โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ชาวอินเดียเจตตี (Chetti)
ชาวอินเดียในประเทศมาเลเซียนั้น ประกอบด้วยชาวอินเดียจากหลากหลายชาติพันธุ์ เช่น
ชาวอินเดียจากชาติพันธุ์ทมิฬ (Tamil),
บังคลา (Bengali,
กูจาราช(Gujerati),
มาลายาตี (Malayali),
สิงหล(Sinhala),
เตอลูกู(Telugu)และ
ปุนจาบี (Punjabi)
ชาวอินเดียส่วนใหญ่ที่เข้ามายังแหลมมลายูเป็นชาวอินเดียที่เข้ามาในสมัยยุคอาณานิคมอังกฤษ ส่วนใหญ่เข้ามาเป็นแรงงานในภาคการเกษตร และแรงงานทั่วไป
การแต่งกายของชาวอินเดียเจตตี
ชุมชนชาวอินเดียเจตตีในอดีต
ในประเทศมาเลเซียยังมีชุมชนอินเดียที่เรียกว่า ชาวอินเดียเจตตี เป็นกลุ่มชาวอินเดียที่เดินทางเข้ามายังแหลมมลายูมานานนับหลายร้อยปีมาแล้ว ตั้งแต่ยุครัฐมะละกา สังคมอินเดียเจตตีส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในรัฐมะละกา ด้วยชาวอินเดียเจตตี เป็นชาวอินเดียที่เข้ามายังแหลมมลายูหลายร้อยปีมาแล้ว มีหลักฐานปรากฏถึงกลุ่มชนชาวอินเดียกลุ่มนี้ในหนังสือประวัติศาสตร์มลายู เช่น หนังสือ Sejarah Melayu และ Hikayat Hang Tuah ทำให้ชาวอินเดียกลุ่มนี้มีการแต่งงานผสมผสานกับชาวพื้นเมือง บุตรหลานที่เกิดขึ้นในรุ่นต่อมาจึงรับส่วนหนึ่งของขนบธรรมเนียม ประเพณีมลายูเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของชาวอินเดียนี้ ถึงอย่างไรก็ตามชาวอินเดียกลุ่มนี้ยังคงนับถือศาสนาฮินดู ดังนั้นในวันสำคัญๆของศาสนาฮินดู ชาวอินเดียเจตตีจึงยังคงประกอบพิธีกรรมทางศาสนาฮินดูดังเช่นชาวอินเดียทั่วไป
ชาวจีนบาบ๋ายาย๋า (Baba Nyonya)
ชนชาวจีนในประเทศมาเลเซียนั้น ประกอบด้วยชาวจีนจากหลากหลายชนเผ่า เช่น
ชาวจีนฮกเกี้นย (Hokkien),
ฮักกา (Hakka),
กวางตุ้ง (Canton),
ไหหนาน (Hainan),
แต้จิ๋ว (Teochew)
ชาวจีนเหล่านี้ส่วนใหญ่ที่เข้ามายังแหลมมลายูเป็นชาวจีนที่เข้ามาในสมัยยุคอาณานิคมอังกฤษ ส่วนใหญ่เข้ามาเป็นแรงงานในเหมืองแร่ และทำการค้าขาย
ในประเทศมาเลเซียยังมีชุมชนจีนที่เรียกว่า ชาวจีน Baba Nyonya (บาบาญอญา) หรือที่รู้จักกันในภาษาไทยว่า จีนบาบ๋ายาย๋า บางครั้งจะเรียกว่าจีนเปอรานักกัน (Cina Peranakan) เป็นกลุ่มชาวจีนที่เดินทางเข้ามายังแหลมมลายูมานานนับหลายร้อยปีมาแล้ว ตั้งแต่ยุครัฐมะละกา สังคมจีนบาบ๋ายาย๋า ตั้งถิ่นฐานอยู่ในรัฐมะละกา รัฐปีนัง จังหวัดภูเก็ต และบางส่วนอพยพไปยังกรุงเทพฯก็มี ด้วยชาวจีนกลุ่มนี้เป็นชาวจีนที่เข้ามายังแหลมมลายูหลายร้อยปีมาแล้ว ทำให้ชาวจีนกลุ่มนี้มีการแต่งงานผสมผสานกับชาวพื้นเมือง และบุตรหลานที่เกิดขึ้นในรุ่นต่อมาจึงรับส่วนหนึ่งของขนบธรรมเนียม ประเพณีมลายูเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของชาวจีนนี้ รวมทั้งภาษาพูดด้วย ถึงอย่างไรก็ตามชาวจีนกลุ่มนี้ยังคงนับถือศาสนาที่คนจีนทั่วไปนับถือกันอยู่ มีทั้งที่นับถือศาสนาพุทธ ขงจื้อ ในวันสำคัญของศาสนาพุทธ หรือ ขงจื้อ กลุ่มชาวจีนนี้ก็จะประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่ตนเองนับถือ ส่วนชาวอินเดียเจตตีจึงยังคงประกอบพิธีกรรมทางศาสนาฮินดูดังเช่นชาวอินเดียทั่วไป
ลักษณะการแต่งกายของสตรีชาวจีนบาบ๋ายาย๋า
ชายและหญิงในชุดแต่งกายของชาวจีนบาบ๋ายาย๋า
การแต่งกายของสตรีชาวจีนบาบ๋ายาย๋า
การแต่งกายของชาวจีนบาบ๋ายาย๋า จะมีลักษณะคล้ายคนมลายู สตรีรุ่นเก่าจะแต่งกายด้วยชุดเสื้อเกอบาญา (Baju Kebaya) และผ้าสะโหร่งปาเต๊ะ อาหารการกินก็จะมีการผสมผสานระหว่างอาหารมลายูกับอาหารจีน กลายเป็นสูตรเฉพาะของชาวจีนบาบ๋ายาย๋า
สำหรับภาษาพูดนั้นชาวจีนบาบ๋ายาย๋าจะพูดภาษามลายู โดยมีเอกลักษณ์ของตนเอง คำในภาษามลายูที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม จะไม่มีในภาษามลายูของชาวจีนบาบ๋ายาย๋า แต่คำในภาษาจีนที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ หรือ ขงจื้อ จะเข้ามาแทนที่
ด้วยอิทธิพลของสังคมสมัยใหม่ โดยเฉพาะอิทธิพลของวัฒนธรรมจีน ทำให้ชาวจีนบาบ๋ายาย๋ามีจำนวนลดน้อยลง โดยคนรุ่นต่อๆมาของชาวจีนบาบ๋ายาย๋า มีการผสมผสานกับบุตรหลานชาวจีนที่เข้าในยุคหลัง ซึ่งมีความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมจีนมากกว่า มีการยอมรับวัฒนธรรม วิถีชีวิตแบบคนจีนทั่วไปมากขึ้น
Tiada ulasan:
Catat Ulasan