โดยนิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ครั้งนี้ขอเสนอประวัติและบทบาทของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
(ศอ.บต.) ส่วนตัวเห็นว่าศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) มีความสำคัญยิ่งในการแก้ไชปัญหา
และพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ผู้เขียนเห็นว่า การแก้ไชปัญหา และพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
(ศอ.บต.) ยังมีปัญหา การดำเนินงานยังมีจุดอ่อนอีกมาก ซึ่งผู้เขียนจะขอกล่าวในช่วงท้าย
ก่อนอื่น เรามารู้จักศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)
กันก่อนดีกว่า
การจัดตั้งองค์การบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานปกครองจังหวัดชายแดนภาคใต้
(ศปต.) โดยมติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน
2507 แล้ว
ลงมติอนุมัติหลักการโครงการศูนย์ประสานงานปกครองจังหวัดชายแดนภาคใต้
และมอบให้กระทรวงมหาดไทยรีบเร่งดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีให้เป็นผลสำเร็จตามนโยบายด้วยดี
โดยกรมการปกครองเป็นเจ้าหน้าที่รับผิดชอบโครงการและเริ่มดำเนินการ เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2508 เป็นต้นมา ต่อมาในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
เป็นนายกรัฐมนตรี ที่มุ่งแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยการพยายามให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา จึงได้เริ่มจัดตั้ง ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
(ศอ.บต.) และกองบัญชาการ พลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ 43 (พตท.43)
ได้ถูกนำมาใช้เพื่อหวังให้เหตุการณ์ความไม่สงบทางภาคใต้หมดไป
ในการจัดตั้ง ศอ.บต. และ พตท.43
ขึ้นนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาโดยการนำแนวความคิดเรื่องความมั่นคง
มาใช้ควบคู่ไปกับการพัฒนา โดยให้ความสำคัญกับทั้ง 2
ด้านอย่างเท่าเทียม
อีกทั้งองค์กรที่ตั้งขึ้นเป็นเสมือนเวทีสาธารณะที่เปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็น
หรือแม้แต่การเข้ามาร้องเรียนเมื่อประชาชนได้รับความไม่เป็นธรรมอันเกิดจากข้าราชการ
นอกจากนี้ยังเป็นหน่วยงานที่คอยดูแลประสิทธิภาพของส่วนราชการและคอยปกป้องสิทธิของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้จากการถูกเอารัดเอาเปรียบจากภาครัฐ
และเป็นองค์กรเพื่อการประสานงานโครงการการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ต่อมาเมื่อนายชวน
หลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรีเหตุกาการณ์ด้านความมั่นคงทั้งระดับภูมิภาคและระดับประเทศได้ลดระดับความรุนแรงลงมาก
รัฐบาลชวนจึงได้ทำการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
คือยกเลิกพระราชบัญญัติการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์
และได้แยกหน่วยงานที่ทำการพัฒนาและดูแลความความมั่นคงออกจากกันอย่างเด็ดขาด โดยให้
ศอ.บต. ดูแลงานพัฒนา โดยมีกระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบ ส่วนงานด้านความมั่นคงและการปราบปราม ให้พตท.43 เป็นผู้ดูแล โดยใช้ กอ.รมน.
หรือหน่วยงานในพื้นที่เป็นหลักในการกำกับดูแล
เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐบาลจึงประกาศยกเลิก
ศอ.บต. และ พตท.43 โดยมีการยุบหน่วยงานนี้เมื่อวันที่ 1
พฤษภาคม 2545 ต่อมาเหตุการณ์ความไม่สงบกลับทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น
รัฐบาลจึงจำเป็นต้องจัดตั้งหน่วยงานใหม่เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการแก้ไขปัญหาโดยเริ่มแรกได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
(กปต.) เพื่อเป็นเจ้าภาพในการประสานความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากผลการดำเนินงานของ กปต.
ไม่ปรากฏรูปธรรมที่ชัดเจน กปต. จึงถูกปรับบทบาทใหม่
พร้อมกับรัฐบาลได้มีมติให้จัดตั้ง
กองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กอ.สสส.จชต.) เพื่อเป็นศูนย์ควบคุมและเป็นแกนหลักในการประสานการ
ปฏิบัติงานการแก้ปัญหาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และปรับให้
กปต. มาทำงานประสานกับกองทัพภาค 4 ส่วนหน้า และ กอ.สสส.จชต.
ต่อมามีการปรับโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของ
กอ.สสส.จชต. อีกครั้ง และในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา
ซึ่งเป็นยุคของ พลเอกสิริชัย ธัญญสิริ นั้น องค์กร กอ.สสส.จชต.
ในช่วงนี้เป็นองค์กรที่มีโครงสร้างการบริหารจัดการที่มีการบูรณาการมากที่สุด
เนื่องจากมีการมอบอำนาจในการตัดสินใจ
และมีทรัพยากรในการแก้ไขปัญหาที่พร้อมที่สุดเพราะมอบให้ กอ.สสส.จชต.
สามารถบูรณาการงบประมาณและหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ได้ด้วยตนเอง
อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาโดยยึดหลักความมั่นคงควบคู่ไปกับการพัฒนา
ซึ่งจะเห็นได้จากการมีหน่วยงานด้านความมั่นคงและด้านการพัฒนาทุกหน่วยอยู่ในโครงสร้างองค์กร ต่อมาเมื่อเกิดเหตุการณ์ปฏิวัติในวันที่ 19
กันยายน 2549 โดยมีพลเอกสนธิ บุญรัตกลิน
เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครองของรัฐบาลรักษาการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
และมีการแต่งตั้งพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้นพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
จึงได้มีการจัดตั้ง ศอ.บต. ขึ้นมาใหม่ โดยคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 207/2549
ให้จัดตั้ง ศอ.บต. ตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2549
และมีการเสนอ พ.ร.บ. ศอ.บต. ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2550 ทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
มีมติให้กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ศอ.บต.
ถอนร่างฯกลับไปพิจารณาใหม่
ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้ว ศอ.บต.
เป็นองค์กรที่มีบทบาทอย่างมากต่อกระบวนการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมเพื่อให้ชาวมลายูมุสลิมมีการยอมรับในวัฒนธรรมของชนกลุ่มใหญ่ของประเทศ
การดำเนินงานของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
(ศอ.บต.) มีทั้งเชิงบวก และเชิงมีจุดอ่อน แม้ปัจจุบันศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
(ศอ.บต.) จะมีการจัดตั้ง สภาคณะกรรมการที่ปรึกษา ซึ่งมาจากภาคส่วนต่างๆ
มีทั้งภาคส่วนประชาชน แต่บทบาทของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)
มีการยอมรับจากประชาชนลดลง หรือเท่าเดิม น่าจะมีการสำรวจผลการยอมรับของประชาชน
ด้วยการดำเนินการที่เป็นกลาง ไม่โน้มเอียงทางหน่วยงานรัฐ หรือ เจ้าของทุนที่ให้งบสำรวจมา
การทำงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ส่วนหนึ่งแม้จะมืออาชีพ
แต่ทำงานเหมือนไม่ใช่มืออาชีพ ในอดีตเราสามารถดูผลงานเชิงจุดอ่อน ได้จากหนังสือพิมพ์มุสลิม
ที่พิมพ์ในส่วนกลาง เช่น ประชาชาติมุสลิม หรือ ทางนำ สำหรับที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นการมอบทุนการศึกษา
โดยเฉพาะจากองค์กรเอกชนในอินโดเนเซีย ดูเหมือนศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
(ศอ.บต.) ไม่ได้คัดกรองสถาบัน ทำให้เมื่อผู้รับทุนส่วนหนึ่งจบการศึกษาแล้ว ยังมีมาตรฐานที่ไม่ผ่าน
ยังต้องเรียนเพิ่มเติมกับสถาบันการศึกษาในประเทศไทย สำหรับผู้เขียนเห็นว่า ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
(ศอ.บต.) ในฐานะเป็นหน่วยงานรัฐ ที่ทำหน้าที่แก้ไข พัฒนานในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ซึ่งศูนย์ฯ (ศอ.บต.) ก็มีหน่วยงานปีกการศึกษา ซึ่งสามารถประสานของทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยรัฐในอินโดเนเซีย
ซึ่งมีมาตรฐานกว่ามหาวิทยาลัยเอกชน เมื่อจบการศึกษาแล้ว
มีช่องทางทางอาชีพที่กว้างขึ้น
Tiada ulasan:
Catat Ulasan