Selasa, 19 Mac 2024

ดร. รีซาล รัมลี (Dr. Rizal Ramli) นักเศรษฐศาตร์อินโดเนเซีย

โดยนายนิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

ผู้เขียนได้ติดตามสถานการณ์การเมืองอินโดเนเซีย อาจด้วยผู้เขียนมีพื้นฐานของความรู้มลายูศึกษา จึงมีความจำเป็นที่ต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจ การเมืองของกลุ่มประเทศโลกมลายู  โดยเฉพาะประเทศอินโดเนเซีย จึงจำเป็นยิ่งที่ต้องติดตามสถานการณ์ทิศทางเศรษฐกิจ การเมืองของประเทศนั้น ยิ่งเมื่อมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีอินโดเนเซียในปี 2019 จำเป็นต้องติดตามทั้งหนังสือพิมพ์ออนไลน์ และสื่ออื่นๆ เช่น เฟสบุค สวีตเตอร์ ยุทูบ ทำให้ผู้เขียนได้รู้จักชื่อนักการเมือง นักวิชาการหลายคน และหนึ่งในนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ที่รู้จักชื่อ คือ ดร. รีซาล รัมลี (Dr. Rizal Ramli) ผู้เขียนฟังดร. รีซาล รัมลี (Dr. Rizal Ramli) พูดทางทีวี เห็นว่า มีความน่าสนใจยิ่ง และส่วนตัวเห็นว่าเป็นความโชคร้ายของอินโดเนเซีย คนที่มีมันสมองดี นักเศรษฐศาสตร์ดีอย่างดร. รีซาล รัมลี (Dr. Rizal Ramli) รัฐบาลอินโดเนเซียไม่สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดทิศทางเศรษฐกิจอินโดเนเซีย เรามารู้จักดร. รีซาล รัมลี (Dr. Rizal Ramli) ดีกว่าครับ

ดร. รีซาล รัมลี (Dr. Rizal Ramli) เกิดเมื่อ 10 ธันวาคม 1954 - 2 มกราคม 2024)   เป็นนักเศรษฐศาสตร์ระดับนำของอินโดเนเซีย นักการเมือง และนักเคลื่อนไหวในขบวนการนักศึกษาอินโดเนเซียในยุค 1977/78 เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประสานงานกิจการทางทะเลของสาธารณรัฐอินโดเนเซีย โดยแทนนายอินโดรโยโน โซซีโล (Indroyono Soesilo) ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2015 ถึงวันที่ 27 กรกฎาคม 2016


เขามีพ่อแม่เป็นชาวมีนังกาเบา มาจากเมืองปาดัง จังหวัดสุมาตราตะวันตก เมื่อเขาอายุได้ 7 ขวบ ย้ายไปอยู่กับคุณย่าของเขา ที่ชื่อว่า นางKasina Rachman ในเมืองโบโกร์ จังหวัดชวาตะวันตก เนื่องจากพ่อแม่ของเขาเสียชีวิตในปี 1960 นายรามลี คุณพ่อของเขาเป็นผู้ช่วยนายอำเภอ ส่วนคุณแม่นางราเบียะห์ (Rabiah) มารดาของเขาเป็นครู เมื่ออายุได้สามขวบ ดร. รีซาล รัมลี (Dr. Rizal Ramli) สามารถอ่านหนังสือได้แล้ว และสำหรับสิ่งนั้น เขากล่าวว่าเขารู้สึกขอบคุณแม่ของเขาที่สอนและชี้แนะเขาตลอดเวลาให้เรียนรู้อักษร


ก่อนหน้านี้ เขาดำรงเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการบูล็อก (Bulog - Badan Urusan Logistik ) เป็นหน่วยงานของรัฐบาลอินโดเนเซีย ในการควบคุมการด้านการกระจายอาหารและการควบคุมราคา เช่น ข้าว และอื่นๆ ต่อมาเป็นรัฐมนตรีประสานงานด้านเศรษฐกิจ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอินโดเนเซียในคณะรัฐมนตรีเอกภาพแห่งชาติระหว่างการบริหารงานของประธานาธิบดีอับดุลเราะห์มาน วาฮิด หรือ กุสดูร์ ครั้งหนึ่งดร. รีซาล รัมลี (Dr. Rizal Ramli) ได้รับการทาบทามจากอดีตประธานาธิบดีวูฮาร์โต ให้เป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีเพื่อการพัฒนาที่ 7 และอีกครั้งหนึ่ง อดีตประธานาธิบดีอับดุลเราะห์มาน วาฮิด หรือ กุสดูร์ ได้เสนอให้เป็นประธานขององค์การตรวจสอบการเงินสูงสุดของสาธารณรัฐอินโดเนเซีย (Badan Pemeriksa Keuangan) และเอกอัครราชทูตอินโดเนเซียประจำสหรัฐอเมริกา แต่เขาปฏิเสธทั้งหมด เมื่อประธานาธิบดีอับดุลเราะห์มาน วาฮิด หรือ กุสดูร์ ขอให้เขาเป็นผู้อำนวยการบูล็อก (Bulog - Badan Urusan Logistik ) เท่านั้นที่เขายอมรับ

ในระดับนานาชาติ ครั้งหนึ่ง ดร. รีซาล รัมลี (Dr. Rizal Ramli) ได้รับความไว้วางใจให้เป็นสมาชิกของทีมที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของสหประชาชาติ (UN) พร้อมด้วยนักเศรษฐศาสตร์หลายคนจากประเทศอื่นๆ มากมาย เนื่องจากเขาต้องการมุ่งเน้นไปที่การให้บริการแก่รัฐและชาติของอินโดเนเซีย ครั้งหนึ่งดร. รีซาล รัมลี (Dr. Rizal Ramli) ปฏิเสธตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก หรือ United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (ESCAP) ที่เสนอในเดือนพฤศจิกายน 2013


ในบางครั้งดร. รีซาล รัมลี (Dr. Rizal Ramli) ได้รับฉายาว่ามีความคิดก้าวหน้า เพราะแนวคิดของเขาแหวกแนวแต่ตรงเป้าหมาย และเข้าข้างผลประโยชน์ของประชาชน เขายังได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมอินโดเนเซีย (Indonesian Chamber of Commerce and Industry) ต่อมาในเดือนตุลาคม 2015 หลังจากเกิดความแตกแยกภายในองค์กร ในเดือนตุลาคม 2015 ตำแหน่งของดร. รีซาล รัมลี (Dr. Rizal Ramli) ในฐานะประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมอินโดเนเซียถูกแทนที่ด้วยนายเอดดี้ ฆาเนโฟ (Eddy Ganefo)

ในช่วงเป็นนักศึกษา

ดร. รีซาล รัมลี (Dr. Rizal Ramli) สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาถึงมัธยมปลายในเมืองโบโกร์ จังหวัดชวาตะวันตก ตอนที่เขาเป็นนักศึกษาวิชาเอกฟิสิกส์ที่สถาบันเทคโนโลยีบันดุง หรือ Institut Pertanian Bogor (IPB) ซี่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของอินโดเนเซีย  เขาเรียนในสาขาวิชาฟิสิกส์วิศวกรรม  เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานของชมรมนักศึกษาที่ช่อว่า ITB Student English Forum (SEF) จากนั้นเป็นรองประธานสภานักศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีบันดุง หรือ Institut Pertanian Bogor (IPB) ซึ่งสภานักศึกษามีชื่อว่า ITB Student Council (Dewan Mahasiswa) ตั้งแต่ปี 1976 ถึง 1977 ในปี 1978 เขาถูกคุมขังโดยระบอบการปกครองแบบใหม่ หรือที่รู้จักในนามของ Order Baru หรือ ยุคเวลาของอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โต) เนื่องจากการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐบาลอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โต เขามีความชื่นชอบนายอัลเบิร์ต ไอนส์ไตน์ (Albert Einstein)  ดร. รีซาล รัมลี (Dr. Rizal Ramli) ได้รับปริญญาเอกสาขาเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบอสตันในปี 1990

เมื่อเดินทางกลับจากสหรัฐอเมริกาหลังจากสำเร็จการศึกษาปริญญาเอกสาขาเศรษฐศาสตร์ เขาพร้อมด้วยนักเศรษฐศาสตร์อีกหลายคน เช่น นายลักษมานา ซูการ์ดี (Laksamana Sukardi) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงรัฐวิสาหกิจ ในยุคอดีตปะธานาธิบดีอับดุลราหมาน วาฮิด ดร. อารีฟ อาร์รีมาน (Arif Arryman) อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีหลายกระทรวง และนายเอ็ม.เอ็ส. ซุลกานัยน์ (M.S. Zulkarnaen) ได้ก่อตั้ง Think Tank หรือคลังสมอง ใช้ชื่อย่อว่า ECONIT หรือที่ปรึกษากลุ่มเศรษฐศาสตร์ อุตสาหกรรม และการค้า (Exucutive, Advisory, Group in Economics, Industry and Trade)


ตอนที่ดร. รีซาล รัมลี (Dr. Rizal Ramli) เป็นผู้จัดการใน Econit นั้น เขาและเพื่อนร่วมงานของเขาในสถาบันคคลังสมองแห่งนี้มักจะวิพากษ์วิจารณ์นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลอดีตประธานาธิบดีซูฮร์โต ตัวอย่างเช่น การวิพากษ์วิจารณ์นโยบายรถยนต์แห่งชาติ ปุ๋ยยูเรีย การทำเหมืองฟรีพอร์ตในปาปัว และอื่นๆ  ดร. รีซาล รัมลี (Dr. Rizal Ramli) ร่วมกับเพื่อนร่วมงานหลายคนได้ก่อตั้งที่ชื่อว่า คณะกรรมการอินโดเนเซียตื่น หรือ Komite Bangkit Indonesia (KBI) โดยดร. รีซาล รัมลี (Dr. Rizal Ramli) ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการดังกล่าว

ริซาลแต่งงานกับหญิงชาวชวา ชื่อ นางเฮราวาตี เอ็ม. มุลโยโน (Herawati M. Mulyono) และมีบุตร 3 คน ได้แก่ ดีตา ปูตี ซารัสวาตี (Dhitta Puti Saraswati) ดีโป ซัตรีโย (Dipo Satrio) และไดซี่ (Daisy) หลังจากที่ภรรยาเสียชีวิต เขาแต่งงานอีกครั้งกับหญิงอินโดเนเซียเชื้อสายจีน ชื่อว่า นางมารียานี (Marijani) หรือชื่อจีนว่า Liu Siaw Fung อย่างไรก็ตาม ภรรยาคนที่สองของเขาเสียชีวิตในปี 2011


ดร. รีซาล รัมลี (Dr. Rizal Ramli) เสียชีวิตที่โรงพยาบาล Dr. Cipto Mangunkusumo ในกรุงจาการ์ตาตอนกลาง เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2024 ด้วยโรคมะเร็งตับอ่อน เมื่ออายุ 69


งานเขียนของดร. รีซาล รัมลี (Dr. Rizal Ramli) เช่น

1. เศรษฐศาสตร์ประชาชน (Ekonomi Kerakyatan) 2014

2. Seringai 


 

Tiada ulasan: