Rabu, 27 Januari 2010

ชาวเบอตาวี(Betawi) แห่งกรุงจาการ์ตา

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ประมาณการว่ามีชาวเบอตาวีอยู่ประมาณ 3 ล้านคนโดยอาศัยอยู่ในกรุงจาการ์ตา ประมาณ 2.3 ล้านคน เป็นกลุ่มชนที่ใช้ภาษามลายูชาวเบอตาวีและภาษาอินโดเนเซีย จะนับถือศาสนาอิสลามและคริสต์ ชนชาวชาวเบอตาวีเกิดจากการแต่งงานระหว่างชนเผ่าต่างๆในอดีต โดยทางสรีระแล้วชาวชาวเบอตาวีมีสายเลือดผสมผสานของชนเผ่าต่างๆที่เจ้าอาณานิคมฮอลันดานำมายังเมือง บาตาเวีย (Batavia) ชนเผ่าที่ได้กลายมาเป็นชาวชาวเบอตาวีประกอบด้วยชาวซุนดา ชาวชวา ชาวอาหรับ ชาวบาหลี ชาวซุมบาวา ชาวอัมบน ชาวมลายู และชาวจีน

ความเป็นมาของคำว่าชาวเบอตาวี
มาจากชื่อเมืองบาตาเวีย (Batavia) เป็นชื่อเดิมของกรุงจาการ์ตาที่ตั้งชื่อโดยชาวฮอลันดา ดังนั้นชื่อเบอตาวีจึงถูกนำมาใช้เป็นชื่อชนเผ่าที่ดั้งเดิมอาศัยอยู่ในกรุงจาการ์ตาและใช้ภาษาพูดภาษามลายู

ประวัติความเป็นมา
แรกเริ่มเป็นการเข้ามาของชนเผ่าซุนดา นอกจากนั้นมีพ่อค้า ชาวประมง จากชายฝั่งตอนเหนือของชาวเกาะชวา รวมทั้งจากอินโดเนเซียตะวันออก มะละกา หรือแม้แต่ชาวจีนและชาวกูจารัต จากอินเดีย Dr.Yasmine Zaki Shahab นักมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยอินโดเนเซียได้สันนิษฐานว่าชาวเบอตาวีเกิดขึ้นระหว่างปี 1815- 1893 การตั้งข้อสันนิษฐานนี้ใช้การวิจัยของนักประวัติศาสตร์ชาวออสเตรเลียที่ชื่อว่า Lance Casfle ในสมัยเจ้าอาณานิคมฮอลันดานั้น มักจะมีการสำรวจประชากรโดยชนเผ่าหรือชาติพันธุ์เป็นเกณฑ์ ในการสำรวจประชากรปี 1615 และ 1815 ปรากฏว่า มีชนเผ่าต่างๆอาศัยอยู่ในเมืองบาตาเวีย แต่ไม่มีการบันทึกถึงการมีอยู่ของชนเผ่าเบอตาวี จากการสำรวจประชากรปี 1893 ปรากฏว่าในกรุงจาการ์ตาได้เกิดการสูญหายประชากรของชาวอาหรับ ชาวชวาชาวซุนดา ชาวซูลาเวซีใต้ ชาวซุมบาวา ชาวอัมบน และชาวมลายู

แผนที่โบราณ เมืองบาตาเวีย

แผนที่เมืองบาตาเวีย หรือ จาการ์ตา ปี 1672

ประตูชัย Amsterdam เมืองบาตาเวีย

สำนักงานยุคอาณานิคมฮอลันดาที่เมืองบาตาเวีย

ในปี 1930 ได้มีการสำรวจประชากรปรากฏว่าได้เกิดกลุ่มชนอีกกลุ่มเรียกว่า ชาวชาวเบอตาวี จากการสำรวจประชากรในปีดังกล่าวปรากฏว่าชาวเบอตาวีได้กลายเป็นชนกลุ่มใหญ่ของเมืองบาตาเวีย (กรุงจาการ์ตาในปัจจุบัน)

แผนผังแบ่งกลุ่มชนเผ่าต่างๆในกรุงจาการ์ตา

ชนชาวเบอตาวี กับชนเผ่าอื่นๆ

ตารางเปรียบเทียบชนชาวเบอตาวีกับชนชาวอื่นๆ

Prof. Dr.Parsudi Suparlan นักมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยอินโดเนเซียได้กล่าวว่า ก่อนการเกิดขึ้นของกลุ่มชาวเบอตาวีนั้น กลุ่มคนเหล่านี้จะเรียกตนเองตามสถานที่ตั้งถิ่นฐานในเมืองบาตาเวีย เช่นคนเกอมาโยรัน(Kemayoran) คนราวาเบลง(Rawabelong) การเกิดขึ้นของคำว่าชาวเบอตาวีครั้งแรกเมื่อนาย Husni Thamrin นักต่อสู้ชาตินิยมชาวอินโดเนเซียได้จัดตั้งองค์กรขึ้นมาเรียกว่า Perkoempoelan Kaoem Betawi (สมาคมชาวเบอตาวี) ในปี1923 จึงเกิดจิตสำนึกในกลุ่มชาวเบอตาวีว่า ชาวเบอตาวีนั้นเป็นอีกกลุ่มชนหนึ่งในอินโดเนเซีย

การจัดตั้งองค์กรของชนชาวเบอตาวีในปีต่างๆ

ภายหลังจากอินโดเนเซียได้รับเอกราช
เมื่อประเทศอินโดเนเซียได้รับเอกราชในปี 1945 ทำให้ผู้คนจากทั่วอินโดเนเซียเดินทางเข้ามายังกรุงจาการ์ตา จนทำให้ชาวเบอตาวีได้มีประชากรประมาณ 22.9 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรกรุงจาการ์ตาทั้งหมด 2.9 ล้านคน

ภาษาของชาวเบอตาวี
ภาษาของชาวเบอตาวีเป็นภาษาที่มีการผสมผสานของชนเผ่าต่างๆ มีบางทัศนะได้กล่าวว่า มีกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณเมืองบาตาเวีย ที่รู้จักในนามของชาวเบอตาวีรุ่นแรก (Proto Beyawi) ซึ่งตามประวัติศาสตร์นั้น รัฐบริเวณดังกล่าวคือ Taruma Nagara Sunda pura หรือ Sunda Kelapa เคยถูกโจมตีและยึดครองโดยอาณาจักรศรีวิชัยจากเกาะสุมาตรา ดังนั้นในช่วงเวลาดังกล่าวชนเผ่าซุนดาที่อาศัยอยู่บริเวณท่าเรือ Sunda Kelapa จึงใช้ภาษามลายู ในช่วงศตวรรษที่ 20 ฮอลันดา เจ้าอาณานิคมอินโดเนเซียจึงถือว่า คนที่อาศัยอยู่บริเวณเมืองบาตาเวีย ที่ใช้ภาษามลายูมีความแตกต่างจากชนเผ่าซุนดาและเรียกกลุ่มคนเหล่านี้ว่า คนบาตาวี (คนมาจากเมืองบาตาเวีย) ในปัจจุบันแม้ว่าคนในกรุงจาการ์ตาใช้ภาษาทางราชการด้วยภาษาอินโดเนเซียแต่ในชีวิตประจำวันจะใช้ภาษาอินโดเนเซียสำเนียงชาวเบอตาวี

ศิลปวัฒนธรรม
ชาวเบอตาวี มีการรับศิลปวัฒนธรรมของชนเผ่าต่างๆมาเป็นของตนเอง เช่นศิลปะที่เรียกว่า Gambang Kromong มาจากศิลปวัฒนธรรมของชาวจีน Rebanaมาจากชาวอาหรับ Keroncong Tugu มาจากชาวโปรตุเกส Tanjidor มาจากชาวฮอลันดา

การแต่งกายของชาวเบอตาวี

การแต่งกายของชาวเบอตาวี

การแต่งกายงานแต่งงานของชาวเบอตาวี

การรำที่เรียกว่า Tari Topeng ของชาวเบอตาวี

ความเชื่อในศาสนา
ชาวเบอตาวีส่วนใหญ่จะเป็นชาวมุสลิม แต่ก็มีที่นับถือศาสนาคริสต์ แม้จะมีจำนวนน้อยก็ตาม สำหรับที่นับถือศาสนาคริสต์นั้นตามประวัติศาสตร์ได้บันทึกว่า ในศตวรรษที่ 16 กษัตริย์ชาวซุนดาที่ชื่อว่า Sura wisisa ได้ทำสัญญากับโปรตุเกส ทำให้ชาวโปรตุเกสสามารถตั้งคลังสินค้าที่ Sunda Kelapa ได้ จนกระทั่งสามารถสร้างชุมชนชาวโปรตุเกสขึ้นมาได้ที่ Sunda Kelapa จนกระทั่งปัจจุบันลูกหลานของชาวโปรตุเกสนี้ได้แต่งงานกับชนพื้นเมืองก็ยังคงมีอยู่ที่หมู่บ้าน Tugu อยู่ในจาการ์ตาตอนเหนือ

Tiada ulasan: