Rabu, 24 Ogos 2022

ซองก๊ก หมวกของชาวมลายู

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

ซองก๊ก  หมวกของชาวมลายู

ซองก๊ก หรือ Songkok, peci หรือ kopiah เป็นหมวกที่สวมใส่กันอย่างแพร่หลายในประเทศบรูไน อินโดเนเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ตอนใต้ และภาคใต้ของประเทศไทย โดยส่วนใหญ่มักเป็นผู้ชายที่สวม ตามพจนานุกรม Kamus Besar Bahasa Indonesia อธิบายว่า ซองก๊กเป็นหมวกสวมบนศีรษะของผู้ชายทำจากกำมะหยี่ ในอินโดนีเซียจะเรียกว่า peci ซึ่งยังเกี่ยวข้องกับขบวนการชาตินิยมด้วย

 

ผู้นำของประเทศต่างๆ เช่นประเทศอินโดเนเซีย มาเลเซีย บรูไน  สิงคโปร์ ภาคใต้ฟิลิปปินส์ สวมซองก๊ก

ประเทศอินโดเนเซีย 

   ประเทศมาเลเซีย

ประเทศบรูไน 

ประเทศสิงคโปร์

ภาคใต้ฟิลิปปินส์

ในคาบสมุทรมลายูจะเรียกว่า “ซองก๊ก” ในขณะที่ในภาษาชวาเรียกว่า "โกเปียะห์" หมวกนี้ยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในอินโดนีเซียว่า "peci" แม้ว่า peci จะมีรูปร่างเป็นวงรีมากกว่าและบางครั้งก็มีการตกแต่งอีกด้วย

 

หมวกโกเปียะห์ หรือ Kopiah (kupiah) ถูกบันทึกว่าถูกใช้โดยกองกำลังพิเศษ -ของอาณาจักรมาชาปาฮิต ที่ว่า Bhayangkara บันทึกไว้ใน Hikayat Banjar เขียนใน (หรือหลังจากนั้นไม่นาน) 1663[8]:181[9]:204[10] คำว่า Kopiah ถูกบันทึกในพจนานุกรมภาษาอิตาลี-ภาษามลายู ที่ทำโดย Antonio Pigafetta ในปี 1521 (ตีพิมพ์ในปี 1524) โดยเขียนว่า  cophia และคำว่า Kupiah ถูกบันทึกในตำนานอิสกันดาร์ซูการ์ไนน์ (Hikayat Iskandar Zulkarnain) ซึ่งต้นฉบับเขียนก่อนปี 1600

 

ซองก๊ก ยังถูกใช้โดยกองทัพมาเลเซียและบรูไนและตำรวจในพิธีการบางอย่าง

ทหารในประเทศมาเลเซีย

ตำรวจในชุดพิธีการของประเทศมาเลเซีย

ทหารในประเทศบรูไน



ตำรวจในประเทศบรูไน


 

Tiada ulasan: