ในเกาะชวานั้น นอกจากมีชนเผ่าชวาอาศัยอยู่เป็นจำนวนนับร้อยล้านคนแล้ว ยังมีอีกชนเผ่าหนึ่งที่มีประชากรนับสิบๆล้านคน นั้นคือชนชาวซุนดา ประชากรชาวซุนดามีประมาณ 33 ล้านคน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดชวาตะวันตก และจังหวัดบันเตน
ชาวซุนดาไม่เหมือนชาวเผ่าอื่น ด้วยชนชาวซุนดาไม่มีตำนานความเป็นมาของชนเผ่าตนเอง เพียงตำนานแรกกล่าวว่าคนซุนดาส่วนใหญ่จะเป็นคนงานในสวนมากกว่าจะเป็นชาวนา




ระบบความเชื่อของชาวซุนดา
ชาวซุนดาส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาอิสลาม แต่ยังมีอีกจำนวนหนึ่ง แม้จะมีจำนวนไม่มากก็ตาม แต่น่าสนใจแนวความเชื่อของชาวซุนดาเหล่านี้ มีบันทึกอยู่ในบทกวีโบราณ หรือที่รู้จักในนามของ Wawacanและในบรรดาชนเผ่าบาดุย (Baduy) ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณเชิงเขาซึ่งยังยึดถือความเชื่อที่เรียกว่า Sunda Wiwitan โดยพวกเขาเรียกว่าศาสนาซุนดา วีวิตัน ศาสนาซุนดา วีวิตันถือเป็นศาสนาดั้งเดิมที่ชาวซุนดานับถือ ต่อมาชาวซุนดานับถือศาสนา ฮินดู
ศาสนาซุนดา วีวิตัน Sunda Wiwitan
เป็นความเชื่อที่ยึดถือโดยชาวซุนดา ก่อนการเข้ามาของเจ้าอาณานิคม ปัจจุบันยังเป็นความเชื่อที่ยึดถือโดยชาวซุนดาวีวิตัน ตั้งอยู่ในอำเภอ Lebak จังหวัด Banten ส่วนใหญ่จะรู้จักชาวซุนดาวีวิตัน ว่าชาวบาดุย ซึ่งสันนิษฐานว่าแรกเริ่มเรียกโดยนักวิชาการชาวฮอลันดา เพื่อเปรียบเทียบกับชาวอาหรับบาดาวี (Arab Badawi) แต่บางข้อมูลกล่าว่า มาจากชื่อแม่น้ำที่ชื่อแม่น้ำบาดุย (Sungai Baduy) และภูเขาบาดุย(Gunung Baduy) ) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณตอนเหนือของพื้นที่ดังกล่าว สำหรับชาวบาดุยเองจะเรียกตนเองว่า ชาวกาเนเกส (Urang Kanekes)หรือ Orang Kanekes เป็นชื่อสถานที่พวกเขาอาศัยอยู่ที่ Desa Kanekes ตำบลLevwidamarอำเภอ Lebak Rangkas bitang จังหวัดBanten เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเทือกเขา Kendeng
ภาษาของชาวบาดุย
พวกเขาจะพูดภาษาซุนดา สำเนียงจังหวัด Banten ความเป็นมาของชาวบาดุย Kanekes บางแหล่งข้อมูลกล่าวว่าบริเวณที่ตั้งของชาวบาดุยนั้นถือเป็นเขตบริสุทธ์ศักดิ์สิทธ์ ผู้จัดตั้งเป็นเขตศักดิ์สิทธิ์คือกษัตตริย์ซุนดาที่ชื่อว่าRakayan Darmasiksa ดินแดนนี้เป็นที่ตั้งของKabuyatan สถานที่บูชาบรรพบุรุษของชาวซุนดา ไม่ได้เกี่ยวข้องกับศาสนาฮินดูหรือพุทธ Kabuyatan บริเวณนี้รู้จักในนาม หรือ Sunda Wiwitan คำว่า Wiwitan มีความหมายว่า ดั้งเดิม ดังนั้นศาสนาของพวกเขาจึงมีชื่อว่า Sunda Wiwitan โดยความเชื่อหรือศาสนานี้เป็นการนับถือบูชาวิญญาณบรรพบุรุษ
สังคม Kanekes
สังคมซุนดาแห่งนี้ แบ่งออกเป็น 3 พวกคือ

Tangtu เป็นกลุ่มที่เรียกว่า Baduy Luar แต่งกายเสื้อผ้าและผ้าโพกสีดำ
Panangping หรือที่รู้จักในนามของ Baduy dalam บาดุย เป็นกลุ่มที่ยึดถือ หลักของ Sunda Wiwitan อย่างมั่นคง เป็นกลุ่มที่เครื่องแต่งกายสีขาวกับสีฟ้าเข้มและศรีษะโพกผ้าขาว
Dangka เป็นกลุ่มบาดุยที่ตั้งพื้นฐานอยู่นอกพื้นที่ Kanekas กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่สามารถเรียกได้ว่า เป็นหมู่บ้านกันชนจากอิทธิพลภายนอก






Tiada ulasan:
Catat Ulasan