โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ได้เขียนแล้วถึงอักขระบูฮิด ซึ่งเป็นอักขระของชาวฟิลิปปินส์ สำหรับชาวฟิลิปปินส์ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของชาติพันธุ์มลายู ครั้งนี้ขอเขียนถึงอักขระฮานูโนโอ คำว่า โนโอ จะเป็นเสียงควบ จนบางครั้ง จะได้ว่า โน อย่างเดียวเรามาทำความรู้จักกับอักขระท้องถิ่นหนึ่งชาวฟิลิปปินส์
ที่ชื่อว่า อักขระฮานูโนโอ หรือ Hanunó'o เป็นอักขระที่ใช้ในการเขียนภาษาฮานูโนโอ
เกาะมินโดโรในฟิลิปปินส์เป็นเกาะที่มีตัวอักขระที่ใกล้สูญพันธุ์สองตัวที่มีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดและใกล้สูญพันธุ์
ได้แก่ อักขระฮานูโนโอทางตอนใต้ของเกาะมินโดโร และตัวอักขระบูฮิดที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักซึ่งอยู่ไกลออกไปทางเหนือของเกาะมินโดโร
ทำให้ได้เห็นว่า เราคุ้นเคยกับเกาะมินโดโรนี้มากน้อยเพียงใด การเขียนอักขระนี้มีลักษณะเป็นเส้นแนวนอนขนานกัน
และคนถนัดซ้ายก็ให้เขียนในลักษณะเดียวกับคนถนัดขวาด้วย อักขระเหล่านี้ทำให้เกิดความสับสนอย่างมากในหมู่ผู้สังเกตการณ์ภายนอก
บางคนคิดว่าอักขระเป็นแนวตั้ง บ้างก็ซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้าย
แม้แต่จากล่างขึ้นบนด้วยซ้ำ
การกรีดด้วยมีดที่เรียกว่า มีดโบโล (Bolo knife) คมๆ บนพื้นผิวที่แข็ง กลม และค่อนข้างไม่มั่นคง เช่น ไม้ไผ่ มีความแตกต่างจากการเขียนบนกระดาษมีเส้น ตามสมควรแล้ว
คริสโตเฟอร์
เรย์ มิลเลอร์ อธิบายว่าการเขียน (สลัก) อักขระแบบ garagbutan ซึ่งเป็นทรงกลม ก็จะใช้มีดโลโล (bolo
knife) ส่วนการเขียน(สลัก) แบบ dakdahulan เป็นแบบใหญ่หรือหนา จึงทำให้เกิดความแตกต่างระหว่าง
แนวตั้งบางและแนวนอนหนา
บนเกาะมินโดโร สำหรับเทคโนโลยีการเขียนนี้ยังนำไปสู่ความแตกต่างทางวัฒนธรรมและภูมิภาคในรูปแบบการเขียนแบบดั้งเดิม ความแตกต่างนี้อาจเป็นความสวยงาม แต่ก็มีรากฐานมาจากด้านเทคนิคด้วย
ในอดีตนั้น ชายหนุ่มและหญิงสาวชาวฮานูโนโอ (Hanunuo) เรียนรู้อักขระฮานูนูโอ เพื่อเขียนบทกวีรักให้กันและกัน เป้าหมายคือการเรียนรู้เพลงให้ได้มากที่สุด และการใช้อักขระในการเขียนเพลงช่วยอำนวยความสะดวกในสื่อสารความรักกัน ปัจจุบันพวกเขามีแนวโน้มที่จะใช้อุปกรณ์ดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งอุปกรณ์ดิจิทัลไม่สามารถรองรับอักขระฮานูโนโอได้
โครงสร้างอักขระฮานูโนโอ
อักขระพื้นฐาน
15 ตัวของอักขระฮานูโนโอแต่ละตัวแสดงถึงหนึ่งในพยัญชนะทั้ง 15 ตัว /p/ /t/ /k/ /b/
/d/ g/ /m/ /n/ /ŋ/ /l/ /r/ / s/
/h/ /j/ /w/ ตามด้วยสระ /a/ พยางค์อื่นๆ
เขียนโดยแก้ไขอักขระแต่ละตัวด้วยตัวกำกับเสียง 1 ใน 2 ตัว (kudlit) ซึ่งเปลี่ยนเสียงสระเป็น /i/ หรือ /u/ สัญลักษณ์สำหรับ /la/ นั้นเหมือนกับสัญลักษณ์สำหรับ
/ra/ แต่สัญลักษณ์สำหรับ /li/ และ /ri/
นั้นแตกต่างกัน เช่นเดียวกับสัญลักษณ์สำหรับ /lu/ และ /ru/ นอกจากนี้ยังมีสัญลักษณ์สามอันที่แสดงถึงสระซึ่งยืนอยู่คนเดียว
(ตามหลักสัทศาสตร์นำหน้าด้วยสายเสียงหยุด ทับศัพท์เป็น q) พยัญชนะตัวท้ายไม่ได้ถูกเขียน
ดังนั้นจึงต้องพิจารณาจากบริบท นักมานุษยวิทยาชาวฮอลันดา นาย Antoon Postma เดินทางไปยังฟิลิปปินส์ในช่วงทศวรรษ 1950 ได้แนะนำเครื่องหมาย pamudpod
sign เพื่อระบุพยัญชนะตัวสุดท้ายที่เป็นพยางค์
ภาษาฮานูโนโอ
(Hanunó'o) ยังเป็นที่รู้จักกันในนามภาษา Hanonoo หรือ ,
ภาษา Hanunoo-Mangyan หรือ Mangyan เขียนโดยใช้อักขระฮานูโนโอ เพียงในปัจจุบัน ภาษาฮานูโนโอ จะเขียนโดยใช้อักขระละตินเป็นหลัก
นอกจากนี้ยังมีกล่าวว่าอักขระฮานูโนโอ ซึ่งมีการใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 และกล่าวว่ามีการพัฒนามาจากอักขระกาวี ของเกาะชวา เกาะบาหลี และเกาะสุมาตรา
อ้างอิง
Hanunó'o
Alphabate, www.omniglot.com
Hanunoo, Atlas of Endangered Alphabets, www.endangeredalphabets.net
Masaru
Miyamoto,The Hanunoo Mangyan: Society, Religion, Lawa Among a Mountain People
of Mindoro Island, Philippines., National Museum of Ethnology, Japan,1988.
Tiada ulasan:
Catat Ulasan