair Nusantara V (2011)

Kumpulan Puisi dan Cerpen Internasional Jilfest: Ibu Kota Keberaksaraan (2011)

Lambaian Nusantara Dari Kota Singa, Antologi puisi bersama Pertemuan Penyair Nusantara VII (2014)

Antologi Puisi Asean, The Vice Of Humanity (2015)

Pulara 5 (2015)

อาจารย์รุซณี ซูสารอ แห่งคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในครั้งเดินทางไปศึกษา ค้นคว้าเพื่อทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดเนเซีย ได้มีโอกาสไปเยี่ยมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนายอัซรีซาล นูร์ และสัมพัสบ้านที่ทำเป็นที่ทำกิจกรรมของกลุ่มนักวรรณกรรมภายใต้ชื่อ Perkumpulan Rumah Seni หรือชื่อย่อว่า PERRUAS และได้นำหนังสือที่ผลิตโดยกลุ่ม Perkumpulan Rumah Seni หรือ  PERRUAS มาให้ผู้เขียน