Sabtu, 20 Ogos 2022

หนังสือพิมพ์วาร์ตามาลายา หรือ Warta Malaya หนังสือภาษามลายูภายใต้ญี่ปุ่นยุคสงครามโลก

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

หนังสือพิมพ์วาร์ตามาลายา หรือ Warta Malaya บางที่ก็รู้จักในนามของหนังสือพิมพ์วาร์ตามลายู หรือ Warta Melayu เป็นหนังสือพิมพ์รายวันในภาษามลายูที่ใช้ในมาลายาและสิงคโปร์ หนังสือพิมพ์ฉบับแรกซึ่งเขียนด้วยภาษามลายูอักขระยาวีมีขึ้นในปี 1930 หนังสือพิมพ์ฉบับนี้เกิดขึ้นในขณะที่มีหนังสือพิมพ์ภาษามลายูผุดขึ้นราว 81 ฉบับ ทั่วมาลายาและสิงคโปร์

ในช่วงทศวรรษที่ 1930 พรรคมลายูหนุ่ม หรือ Kesatuan Melayu Muda ได้ซื้อหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ จนหนังสือพิมพ์ฉบับนี้มีส่วนเกี่ยวข้องทางการเมืองในช่วงเริ่มต้นของลัทธิชาตินิยมมลายู และเป็นปากเสียงของพรรคการเมืองที่ชื่อว่า พรรคมลายูหนุ่ม หรือ Kesatuan Melayu Muda ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายยุคแรกของมาลายา เป็นหนังสือพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูง และเป็นหนังสือที่มีการรับหนังสือพิมพ์จากสมาชิกในต่างประเทศ

 

หนังสือพิมพ์วาร์ตามาลายา พิมพ์โดย  Anglo-Asiatic Press Limited ตั้งอยู่ที่ถนน North Bridge Road ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1929 โดยนายสัยยิดฮุสเซ็น บินสัยยิดอาลี อัลซาก๊อฟ (Syed Hussein bin Ali Alsagoff) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจครอบครัว Alsagoff ที่สิงคโปร์

 

นอกจากหนังสือพิมพ์วาร์ตามาลายา ได้มีการออกหนังสือพิมพ์อีก 2 ฉบับ คือหนังสือพิมพ์ฉบับวันอาทิต์ภายใต้ชื่อว่า หนังสือพิมพ์วาร์ตาอาฮัด (Warta Ahad) ออกครั้งแรกเมื่อ 5 พฤษาคม 1935 และอีกฉบับ เป็นหนังสือพิมพ์รูปภาพรายสัปดาห์ ชื่อว่า วาร์ตาเยอนากา (Warta Jenaka) พิมพ์ในปีถัดมา

หนังสือพิมพ์วาร์ตามาลายา จำหน่ายในราคาฉบับละ 10 เซ็นต์ เดิมมี 12 หน้า แต่ภายในหนึ่งเดือนขยายเป็น 16 หน้า ในวันที่ 1 มกราคม 1934 บริษัท Anglo-Asiatic Press Limited ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท Warta Malaya Press Limited และราคาต่อฉบับ เหลือ 6 เซ็นต์ต่อฉบับเนื่องจากผลกำไรที่เพิ่มขึ้น

 

หนังสือพิมพ์นี้ มีบทความที่ครอบคลุมเหตุการณ์ในประเทศมุสลิมต่างๆ ที่อยู่นอกสิงคโปร์และมาลายาของอังกฤษ และเป็นหนังสือพิมพ์มลายูฉบับแรกที่รับข้อมูลจากสำนักข่าวต่างประเทศ  บทความของหนังสือพิมพ์นี้ได้กล่าวถึงประเด็นต่างๆ มากมายที่ส่งผลต่อสิทธิของชาวมลายู รวมทั้งการศึกษา สิทธิทางการเมือง และเศรษฐกิจ

พนักงานของหนังสือพิมพ์มีบุคคลที่มีบทบาททางการเมืองในเวลาต่อมา เช่น นายออน จาฟาร์ ประธานคนแรกของพรรคอัมโน (United Malays National Organization) นายอับดุลราฮิม  กีไย ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งวารสารศาสตร์มลายู" และ นายยูซุฟ  อิสฮัก ประธานาธิบดีคนแรกของสิงคโปร์

 

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1941 นายอิบราฮิม ยากู๊บ นักชาตินิยมชาวมลายูและประธานของพรรค Kesatuan Melayu Muda (KMM) ในขณะนั้นได้ซื้อหนังสือพิมพ์เพื่อใช้โฆษณาชวนเชื่อต่อต้านอังกฤษ หลังจากการที่สิงคโปร์ถูกยึดรงในปี 1942 หนังสือพิมพ์ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลทหารญี่ปุ่นที่สิงคโปร์  หนังสือพิมพ์หยุดพิมพ์เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 1942

 

จุกเริ่มต้นการซื้อหนังสือพิมพ์วาร์ตามาลายา

นายอิบราฮิม ยากู๊บ ได้พบปะกับวิศวกรเหมืองแร่ชาวญี่ปุ่น ชื่อว่า ishikawa โดยได้บอกวัตถุประสงค์ของเขาและพรรคพวก ในการร่วมมือกับฝ่ายญี่ปุ่น พร้อมที่จะเป็นหูตาให้ญี่ปุ่น และนายอิบราฮิม ยากู๊บ ได้พบปะกับ Michio Hirakawa ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในหนวยงานลับของญี่ปุ่นในมาลายา ในการพูดคุยกับ Michio Hirakawa ทางนายอิบราฮิม ยากู๊บ ได้แจ้งวัตถุประสงค์และแนวทางในการเคลื่อนไหวของพรรคของนายอิบราฮิม ยากู๊บอย่างลับๆ นั้นคือการมีหนังสือพิมพ์ของตนเอง

 

ในเดือนมษายน 1941 ด้วยความเห็นชอบของรัฐบาลในกรุงโกเตียว  ทางกงสุลใหญ่ญี่ปุ่นประจำสิงคโปร์ คือนาย Ken Tsurumi ได้มอบเงินจำนวน 18,000 ดอลลาร์ ให้แก่นายอิบราฮิม ยากู๊บ  เพื่อซื้อหนังสือพิมพ์มลายู ที่ชื่อ หนังสือพิมพ์วาร์ตามาลายา ที่มีสัยยิดฮุสเซ็น  บินอาลี อัลซาก๊อฟ เป็นเจ้าของ หลังจากซื้อหนังสือพิมพ์วาร์ตามาลายาแล้ว ทางนายอิบราฮิม ยากู๊บก็ขึ้นเป็นบรรณาธิการ และทุกสาขาของสำนักงานหนังสือพิมพ์วาร์ตามาลายาทั่วมาลายา ทางนายอิบราฮิม ยากู๊บ ก็มอบหมายให้สมาชิกพรรค Kesatuan Melayu Muda เป็นผู้ดำเนินการ

 

บรรณาธิการคนแรกของหนังสือพิมพ์คือนายออนน์ จาอาฟาร์ (ประธานพรรคอัมโนคนแรก) ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 1930 ลาออกปี 1933 เขาถูกแทนที่โดย นายสัยยิดเชค สัยยิดอาหมัด อัลฮาดี (1933-34) ผู้นำที่โดดเด่นในขบวนการฝ่ายแนวคิดใหม่ (Kaum Muda) ซึ่งสนับสนุนอิสลามที่ก้าวหน้า ภายใต้ความทันสมัยของอิสลาม นายซัยยิด ฮุสเซน บิน อาลี อัลซาก๊อฟ เจ้าของหนังสือพิมพ์ได้เข้าควบคุมหลังปี 1934 ถึง 1941 ต่อมานายอิบราฮิม ยากู๊บ กลายเป็นบรรณาธิการคนสุดท้ายจนกระทั่งปิดตัวลงในปี 1942

 

รายชื่อบรรณาธิการหนังสือพิมวาร์ตามาลายา ระหว่างปี 1930-1945

 

รายชื่อบรรณาธิการ

นายออน จาฟาร์          ได้รับแต่งตั้งปี 1930      ลาออกปี  1933

นายสัยยิดเชค สัยยิดอาหมัด อัลฮาดี ได้รับแต่งตั้งปี 1933 ลาออกปี  1934

นายซัยยิด ฮุสเซน บิน อาลี อัลซาก๊อฟ ได้รับแต่งตั้งปี 1934 ลาออกปี  1941

นายอิบราฮิม ยากู๊บ ได้รับแต่งตั้งปี 1941 ลาออกปี 1942

Tiada ulasan: