โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
จากการที่ได้ติดตามสถานการณ์ทางการเมือง ตั้งแต่การเลือกตั้งประธานาธิบดีอินโดเนเซีย ตั้งแต่ปี 2019 ทำให้ได้รู้จักหลายๆชื่อของนักการเมือง นักวิจรณ์การเมืองชาวอินโดเนเซีย และหนึ่งในชื่อของนักวิจารณ์การเมืองที่ค่อนข้างโด่งดังคนหนึ่งคือ นายร๊อคกี้ เฆอรง อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยอินโดเนเซีย มหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของอินโดเนเซีย แต่ภายหลังต้องออกจากการเป็นอาจารย์เพราะมหาวิทยาลัยมีเกณฑ์กำหนดให้อาจารย์มหาวิทยาลัยมีวุฒิการการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป แต่นายร๊อคกี้ เฆอรง มีวุฒิแค่ปริญญา แม้ความสามารถของเขาจะสูงกว่าระดับปริญญาโท ปริญญาเอก ด้วยเขาเป็นนักอ่านคนหนึ่ง เรามาทำความรู้จักนายร๊อคกี้ เฆอรงกันดีกว่านายร๊อคกี้
เฆอรัง เกิดเมื่อ 20 มกราคม 1959 เป็นนักวิจารณ์การเมือง นักปรัชญา
นักวิชาการ และปัญญาชนชาวอินโดเนเซีย เขาเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งสถาบันเซอตารา หรือ Institut
Setara และเป็นสมาชิกของ Perhimpunan Pendidikan Demokrasi
(P2D) หรือ Democratic Education Association เขาเคยสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยอินโดเนเซียเป็นเวลา
15 ปี เขาเป็นพี่ชายของศาสตราจารย์ ดร. เกรโว เฆอรง (Grevo
Gerung) ซึ่งปัจจุบันเป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัย Sam
Ratulangi ในเมืองมานาโด
จังหวัดสุลาเวซีใต้
สำหรับสถาบันเซอตารา
หรือ Institut
Setara ที่นายร๊อคกี้ เฆอรง หนึ่งในผู้ก่อตั้งร่วมกับอดีตประธานาธิบดีอับดุลราห์มาน
วาฮิด และ ดร. อัซยูมาร์ดี อัซรา (Azyumardi Azra) นั้นเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ตั้งอยู่ในอินโดเนเซีย
ซึ่งดำเนินการวิจัยและสนับสนุนด้านประชาธิปไตย เสรีภาพทางการเมือง และสิทธิมนุษยชน สถาบันเซอตารา หรือ Institut Setara เป็นองค์กรวิจัยที่มีงานวิจัยหลักที่มุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของสังคม
สถาบันได้จัดตั้งขึ้นในปี 2005 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรุนแรงทางศาสนา การเลือกปฏิบัติ และการคุกคามพหุนิยมและสิทธิมนุษยชนในอินโดเนเซีย
และทำงานในพื้นที่ของฆราวาส ตามที่ยึดหลักสิทธิมนุษยชนและรัฐธรรมนูญ
และไม่ดำเนินการวิจัยที่เจาะลึกเกี่ยวกับแนวเทววิทยาของศาสนา สถาบันนี้เป็นผู้บุกเบิกการปกป้องเสรีภาพทางศาสนาในอินโดเนเซีย
องค์กรส่งเสริมเสรีภาพของพลเมืองและการเปลี่ยนแปลงนโยบายเพื่อส่งเสริมพหุนิยมและสิทธิมนุษยชน
นายร๊อคกี้
เฆอรงเริ่มเรียนที่มหาวิทยาลัยอินโดเนเซีย (Universitas Indonesia) ในปี
1979 เขาเข้าเรียนในภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นครั้งแรก
ซึ่งในขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของคณะสังคมศาสตร์
อย่างไรก็ตาม นายร๊อคกี้ เฆอรง ก็เรียนไม่จบในแผนกนั้น แต่นายร็อคกี้ เฆอรงกลับสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวรรณกรรมจากภาควิชาปรัชญาแทน
ในขณะที่ศึกษาอยู่นั้น นายร็อคกี้ เฆอรง มีความใกล้ชิดกับนักเคลื่อนไหวสังคมนิยม
เช่น นายแพทย์มาร์ซิลลัม ซีมายุนตัก (Marsillam Simanjuntak) และนายแพทย์ฮารีมาน ซีเรฆาร์ (Hariman Siregar)
นายแพทย์มาร์ซิลลัม
ซีมายุนตัก (Marsillam
Simanjuntak) โดยภายหลัง หลังจากที่นายแพทย์มาร์ซิลลัม ซีมายุนตัก
จบการแพทย์แล้ว เขาได้เรียนต่อ ด้านกฎหมาย จนจบจากมหาวิทยาลัยอินโดเนเซีย สำหรับนายแพทย์มาร์ซิลลัม ซีมายุนตัก
เป็นข้าราชการเกษียณ ในสมัยประธานาธิบดีอับดุลราห์มาน วาฮิด ได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะรัฐมนตรีตั้งแต่เดือนมกราคม
2000 และในสมัยประธานาธิบดีคนเดียวกัน ในเดือนมิถุนายน 2001
ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2001 และเป็นอัยการสูงสุดของอินโดเนเซียระหว่างเดือนกรกฎาคม
2001 ถึงเดือนสิงหาคม 2001
แทนนายบุรฮานุดดิน โลปา (Baharuddin Lopa) อดีตอัยการสูงสุดที่เสียชีวิที่กรุงรียาด
ประเทศซาอุดีอาราเบีย Hariman
Siregar
ส่วนนายแพทย์ฮารีมาน
ซีเรฆาร์ (Hariman
Siregar) ในปัจจุบัน เป็นหัวหน้าสถานพยาบาลในกรุงจาการ์ตาที่ชื่อว่า
klinik baruna
กลับมาพูดถึงนายร๊อคกี้
เฆอรง ต่อครับ มาพูดถึงนายร๊อคกี้ เฆอรง
หลังจากสำเร็จการศึกษา
นายร๊อคกี้ เฆอรง กลับมาที่มหาวิทยาลัยอินโดเนเซีย (Universitas
Indoesia) และสอนที่ภาควิชาปรัชญาซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของคณะวัฒนธรรมศาสตร์ในฐานะอาจารย์ไม่ประจำจนถึงต้นปี
2015 เขาหยุดสอนเนื่องจากการออกกฎหมาย ฉบับที่ 14 พ.ศ. 2548 ซึ่งกำหนดให้อาจารย์มหาวิทยาลัยต้องมีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาโท
ในขณะที่นายร๊อคกี้ เฆอรง สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเท่านั้น โดยเขาสอนในวิชาการสัมมนาเกี่ยวกับทฤษฎีความยุติธรรม
ปรัชญาการเมือง และวิธีวิจัยเชิงปรัชญา นอกนั้นเขายังสอนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาด้วย
นักเรียนคนหนึ่งที่เขาดูแลคือนักแสดงหญิงที่ชื่อว่า Dian Sastrowardoyo
ในด้านการเมือง
ในปี 2002 นายร๊อคกี้ เฆอรง ร่วมกับ ดร. ชาห์รี (Sjahrir) นักเศรษฐศาสตร์คนหนึ่ง
ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว และภรรยาของดร. ชาห์รี (Sjahrir) ที่ชื่อว่า
ดร. การ์ตีนี (Kartini) โดย ดร. การ์ตีนี เป็นนักมานุษยวิทยา
เป็นน้องสาวของนายพลลุฮุต บินซาร์ ปันไยตัน (Luhut Binsar Pandjaitan) หนึ่งในคณะรัฐมนตรีของประธานาธิบดีโยโกวี โดยร่วมกันก่อตั้งพรรคอินโดเนเซียใหม่
หรือ Partai Indonesia Baru (PIB) แม้ว่าเขาจะร่วมก่อตั้งพรรคนี้ แต่เขาก็ไม่ได้มีบทบาทในการจัดการพรรคเลย
ต่อมาในปี 2011 นายร๊อคกี้
เฆอรง ตัดสินใจลาออกและเข้าร่วมกับพรรคสหภาพประชาชนอิสระ หรือ Partai Serikat
Rakyat Independen (SRI) เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกของสภาที่ปรึกษาพรรคนี้
นายร๊อคกี้
เฆอรง ยังเป็นประธานของโรงเรียนสังคมศาสตร์ หรือ Sekolah Ilmu Sosial (SIS) ซึ่งเป็นโรงเรียนนอกระบบที่ให้ความรู้แก่นักเรียนให้เข้าใจความเป็นจริงทางสังคมในลักษณะสหวิทยาการ
ภายใต้มูลนิธิที่ชื่อว่า Yayasan Padi dan Kapas (มูลนิธิข้าวและฝ้าย)
เป็นมูลนิธิที่มี ดร. ชาห์รี เป็นประธานมูลนิธิ มีวิทยากรสอนจำนวนหนึ่งได้แก่ ดร.
อารีฟ บูดีมาน (Dr. Arief Budiman) ชื่อเดิมว่า Soe
Hok Djin เป็นชาวอินโดเนเซีย เชื้อสายจีน จบปริญญาเอกด้านสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ออสเตรเลีย ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว วิทยากรคนที่สอง ชื่อ ศาสตราจารย์ซาลิม ซาอิด (Prof
Dr. Salim Said) อดีตเอกอัครราชทูตอินโดเนเซียประจำประเทศเช๊ก
และนายราห์มาน โตลเล็ง (Rahman Tolleng) นักการเมือง
อดีตส.ส. อินโดเนเซีย ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว
ในฐานะนักสังคมศาสร์เชิงปรัชญา สาขาวิชาหนึ่งของร็อคกี้ เฆอรงคือปรัชญาสตรีนิยม ร็อคกี้ เฆอรงเขียนอย่างกว้างขวางในวารสารสตรี ที่ชื่อว่า Jurnal Perempuan เป็นสิ่งพิมพ์ที่จัดพิมพ์โดยมูลนิธิวารสารสตรี หรือ Jurnal Perempuan Foundation และก่อตั้งโดย ดร. ฆาดิส อารีเวีย (Dr. Gadis Arivia) เพื่อนร่วมมหาวิทยาลัยของเขาที่มหาวิทยาลัยอินโดเนเซีย สำหรับร็อคกี้ เฆอรงยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยด้านปรัชญาและสตรีนิยมศึกษา หรือ Kajian Filsafat dan Feminisme (Kaffe) ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการชอง มูลนิธิวารสารสตรี หรือ Jurnal Perempuan Foundation นอกจากนั้น นายร็อคกี้กี้ เฆอรงยังมีส่วนร่วมในฐานะนักเขียนในนิตยสารชื่อว่า Prisma Journal ซึ่งจัดพิมพ์โดยองค์กรพัฒนาเอกชนที่ชื่อว่า Lembaga Penelitian, Pendidikan dan Penerangan Ekonomi dan Sosial (Research, Education and Information on Economy and Social Affairs) หรือ LP3ES โดยนายร็อคกี้กี้ เฆอรง จะเขียนเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและหลักการปัญศีล (Pancasila) ของอินโดเนเซีย
ความคิดของนายร็อคกี้กี้
เฆอรง เริ่มเป็นที่สังเกตอย่างกว้างขวางจากสาธารณชนชาวอินโดเนเซียนับตั้งแต่เขาปรากฏตัวครั้งแรกในรายการโทรทัศน์ของอินโดเนเซียชื่อรายการว่า
Indonesia Lawyers Club เมื่อต้นปี 2017 เป็นรายการโทรทัศน์ของนักหนังสือที่ชื่อว่า นายการ์นี อิลลัส (Karni
Ilyas) ปัจจุบันออกรายการทางยูทูบ ในการออกรายการครั้งแรกของนายร็อคกี้กี้
เฆอรง เขาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลโดยระบุว่ารัฐบาลเป็นผู้หลอกลวงที่ดีที่สุดเนื่องจากมีเครื่องมือมากมาย
ที่จะโกหก และนับตั้งแต่นั้นมานายร็อคกี้กี้ เฆอรง กลายเป็นที่รู้จักในฐานะปัญญาชนที่เฉียบแหลมและรุนแรงในการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล
ดังนั้นเขาจึงมักได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรรับเชิญในรายการโทรทัศน์ มหาวิทยาลัย
และอื่นๆ
ผลงานเขียนของนายร็อคกี้กี้ เฆอรง
Fay,
Brian; Rocky Gerung; dan Budi Murdono (1991). Teori Sosial dan Praktik Politik.
Jakarta: Penerbit Grafiti.
Saraswati,
L. G.; dan Rocky Gerung (2006). Hak Asasi Manusia: Teori, Hukum, Kasus. Depok:
Filsafat UI Press.
Gerung,
Rocky. "Mengaktifkan Politik." Demokrasi dan Kekecewaan, Centre for
the Study of Islam and Democracy, 2009.
Gerung,
Rocky (2024). "Obat Dungu Resep Akal Sehat: Filsafat untuk Republik
Kuat". Depok: Penerbit Komunitas Bambu.
บทความ
Gerung, R. (2007). "Pluralisme dan Konsekwensinya: Catatan Kaki untuk Filsafat Politik’ Nurcholish Madjid”." Paper PSIK Universitas Paramadina.
Gerung,
R. (2008). "Feminisme versus Kearifan Lokal." Jurnal Perempuan 57.
Gerung,
R. (2010). "Representasi, Kedaulatan, dan Etika Publik." Jentera
Jurnal Hukum 20 (5).
Gerung,
R. (2011). "Komunitarianisme versus - Hak Asasi Manusia.[pranala nonaktif
permanen]" Jurnal Prisma 1 (2011)
Gerung,
R. (2014). "Feminist Ethics against Stigma of Theocracy-Patriarchy: a
Reflection of 2014 Presidential Election." Jurnal Perempuan 19 (3):
175-182.
Gerung,
R. (2015). "Jalan Ideologi dalam Negara Demokrasi." Konfrontasi:
Jurnal Kultural, Ekonomi Dan Perubahan Sosial, 2(2), 53-56.
Gerung,
R. (2016). "Feminist Pedagogy: A Political Position." Jurnal
Perempuan 21 (3): 265-271.
Gerung,
R. (2018). "Pancasila: Ide Penuntun, Bukan Pengatur. Diarsipkan 2021-03-10
di Wayback Machine." Jurnal Prisma 2 (2018)
"Cendekiawan,
Kultur, dan Politik", Majalah Tempo Edisi 12 Agustus 2001
"Tersesat
di Jalan Yang Benar", Majalah Tempo Edisi 13 Agustus 2007
"Rahim
Laki-Laki", Majalah Tempo Edisi 7 Maret 2011
"Demokrasi
Kurva Lonceng", Majalah Tempo Edisi 14 November 2011
"Consumo
Ergo Sum", Majalah Tempo Edisi 20 Februari 2012
"Demagogi",
Majalah Tempo Edisi 7 Juli 2014
"Politik
dan Akronim", Majalah Tempo Edisi 29 September 2014
"Charlie
Hebdo dan Kita", Majalah Tempo Edisi 19 Januari 2015
Tiada ulasan:
Catat Ulasan