โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
คำว่า “มลายู” หรือ “Melayu” นั้น เมื่อใช้ในภาษาอังกฤษ
จะใช้คำว่า “Malay” แต่ในหลายพื้นที่ เมื่อใช้คำว่า “Malay”
จะเกิดความสับสน ด้วยเมื่อกลุ่มคนเหล่านั้น จะเรียกประเทศมาเลเซียสั้นๆ
ว่า ประเทศมาเลย์
แทนที่จะเรียกชื่อเต็มว่า ประเทศมาเลเซีย ทำให้เมื่อใช้คำว่า มาเลย์
ส่วนหนึ่งจะเข้าใจว่า ประเทศมาเลเซีย แทนที่จะเข้าใจว่า หมายถึงคนมลายู
ซึ่งอาศัยอยู่ในหลากหลายประเทศ เช่น ในจังหวัดยะลา เวลาจะจัดงานวันมลายู
แทนที่จะใช้คำว่า Malay Day ก็ใช้คำว่า Melayu Day สันนิฐานว่าเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ด้วยชาวสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
จะเรียกประเทศมาเลเซีย สั้นๆว่า ประเทศมาเลย์
หรือแม้แต่ในจังหวัดเรียว บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดเนเซีย จังหวัดเรียว เป็นจังหวัดที่มีชาวมลายูเป็นชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ของจังหวัด
บนหลังคาของสำนักงานผู้ว่าราชการจังหวัดเรียว ก็จะติดคำขวัญว่า จังหวัดเรียว
เป็นจังหวัดแห่งมาตุภูมิของชาวมลายู โดยใช้คำว่า Riau The Homeland of
Melayu แทนที่จะใช้คำว่า Riau The Homeland of Malay ซึ่งเป็นคำที่ถูกต้องมากกว่า โดยจังหวัดเรียว
มีความมุ่งมั่นที่จะให้จังหวัดของตนเอง
เป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมมลายูในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แต่ในทางกลับกัน ในหลายพื้นที่ แทนที่จะใช้คำเหมือนที่กล่าวมาข้างต้น ด้วยชาวมลายูในชุมชนนั้นเข้าใจในความหมายของคำว่า มาเลย์ ดังนั้น กลุ่มคนในพื้นที่นั้นๆ เมื่อใช้ภาษาอังกฤษ ก็จะใช้คำว่า Malay โดยไม่เกิดความสับสน เช่นชาวมลายูที่อาศัยอยู่ในประเทศศรีลังกา เมื่อใช้ชื่อสมาคมของตนเอง ด้วยคำว่า Malay เช่น สมาคมชาวมลายูแห่งเมืองมาโบเล ประเทศศรีลังกา ก็จะใช้ว่า Mabole Malay Association หรือ สมาพันธ์ชาวมลายูแห่งประเทศศรีลังกา ก็ใช้ว่า Sri Lanka Malay Confederation หรือในประเทศอัฟริกาใต้ ซึ่งมีชาวมลายูอาศัยอยู่จำนวนสามแสนกว่าคน สมาคมต่างๆก็จะใช้คำว่า Malay เช่น สมาคมวัฒนธรรมชาวมลายูแห่งเคปตะวันออก ก็จะใช้คำว่า Eastern Cape Malay Cultural Society สำหรับประเทศศรีลังกา หรือ ประเทศอัฟริกาใต้ เมื่อคำว่า Malay จะรวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รวมถึงชาวชวา หรือกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่มชนชาติมลายู
ในปี 1972 ทางองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ได้ทำการศึกษาวิจัยในหัวข้อ Malay Cultural Study Project ได้ให้คำอธิบายถึงวัฒนธรรมมลายูว่า เป็นวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง ที่อาศัยอยู่ครอบคลุมถึงประเทศในภูมิภาคมลายู (Malay region) ซึ่งครอบคลุมถึง ประเทศมาเลเซีย ประเทศอินโดเนเซีย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศบรูไน ประเทศไทย (ภาคใต้) โดยเรียกพื้นที่กล่าวนี้ว่า ภูมิภาคมลายู หรือ Malay Region การศึกษาวิจัยในเรื่องวัฒนธรรมมลายูของยูเนสโก ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี มีการจัดประชุมทั้งในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย กรุงมานิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมืองปุนจัก ประเทศอินโดเนเซีย หรือแม้แต่ในกรุงเทพฯ เอง ในเอกสารรายงานการประชุม โดยฝ่ายไทยปรากฏชื่อผู้เข้าร่วมประชุม ในการประชุมของการศึกษาในขณะนั้น เป็นนักประวัติศาสตร์ชื่อดังของประเทศไทย คือ ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร
สำหรับงานวิจัยในหัวข้อนี้ นักวิชาการในประเทศมาเลเซียได้ถือเป็นเกณฑ์ในการให้คำนิยามของคำว่า มลายู โดยการวิจัยในหัวข้อ Malay Culture Study Project ของยูเนสโกนั้นครอบคลุมถึงการศึกษาถึงวัฒนธรรม ภาษา วรรณกรรม อิทธิพลของศาสนาอิสลามในวัฒนธรรมมลายู โครงสร้างสังคมมลายู ราชอาณาจักรมลายูในอดีต กฎหมายร่วมสมัยของชาวมลายู ที่น่าสนใจคือ มีการศึกษาถึงวัฒนธรรมของชาวมาลากาซี ในหัวข้อ Malay Aspect of Malagasy Culture ด้วยชาวมาลากาซี หรือมาดากัสการ์ นั้น มีส่วนหนึ่งเป็นกลุ่มลูกหลานที่มีบรรพบุรุษที่อพยพมาจากดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศอินโดเนเซียปัจจุบัน ทำให้มีวัฒนธรรมเหมือนหรือคล้ายระหว่างวัฒนธรรมมลายูกับวัฒนธรรมมาลากาซี
ชนชาติมลายูได้ทิ้งร่องรอยทางอารยธรรมไว้มากมาย อาณาจักรโบราณของชนชาวมลายูมีจำนวนหนึ่ง เช่น อาณาจักรจามปาในเวียดนาม อาณาจักรลังกาสุกะในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อาณาจักรมาชาปาหิตบนเกาะชวา อินโดเนเซีย อาณาจักรศรีวิชัยบนเกาะสุมาตรา อินโดเนเซีย รวมทั้งอาณาจักรมะละกาบนแหลมมลายู นอกจากนั้น นักวิชาการหลายคนยังเชื่อว่าอาณาจักรโบราณที่ชื่อว่า อาณาจักรฟูนัน เป็นอาณาจักรโบราณที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย เชื่อว่า ดำรงอยู่ราว 600 ปี ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ถึง 6 เป็นอาณาจักรของชนชาติมลายู เช่น จากหนังสือประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เล่ม 1 เขียนโดย Daniel George E. Hall มีการแปลเป็นภาษาไทย โดยมี ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ อานันท์ กาญจนพันธุ์ เป็นบรรณาธิการการแปล จากหนังสือเล่มดังกล่าว หน้า 32 ซึ่ง Daniel George E. Hall ได้กล่าวว่า “ชาวฟูนันเป็นชนชาติมลายู ”(The Funanese were Malay Race) และนอกจากหนังสือเล่มดังกล่าวแล้ว ทาง Prof. Nguyen The Anth ชาวเวียดนามก็ได้กล่าวว่า “อาณาจักรฟูนันใช้ภาษามลายู”
II. The Islands of Southern Sea
By the term of “Nan-hai” is meant The Southern China Sea or Malay Archipelago, and I-tsing includes in it Sumatra, Java, and the then known neighbouring islands. There are, he tell us, more than ten countries, and all are under the influence of Buddhism. The Islands of southern sea are :-
1. P’o-lu-shi Island; Po’lushi
2. Mo-lo-yu Country; Malayu, or, Shi-li-fo-shih Country; Sribhoga
แปลแบบอิสระความว่า
2. หมู่เกาะของทะเลใต้
ความหมายของหนานไฮ หมายถึงทะเลจีนใต้ หรือหมู่เกาะมลายู และอี้จิงได้รวมทั้งเกาะสุมาตรา เกาะชวา และหมู่เกาะใกล้เคียง มีที่เขาบอกเรามากกว่าสิบประเทศ และทั้งหมดได้รับอิทธิพลของศาสนาพุทธ หมู่เกาะทะเลใต้ มีดังนี้
1. เกาะโปลุชี
2. ประเทศโมโลายู มลายู หรือ ประเทศชีลีชิ ศรีโบฆา
And
we come after a month to country of Malayu
แปลความว่า
และหลังจากนั้นหนึ่งเดือนก็มาถึงประเทศมลายู
After sailings twenty days, we reach the land of Sri Wijaya. We stay there for about six months to learn Sabdavidya . The King was very kind to us. He helped send us to the land of Malayu, where we stayed two months
แปลความว่า
หลังจากเดินเรือยี่สิบวันเราก็ไปถึงดินแดนศรีวิชัย เราอยู่ที่นั่นประมาณหกเดือนเพื่อเรียนรู้หลักภาษาสันสกฤติ กษัตริย์นั้นมีความใจดีกับเรามาก พระองค์ช่วยส่งเราไปยังดินแดนมลายู เราอยู่ที่นั่นเป็นเวลาสองเดือน
ศิลาจารึกปาดังโรโจและในศิลาจารึกของโลกมลายู โดยเฉพาะศิลาจารึกที่มีชื่อว่า ศิลาจารึกปาดังโรโจ เป็นศิลาจารึกที่พบเมื่อปี 1911 ที่บริเวณแม่น้ำบาตังฮารี บริเวณกลุ่มเจดีย์ปาดังโรโจ เขตนาคารีซีกุนตูร์ ตำบลซีตียุง อำเภอดาร์มัสรายา จังหวัดสุมาตราตะวันตก ศิลาจารึกนี้ เป็นฐานของอโมฆปาศ ซึ่งเป็นปางหนึ่งของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ศิลาจารึกนี้เขียนว่า ปีศักราชชวา 1208 หรือเทียบได้กับปีค.ศ. 1286 โดยสลักไว้ที่องค์อโมฆปาศ สำหรับองค์อโมฆปาศเป็นของขวัญที่กษัตริย์ศรีมหาราชาธิราช กฤตินครวิกรมธรรม Sri Maharajadhiraja Kertanagara Wikrama Dharmmottunggadewa กษัตริย์แห่งอาณาจักรสิงหาสารี ที่เกาะชวา มอบให้กษัตริย์และประชาชนแห่งรัฐมลายูดาร์มัสรายา ที่เกาะสุมาตรา โดยศิลาจารึกนี้ ไปบรรยายว่า ในปีชวา 1208 โดยคำสั่งของกษัตริย์แห่งอาณาจักรสิงหาสารี ไปย้ายองค์อโมฆปาศ จากดินแดนชวาไปยังดินแดนสุวรรณภูมิ (สุมาตรา) โดยหวังว่าประชาชนและกษัตริย์ Sri Maharaja Srimat Tribhuwanaraja Mauliwarmmadewa แห่งอาณาจักรมลายูดาร์มัสรายา จะมีความสุขจากองค์อโมฆปาศนี้
ศิลาจารึกปาดังโรโจ มี 4 บรรทัด และในบรรทัดที่ 4 ได้จารึกว่า
samagat payanan han Dipankaradasa, rakyan damun
Pu Wira untuk menghantarkan paduka Amoghapasa. Semoga hadiah itu membuat
gembira segenap rakyat di Bhumi Malayu, termasuk brahmana, ksatrya, waisa,
sudra dan terutama pusat segenap para aryy, Sri Maharaja Srimat Tribhuwanaraja
Mauliwarmmadewa.
ความว่า :-
ได้มีการส่งองค์อโมฆปาศ
หวังว่าจะสร้างความสุขให้ประชาชนในแผ่นดินมลายู
จะเห็นได้ว่า คำว่ารัฐมลายูในสมัยนั้น เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ในเกาะสุมาตรา
สำหรับในหนังสือชื่อ Thomas Bendyshe (Translated), The anthropological treatises
of Johann Friedrich Blumenbach and John Hunter แปลโดย
คำว่า มลายูเป็นนามเฉพาะของกลุ่มชนชาติหนึ่งที่อาศัยอยู่ในหมู่เกาะมลายู หรือเป็นนามโดยรวมของกลุ่มเชื้อชาติที่อยู่ในกลุ่มตระกูลภาษามลายู-โปลีเนเซีย (Malayo-Polynesia)
การตีความของคำว่า “มลายู” ในแต่ละพื้นที่
ในแต่ละพื้นที่ในโลกมลายู ซึ่งถ้าใช้คำตามงานศึกษาเรื่อง Malay Culture Study Project ขององค์การยูเนสโก จะใช้คำว่า ภูมิภาคมลายู หรือ Malay region ก็มีการตีความที่แตกต่างกัน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์ เมื่อกล่าวถึงคำว่า มลายู จะมีการตีรวมเป็น race หรือกลุ่มชนชาติ ส่วนในอินโดเนเซียจะตีความว่า เป็น ethnic หรือ ชาติพันธุ์ สำหรับประเทศอินโดเนเซียนั้น เกิดการตีความที่ขัดแย้งกัน เมื่อประเทศอินโดเนเซียมีการตีความว่า มลายู มีสถานะเป็นเพียง ethnic หรือ ชาติพันธุ์ ไม่ใช่ race หรือกลุ่มเชื้อชาติ ดังนั้นส่วนหนึ่งจึงมีการตีความว่า ชนเผ่าชวา กับชนเผ่ามลายู มีความแตกต่างกัน ไม่ได้เป็นกลุ่มเชื้อชาติเดียวกัน แต่เมื่อคำว่า มลายู เมื่อใช้เกณฑ์ขของคณะวิจัยมหาวิทยาลัยไซนส์มาเลเซีย (Universiti Sains Malaysia) ประเทศมาเลเซีย ภายใต้การนำของ ศาสตราจารย์ ดร. ซัฟรีนา ไซนุดดิน ( Prof Dr. Zafrina Zainuddin) ที่ได้มีการวิจัยในเรื่องกลุ่มชนชาติมลายู โดยนำเลือดจากที่ต่างๆในกลุ่มชนชาติ ซึ่งเลือดจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย และจากการตรวจ DNA แล้ว ปรากฏว่า ชาติพันธุ์ชวา กับชาติพันธุ์มลายู มี DNA เดียวกัน จึงสามารถใช้หลักการวิทยาศาสตร์กล่าวได้ว่า ทั้งชาติพันธุ์ชวา กับชาติพันธุ์มลายู เป็นกลุ่มชนชาติเดียวกัน
Johann Friedrich Blumenbach ( 11 พฤษภาคม 1752 - 22 มกราคม 1840)นายแพทย์ Johann Friedrich Blumenbach ( เกิดเมื่อ 11 พฤษภาคม 1752 เสียชีวิตเมื่อ 22 มกราคม 1840) เป็นนายแพทย์ชาวเยอรมัน เขาทำวิทยานิพนธ์ในหัวข้อ De generis humani varietate nativa (On the Natural Variety of Mankind ที่มหาวิทยาลัย Göttingen เยอรมัน
นอกจากเป็นนายแพทย์แล้ว ยังเป็นนักธรรมชาติวิทยา นักสรีรศาสตร์ นักมานุษยวิทยา เขาเป็นคนแรกในการสำรวจการศึกษาของมนุษย์ในแง่มุมของประวัติศาสตร์ธรรมชาติ. เขาได้จำแนกเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ออกเป็น 5 เผ่าพันธุ์ ขึ้นในปี 1779 การจำแนกสายพันธุ์มนุษย์เดี่ยวของ Blumenbach ออกเป็นห้าสายพันธุ์ (ต่อมาเรียกว่า "เผ่าพันธุ์") (1793/1795) คือ
มนุษย์ตามทฤษฎีของ Johann
Friedrich Blumenbach
คอเคเซียน เป็นกลุ่มชนชาติผิวขาว
มองโกลเลี่ยน เป็นกลุ่มชนชาติผิวสีเหลือง
มาลายัน เป็นกลุ่มชนชาติผิวสีน้ำตาล
เอธิโอเปียน เป็นกลุ่มชนชาติผิวดำ
และอินเดียน เป็นกลุ่มชนชาติพื้นเมืองสหรัฐ
โดยนายแพทย์ Johann
Friedrich Blumenbach ได้นิยามของชนชาติมลายูว่า
เป็นชนชาติผิวสีน้ำตาล หรือ Brown Skill และจากการให้คำนิยามว่า
มีผิวสีน้ำตาลนี้ นักวิชาชาวมลายูทั้งหลายจึงให้คำนิยามว่า
ชาวมลายูเป็นกลุ่มชนเชื้อชาติสีละมุด (Orang Melayu Kulit awo Matang) ตามทฤษฎีการแบ่งมนุษย์ออกเป็น 5 กลุ่มคนนั้น นายมูฮัมหมัดอารอฟ อิสฮัก กล่าวไว้ในหนังสือที่ชื่อว่า Tamadun
Alam Melayu (อารยธรรมโลกมลายู) ว่า การที่ทางนายแพทย์ Johann
Friedrich Blumenbach ได้แบ่งมนุษย์ออกเป็น 5
กลุ่มนั้น โดยรวมชาวพื้นเมืองออสเตรเลียและชาวปาปัว
เข้าไปอยู่ในกลุ่มชาวมลายูด้วยนั้น นับว่ายังไม่ถูกต้อง
สำหรับหนังสือ ชื่อว่า The anthropological treatises of Johann Friedrich
Blumenbach and John Hunter แปลเป็นภาษาอังกฤษโดย Thomas
Bendyshe เขียนถึงชนชาติมลายูว่า
Malay
inhabitant of the fifth part of the world,
back again to east indies including the mlays properly so called. they are
generally brownish colour ( from clear mahogany to the very deepest chestnut)
with thick black ringleted hair, broad nose and large mouth.
แปลแบบอิสระว่า
ชนชาติมลายู
อาศัยอยู่ในส่วนที่ห้าของโลก กลับมายังตะวันออกอินเดีย
(อินโดเนเซียปัจจุบัน)อีกครั้ง รวมถึงชนชาวมลายูที่ถูกเรียกอย่างถูกต้องด้วย
โดยทั่วไปจะมีสีน้ำตาล (ตั้งแต่สีน้ำตาล ไปจนถึงสีน้ำตาลเข้ม)
มีผมเป็นลอนหนาสีดำ จมูกกว้าง และปากใหญ่
การตีความของคำว่า มลายูก็มีการตีความได้ 2 มิติ นั้นคือ
1. การตีความหมายอย่างกว้างของคำว่า
มลายู โดยใช้หลักการ Race (ชนชาติ) เป็นหลัก
ซึ่งในการตีความในลักษณะนี้ เป็นการตีความของกลุ่มคนมาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์
และผู้คนในภาคใต้ของไทย
ซึ่งการตีความในลักษณะนี้ น่าจะรวมกับการตีความของประเทศฟิลิปปินส์ด้วย
ในการตีความของกลุ่มคนข้างต้นนั้น เมื่อกล่าวถึงมลายู
ก็จะรวมถึงกลุ่มคนทุกชาติพันธุ์ (Ethnic) ที่อยู่รวมกันในชนชาติมลายู
ไม่ว่ากลุ่มคนเหล่านั้น จะมีชาติพันธุ์ใด ก็จะรวมกันเป็นส่วนหนึ่งของชนชาติมลายู
เช่น ชาวมลายู ชาวชวา ชาวบูกิส ชาวมีนังกาเบา ชาวบาตัก ชาวบันจาร์ และกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ
อีกนับร้อยชาติพันธุ์ ซึ่งในการตีความในลักษณ์นี้ สิ่งที่เห็นได้ชัด
คือการตีความของประเทศฟิลิปปินส์
ตัวอย่างเว็บไซต์องค์การการท่องเที่ยวของประเทศฟิลิปปินส์
และสถานทูตฟิลิปปินส์ในประเทศต่างๆ ก็จะมีการอธิบายถึงประชากรของฟิลิปปินส์ ว่า
The Filipino People
The Filipino is basically of Malay stock The
Filipino is basically of Malay stock with a sprinkling of Chinese, American,
Spanish and Arab blood
แปลได้ความว่า
ประชากรชาวฟิลิปปินส์
ชาวฟิลิปปินส์ มีพื้นฐานเป็นชาวมลายู
พร้อมกับผสมด้วยสายเลือดชาวจีน สหรัฐ เสปน และอาหรับ
Demographics
Ethnic groups: Christian Malay 91.5 %, Muslim Malay 4 %, Chinese 1.5 %, other 3 %
แปลได้ความว่า
ประชากร
กลุ่มชาติพันธุ์ : ชาวมลายูคริสเตียน 91.5 % ชาวมลายูมุสลิม 4 % ชาวจีน 1.5 % และอื่นๆ 3 %
จะเห็นได้ว่า
แม้ประชากรในฟิลิปปินส์จะมีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆนับร้อยชาติพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็น เผ่าตากาล๊อก เผ่าอีโลกาโน เผ่ากาปัมปางัน เผ่าซีบัวโน
หรือแม้แต่กลุ่มที่เรียกว่า มุสลิมโมโร ก็มีสิบกว่าเผ่า ซึ่งจะเห็นได้ว่าทางการฟิลิปปินส์เอง
ก็ต้องการที่จะสร้างความปึกแผ่น จึงมีการรวมเรียกชาติพันธุ์ต่างๆ รวมกันว่า
มลายูคริสเตียน และมลายูมุสลิม
นอกจากนั้นนักวิชาการที่มีชื่อเสียงในประเทศฟิลิปปินส์ คือ Dr. Zeus A. Salazar, นักวิชาการที่เคยดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ ระหว่างปี 1987-1989 และคณบดีคณะสังคมศาสตร์และปรัชญาของของมหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ ระหว่างปี 1989-1992 โดยเขาได้เขียนหนังสือชื่อว่า The Malayan connection : ang Pilipinas sa Dunia Melayu จัดพิมพ์ที่เมือง Lunsod Quezon โดยสำนักพิมพ์ Palimbagan ng Lahi เมื่อปี 1998 โดยเขาได้อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างชนชาติมลายู และได้กล่าวถึงประเทศฟิลิปปินส์ว่าเป็นส่วนหนึ่งของโลกมลายู และนาย Nasser A. Marohomsalic ได้เขียนหนังสือชื่อ Aristocrats of The Malay Race : A History of The Bangsa Moro in The Philippines ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการยืนยันถึงความเป็นชนชาติมลายูของชาวฟิลิปปินส์ และ ดร. Rommel A. Curaming ชาวฟิลิปปินส์ แห่งมหาวิทยาลัยบรูไนดารุสสาลาม ได้เขียนบทความถึงความเป็นมลายูของชาวฟิลิปปินส์ ในหัวข้อ Filipinos as Malay : Historicizing an Identity
สำหรับประเทศบรูไน
จะประกอบด้วยเผ่าต่างๆเป็นจำนวนถึง 7 เผ่า คือ
1. ชาวมลายูบรูไน
2. ชาวเกอดายัน
3. ชาวตูตง
4. ชาวเบอไลต์
5. ชาวบีซายา
6. ชาวมูรุต
7. ชาวดูซุน
สำหรับชาวมลายูในประเทศสิงคโปร์นั้น แม้ว่าในระดับประชาชน การแบ่งแยกระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆของชนชาติมลายู แทบจะไม่มี ไม่ว่าจะมาจากเผ่ามลายู เผ่าบูกิส เผ่ามีนังกาเบา และเผ่าอื่นๆ แต่ด้วยชาวมลายูเป็นกลุ่มน้อย จึงสันนิฐานว่าจะมีลักษณะของการสร้างนโยบายแบ่งยกแล้วปกครอง (Divide and Rule) ของรัฐบาลสิงคโปร์ ดังนั้น ทางรัฐบาลจึงพยายามแบ่งแยกเผ่าต่างๆ โดยในบัตรประชาชนของชาวมลายูในประเทศสิงคโปร์ จึงมีช่องแสดงเชื้อชาติ โดยชาวมลายูในประเทศสิงคโปร์ จึงมีการใส่ในช่องเชื้อชาติว่า Malay หรือ Javanese หรือ Buginese และอื่นๆ
อ้างอิง
Augusto V. De Viana, The Dream of Malayan Unity
: President Macapagal Maphilindo, University of Santi Thomas, Manila.
I-Tsing, Translated by J. Takakusu, A record
of the Buddhist religion as practised in India and the Malay archipelago, The
Clarendon Press, 1896.
Johann Friedrich Blumenbach, De generis
humani varietate nativa, Gottingae : Vandenhoek et Ruprecht, 1795.
Mohd. Arof Ishak, Tamadun Alam Melayu, Persatuan
Sejarah Malaysia, 2009.
Nasser A. Marohomsalic,Aristocrats of The
Malay Race: A History of the Bangsa Moro in the Philippines, 2001.
Thomas Bendyshe (Translated), The
anthropological treatises of Johann Friedrich Blumenbach and John Hunter, 1865.
Zeus A Salazar,The Malayan connection : ang Pilipinas sa Dunia Melayu, Lunsod Quezon : Palimbagan ng Lahi, 1998.
Tiada ulasan:
Catat Ulasan