โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
วงการหนังสือพิมพ์นั้นมีความสำคัญยิ่งในการสื่อสาร เผยแพร่ข่าวคราวในกระจายไปจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง สำหรับปัจจุบันเรียกได้ว่าการหนังสือพิมพ์ได้ปรับเปลี่ยนจากการตีพิมพ์มาเป็นการตีพิมพ์ทางระบบออนไลน์ เรามาเรียนรู้วงการหนังสือพิมพ์ในอดีต โดยเฉพาะวงการหนังสือพิมพ์ภาษามลายู ครั้งนี้เรามาทำการรู้จักกับนายโมฮาเหม็ด ยูโนส บิน อับดุลลาห์ ผู้ได้ชื่อว่าบิดาแห่งนักหนังสือพิมพ์มลายู หรือ The Father of Malay Journalism กันครับ
ประวัติส่วนตัว
Mohamed Eunos bin Abdullah หรือ โมฮาเหม็ด ยูโนส
บิน อับดุลลาห์ (1876 — 12 ธันวาคม 1933) เป็นผู้บุกเบิกหนังสือพิมพ์มลายูสมัยใหม่
และเขายังเป็นผู้นำชุมชนชาวมลายูในสิงคโปร์ เขาเป็นสมาชิกชาวมลายูคนแรกของคณะกรรมการเทศบาลแห่งสิงคโปร์
และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งสเตรทส์เซตเติ้ลเมนส์ (the Legislative Council
of the Straits Settlements) นอกจากนี้เขายังเป็นผู้ก่อตั้งสมาคมชาวมลายสิงคโปร์
(Kesatuan Melayu Singapura) ซึ่งเป็นองค์กรทางการเมืองในบริติชมาลายาอีกด้วย
ชีวิตในวัยเด็กและการศึกษา
โมฮาเหม็ด ยูโนส บิน อับดุลลาห์ ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าเขาเกิดที่สิงคโปร์หรือบนเกาะสุมาตรา อินโดเนเซียในปี 1876 พ่อของเขาเป็นพ่อค้าที่ร่ำรวยชาวมีนังกาบาว
ชนเผ่าของเกาะสุมาตรา อินโดเนเซีย หลังจากเขาสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมลายูในหมู่บ้านกัมปงฆือลาม
ในสิงคโปร์ เขาเข้าเรียนที่สถาบันราฟเฟิลส์ (Raffles Institution) ตั้งอยู่ที่ถนนบือรัสบาซะห์
(Bras Basah Road) สิงคโปร์
การประกอบอาชีพ
หลังจากสำเร็จการศึกษาจากสถาบันราฟเฟิลส์ (Raffles Institution) ระหว่างปี 1893- 1894 เขาได้เข้าทำงานกับรัฐบาลสิงคโปร์ โดยเป็นผู้ดูแลท่าเรือในสิงคโปร์ ต่อมาเขาได้ทำงานกับรัฐบาลท้องถิ่นรัฐโยโฮร์ มาเลเซีย โดยเป็นนายท่าเรือในเมืองมัวร์ รัฐโยโฮร์ มาเลเซีย โดยเขาอยู่ที่นั่นเป็นเวลาห้าปี ก่อนที่จะเดินทางกลับมาทำงานที่สิงคโปร์ ในปี 1907
เข้าวงการหนังสอพิมพ์
ข้อมูลของหอสมุดแห่งชาติสิงโปร์ เขียนว่า โมฮาเหม็ด
ยูโนส บิน อับดุลลาห์ เริ่มต้นอาชีพหนังสือพิมพ์ โดยในวงการหนังสือพิมพ์นั้นในช่วงเวลาที่หนังสือพิมพ์
Jawi Peranakan ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ภาษามลายูฉบับแรกในสิงคโปร์
ได้หยุดการตีพิมพ์ใน 1896 หนังสือพิมพ์ที่สืบทอดต่อคือ หนังสือพิมพ์ Chahaya
Pulau Pinang แต่ได้ปิดตัวลงหลังจากประสบความสำเร็จตั้งแต่ปี 1900-1906
หนังสือพิม Utusan
Melayu ซึ่งคนละฉบับ แต่ชื่อเดียวกันกับหนังสือพิมพ์ Utusan
Melayu หลังจากนั้น โดยหนังสือพิม Utusan Melayu ชื่อฉบับแรกนั้นกลายเป็นหนังสือพิมพ์ภาษามลายูรายใหญ่ฉบับแรกที่เผยแพร่ไปทั่วอาณานิคมอังกฤษมาลายา
โดยหนังสือพิม Utusan Melayu พิมพ์ฉบับแรกเมื่อวันที่ 7
พฤศจิกายน 1907
โมฮาเหม็ด ยูโนส บิน อับดุลลาห์ เป็นบรรณาธิการคนแรกของหนังสือพิมพ์
Utusan Melayu ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ภาคภาษามลายูของหนังสือพิมพ์
the Singapore Free Press ที่มี นาย Walter Makepeace
ชาวอังกฤษเป็นเจ้าของ ต่อมาในปี
1914 เขาได้ลาออกจากหนังสือพิมพ์ Utusan Melayu ย้านมาเป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์
Lembaga Melayu ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ภาษามลายูของ Malaya
Tribune โดยหนังสือพิมพ์ฉบับนี้เป็นปากเสียงของชาวมลายูสายกลาง
และหัวก้าวหน้า
เมื่อนายโมฮาเหม็ด ยูโนส บิน อับดุลลาห์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นบรรณาธิการของ
หนังสือพิมพ์ Lembaga Melayu ในปี 1914
ทางเขาก็ยังคงมีเป้าหมายในการปรับปรุงสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนมลายู
นโยบายและแนวทางของหนังสือพิมพ์ Lembaga Melayu ก็สะท้อนถึงนโยบายของหนังสือพิมพ์
Utusan Melayu ทางเขาจะเปิดประเด็น เมื่อรัฐบาลอาณานิคมอังกฤษไม่พูดถึงผลประโยชน์ของชาวมลายู
บทบาทของสหภาพมลายูสิงคโปร์
สหภาพมลายูสิงคโปร์ ถือเป็นองค์กรกึ่งการเมืองชาวมลายูแห่งแรกในสิงคโปร์ และนายโมฮาเหม็ด ยูโนส บิน อับดุลลาห์ ดำรงตำแหน่งประธานคนแรกของสหภาพมลายูสิงคโปร์
สหภาพมลายูสิงคโปร์ จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่
14 พฤษภาคม 1926 ที่ราชวังกำปงฆือลาม (Istana
Kampong Glam) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกมีบทบาทมากขึ้นในกิจการสาธารณะและภาครัฐ
เพื่อสนับสนุนความก้าวหน้าและความสนใจในการเมืองและการศึกษาของชาวมลายู
เป็นตัวแทนของชุมชนชาวมลายูในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและเสรีภาพของชาวมลายู
และเพื่อส่งเสริมการศึกษาระดับสูงและด้านเทคนิคให้กับเยาวชนชาวมลายูสิงคโปร์
สมาชิกของสหภาพมลายูสิงคโปร์ส่วนใหญ่ประกอบด้วยนักข่าวชาวมลายูที่ได้รับการศึกษาในสถาบันการศึกษาที่ใช้ภาษาอังกฤษ
เจ้าหน้าที่ของรัฐ พ่อค้า และผู้คนที่มีจุดยืนตามจารีตประเพณี บุคคลทั่วไป
ซึ่งสนับสนุนและมุ่งมั่นเพื่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของชาวมลายู
พวกเขาตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา และผ่านทางนายโมฮาเหม็ด ยูโนส บิน
อับดุลลาห์ ในสภานิติบัญญัติของสิงคปร์
พวกเขาประสบความสำเร็จในการล็อบบี้ให้เปิดโรงเรียนด้านธุรกิจการค้าสำหรับชาวมลายูในปี
1929
บ้านทรงบังกะโลที่สร้างจากไม้และสังกะสีในหมู่บ้านกำปงมลายู ปี 1963
ทางสหภาพมลายูสิงคโปร์นี้ได้จัดตั้งชุมชนชาวมลายูทางตะวันออกของสิงคโปร์
ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวมลายู ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นหมู่บ้านยูโนส การจัดตั้งหมู่บ้านนี้ด้วยแรงบันดาลใจจากการตั้งถิ่นฐานของชาวลายูที่หมู่บ้านกำปงบาห์รู
ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ทางสหภาพมลายูสิงคโปร์ได้ยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลอาณานิคมอังกฤษเพื่อจัดสรรที่ดินเพื่อใช้เป็นที่ตั้งถิ่นฐานชาวมลายูสิงคโปร์
รายชื่อถนนในปี 1956 ระบุที่ตั้งของถนนยูโนส Jalan Eunos และหมู่บ้านจัดสรรชาวมลายู
นายโมฮาเหม็ด ยูโนส บิน อับดุลลาห์ ในฐานะประธานสหภาพมลายูสิงคโปร์
และสมาชิกสภานิติบัญญัติที่มาจากชาวมลายู เขาสามารถโน้มน้าวให้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอาณานิคมอังกฤษได้สำเร็จ
เมื่อได้รับทุนสนับสนุน ได้มีการซื้อที่ดินขนาด 240 เฮกตาร์ในปี 192 ทางภาคตะวันออกของสิงคโปร์ บริเวณสถานที่นี้ได้รับการตั้งชื่อว่า
หมู่บ้านกำปงมลายู และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นหมู่บ้านกำปงยูโนส
การจัดตั้งชุมชนชาวมลายูของนายโมฮาเหม็ด ยูโนส
บิน อับดุลลาห์ ประสบปัญหามากมายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้อยู่อาศัยในชุมชนชาวมลายูนั้นต้องเคลียร์ที่ดินด้วยตนเองเพื่อสร้างบ้านใหม่
อัตราค่าเช่าที่ดินที่สูงประกอบกับต้นทุนการก่อสร้างบ้านที่สูงเป็นอุปสรรคต่อชาวมลายูทีมีความพร้อมไม่มากนัก
จากการสมัครขอจัดสรรที่ดินในหมู่บ้านมลายู ภายในปี 1931
มีบ้านสร้างและครอบครองเพียง 50 ถึง 60
หลังเท่านั้น
ชีวิตส่วนตัว
นายโมฮาเหม็ด ยูโนส บิน อับดุลลาห์ อาศัยอยู่ที่ถนนเดสเกอร์
เขาเป็นสมาชิกของสโมสรโรตารีสิงคโปร์ และเป็นชาวมลายูคนแรกที่เป็นสมาชิกสโมสรโรตารี่
เขาลาออกจากสภานิติบัญญัติแห่งสเตรทส์เซตเติ้ลเมนส์ (the Legislative Council of the Straits Settlements) ในต้นปี 1933 และสุขภาพของเขาเริ่มแย่ลงหลังจากนั้นไม่นาน
เขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 1933 และถูกฝังไว้ที่สุสานอิสลามบิดาดารี
รายงานการเสียชีวิตของนายโมฮาเหม็ด ยูโนส บิน อับดุลลาห์ จากหนังสือพิมพ์
The Singapore Free Press 13 ธันวาคม 1933, หน้า 7
การนำชื่อนายโมฮาเหม็ด ยูโนส บิน อับดุลลาห์ มาเป็นชื่อต่างๆ
เช่น ชื่อถนนยูโนส (Eunos Road) ถนนยูโนส (Eunos Avenue)
ถนนยูโนสครีสเซนต์ (Eunos Crescent) ถนนยูโนสลิงค์
(Eunos Link) ถนนยูโนสเทอเรส (Eunos Terrace) หมู่บ้านยูโนส รวมถึงสถานีรถไฟใต้ดินยูโนส ล้วนตั้งชื่อตามนายโมฮาเหม็ด
ยูโนส บิน อับดุลลาห์
อ้างอิง
Adlina Maulod. (2010). Mohamed Eunos bin
Abdullah. Singapore Infopedia, National Library Singapore., https://www.nlb.gov.sg
Hani Kamal, Eunos Abdullah – An Early Malay
Nationalist, Museum Volunteers, JMM. https://museumvolunteersjmm.com
Death of Inche Eunos bin Abdullah. (1933, December 13). The Singapore Free Press, p. 7., https://eresources.nlb.gov.sg
Mazelan Anuar, Mohamed Eunos Abdullah: The Father of Malay Journalism". BiblioAsia. National Library Board.Singapore, https://biblioasia.nlb.gov.sg.
Tiada ulasan:
Catat Ulasan