Khamis, 14 Mac 2024

นายร๊อคกี้ เฆอรง นักวิจารณ์การเมืองแนวหน้าของอินโดเนเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

จากการที่ได้ติดตามสถานการณ์ทางการเมือง ตั้งแต่การเลือกตั้งประธานาธิบดีอินโดเนเซีย ตั้งแต่ปี 2019  ทำให้ได้รู้จักหลายๆชื่อของนักการเมือง นักวิจรณ์การเมืองชาวอินโดเนเซีย และหนึ่งในชื่อของนักวิจารณ์การเมืองที่ค่อนข้างโด่งดังคนหนึ่งคือ นายร๊อคกี้ เฆอรง  อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยอินโดเนเซีย มหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของอินโดเนเซีย แต่ภายหลังต้องออกจากการเป็นอาจารย์เพราะมหาวิทยาลัยมีเกณฑ์กำหนดให้อาจารย์มหาวิทยาลัยมีวุฒิการการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป  แต่นายร๊อคกี้ เฆอรง มีวุฒิแค่ปริญญา แม้ความสามารถของเขาจะสูงกว่าระดับปริญญาโท ปริญญาเอก ด้วยเขาเป็นนักอ่านคนหนึ่ง  เรามาทำความรู้จักนายร๊อคกี้ เฆอรงกันดีกว่า


นายร๊อคกี้ เฆอรัง  เกิดเมื่อ 20 มกราคม 1959 เป็นนักวิจารณ์การเมือง นักปรัชญา นักวิชาการ และปัญญาชนชาวอินโดเนเซีย เขาเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งสถาบันเซอตารา หรือ Institut Setara และเป็นสมาชิกของ Perhimpunan Pendidikan Demokrasi (P2D) หรือ Democratic Education Association เขาเคยสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยอินโดเนเซียเป็นเวลา 15 ปี เขาเป็นพี่ชายของศาสตราจารย์ ดร. เกรโว เฆอรง (Grevo Gerung) ซึ่งปัจจุบันเป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัย Sam Ratulangi ในเมืองมานาโด  จังหวัดสุลาเวซีใต้


สำหรับสถาบันเซอตารา หรือ Institut Setara ที่นายร๊อคกี้ เฆอรง หนึ่งในผู้ก่อตั้งร่วมกับอดีตประธานาธิบดีอับดุลราห์มาน วาฮิด และ ดร. อัซยูมาร์ดี อัซรา (Azyumardi Azra) นั้นเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ตั้งอยู่ในอินโดเนเซีย ซึ่งดำเนินการวิจัยและสนับสนุนด้านประชาธิปไตย เสรีภาพทางการเมือง และสิทธิมนุษยชน  สถาบันเซอตารา หรือ Institut Setara เป็นองค์กรวิจัยที่มีงานวิจัยหลักที่มุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของสังคม  สถาบันได้จัดตั้งขึ้นในปี 2005 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรุนแรงทางศาสนา การเลือกปฏิบัติ และการคุกคามพหุนิยมและสิทธิมนุษยชนในอินโดเนเซีย และทำงานในพื้นที่ของฆราวาส ตามที่ยึดหลักสิทธิมนุษยชนและรัฐธรรมนูญ และไม่ดำเนินการวิจัยที่เจาะลึกเกี่ยวกับแนวเทววิทยาของศาสนา สถาบันนี้เป็นผู้บุกเบิกการปกป้องเสรีภาพทางศาสนาในอินโดเนเซีย องค์กรส่งเสริมเสรีภาพของพลเมืองและการเปลี่ยนแปลงนโยบายเพื่อส่งเสริมพหุนิยมและสิทธิมนุษยชน

นายร๊อคกี้ เฆอรงเริ่มเรียนที่มหาวิทยาลัยอินโดเนเซีย (Universitas Indonesia) ในปี 1979 เขาเข้าเรียนในภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นครั้งแรก  ซึ่งในขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของคณะสังคมศาสตร์ อย่างไรก็ตาม นายร๊อคกี้ เฆอรง ก็เรียนไม่จบในแผนกนั้น แต่นายร็อคกี้ เฆอรงกลับสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวรรณกรรมจากภาควิชาปรัชญาแทน ในขณะที่ศึกษาอยู่นั้น  นายร็อคกี้ เฆอรง มีความใกล้ชิดกับนักเคลื่อนไหวสังคมนิยม เช่น นายแพทย์มาร์ซิลลัม ซีมายุนตัก (Marsillam Simanjuntak) และนายแพทย์ฮารีมาน ซีเรฆาร์ (Hariman Siregar)


นายแพทย์มาร์ซิลลัม ซีมายุนตัก (Marsillam Simanjuntak) โดยภายหลัง หลังจากที่นายแพทย์มาร์ซิลลัม ซีมายุนตัก จบการแพทย์แล้ว เขาได้เรียนต่อ ด้านกฎหมาย จนจบจากมหาวิทยาลัยอินโดเนเซีย  สำหรับนายแพทย์มาร์ซิลลัม ซีมายุนตัก เป็นข้าราชการเกษียณ ในสมัยประธานาธิบดีอับดุลราห์มาน วาฮิด ได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะรัฐมนตรีตั้งแต่เดือนมกราคม 2000 และในสมัยประธานาธิบดีคนเดียวกัน ในเดือนมิถุนายน 2001 ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2001 และเป็นอัยการสูงสุดของอินโดเนเซียระหว่างเดือนกรกฎาคม 2001 ถึงเดือนสิงหาคม 2001  แทนนายบุรฮานุดดิน โลปา (Baharuddin Lopa) อดีตอัยการสูงสุดที่เสียชีวิที่กรุงรียาด ประเทศซาอุดีอาราเบีย  Hariman Siregar


ส่วนนายแพทย์ฮารีมาน ซีเรฆาร์ (Hariman Siregar) ในปัจจุบัน เป็นหัวหน้าสถานพยาบาลในกรุงจาการ์ตาที่ชื่อว่า klinik baruna

กลับมาพูดถึงนายร๊อคกี้ เฆอรง ต่อครับ มาพูดถึงนายร๊อคกี้ เฆอรง

หลังจากสำเร็จการศึกษา นายร๊อคกี้ เฆอรง กลับมาที่มหาวิทยาลัยอินโดเนเซีย (Universitas Indoesia) และสอนที่ภาควิชาปรัชญาซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของคณะวัฒนธรรมศาสตร์ในฐานะอาจารย์ไม่ประจำจนถึงต้นปี 2015 เขาหยุดสอนเนื่องจากการออกกฎหมาย ฉบับที่ 14 พ.ศ. 2548 ซึ่งกำหนดให้อาจารย์มหาวิทยาลัยต้องมีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาโท ในขณะที่นายร๊อคกี้ เฆอรง สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเท่านั้น โดยเขาสอนในวิชาการสัมมนาเกี่ยวกับทฤษฎีความยุติธรรม ปรัชญาการเมือง และวิธีวิจัยเชิงปรัชญา นอกนั้นเขายังสอนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาด้วย นักเรียนคนหนึ่งที่เขาดูแลคือนักแสดงหญิงที่ชื่อว่า  Dian Sastrowardoyo


ในด้านการเมือง ในปี 2002 นายร๊อคกี้ เฆอรง ร่วมกับ ดร. ชาห์รี (Sjahrir) นักเศรษฐศาสตร์คนหนึ่ง ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว และภรรยาของดร. ชาห์รี (Sjahrir) ที่ชื่อว่า ดร. การ์ตีนี (Kartini) โดย ดร. การ์ตีนี เป็นนักมานุษยวิทยา เป็นน้องสาวของนายพลลุฮุต บินซาร์ ปันไยตัน (Luhut Binsar Pandjaitan) หนึ่งในคณะรัฐมนตรีของประธานาธิบดีโยโกวี โดยร่วมกันก่อตั้งพรรคอินโดเนเซียใหม่ หรือ Partai Indonesia Baru  (PIB) แม้ว่าเขาจะร่วมก่อตั้งพรรคนี้ แต่เขาก็ไม่ได้มีบทบาทในการจัดการพรรคเลย ต่อมาในปี 2011 นายร๊อคกี้ เฆอรง ตัดสินใจลาออกและเข้าร่วมกับพรรคสหภาพประชาชนอิสระ หรือ Partai Serikat Rakyat Independen (SRI)  เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกของสภาที่ปรึกษาพรรคนี้


นายร๊อคกี้ เฆอรง ยังเป็นประธานของโรงเรียนสังคมศาสตร์ หรือ Sekolah Ilmu Sosial (SIS) ซึ่งเป็นโรงเรียนนอกระบบที่ให้ความรู้แก่นักเรียนให้เข้าใจความเป็นจริงทางสังคมในลักษณะสหวิทยาการ ภายใต้มูลนิธิที่ชื่อว่า Yayasan Padi dan Kapas (มูลนิธิข้าวและฝ้าย) เป็นมูลนิธิที่มี ดร. ชาห์รี เป็นประธานมูลนิธิ มีวิทยากรสอนจำนวนหนึ่งได้แก่ ดร. อารีฟ บูดีมาน (Dr. Arief Budiman) ชื่อเดิมว่า Soe Hok Djin เป็นชาวอินโดเนเซีย เชื้อสายจีน จบปริญญาเอกด้านสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ออสเตรเลีย ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว  วิทยากรคนที่สอง ชื่อ ศาสตราจารย์ซาลิม ซาอิด (Prof Dr.  Salim Said) อดีตเอกอัครราชทูตอินโดเนเซียประจำประเทศเช๊ก และนายราห์มาน โตลเล็ง (Rahman Tolleng) นักการเมือง อดีตส.ส. อินโดเนเซีย ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว

ในฐานะนักสังคมศาสร์เชิงปรัชญา สาขาวิชาหนึ่งของร็อคกี้ เฆอรงคือปรัชญาสตรีนิยม ร็อคกี้ เฆอรงเขียนอย่างกว้างขวางในวารสารสตรี ที่ชื่อว่า  Jurnal Perempuan เป็นสิ่งพิมพ์ที่จัดพิมพ์โดยมูลนิธิวารสารสตรี หรือ Jurnal Perempuan Foundation และก่อตั้งโดย ดร. ฆาดิส อารีเวีย (Dr. Gadis Arivia) เพื่อนร่วมมหาวิทยาลัยของเขาที่มหาวิทยาลัยอินโดเนเซีย  สำหรับร็อคกี้ เฆอรงยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยด้านปรัชญาและสตรีนิยมศึกษา หรือ Kajian Filsafat dan Feminisme (Kaffe) ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการชอง  มูลนิธิวารสารสตรี หรือ Jurnal Perempuan Foundation นอกจากนั้น นายร็อคกี้กี้ เฆอรงยังมีส่วนร่วมในฐานะนักเขียนในนิตยสารชื่อว่า Prisma Journal ซึ่งจัดพิมพ์โดยองค์กรพัฒนาเอกชนที่ชื่อว่า Lembaga Penelitian, Pendidikan dan Penerangan Ekonomi dan Sosial (Research, Education and Information on Economy and Social Affairs) หรือ LP3ES โดยนายร็อคกี้กี้ เฆอรง จะเขียนเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและหลักการปัญศีล (Pancasila) ของอินโดเนเซีย

ความคิดของนายร็อคกี้กี้ เฆอรง เริ่มเป็นที่สังเกตอย่างกว้างขวางจากสาธารณชนชาวอินโดเนเซียนับตั้งแต่เขาปรากฏตัวครั้งแรกในรายการโทรทัศน์ของอินโดเนเซียชื่อรายการว่า Indonesia Lawyers Club เมื่อต้นปี 2017 เป็นรายการโทรทัศน์ของนักหนังสือที่ชื่อว่า นายการ์นี อิลลัส (Karni Ilyas) ปัจจุบันออกรายการทางยูทูบ ในการออกรายการครั้งแรกของนายร็อคกี้กี้ เฆอรง  เขาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลโดยระบุว่ารัฐบาลเป็นผู้หลอกลวงที่ดีที่สุดเนื่องจากมีเครื่องมือมากมาย ที่จะโกหก และนับตั้งแต่นั้นมานายร็อคกี้กี้ เฆอรง กลายเป็นที่รู้จักในฐานะปัญญาชนที่เฉียบแหลมและรุนแรงในการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ดังนั้นเขาจึงมักได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรรับเชิญในรายการโทรทัศน์ มหาวิทยาลัย และอื่นๆ


ผลงานเขียนของนายร็อคกี้กี้ เฆอรง 

Fay, Brian; Rocky Gerung; dan Budi Murdono (1991). Teori Sosial dan Praktik Politik. Jakarta: Penerbit Grafiti.


Saraswati, L. G.; dan Rocky Gerung (2006). Hak Asasi Manusia: Teori, Hukum, Kasus. Depok: Filsafat UI Press.


Gerung, Rocky. "Mengaktifkan Politik." Demokrasi dan Kekecewaan, Centre for the Study of Islam and Democracy, 2009.


Gerung, Rocky (2024). "Obat Dungu Resep Akal Sehat: Filsafat untuk Republik Kuat". Depok: Penerbit Komunitas Bambu.


บทความ

Gerung, R. (2007). "Pluralisme dan Konsekwensinya: Catatan Kaki untuk Filsafat Politik’ Nurcholish Madjid”." Paper PSIK Universitas Paramadina.


Gerung, R. (2008). "Feminisme versus Kearifan Lokal." Jurnal Perempuan 57.

Gerung, R. (2010). "Representasi, Kedaulatan, dan Etika Publik." Jentera Jurnal Hukum 20 (5).


Gerung, R. (2011). "Komunitarianisme versus - Hak Asasi Manusia.[pranala nonaktif permanen]" Jurnal Prisma 1 (2011)


Gerung, R. (2014). "Feminist Ethics against Stigma of Theocracy-Patriarchy: a Reflection of 2014 Presidential Election." Jurnal Perempuan 19 (3): 175-182.


Gerung, R. (2015). "Jalan Ideologi dalam Negara Demokrasi." Konfrontasi: Jurnal Kultural, Ekonomi Dan Perubahan Sosial, 2(2), 53-56.


Gerung, R. (2016). "Feminist Pedagogy: A Political Position." Jurnal Perempuan 21 (3): 265-271.


Gerung, R. (2018). "Pancasila: Ide Penuntun, Bukan Pengatur. Diarsipkan 2021-03-10 di Wayback Machine." Jurnal Prisma 2 (2018)


"Cendekiawan, Kultur, dan Politik", Majalah Tempo Edisi 12 Agustus 2001


"Tersesat di Jalan Yang Benar", Majalah Tempo Edisi 13 Agustus 2007


"Rahim Laki-Laki", Majalah Tempo Edisi 7 Maret 2011


"Demokrasi Kurva Lonceng", Majalah Tempo Edisi 14 November 2011


"Consumo Ergo Sum", Majalah Tempo Edisi 20 Februari 2012


"Demagogi", Majalah Tempo Edisi 7 Juli 2014


"Politik dan Akronim", Majalah Tempo Edisi 29 September 2014


"Charlie Hebdo dan Kita", Majalah Tempo Edisi 19 Januari 2015

Selasa, 12 Mac 2024

บทกวีชื่อ “ศึกษาชีวิต” จากชีวิตจริงของชาวปาตานีคนหนึ่ง

โดยนายนิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

วันนี้จะขอเสนอบทกวีของนายฮัสซัน  บูงาสายู ซึ่งเป็นบทกวี ชื่อว่า “ศึกษาชีวิต” เป็นบทกวีร่วมเล่ม แต่ต้นฉบับยังไม่ได้ตีพิมพ์แต่อย่างใด บทกวีนี้นายฮัสซัน  บูงาสายู เขียนในขณะที่ตัวเองถูกคุมขังในข้อหากบถ ที่คุกกรุงเทพฯ นายฮัสซัน  บูงาสายู เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง และเป็นนักกิจกรรมนักศึกษา และเป็นผู้ยึดถืออุดมการณ์คนหนึ่ง สุดท้ายทางศาลได้ลงมติให้เจ้าตัวพ้นผิดจากข้อกล่าวหา และการตักสินของศาลทำให้เจ้าตัวกลายเป็นผู้บริสุทธิ์ 


“ศึกษาชีวิต”


เมื่อวาน.........ฉันวาดวิมาน เลิศลอยแห่งความฝัน

มหาวิทยาลัย บัณฑิต ปริญญาบัตร

จึงมาหาคุณค่า ปละความหมาย

แนเข้าไปในอาณาเขตของสถาบัน

ด้วยรอยยิ้ม.........จากส่วนลึกของหัวใจ

ฉันมีเพื่อนและตำรา

.......ก่อนจะจากมาพร้อมมือเปล่า.........

วันนี้.......ฉันอยากศึกษา ชีวิตที่แท้จริง

ฉันค้นพบมันบนข้างถนน

ฉันเรียนรู้หลายอย่างรอบตัวฉัน

ฉันสัมผัสรัศมีของแสงอันแท้จริงของชีวิตมนุษย์

ความทุกข์ทรมาน..........

ความยากแค้น...............

ฉันศึกษา........อย่างลึกซื้ง........


 

Isnin, 11 Mac 2024

บทกวีชื่อ “ฝันดี”จากชีวิตจริงของชาวปาตานีคนหนึ่ง

โดยนายนิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

วันนี้จะขอเสนอบทกวีของนายฮัสซัน  บูงาสายู ซึ่งเป็นบทกวี ชื่อว่า “ฝันดี” เป็นบทกวีที่นายฮัสซัน  บูงาสายู เขียนในขณะที่ตัวเองถูกคุมขังในข้อหากบถ ที่คุกกรุงเทพฯ นายฮัสซัน  บูงาสายู เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง และเป็นนักกิจกรรมนักศึกษาคนหนึ่ง สุดท้ายทางศาลได้ลงมติให้เจ้าตัวพ้นผิดจากข้อกล่าวหา และการตักสินของศาลทำให้เจ้าตัวกลายเป็นผู้บริสุทธิ์ 

ฝันดี

ฝันดีในยามหลับ

ภายในความฝัน

ฉันท่องเที่ยวในที่ฉันไม่เคยไป

เส้นทางเดินราบเรียบนุ่มเท้า

โรงโปรยด้วยกลีบกุหลาบหลากสี

มีวัง ห้องนอนประดับประดาด้วยเพชรนิลจินดา

เตียงหยก นิ่มนวล ผ้าม่านดักทออย่างงดงาม

อาหารไม่เคยลิ้มหลายหลากรส

ฉันรื่นรมย์กับอาหารอันมากมาย

เสียงดนตรีลำนำเพลงเสนาะหู

มวลบุปผา เบ่งบาน แย้มกลีบสิงกลิ่นหอม

เมื่อฉันตื่น........

ภาพความฝันได้สลายเลือนหายไป

กลับพบภาพฝันร้ายในยามตื่น

กำแพงอิฐ ซี่กรงเหล็ก

พื้นไม้ผุผุ ห้องคับแคบ

ข้าวแดง ทั้งกาก

ผักบุ้ง ทั้งราก

จืดชืด ไม่สรรพรส

Sabtu, 9 Mac 2024

ลงภาคสนามค้นหาร่องรอยศูนย์อำนาจเมืองระแงะในอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวา

โดยนิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน


เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2024 ผู้เขียนพร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร. ฟารุก ซากาเรีย อดีตอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมาเลเซียแห่งกลันตัน (Universiti Malaysia Kelantan) ปัจจุบันอยู่ศูนย์ภาษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ด้วยมีเจ้าหน้าที่และนักศึกษาฝึกงานของสถาบันสมุทรรัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ร่วมเดินทางลงภาคสนาม สัมผัสพื้นที่อดีตศูนย์อำนาจของเมืองระแงะที่บ้านตันหยงมัส นอกจากลงภาคสนามศึกษาอดีตศูนย์อำนาจแล้ว ยังได้สัมภาษณ์เครือญาติลูกหลานอดีตเจ้าเมืองระแงะ ผู้เขียนได้มีโอกาสลงพื้นที่สัมผัสบริเวณศูนย์อำนาจเก่าของเมืองระแงะ ที่ตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส สำหรับเมืองระแงะ เคยมีศูนย์อำนาจ 3 แห่ง แห่งแรกที่ลือแฆะห์ หรือ ระแงะ แห่งที่สอง คือ ศูนย์อำนาจที่บ้านตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส และแห่งที่สาม แห่งสุดท้ายที่ตัวเมือง จังหวัดนราธิวาส


อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส เป็นอำเภอที่มีความสำคัญในอดีต ด้วยในอดีตนั้นอำเภอระแงะคือเมืองระแงะ ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดหัวเมืองปักษ์ใต้ การแบ่งเมืองปาตานีออกเป็น 7 หัวเมืองนี้ มีการตั้งคำถามว่าเกิดขึ้นในสมัยใด  มีการอ้างอิงขัดแย้งกัน 2 ฝ่าย โดยฝ่ายที่ 1 เห็นว่าเกิดขึ้นในสมัยราชกาลที่ 1 แต่อีกฝ่ายมีความเห็นว่าเกิดขึ้นในราชกาลที่ ผู้เขียนมีความเห็นสอดคล้องกับผศ. พรรณงาม เง่าธรรมสาร อดีตอาจารย์ประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เห็นว่า เมื่อมีการเทียบพ.ศ. ที่เกิดสงครามระหว่างสยามกับเมืองปาตานีแล้ว และเกิดเหตุการณ์การแบ่งเมืองปาตานีออกเป็น 7 หัวเมืองนั้น และหลักฐานอีกชิ้น คือ จดหมายเหตุในราชกาลที่ 3 ก็กล่าวว่าการแบ่งรัฐปาตานีออกเป็น 7 หัวเมืองเกิดขึ้นในราชกาลที่ 2    โดยในยุคสมัยราชกาลที่ 1 มีความประสงค์ในการแยกรัฐปาตานีออกเป็น 7 หัวเมือง และมาประสบความสำเร็จในยุคราชกาลที่ ในยุคนั้น นับแต่ราชกาลที่ 2 จนถึงช่วงต้นของราชกาลที่ 5 สยามแทบจะไม่ได้มีอำนาจภายในใดๆต่อเจ็ดหัวเมืองปักษ์ใต้ กิจการภายในของแต่ละเมือง เจ้าเมืองจะมีอำนาจปกครองกันเอง เพียงแต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการต่อกรุงเทพฯ มีการใช้กฎหมายเองในแต่ละเมือง และมีการออกเงินตราเป็นของตนเองในแต่ละเมืองเช่นกัน จนช่วงปลายราชกาลที่ 5 ต้องการที่จะมีอำนาจภายในเหนือเมืองต่างๆเหล่านั้น


หลังจากที่ปาตานีถูกแยกออกเป็น 7 หัวเมือง  โดยเมืองระแงะ หนึ่งในเจ็ดหัวเมือง มีนายนิดะห์ เป็นเจ้าเมือง มีศูนย์อำนาจอยู่ในบ้านลือแฆะห์ หรือ ระแงะ  ซึ่งศูนย์อำนาจของเมืองระแงะ ตั้งที่บ้านลือแฆะห์ นั้น  ก็ยังจำเป็นต้องทำการศึกษาว่า บ้านลือแฆะห์ นั้นตั้งอยู่ที่ไหน ส่วนหนึ่งกล่าวว่าตั้งอยู่บ้านลือแฆะห์ ซึ่งปัจจุบัน คือบ้านลือแฆะห์ อำเภอยือลี รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย

แต่หลักฐานหนึ่งจากการบันทีกของไทย บันทีกไว้ว่า ให้นิเดะเป็นพระยาระแงะ ตั้งวังอยู่ริมพรมแดนเมืองกลันตัน ต้นทางที่จะไปเหมืองทองโตะโมะ


อ. บางนรา ได้เขียนถึงเจ้าเมืองของเมืองระแงะ ในหนังสือชื่อว่า ปัตตานีในอดีต  ซึ่งเป็นภาคแรกของหนังสือ ปัตตานี อดีตและปัจจุบัน พิมพ์เมื่อ กันยายน 2023 มีความว่า


“เมื่อปี 1831 ในสมัยราชการที่ 3 ไทยไปปราบปรามไทรบุรี(เคดะห์) แต่ไม่สำเร็จ มิหนำซ้ำถูกฝ่ายไทรบุรีรุกคืบจนถึงเขตเมืองสงขลา ทางสงขลาจึงแจ้งให้เจ้าเมืองยะหริ่ง (นายพ่าย) เกณฑ์กำลังจากเมืองมลายูไปช่วย แต่เจ้าเมืองสายบุรี(นิดะห์) กับรามันห์ (ตวนกูโน) ไม่ยอมไปช่วย เพราะสำนึกในความเป็นมลายูของตน ส่วนเจ้าเมืองอื่นๆ อันมีเมืองปัตตานี หนองจิก ระแงะ และยะลา นำกำลังทหารออกไปช่วยด้วยความจำใจ แต่ในระหว่างทาง เจ้าเมืองมลายูทั้งสี่ ได้รวมหัวกัน สู้กับทหารของเจ้าเมืองยะหริ่ง ซึ่งเป็นเจ้าเมืองที่เป็นคนไทย เพียงคนเดียวใน 7 เมืองนั้น จนเจ้าเมืองยะหริ่ง(นายพ่าย) ต้องพาสมัครพรรคพวก หนีเข้าเขตเมืองสงขลา ทหารมลายูทั้งสี่เมืองดังกล่าว จึงรุกไล่ทหารของนายพ่าย เมื่อถึงสงขลาพอดีพบกับพวกไทรบุรี ซึ่งกำลังต้อนสงขลาอยู่ เจ้าเมืองทั้งสี่ จึงเข้าสมทบด้วย ขณะสู้รบกันนั้น ทัพใหญ่จากเมืองหลวงก็ไปถึงพอดี โดยมีพระยาพระคลังเป็นแม่ทัพ จนในที่สุดทหารมลายูทั้งหมดต้องถอนกลับ”


“ตวนสุหลง เจ้าเมืองปัตตานี และตวนบางกอก เจ้าเมืองยะลา พาครอบครัวไปอยู่ที่กลันตัน ตวนกะจิก เจ้าเมืองหนองจิก และนิเดะ เจ้าเมืองระแงะ หนีไปทางเปรัก แต่กองทัพไทยติดตามไปทันที่ยาโรม เขตแดนเปรัก จึงเกิดการสู้รบกันที่นั่น ในที่สุด ตวนกะจิก เจ้าเมืองหนองจิก สิ้นชีวิตในที่รบ ส่วนนิเดะ เจ้าเมืองระแงะ หนีรอดไปได้”


“ในปี 1832 กองทัพไทยจึงกลับกรุงเทพญ ในด้านปกครอง ได้แต่งตั้งนิบอสู(นิกบงซู) ชาวเมืองยะหริ่ง ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตันหยงมัส เป็นเจ้าเมืองระแงะ”


“หลังจากปัตตานีถูกแบ่งแยกออกเป็นเจ็ดหัวเมือง มีเจ้าเมืองดังนี้

เมืองระแงะ

1. นิเดะ (น้องของนิดะ เจ้าเมืองสายบุรี)

2. นิบอสู (นิบงซู)

3. ตวนโนะ (ตวนอันโดะ) หรือพระยาภูผาภักดี (บุตรของนิบอสู) เดิมมีนามว่า    

   พระคีรีรัตนพิศาล

4. ตวนเงาะห์ หรือพระยาภูผาภักดี”


สำหรับเจ้าเมืองที่ตั้งศูนย์อำนาจที่บ้านตันหยงมัส ประกอบด้วย นิบอสู (นิบงซู)

และ ตวนโนะ (ตวนอันโดะ) หรือพระยาพระยาภูผาภักดีศรีสุวรรณประเทศวิเศษวังษา(บุตรของนิบอสู) เดิมมีนามว่า   พระคีรีรัฐพิศาล  ส่วนตวนเงาะห์ หรือพระยาภูผาภักดีศรีสุวรรณประเทศวิเศษวังษา นั้นได้ย้ายศูนย์อำนาจไปตั้งที่ตัวเมืองในจังหวัดนราธิวาส


สำหรับนายนิบอสู(นิบงซู) เป็นเจ้าเมืองระแงะนั้น ได้ย้ายศูนย์อำนาจจากบ้านลือแฆะห์ มาอยู่ที่บ้านตันหยงมัส อยู่ทางทิศตะวันออกของวังนิเดะ ห่างออกไปเป็นระยะห่างเดินเท้า ประมาณ 1 วัน


นิบอสู (นิบงซู) เสียชีวิตในสมัยราชกาลที่ 4 จึงมีการแต่งตั้ง ตวนโนะ (ตวนอันโดะ) หรือนามว่า พระคีรีรัตนพิศาล เป็นเจ้าเมืองระแงะ มียศนามว่า พระยาภูผาภักดีศรีสุวรรณประเทศวิเศษวังษา และตวนแตะ (?) อาจผิดเพี้ยนจากชื่อที่ถูกต้อง โดยตวนแตะ ผู้เป็นน้องชาย มียศว่า พระยาศิริรัตนไพศาล เป็นผู้ช่วยราชการเมืองระแงะ  เมื่อตวนโนะเสียชีวิตในปี 1889 ด้วยตวนโนะไม่มีทายาท ตวนเงาะห์ ซัมซุดดิน บุตรของตวนสุหลง ผู้เป็นพี่ชายต่างมารดาของตวนโนะ ได้เป็นเจ้าเมืองระแงะแทน ได้ยศนามว่า พระยาภูผาภักดีศรีสุวรรณประเทศวิเศษวังษา   และมีตวนสุหลง ผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องตวนเงาะห์ ซัมซุดดิน เป็นรายามูดา หรือผู้ช่วยราชการเมืองระแงะ  สำหรับสาแหรกตระกูลของลูกหลานเจ้าเมืองระแงะ เพื่อความชัดเจนและละเอียดขึ้น จำเป็นต้องทำการศึกษา ค้นคว้าต่อไป 

ประมวลภาพการลงภาคสนาม



Khamis, 29 Februari 2024

ลมหายใจแห่งอิสรภาพ บทกวีของชายชาวสามจังหวัดชายแดนคนหนึ่ง

โดย นายนิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

วันนี้ขอเสนอบทกวีของนายฮัสซัน  บูงาสายู เป็นบทกวี ในขณะที่ตัวเองตัวถูกคุมขังในข้อหากบถ  และสุดท้ายทางศาลได้ลงมติให้เจ้าตัวพ้นผิดจากข้อกล่าวหา และเจ้าตัวกลายเป็นผู้บริสุทธิ์

“ลมหายใจแห่งอิสรภาพ”

อะไรเกิดขึ้นกับตัวฉัน

เมฆทึบทมึนกำลังไล่เมฆขาวพราวสดใส

บดบังแสงอาทิตย์

ฉันสูญสิ้นอิสรภาพ

ได้ลิ้มรสความข่มขื่น

ในขอบเขตอันจำกัด

ได้เรียนรู้ความคิด

ด้วยน้ำตาและ... ความเจ็บปวด

ฉันต้องการออกจากที่นี่

ฉันไม่ต้องการอยู่

ไม่มีใครต้องการอยู่

กุญแจดิกนั้นอยู่ที่ไหน

คล้ำหาในความมืด

จะเปิดประตู

ใครเปิดประตูให้ฉันได้ไหม

ได้ยินไหม.....

ฉันจะสูดลมแห่งอิสรภาพ


ฮัสซัน บูงาสายู

Ahad, 25 Februari 2024

บทกวีชื่อ “คืนไร้จันทร์”จากชีวิตจริงของชาวปาตานีคนหนึ่ง

 โดยนายนิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

วันนี้จะขอเสนอบทกวีของนายฮัสซัน  บูงาสายู นักกิจกรรมนักศึกษาที่ชอบขีดเขียนบทกวี โดยเฉพาะเป็นบทกวีภาษาไทย  บทกวี่ที่เขาเขียนชื่อว่า “คืนไร้จันทร์”เป็นที่บรรยายถึงดวงจันทร์ ซึ่งสื่ออะไรบางอย่างของเจ้าตัว ในขณะที่ตัวเองถูกคุมขังในข้อหากบถ ที่คุกบางเขนกรุงเทพฯ  นายฮัสซัน  บูงาสายู เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง และสุดท้ายทางศาลได้ลงมติให้เจ้าตัวพ้นผิดจากข้อกล่าวหา และการตัดสินของศาลทำให้เจ้าตัวกลายเป็นผู้บริสุทธิ์  โดยนายฮัสซัน  บูงาสายู เป็นคนชอบขีดเขียนบทกวี ในขณะที่อยู่ในเรือนจำ เจ้าตัวได้เขียนบทกวีชื่อว่า “คืนไร้จันทร์”เป็นบทกวีที่บรรยายถึงดวงจันทร์ที่ไร้เงา

 

คืนไร้จันทร์

ราตรีมืดเช่นนี้

ฉันหงอยเศร้าเปล่าเปลี่ยวยิ่งนัก

บนฟ้ากว้างแสนอ้างว้างไร้จันทร์ให้ฉันชม

โอ้....จันทร์ที่งามตาของฉัน

เธอร้างไกลจากฉันไปไหนหนอ

กลับมาเถิด

กลับมาหาฉัน

อย่าร้างเลยใจฉันเศร้า

เธอนะเหมือนเพื่อนคนหนึ่งของฉัน

เธอรู้ไหม......?

ว่าฉันกำลังรอคอยเธอมาเยี่ยมเยือน

อยากให้เธอส่องแสงงามออกมา

ทาสีนวลให้ราตรีอวลอุ่นอีกครั้ง.....



Rabu, 21 Februari 2024

บทกวีชื่อ “คืนแรก”จากชีวิตจริงของชาวปาตานีคนหนึ่ง

โดยนายนิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

วันนี้ขอเสนอบทกวีของนายฮัสซัน  บูงาสายู ซึ่งเป็นบทกวี ชื่อว่า “คืนแรก”เป็นคืนแรกในขณะที่ตัวเองถูกคุมขังในข้อหากบถ ที่คุกบางเขนกรุงเทพฯ  ในขณะที่นายฮัสซัน  บูงาสายู เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง และสุดท้ายทางศาลได้ลงมติให้เจ้าตัวพ้นผิดจากข้อกล่าวหา และการตัดสินของศาลทำให้เจ้าตัวกลายเป็นผู้บริสุทธิ์  โดยนายฮัสซัน  บูงาสายู เป็นคนชอบขีดเขียนบทกวี ในขณะที่อยู่ในเรือนจำ เจ้าตัวได้เขียนบทกวีชื่อว่า “คืนแรก”เป็นบทกวีกล่าวถึงคืนแรกที่ตัวเองนอนในเรือนจำ


คืนแรก

คืนแรกในคุก

เสียงระฆังบอกเวลาดังทุกโมงยาม

ฉันนอนไม่หลับเลย

เพราะไม่เคยชิน

พลิกตัวไปมาอย่างกระสับกระสาย

ฉันบอกไม่ถูกว่าอีงอลแค่ไหน

ปั่นป่วนด้วยแรงครุ่นคิดประดังเข้ามา

มือทั้งสองคอยปัดป้องฝูงยุง

บินจู่โจมอย่างกระหายเลือดมานาน

เสมือนการต้อนรับผู้มาใหม่