โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
เซอร์เจมส์ บรูค
ครั้งนี้เรามาทำความรู้จักกับรัฐซาราวัค
มาเลเซีย ซึ่งถือเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุด และแปลกที่สุด เพราะรัฐซาราวัค เคยมีผู้ครองรัฐเป็นชนผิวขาวมาก่อน
ในอดีตประเทศมาเลเซีย จะมีเจ้าผู้ครองรัฐ หรือสุลต่าน เป็นผู้ปกครองรัฐต่างๆ
มีราชวงศ์ต่างๆปกครอง ส่วนใหญ่จะปกครองจนถึงปัจจุบัน ยกเว้นเจ้าครองรัฐมะละกาที่สลายไป
หลังจากรัฐมะละกาพ่ายแพ้ให้กับโปร์ตุเกส ภายใต้การนำของ Alfonso de
Albuquerque ในปี 1511 สำหรับรัฐซาราวัค
บนเกาะบอร์เนียวนั้น ด้วยมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดของรัฐในประเทศมาเลเซีย
นอกจากจะมีเจ้าผู้ครองรัฐชาวมลายูของรัฐซาราวัค รวมทั้งรัฐพื้นเมืองอื่นๆ
เช่นรัฐซันตูบง รัฐของชาวอีบัน
รัฐมาลาโน รัฐซามาราฮัน รัฐซาดง รัฐกาลากา รัฐซารีบัส รวมทั้งรัฐที่ชื่อว่ารัฐซาราวัค
นักวิชาการส่วนหนึ่งถือว่า สุลต่านตือเงาะห์ เป็นสุลต่านองค์แรกและองค์สุดท้ายของรัฐซาราวัค
ซึ่งมีความสัมพันธ์กับรัฐบรูไนด้วย
นอกจากนั้นรัฐซาราวัค ยังมีความแปลกว่ารัฐอื่นๆ ด้วยในอดีตรัฐซาราวัคนั้น
จะมีราชวงศ์คนผิวขาวปกครองรัฐซาราวัค รู้จักในนามของราชาผิวขาว หรือ Raja
Putih หรือ White Rajahs โดยราชวงศ์ผิวขาวที่ปกครองรัฐซาราวัคนี้
มาจากครอบครัวชาวอังกฤษที่ชื่อว่า ครอบครัวบรูค (Brooke family) การที่ราชวงศ์บรูคปกครองรัฐซาราวัคนั้น
เรียกว่า ราชา หรือ Raja กล่าวว่าเพราะจะสร้างความแตกต่างจากราชวงศ์ชาวมลายูในเกาะบอร์เนียวที่ใช้คำว่า
สุลต่าน
เดิมดินแดนรัฐซาราวัค
เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบรูไน จนกระทั่งเซอร์เจมส์
บรูค ราชาผิวขาวคนแรกได้รับที่ดินจากรัฐบรูไน
ในเวลาต่อมาการปกครองของเซอร์เจมส์ บรูค ก็ขยายตัวออกไปกว้างขึ้น และภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ราชาผิวขาวคนสุดท้ายของรัฐซาราวัคก็ได้มอบรัฐซาราวัคให้อยู่ในสถานะรัฐอาณานิคมของอังกฤษ
(British Crown Colony)
วิวัฒนาการของดินแดนรัฐซาราวัค
1836 มีการต่อต้านการปกครองจากตัวแทนของสุลต่านบรูไนในรัฐซาราวัค
1840 ปาเงรันมูดาฮาชิมขอความช่วยเหลือจากเซอร์เจมส์ บรูค ในการปราบปรามผู้ต่อต้านการปกครองของตัวแทนจากรัฐบรูไน
1841 ปาเงรันมูดาฮาชิมแต่งตั้งเซอร์เจมส์ บรูค ให้เป็นผู้ว่าการและราชาซาราวัค
1842 สุลต่านบรูไนรับรองสัญญาที่ปาเงรันมูดาฮาชิมทำกับเซอร์เจมส์ บรูค
1846 สุลต่านบรูไนรับรองเซอร์เจมส์ บรูค เป็นราชารัฐซาราวัค
และเป็นรัฐอิสระจากรัฐบรูไน
The
Ranee of Sarawak (ราชานีแห่งรัฐซาราวัค) หรือ นาง Margaret
Lili de Windt ภรรยาของเซอร์ชาร์ลส์ แอนโทนี บรูค
ราชาผิวขาวคนที่สองได้บันทึกไว้ในหนังสือ My Life in Sarawak ว่า
ปาเงรันมูดาฮาชิม(ราชามูดาฮาชิม)
ตัวแทนของสุลต่านแห่งรัฐบรูไนได้เซ็นสัญญาลาออกจากยศและอำนาจ(ในรัฐซาราวัค)
โดยมอบให้แก่ชาวอังกฤษ (เซอร์เจมส์ บรูค)
และในปี 1884 เซอร์เจมส์ บรูค
มีความปรารถนาในหลักฐานการดำรงตำแหน่งของตนเอง จึงได้เดินทางไปยังรัฐบรูไน
นอกจากนั้นยังบันทึกว่า ปาเงรันมูดา ไม่เคยคาดคิดว่า เซอร์เจมส์ บรูค จะกลายเป็นราชาอิสระแห่งรัฐซาราวัค
เขาคิดเพียงว่าตอนทำสัญญากับเซอร์เจมส์
บรูค จะเป็นเพียงราชา หรือผู้ว่าการที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบรูไน
เงินตราของรัฐซาราวัค
ในยุคที่ตระกูลบรูคปกครองรัฐซาราวัค ก่อนที่จะมอบรัฐซาราวัคให้เป็นรัฐอาณานิคมของอังกฤษนั้น รัฐซาราวัคนั้นจะมีการออกเงินตราของตนเอง และมีแสตมป์ที่ใช้ในการไปรษณีย์เป็นของตนเอง
เงินตรารัฐซาราวัคในยุคเซอร์เจมส์ บรูค ปี 1863
เงินตรารัฐซาราวัคในยุคเซอร์ชาร์ลส์ บรูค ปี 1870
เงินตรารัฐซาราวัคในยุคเซอร์ชาร์ลส์ บรูค ปี 1911
เงินตรารัฐซาราวัคในยุคเซอร์ชาร์ลส์ ไวเนอร์ บรูค ปี 1934
เงินตรารัฐซาราวัคในยุคเซอร์ชาร์ลส์ ไวเนอร์ บรูค ปี 1937
เงินตรารัฐซาราวัคในยุคเซอร์ชาร์ลส์ ไวเนอร์ บรูค ปี 1950
ธนบัตรรัฐซาราวัคในยุคเซอร์ชาร์ลส์ ไวเนอร์ บรูค ปี 1929
ธนบัตรรัฐซาราวัคในยุคเซอร์ชาร์ลส์ ไวเนอร์ บรูค ปี 1940
Tiada ulasan:
Catat Ulasan