Isnin, 18 Disember 2023

อักขระตักบันวา อักขระท้องถิ่นของชาวฟิลิปปินส์

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

ช่วงนี้เป็นการเริ่มแนะนำให้รู้จักอักขระท้องถิ่นต่างๆของชาวฟิลิปปินส์   ได้เขียนแล้วถึงอักขระบูฮิด และอักขระฮานูโนโอ ซึ่งเป็นอักขระของชาวเกาะมินโดโร สำหรับครั้งนี้จะเขียนถึงอักขระท้องถิ่นอีกอักขระหนึ่ง คือ อักขระบักบันวา ซึ่งเป็นอักขระของชาวเกาะปาลาวัน ฟิลิปปินส์  เรามาทำความรู้จักกับอักขระตักบันวา (Tagbanwa Alphabate) กันนะครับ

ชาวตักบันวา อาศัยอยู่บนเกาะปาลาวัน  ชาวตักบันวาจะมีภาษาพื้นเมืองของตนเอง เรียกว่าภาษาตักบันวา ภาษาของชาวตักบันวา  แบ่งออกเป็น 3 สำเนียง คือ ภาษาตักบันวาอาร์โบลัน (Aborlan Tagbanwa) ภาษาตักบันวาคาลาเมียน (Calamian Tagbanwa) และภาษาตักบันวาตอนกลาง (Central Tagbanwa) และชาวตักบันวา จะมีระบบการเขียนเป็นของตนเอง เรียกว่า อักขระตักบันวา (Tagbanwa Alphabate) อย่างไรก็ตาม ชาวตักบันวานอกจากพูดภาษาตักบันวาของตนเองแว พวกเขายังสามารถพูดภาษาคูโนนอน และภาษากาตาล๊อก หรือ ภาษาฟีลีปีโน ซึ่งเป็นภาษาราชการของประเทศฟิลิปปินส์ เป็นภาษาที่อยู่ในตระกูลออสโตรเนเซียน หรือเล็กลง คือตระกูลมลายู-โปลีเนเซีย มีประชากรผู้พูดภาษาตักบันวา ทั้งหมดประมาณ 8,000-25,000 คน ในพื้นที่ตอนกลางและตอนเหนือของเกาะปาลาวัน คนรุ่นใหม่ของผู้พูดภาษาตักบันวาเริ่มมีน้อยลง บางส่วนจะพูดภาษาที่ไม่ใช่ภาษาดั้งเดิมของตนเอง  ภาษาต่างๆ เช่นภาษาคูโยนอน (Cuyonon) ซึ่งเป็นภาษาสื่อสารของผู้คนบนเกาะปาลาวัน และภาษาตากาล๊อก (Tagalog) หรือ ภาษาฟีลีปีโน ภาษาทางการของประเทศ

ภาษาคูโยนอน (Cuyonon language) เป็นส่วนหนึ่งของภาษาบีซายา (Bisayan Language) ที่พูดกันบนชายฝั่งปาลาวันและหมู่เกาะ คูโย (Cuyo Island) ในประเทศฟิลิปปินส์ ภาษาคูโยนอน (Cuyonon language) เป็นภาษากลางที่ใช้ในการสื่อสารของจังหวัดปาลาวัน สี่สิบสามเปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมดของปาลาวันในช่วงปลายทศวรรษ 1980 พูดและใช้ภาษากูโยนอน จนกระทั่งในเวลาต่อมา เมื่อมีการอพยพเข้ามาในจังหวัดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากผู้อพยพที่พูดภาษาตากาล็อกจากเกาะลูซอนก  ทำให้สัดส่วนการพูดภาษาคูโยนอนลดลง

สำหรับภาษาตักบันวา ซึ่งเป็นความรู้เกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรมพื้นเมืองของชาวตักบันวานั้น มีผู้พูดภาษาตักบันวาของตนเองน้อยลง ขึงมีข้อเสนอให้รื้อฟื้นภาษาตักบันวา โดยการสอนภาษาตักบันวา ในโรงเรียนรัฐบาลและเอกชนที่มีประชากรตักบันววอาศัยอยู่


อักขระตักบันวา มีการใช้ในฟิลิปปินส์จนถึงศตวรรษที่ 17 อักขระตักบันวา มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับอักขระไบบายิน เชื่อกันว่าทั้งสองอักขระมาจากอักขระกาวีของเกาะชวา เกาะบาหลี และเกาะสุมาตรา ซึ่งอักขระกาวีมาจากอักขระปัลลาวา ซึ่งเป็นหนึ่งในอักขระอินเดียตอนใต้ที่ได้มาจากอักษรพรหมมี

อักขระตักบันวา แต่ละตัวอักขระแทนพยางค์ที่ประกอบด้วยพยัญชนะและสระโดยธรรมชาติ /a/ ซึ่งเป็นลักษณะที่ใช้ร่วมกับอักษรที่เกี่ยวข้องกันหลายตัวจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมาจากอักษรพราหมีหลากหลายรูปแบบในอินเดีย เช่นเดียวกับอักขระเหล่านี้ เสียงสระอื่นที่ไม่ใช่ /a/ จะถูกระบุโดยการเติมตัวกำกับเสียงด้านบน (สำหรับ /i/) หรือต่ำกว่า (สำหรับ /u/) ตัวอักษร สระเสียงเดียวจะแสดงด้วยตัวอักษรอิสระของตัวมันเอง ดังนั้น /a/, /i/ และ /u/ เนื่องจากมีเพียงสามตัวเท่านั้น พยางค์ที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะจะเขียนโดยไม่มีพยัญชนะตัวสุดท้าย อักขระตักบันวา แตกต่างจากอักขระตักบันวาไบบายิน ด้วยรูปทรงของตัวอักษรหลายตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‹ka› และ ‹wa› ซึ่งแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดจากพันธุ์อื่น ๆ

ประเพณีการเขียนอักขระตักบันวา เขียนด้วยไม้ไผ่เป็นแถวแนวตั้งจากล่างขึ้นบนและซ้ายไปขวา อย่างไรก็ตาม จะอ่านจากซ้ายไปขวาเป็นเส้นแนวนอน


                                             อักขระอิบาลนัน 

อักขระอิบาลนัน แตกขยายมาจากอักขระตักบันวา

ในศตวรรษที่ 20 อักขระอิบาลนัน ได้เกิดขึ้น จากการถูกนำมาใช้ของชาวปาลาวัน โดยนำอักขระของชาวตักบันวา สำหรับอักขระที่ชาวเกาะปาลาวันที่อยู่ทางใต้ของเกาะ นำมาใช้นี้ พวกเขาเรียกตัวอักขระนี้ว่า อักขระอิบาลนัน


อ้างอิง

Christopher Miller,A survey of indigenous scripts of Indonesia and

the Philippines,2014, www.academia.edu.


Norberto omualdez,Tagbanwa Alphabate, Imprenta Cultura Filipinas,Manila, 1914.


Tagbanwa, www.omniglot.com


Tiada ulasan: