Sabtu, 16 Mei 2020

ศาสนายาวี (Agami Jawi) ความเชื่อผสมผสานระหว่างศาสนาอิสลามกับศาสนาฮินดูของชาวชวา อินโดเนเซีย


โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
ความเชื่อของชาวชวาที่เรียกว่าความเชื่อเกอยาเวน (Jawa Kejawen)
คำว่าเกอยาเวนเป็นภาษาชวา มาจาก ควาเป็นชวา หรือ Ke-Jawa-an เป็นความเชื่อที่ชาวชวาส่วนหนึ่งนับถือความเชื่อนี้มีลักษณะเป็นการผสมผสานระหว่างความเชื่อทางศาสนาอิสลาม + ศาสนาฮินดู + ความเชื่อดั้งเดิม + หรือ คริสต์ก็มีอิทธิพลอยู่ด้วย นักมานุษยวิทยาชาวสหรัฐที่ชื่อว่า Clifford Geertz ในหนังสือที่ชื่อว่า The Religion of Java เขาเรียกว่าความเชื่อของชาวชวานี้ว่า  ศาสนาชวา (Agami Jawi)
หนังสือต่างๆที่เขียนเกี่ยวกับหลักการความเชื่อของชวาเกอยาเวน หรือที่เรียกว่า ศาสนายาวี ในประเทศอินโดเนเซีย
 

ความเชื่อของชาวชวาเกอยาเวน (Jawa Kejawen) คือแนวความคิดที่ผสมผสานระหว่างหลักการของศาสนาอิสลามกับแนวความเชื่อดั้งเดิมของคนชวา คนชวานั้นมีการเน้นด้านจิตวิญญาณ Niels Mulder ได้กล่าวว่าเป็นร่องรอยที่ยังเหลืออยู่ของความเชื่อทางศาสนาพุทธและฮินดูของคนชวา ส่วนใหญ่ของสังคมชวาเป็นสังคมที่มีความเชื่อชวาเกอยาเวน (Jawa Kejawen) หรือ Islam Abangan

พวกเขาไม่ปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลามตามที่ศาสนาได้บัญญัติ เช่น ไม่ละหมาดวันละ 5 เวลา ไม่ไปมัสยิด และไม่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอม การปฏิบัติของคนชวาที่มีความเชื่อชวาเกอยาเวน (Jawa Kejawen) คือการถือศีลอด คนชวา กลุ่มนี้จะถือศีลอดในวันจันทร์,พฤหัส หรือถือศีลอดในวันเกิด

คนชวาที่มีความเชื่อชวาเกอยาเวน (Jawa Kejawen) ถือว่าการนั่งตั้งสมาธิ (bertapa) เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง  ในความหมายของการนั่งตั้งสมาธิ (Bertapa)ของคนชวาที่มีความเชื่อชวาเกอยาเวน (Jawa Kejawen) นั้นมีลักษณะคล้ายกับการถือศีลอด (Berpuasa) การถือศีลอดของสังคมชวานั้นมีหลากหลายชนิด บางครั้งตรงกับหลักการของศาสนาอิสลาม แต่ก็มีอีกมากที่เป็นการถือศีลอดโดยยึดถือหลักการสอนของความเชื่อชวาเกอยาเวน (Jawa Kejawen)

การบูชาของชาวชวาเกอยาเวน
 การบูชาราตูกีดุล เจ้าแม่แห่งท้องทะเล ณ ชายหาดแห่งเมืองยอกยาการ์ตา
ภาพวาดของราตูกีดุล เจ้าแม่แห่งท้องทะเล ที่ชาวชวาเกอยาเวนนับถือ
 
การทำพิธีบูชาเจ้าแห่งภูเขาไฟ โดยมีผู้ถือกุญแจภูเขาไฟ เป็นผู้นำในการทำพิธี

ในปัจจุบันความเชื่อลักษณะนี้ของชาวชวา ยังมีอยู่สูง ชาวชวากลุ่มนี้มีความเชื่อว่าโลก มีอยู่ 2 โลก คือ โลกมนุษย์ และอีกโลกหนึ่งเป็นโลกเร้นลับ ในส่วนของโลกเร้นลับนี้ จะมี 2 ส่วน คือ ในท้องทะเล จะมีเจ้าแม่แห่งท้องทะเล คือ ราตูกีดุล เป็นผู้ดูแล และอีกหนึ่ง คือภูเขาไฟ จะมีผู้ดูแล โดยคนดูแล ที่เรียกว่าผู้ถือกุญแจภูเขาไฟ ต้องได้รับการแต่งตั้งจากสุลต่านแห่งเมืองยอกยาการ์ตา ดังนั้น ทุกปี จะมีการบูชาเจ้าแม่ท้องทะเล ที่ชายหาดในเมืองยอกยาการ์ตา และอีกแห่ง คือภูเขาไฟ  โดยมีผู้นำในการทำพิธีถวายชุดเครื่องแต่งกายให้แก่เจ้าแห่งภูเขาไฟ โดยมีผู้ถือกุญแจภูเขาไฟ หรือที่เรียกว่า Juru kunci เป็นผู้นำในการทำพิธี 

Khamis, 14 Mei 2020

4 วิธีจับผิดใบปริญญา-ประกาศนียบัตรปลอม ปั้นแต่งวุฒิการศึกษา


โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
    ด้วยสองสามวันก่อน มีเพื่อนคนหนึ่ง ผู้ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานซื้อ-ขายใบปริญญาปลอม ทั้งปริญญาโท และปริญญาเอก จากสถาบันสอนศาสนาคริสต์ที่จดทะเบียนในสหรัฐ  แต่จดทะเบียนเพื่อจุดประสงค์หลัก คือขายใบปริญญาให้กับคนไทยที่ต้องการ เพื่อนคนนั้นติดต่อมาด้วยวิชากง วิชาการบ้าบออะไรสักอย่าง ทำให้ผู้เขียนที่สนใจเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยปลอม มหาวิทยาลัยห้องแถว หวลกลับมานึกถึงมหาวิทยาลัยจอมปลอมนั้นอีกครั้ง แม้ไม่ได้ต้องการจะพาดพิงนักการเมืองคนใดคนหนึ่ง แต่เห็นว่าเราควรที่จะรู้เกี่ยวกับวิธีจับผิดใบปริญญา-ประกาศนียบัตรปลอม 
         มหาวิทยาลัยห้องแถวแห่งหนึ่งในสหรัฐ
  เอเยนต์มหาวิทยาลัยห้องแถวในสหรัฐ สำหรับหาลูกค้าคนไทย
             มหาวิทยาลัยห้องแถวในฟิลิปปินส์
ดังนั้นจึงขอนำบทความจาก BBC ภาคภาษาไทย ในหัวข้อที่ชื่อว่า "4 วิธีจับผิดใบปริญญา-ประกาศนียบัตรปลอม ปั้นแต่งวุฒิการศึกษา :-


"กรณีนักการเมืองคนดังถูกกล่าวหาว่าซื้อและใช้ปริญญาบัตรปลอมเพื่อให้มีวุฒิการศึกษาสูงขึ้นถึงระดับด็อกเตอร์ ไม่ได้เป็นปัญหาที่พบแต่ในประเทศไทยเท่านั้น เพราะภาคการจ้างงานทั่วโลกก็กำลังเผชิญกับเรื่องน่าปวดหัวแบบเดียวกัน"
มีรายงานว่าธุรกิจ "โรงงานปั๊มใบปริญญาปลอม" กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนเป็นภาระต่อองค์กรต่าง ๆ ในการติดตามพิสูจน์วุฒิการศึกษาของผู้มาสมัครงานอย่างมาก ที่สหราชอาณาจักรมีสถิติผู้ใช้วุฒิการศึกษาปลอมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แม้จะถือเป็นความผิดอาญาตามกฎหมายที่มีโทษสูงสุดถึงจำคุก 10 ปีก็ตาม

เว็บไซต์ของ HEDD (Higher Education Degree Datacheck) ซึ่งเป็นหน่วยงานให้บริการตรวจสอบคุณวุฒิของผู้สำเร็จการศึกษา รวมทั้งสถานะของสถาบันระดับอุดมศึกษาในสหราชอาณาจักร ได้เผยแพร่วิธีการเบื้องต้น 4 อย่าง ในการพิสูจน์ว่าปริญญาบัตรหรือประกาศนียบัตรที่ได้รับมาเป็นของจริงหรือไม่ ดังต่อไปนี้

1. แบบใบปริญญาที่ประหลาดผิดเพี้ยน
อันดับแรก HEDD แนะนำว่า ควรจะต้องตรวจดูตราประทับหรือตราที่สลักเป็นรอยนูนในปริญญาบัตรเสียก่อน ซึ่งมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในสหราชอาณาจักรจะมีตราประทับดังกล่าวทำจากทองคำเปลว และเมื่อยกใบปริญญาขึ้นส่องกับแสงสว่างก็จะเห็นลายโฮโลแกรมหรือลายน้ำได้อย่างชัดเจน

รัฐบาลอังกฤษให้นักศึกษาต่างชาติอยู่หางานในประเทศได้ 2 ปีหลังเรียนจบ การศึกษาของประเทศไหนต้องจ่ายเงินซื้อแพงที่สุดในโลก?  เด็กมหาวิทยาลัยเจ้าของบริษัทโปรแกรมป้องกันไวรัสมูลค่านับล้าน ลายเซ็นของผู้ประสาธน์ปริญญาจะต้องเป็นลายมือที่เขียนด้วยน้ำหมึกปากกา ไม่ใช่ลายเซ็นที่พิมพ์ออกมาจากเครื่องพิมพ์ และควรตรวจสอบกับมหาวิทยาลัยผู้มอบปริญญาบัตรด้วยว่า ตราสัญลักษณ์และตราประทับที่ใช้นั้นมีความถูกต้องตรงกับของมหาวิทยาลัยจริง โดยอาจเปรียบเทียบกับในเว็บไซต์ทางการของมหาวิทยาลัย หรือส่งไปตรวจสอบกับมหาวิทยาลัยต้นทางโดยตรงก็ได้
มีแนวโน้มว่ามหาวิทยาลัยปลอมในต่างประเทศ ชอบออกแบบปริญญาบัตรของตนเองโดยใช้ตัวอักษรแบบโกธิค (Gothic) เพื่อสื่อถึงประวัติของมหาวิทยาลัยที่มีความเก่าแก่และก่อตั้งมายาวนาน แต่แบบตัวอักษรเช่นนี้ค่อนข้างล้าสมัยแล้ว เพราะสถาบันอุดมศึกษาจำนวนมากในปัจจุบันได้หันมาใช้แบบตัวอักษรที่ทันสมัยกว่า

2. การใช้ภาษาที่น่าสงสัย
ใบปริญญาหรือประกาศนียบัตรของจริงจะต้องไม่มีคำผิดหรือคำที่พิมพ์ตกหล่นปรากฏอยู่ นอกจากนี้ การใช้ภาษาอังกฤษแบบโอ่อ่าหรูหราจนเกินเหตุ หรือการใช้ภาษาโบราณเหมือนในยุคกลางอย่างฟุ่มเฟือย ก็เป็นอีกข้อสังเกตหนึ่งที่ส่งสัญญาณเตือนว่าปริญญาบัตรใบนั้นอาจเป็นของปลอม

ในกรณีของมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร การใช้คำศัพท์ภาษาละตินในปริญญาบัตรมักเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่ามีสิ่งไม่ชอบมาพากลอยู่เบื้องหลัง เนื่องจากการใช้ภาษาละตินถือเป็นธรรมเนียมที่ใช้กันในสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐฯ เท่านั้น เช่นการเรียกเกียรตินิยมขั้นต้นว่า "คุมเลาเด" (cum laude)

แต่ในสหราชอาณาจักร สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ได้ยกเลิกการใช้คำศัพท์ละตินเหล่านี้ไปกว่าสิบปีแล้ว และหันมาใช้ภาษาอังกฤษแท้เช่นคำว่า "with honours" สำหรับผู้ที่ได้เกียรตินิยมแทน
สิ่งที่ต้องตรวจสอบอีกอย่างหนึ่งคือการเขียนชื่อมหาวิทยาลัย ซึ่งต้องดูให้แน่ใจว่ามีการลำดับคำและใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่หรือพิมพ์เล็กอย่างถูกต้อง เช่น "มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์" ควรจะต้องสะกดเป็นภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการว่า The University of Manchester ไม่ใช่ Manchester University รวมทั้งตัวอักษร T ในคำว่า The จะต้องเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เสมอ

3. ที่อยู่และตำแหน่งที่ตั้งของมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยปลอมมักจะให้ข้อมูลที่อยู่ที่ไม่น่าเชื่อถือ ซึ่งเรื่องนี้อาจตรวจสอบได้ง่าย ๆ โดยใช้ที่อยู่และรหัสไปรษณีย์ค้นหาตำแหน่งที่ตั้งของมหาวิทยาลัยในแผนที่ดาวเทียม กูเกิล สตรีตวิว (Google Street View) ซึ่งแผนที่จะแสดงภาพจริงของสถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยให้ได้เห็น

บ่อยครั้งที่แผนที่ดังกล่าวเปิดเผยความจริงว่า มหาวิทยาลัยอันเก่าแก่และทรงเกียรติเป็นเพียงห้องแถวเล็ก ๆ ในย่านที่ไม่น่าจะเป็นที่ตั้งของสถาบันการศึกษาขนาดใหญ่ได้ ที่อยู่ของบางมหาวิทยาลัยกลับกลายเป็นลานจอดรถ หรือพื้นที่เล็ก ๆ ใกล้วงเวียนกลับรถก็มี

การให้ที่อยู่แบบข้อมูลไม่ครบถ้วน การให้ที่อยู่ที่ดูคล้ายกับบ้านพักอาศัยของคนทั่วไป หรือการใช้ตู้ ปณ. (PO Box) ซึ่งเป็นบริการตู้ไปรษณีย์ให้เช่า สามารถเป็นสัญญาณเตือนว่ามหาวิทยาลัยแห่งนั้นไม่ใช่สถาบันการศึกษาที่แท้จริงได้
นอกจากนี้ การสังเกตชื่อโดเมนหรือโดเมนเนมของเว็บไซต์มหาวิทยาลัย ยังช่วยให้เราไม่ถูกมิจฉาชีพหลอกลวงเอาได้ง่าย ๆ มหาวิทยาลัยปลอมหลายแห่งเลือกใช้ชื่อโดเมน Ascension Island เพื่อให้ได้ตัวย่อ ac ในที่อยู่เว็บไซต์ ซึ่งเหมือนกับตัวย่อจากชื่อโดเมน Academia ที่สถาบันการศึกษาใช้กัน

4. ใช้บริการตรวจสอบของมืออาชีพ
แม้จะมีวิธีการเบื้องต้นเพื่อดูว่าใบปริญญาเป็นของจริงหรือไม่ แต่หลายครั้งเราก็ไม่อาจจะแน่ใจได้ว่าการตรวจสอบด้วยตนเองนั้นถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ บางคนอาจจะหลงกลมิจฉาชีพซึ่งใช้เล่ห์เหลี่ยมที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นทุกที เพื่อหลอกให้หลงเชื่อว่าวุฒิการศึกษาปลอมเป็นของจริงได้

HEDD รายงานว่า มหาวิทยาลัยปลอมบางแห่งถึงกับทำฐานข้อมูลเท็จออนไลน์ขึ้นมา เพื่อให้นายจ้างและองค์กรที่รับสมัครงานเข้าไปตรวจหาชื่อผู้สมัครงานได้ จากรายชื่อผู้สำเร็จการศึกษาที่ทำปลอมเตรียมไว้แล้ว ซึ่งก็จะพบชื่อคนที่ต้องการตรวจสอบปรากฏอยู่ทุกครั้ง

การที่บุคคลและองค์กรทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องได้เสมอ ทำให้ HEDD แนะนำว่าเราอาจเลือกใช้บริการผู้ตรวจสอบมืออาชีพที่ไว้วางใจได้ ซึ่งในสหราชอาณาจักรมีหน่วยงานของรัฐในลักษณะนี้อยู่พอสมควร และมีฐานข้อมูลที่ละเอียดเพียงพอในการตรวจสอบคุณวุฒิของผู้สำเร็จการศึกษา หรือตรวจสอบสถานะของมหาวิทยาลัยว่ามีอยู่จริงหรือก่อตั้งถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่

"สถานการณ์น่าเป็นห่วงขึ้นทุกที เพราะธุรกิจขายใบปริญญาปลอมเหล่านี้กำลังเติบโตขึ้น และใช้เทคนิคในการหลอกลวงที่ซับซ้อนแนบเนียนขึ้นทุกขณะ" นายจอร์จ กอลลิน หนึ่งในคณะกรรมการบริหารสภาตรวจสอบและรับรองสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐฯ กล่าวแสดงความกังวล
"โรงงานปั๊มปริญญาปลอมทำรายได้อย่างมหาศาล เพียงแค่ลงทุนก่อตั้งเว็บไซต์เท่านั้น คุณก็สามารถขายวุฒิการศึกษาให้กับลูกค้าทั่วโลกได้ในราคาแพง ธุรกิจแบบนี้ในสหรัฐฯ สามารถเรียกค่าปลอมวุฒิแพทยศาสตรบัณฑิตได้ถึงครั้งละ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 304,000 บาท)"

"ยากที่จะเชื่อได้ว่าผู้ครอบครองวุฒิการศึกษาปลอมเหล่านี้ตกเป็นเหยื่อ หรือเป็นฝ่ายถูกมหาวิทยาลัยเก๊หลอกลวง อันที่จริงพวกเขาทุกคนรู้อยู่แก่ใจว่ากำลังจ่ายเงินซื้อคุณวุฒิในทางลัด การลงเรียนหลักสูตรปริญญาเอกทางไกลเพียงอาทิตย์เดียวแล้วสำเร็จการศึกษาได้ทันทีนั้น ทุกคนรู้อยู่ว่าเป็นไปไม่ได้ ถ้าใครหลงเชื่อว่านี่คือการศึกษาของจริงก็นับว่าโง่เต็มที" นายกอลลินกล่าวทิ้งท้าย

ชาวอังกฤษหลายพันซื้อ "ปริญญาปลอม" จากบริษัทต้มตุ๋นในปากีสถา

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
เรื่องปริญญาปลอม ในเรื่องที่จะเสนอนี้ แม้จะเป็นเรื่องเก่าไปบ้าง แต่สำหรับคำว่าปริญญาปลอม ในประเทศไทยยังคงมีตลอด ดังนั้น เรื่องปริญญาปลอมยังสามารถถือว่าเป็นเรื่องปัจจุบันอยู่เสมอ 


จาก BBC ภาคภาษษไทย (https://www.bbc.com/thai/international-42704774)
ผู้สื่อข่าวบีบีซีได้รับการเสนอขายปริญญาจาก "มหาวิทยาลัยนิกสัน" เป็นมูลค่าราว 1 แสนบาท

รายการ "File on Four" ของสถานีวิทยุบีบีซี เรดิโอ 4 แฉ พลเมืองในสหราชอาณาจักรหลายพันคนซื้อ "ปริญญาปลอม" จากบริษัทต้มตุ๋นในปากีสถาน ซึ่งมีมูลค่าธุรกิจหลายล้านปอนด์

"เอแซค" (Axact) ซึ่งอ้างตนว่าเป็น "บริษัทเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก" ทำธุรกิจสร้างมหาวิทยาลัยออนไลน์ปลอมหลายร้อยแห่ง ซึ่งดำเนินการโดย พนักงานคอลเซนเตอร์ในนครการาจี ในปากีสถาน

รายการ "File on Four" รายงานว่า ระหว่างปี 2013-2014 ลูกค้าในสหราชอาณาจักรซื้อใบปริญญาปลอมมากกว่า 3 พันใบ ทั้งระดับปริญญาตรี โท เอก

ส่องหลักสูตรออนไลน์ฟรีจาก 10 มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก
วิทยานิพนธ์ "สตีเฟน ฮอว์กิง" มีผู้เข้าดูแล้ว 2 ล้านครั้ง
บริษัทดังกล่าวบริหารจัดการมหาวิทยาลัยปลอม เช่น "มหาวิทยาลัยบรูคลิน พาร์ค", "มหาวิทยาลัยนิกสัน" โดยในเว็บไซต์มีรูปนักศึกษาวิทยาลัยยิ้มแย้ม และมีแม้กระทั่งบทความปลอม ๆ ที่เขียนเยินยอสถาบัน

ผู้ที่ซื้อปริญญาดังกล่าวมีตั้งแต่พนักงานของบริษัทจัดซื้อจัดจ้างอาวุธและยุทธภัณฑ์ และเจ้าหน้าที่ของสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติของ สหราชอาณาจักร (NHS) ไม่ว่าจะเป็น อายุรแพทย์ จักษุแพทย์ จิตแพทย์ และพยาบาล

แพทย์รายหนึ่งที่โรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่งในลอนดอนซื้อปริญญาตรีด้านอายุรศาสตร์จากสถาบันเถื่อนในนาม "มหาวิทยาลัยเบลฟอร์ด" ในขณะที่แพทย์อีกคนหนึ่งบอกว่าเขาซื้อปริญญาด้านการจัดการโรงพยาบาล แต่บอกว่าไม่ได้ใช้ใบวุฒิการศึกษานี้ในสหราชอาณาจักร

อย่างไรก็ตาม ไม่มีข้อบ่งชี้ว่าพวกเขาเหล่านี้ไม่มีคุณวุฒิที่เหมาะสมสำหรับวิชาชีพทางการแพทย์

ปัญหาที่ใหญ่กว่านั้น
แพทยสภาอังกฤษ ระบุว่า เป็นเรื่องของผู้ว่าจ้างที่ต้องตรวจสอบใบวุฒิการศึกษาของพนักงานที่นอกเหนือไปจากปริญญาด้านการแพทย์

เจน โรว์ลีย์ ประธานบริหารขององค์กรตรวจสอบปริญญาระดับการศึกษาขั้นสูง (Higher Education Degree Datacheck) บอกว่า มีนายจ้างในสหราชอาณาจักรเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้นที่ตรวจสอบคุณวุฒิของผู้สมัครงานอย่างถี่ถ้วน เธอบอกว่า แพทยสภาอังกฤษพูดถูกแล้วที่แพทย์สามารถประกอบอาชีพได้หากพวกเขามีปริญญาด้านการแพทย์ แต่การซื้อปริญญาอื่นที่เป็นของปลอมเป็นการฉ้อโกงและพวกเขาก็อาจถถูกดำเนินคดีได้

กฎหมายของสหราชอาณาจักรไม่ถือว่าการซื้อปริญญาปลอมเป็นความผิด แต่การใช้เอกสารดังกล่าวในการสมัครงาน ถือเป็นการฉ้อโกง โดยการบิดเบือนความจริง และมีโทษจำคุกถึง 10 ปี

เมื่อปี 2015 เอแซคขายหนังสือรับรองการศึกษาปลอมมากกว่า 2 แสนใบทั่วโลก โดยให้ผ่านมหาวิทยาลัยและโรงเรียนปลอมราว 350 แห่ง และทำเงินได้ 51 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 1.6 พันล้านบาท ในปีนั้น

อัลเลน เอเซล อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐฯ (เอฟบีไอ) ซึ่งสืบสวนเรื่องเอแซคมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 80 บอกว่า เราอยู่ในโลกที่สังคมให้ความสำคัญกับคุณวุฒิ และตราบใดที่กระดาษใบหนึ่งมีค่า ก็จะมีคนพยายามปลอมแปลงและพิมม์มันออกมาเสมอ

เรื่องใหญ่หลวง
ระหว่างปี 2013-2015 บริษัทจัดซื้อจัดจ้างอาวุธและยุทธภัณฑ์ เอฟบี เฮลิเซอร์วิสเซส (FB Heliservices) ซื้อใบปริญญาปลอมให้กับพนักงานตัวเอง 7 คน โดยในจำนวนนั้นเป็นนักบินเฮลิคอปเตอร์ 2 คน
     ปริญญาปลอมที่ทางบริษัทต้มตุ๋นเสนอให้กับผู้สื่อข่าวบีบีซี
หนึ่งในพนักงานเหล่านั้นบอกกับบีบีซีว่า ซื้อปริญญามาหลังจากได้สัญญาไปทำงานที่เกาะกือราเซาในทะเลแคริบเบียน ซึ่งรัฐบาลท้องถิ่นกำหนดว่า ใครก็ตามที่จะทำงานที่นั่นต้องมีใบปริญญา

ในเวลาต่อมา คอบแฮม บริษัทแม่ของเอฟบี เฮลิเซอร์วิสเซส ออกมาบอกว่า กรณีดังกล่าวเป็นกรณีที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ทางบริษัทได้จัดการกับประเด็นปัญหานั้นแล้ว และบอกว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในการดำเนินการของบริษัทแต่อย่างใด

บทความเปิดโปงโดย นสพ.นิวยอร์กไทมส์ เมื่อปี 2015 ทำให้ประธานบริหารของเอแซคถูกจับกุมและทำให้ทางการปากีสถานเริ่มต้นการสืบสวน นายอูมาร์ ฮามิด ผู้จัดการอาวุโสของบริษัทถูกตัดสินจำคุก 21 เดือนในสหรัฐฯ เมื่อเดือน ส.ค. ปีที่แล้ว

อย่างไรก็ตาม การสืบสวนโดยทางการปากีสถานก็ยุติลงท่ามกลางข้อกล่าวหาคอร์รัปชันของรัฐบาล

อัลเลน เอเซล บอกว่า เอแซคยังคงดำเนินธุรกิจต่อไป และสร้างมหาวิทยาลัยออนไลน์ปลอมขึ้นใหม่ตลอดเวลา และถึงขั้นเริ่มมีการกรรโชกทรัพย์โดยขู่ว่าจะเปิดโปงความลับแล้ว

เซซิล ฮอร์นเนอร์ วิศวรกรชาวอังกฤษที่เคยทำงานอยู่ซาอุดีอาระเบียถูกโทรศัพท์มาข่มขู่แม้กระทั่งหลังจากเขาจ่ายเงินเกือบ 5 แสนปอนด์ หรือราว 22 ล้านบาท เพื่อให้ได้เอกสารปลอมมา นายฮอร์นเนอร์เสียชีวิตเมื่อปี 2015 และลูกชายของเขาเชื่อว่า พ่อซื้อปริญญาเพราะว่ากลัวจะตกงาน

Action Fraud ศูนย์แจ้งอาชญากรรมทางไซเบอร์ของสหราชอาณาจักรระบุว่า ไม่มีอำนาจที่จะปิดเว็บไซต์ปลอมของเอแซค และต้องให้ข้อมูลหลักฐานกับผู้ให้บริการจดทะเบียนโดเมนเว็บไซต์แทน ซึ่งต้องใช้เวลาหลายเดือน

โฆษกกระทรวงศึกษาธิการสหราชอาณาจักรระบุว่า การโกงปริญญาเป็นการเอาเปรียบทั้งผู้ที่ตั้งใจศึกษาหาความรู้จริง ๆ และผู้ว่าจ้าง และได้เริ่มลงมือปราบปราบผู้ที่หาประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้แล้ว

บีบีซีพยายามขอสัมภาษณ์เอแซค แต่ไม่มีการตอบรับแต่อย่างใด

PEREMPUAN ACEH FULL POWER

Dari tulisan  Tengku Puteh (https://tengkuputeh.com/)


 Foto penangkapan Cut Nyak Dhien, bertahun 1905 itu tersimpan di KITLV, Leiden, Belanda. Foto itu diambil oleh komandan marsose, atau pasukan khusus Belanda, Letnan van Vuren.

PEREMPUAN ACEH FULL POWER
Sebuah tabloid Wanita Sehat yang disponsori UNFPA dan Kantor Wilayah BKKBN Aceh, sebuah tulisan yang diambil dari Pustakaloka kompas Online edisi 8 september 2005 sebuah tulisan yang ditulis oleh Ruth Indiah Rahayu seorang pekerja sosial di Kalyanamitra, tulisan tersebut diilhami buku Gender, Islam, Nationalis and state in Aceh : The Paradox of Power, Co-optation and Resistante karangan Jacqueline Aquino Siapno. Dalam tulisan tersebut dia mempertanyakan kenapa perempuan di Aceh jika hendak bepergian ke? Wilayah laki-laki? seperti warung kopi hendaknya ditemani oleh muhrimnya dan bila tidak maka perempuan tersebut akan dicap jelek oleh masyarakat. Dan dia menyesalkan bahwa isu gender tidak pernah mendapat tempat di masyarakat Aceh, “seolah-olah penyakit sampar yang dibawa dari Jakarta” sesalnya.
Dr. Snouck Hurgronye
Diakhir dengan mempertimbangkan tulisan-tulisan Dr. Snouk Hurgronyoe yang pernah “menjelajahi aceh” ia menyimpulkan bahwa kekuasaan perempuan Aceh dimarginalkan oleh nilai-nilai baru yang diaurakan Islam dan Nasionalisme paska kemerdekaan dalam kekuasaan di Aceh. Dari tulisan tersebut tersirat seolah-olah peran perempuan di Aceh terpasung dan ironisnya perempuan Aceh tidak menyadari hal tersebut hal ini didasari bahwa gerakan feminisme tidak pernah mempunyai pendukung di Aceh.

Itu semua tidak benar!!! Secara Makro mungkin kita tidak melihat peran perempuan Aceh yang terlalu menonjol saat ini, tapi secara Mikro perempuan aceh memiliki peran yang sangat besar dan bisa dikatakan Penguasa Aceh yang sesungguhnya. Dari hubungan pernikahan kita bia melihat bahwa isteri disebut dengan sebutan? Po Rumoh? yang jika diindonesiakan kira-kira berarti Pemilik/Penguasa rumah dan suami diawal pernikahan arus tinggal di rumah mertua untuk menghindarkan terjadinya kekeraan dalam rumah tangga. Suatu adat yang dicetuskan oleh Sri Ratu Safiatuddin untuk melindungi kaum perempuan di aceh pernah pula menyebabkan pusat kesultanan Aceh tidak berpindah ketika ayah beliau menunjuk suaminya Sultan Iskandar Thani dari Kesultanan Kedah untuk menjadi penerusnya.

Peran perempuan aceh dalam kehidupan rumah tangga juga cukup besar, seorang Teuku Umar tidak akan muncul ke permukaan pabila tidak didukung seorang Cut Nyak Dien. Laksamana Malahayati, Cut Nyak mutia, Pocut baren, Sri Ratu Nuzulul Alam dalah perempuan-perempuan perkasa yang tidak melupakan tugas perempuan yang sesungguhnya yaitu sebagai ibu.

Tranfer kebudayaan di Aceh lebih dominan dilakukan oleh kaum ibu, bagi anak-anak yang dilahirkan sampai dengan tahun 1980-an tentu masih ingat ketika masih kecil sewaktu hendak ditidurkan dalam ayunan kadang nenek atau ibu menyenandungkan lagu Dodaidi yang berisi semangat perjuangan melawan penjajah kafir walaupun Belanda sudah lama angkat kaki dari bumi Aceh. Setiap anak diharuskan mendengarnya agar menjadi orang yang berguna di kemudian hari. Bayangkan setiap hari, pagi dan siang sampai tidur sulit melupakan isi syairnya walaupun sudah beranjak dewasa sekarang. Bagi anak-anak aceh, para ibu, nenek, kakak, adik adalah sosok tegar, kuat dan Full Power yang akan selalu hormati, kami cintai dan kami rindukan.
                    Lukisan Cut Mutia, Desa Beuringen Pirak, Kecamatan Matangkuli, Aceh Utara.
Sejarah mencatat. Setiap peperangan membawa penderitaan pribadi kepada para perempuan, sehingga diperlukan paling sedikit suatu kekuatan yang sama besarnya untuk menanggulangi bahagian pasifnya, yakni menanggung, menyerahkan dan menjalani, seperti halnya untuk bagian aktifnya peperangan itu sendiri yang dapat memberikan kebahagiaan dalam menjalankannya.

Kaum perempuan, mereka tinggal dan menunggu di rumah dan melalui “pintu gerbang penanggungan” yang untuk orang kebanyakan mereka selalu terbuka lebar, telah membiarkan seorang tamu baru masuk ke dalam rumahnya, yakni perasaan cemas yang selalu timbul terhadap seseorang atau mereka yang pergi melalukan tugas. Tamu itu berada dalam pusat kehidupan di rumah dan bayangannya bergelantungan di atas semua serta seluruhnya, di atas seluruh gerak dan pikiran mereka yang tertinggal di belakang.
                                       Foto Pocut Baren
Sumber : Aceh; H.C Zentgraff; Penerbit Beuna Jakarta; Cetakan ke-1; 1983.

Dalam hal peperangan panjang pernah terjadi di Aceh, sebagaimana sebuah perang, di manapun ia pernah berkecamuk di muka bumi ini. Namun hal ini lebih hebat lagi pernah dirasakan di Aceh karena di sana para perempuannya sangat dekat dengan ataupun memang berada dalam kancah peperangan. Di sana mereka hidup bersama peperangan, jiwa mereka setiap hari mengikuti suami atau putera pada perjalanan-perjalanan yang mereka kenal keadaannya sampai sekecil-kecilnya. Kecemasan yang disebabkan oleh panggilan telepon yang tiba-tiba adalah sama artinya dengan telepon yang tak kunjung tiba. Dan jika hal ini terjadi sangat lama, maka kecemasan itu dapat berubah menjadi hantu yang menakutkan di rumah, suara gemerisik kaki yang tiba-tiba, suara ketikan lembut di pintu atau suara orang di kejauhan cukup menempatkan mereka yang sedang menunggu-nunggu dalam keadaan binggung, karena bukan tak mungkin dan selalu demikian. Bahwa itu merupakan sebuah pesan sial mengenai suami ataupun kedatangan seseorang yang tewas diangkut ke rumah sakit.
Makam Cut Nyak Dhien di Sumedang, Jawa Barat. “Sebagai perempuan Aceh, kita tidak boleh menumpahkan air mata pada orang yang sudah syahid, ” kata Cut Nyak Dhien.

Meskipun sekarang perang telah usia, Aceh sejak tahun 2005 pelan-pelan sepenuhnya damai. Mengenai perempuan Aceh dapat diceritakan, bahwa sejak peperangan Kolonial melawan Belanda. Perannya sampai saat sekarang sukar dinilai dan biasanya aktif sekali. Perempuan Aceh, gagah berani, adalah penjelmaan dendam kesumat terhadap penjajahan kolonial (Belanda) yang tak ada taranya serta tak mengenal damai. Jika ia turut bertempur, maka tugas itu dilaksanakannya dengan suatu tenaga yang tak kenal maut dan biasanya (selalu) mengalahkan kaum lelakinya. Ia adalah pengemban dendam yang membara yang sampai-sampai ke liang kubur dan dihadapan mautpun masih berani meludah ke muka si “kaphe” (=kafir).

Di masa lalu, rasanya tak ada seorang penulis roman manapun yang sanggup dan berhasil mengungkapkan daya khayalnya yang segila-gilanya seperti yang telah dibuktikan perempuan Aceh dalam kenyataannya.

Perempuan adalah tiang Negara, seorang ibu adalah madrasah dimana seorang anak pertama kali mengenal dunia dan membentuk pola pikir sang anak dalam memandang dunia. Menghadapi tekanan global dan pengaruh media yang dikuasai Barat samapai kapankah perempuan-perempuan Aceh dapat bertahan? Terus terang tidak ada yang mampu menjawabnya karena proses pengikisan itu simultan terjadi, dan terus berlanjut.