Khamis, 21 Januari 2010

กลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองในเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดเนเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดเนเซีย

เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดเนเซีย

ในเกาะสุมาตรานั้นมีความหลากหลายทางชนเผ่า มีทั้งชนชาวมลายู ชนชาวบาตัก ชนชาวอาเจะห์ ชนชาวมีนังกาเบา และในแต่ละชนเผ่าก็ยังมีชนกลุ่มน้อยอีกต่างหาก เรามาทำความรู้จักกับชนเผ่าที่สำคัญในเกาะสุมาตรา ซึ่งมีตัวอย่างดังนี้

ชนชาวบาตัก (Batak)
อาศัยอยู่บนเกาะสุมาตรา อาศัยเป็นกลุ่มใหญ่อยู่ในจังหวัดสุมาตราเหนือ ประชากรชาวบาตักมีประมาณ 3 ล้านคน
หมู่บ้านชนชาวบาตัก

หมู่บ้านชนชาวบาตัก

บ้านชนชาวบาตัก

ขนบธรรมเนียมประเพณีชนชาวบาตัก หรือ Adat Batak
คนเผ่า มีถิ่นฐานอยู่ในเกาะสุมาตรา แต่มีบางส่วนที่อพยพไปยังแหลมมลายูและส่วนอื่น ๆ ของภูมิภาคมลายู ชนชาวบาตัก ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้อีก คือ

Batak Karo
ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ราบสูง Karo,Deli Hulu , Langka + Hulu,และบางส่วนของ Tanah Dairi
Batak Simalungun
ตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนที่เรียกว่า Sima lungun
Batak Pak Pak
ตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนที่เรียกว่า Dairy และลางส่วนของ Tunah Alas และ Gayo
Batak Toba ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณทะเลสาบ Toba เกาะ Samosir ที่ราบสูง Toba,Silindung , บริเวณภูเขา Pahae, และ Habincaran
Batak Angkola Mandailing
ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณ Sipirok,batang Tory, Sibolga, Padang Lawas ,Baruman, Mandailing Pakantan, Batung Natal

ชนชาวบาตัก (Batak) เชื่อว่าทุกกลุ่มย่อยล้วนมีบรรพบุราคนเดียวกัน นั้นคือ Sri Raja Batak และบรรพบุรุษคนนี้เป็นผู้ที่ขยายลูกหลานออกไปยังพื้นที่ต่างๆ

การสืบเชื้อสายของชนเผ่าบาตัก

เมื่อได้เปิดหมู่บ้านใหม่ พวกเขาก็จะจัดตั้ง Marga (เผ่าย่อย) ของตนเองขึ้นมาใหม่ ดังนั้น Marga ของคน Batak จึงมีมากมาย คน Batak toba นั้นมี Marga มากมาย ซึ่งแตกต่างจากคน Batak Mandailing ที่มีเพียงไม่มาก เช่น Nasution, Lubis, Siregar, Harahap, Hasibuan , Batu Bara ,Dasopang, Daulay , Dalimuntue ,Dongoran,Hutasuhut,Pane,Parinduri, Pohan,Pulungan,Siagian,Rambe,Rangkuti ,Ritongga และ Tanjung

เครื่องแต่งกายของชนชาวบาตักนั้น ด้วยชนกลุ่มนี้มีหลากหลายเผ่า เครื่องแต่งกายจึงมีความหลากหลายเช่นกัน

การแต่งกายของชนชาวบาตัก

ผ้าของชาวบาตัก

การแต่งกายของชาวบาตัก

การแต่งกายของชาวบาตัก

การแต่งกายของชาวบาตัก

การแต่งกายในงานแต่งงานของชาวบาตัก

ความเด่นของ Adat คือบุคคลที่อยู่ใน Marga เดียวกันจะไม่สามารถแต่งงานกันได้ คน Batak จะต้องแต่งงานกับคนต่าง Marga สำหรับคนที่ไม่ใช่ชาว Batak เมื่อจะแต่งงานกับคนจะต้องทำพิธี“รับเข้า” Margaของคน Batak ก่อนในประเทศมาเลเซียก็มีสมาคมของคน Batak คือ Ikatan Kebajikan Mandailing Malaysia คน Batak Mandailing จะนับถือศาสนาอิสลามส่วนคน Batak Karo จะนับถือศาสนาคริสต์ซึ่งนักเผยแพร่ศาสนาคริสต์ได้เข้าไปเผยแพร่ยังดินแดน Batak ในศตวรรษที่ 19

ระบบสังคมเครือญาติของชาวบาตัก
ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่เรียกว่า Tungku nan Tiga หรือเรียกเป็นภาษาบาตักว่า Dalihan na Tolu ประกอบด้วย
1. Hula-hula
2. Dongan Tubu
3. Boru และเพิ่ม Sihal-sihal

Hulahula คือเครือญาติฝ่ายสตรี
กลุ่มเครือญาตินี้ถือเป็นกลุ่มที่มีตำแหน่งหรือมีบทบาทสำคัญในพิธีกรรมทางขนบธรรมเนียม ประเพณีชาวบาตัก สำหรับชาวบาตักทุกเผ่าย่อย หรือ marga จนมีคำสั่งสอนว่าต้องให้เกียรติแก่ Hulahula (Somba marhula-hula)
Dongan Tubu บางทีก็เรียกว่า Dongan Sabutuha
เป็นญาติพี่น้องผู้ชายร่วมเผ่าย่อย หรือ marga เหมือนดังผู้มีเชื้อสายร่วมครรภ์มารดา เหมือนสายน้ำที่ตัดไม่ขาด เหมือนกิ่งไม้ของต้นไม้ ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน แม้อยู่ใกล้กันอาจกระทบกระทั่งกันบ้าง แต่ไม่สามารถตัดขาดจากกัน จึงมีคำสั่งสอนว่า ชาวบาตักต้องรู้จักเป็นญาติพี่น้องกับผู้ร่วมเผ่าย่อย หรือ marga ซึ่งชาวบาตักจะเรียกว่า manat mardongan tubu
Boru คือการที่ครอบครัวได้นำสตรีจากเผ่าย่อย หรือ marga อื่นมาเป็นภรรยา
Boru ถือเป็นตำแหน่งที่ต่ำสุดในการประกอบพิธีกรรม หรือการดำรงชีวิตประจำวัน ที่ชาวบาตักเรียกว่า parhobas หรือผู้บริการที่ดีในชีวิตประจำวัน ดังนั้นชาวบาตักจึงมีคำสั่งสอนว่า ต้องเอาอกเอาใจ ชาวบาตักเรียกว่า Elek marboru.
ในสังคมชาวบาตักนั้นไม่ได้หมายความว่าสังคมชาวบาตักจะมีชนชั้น แต่บทบาททั้งสามที่กล่าวมาข้างต้นบุคคลหนึ่งย่อมทำหน้าที่ทั้งเป็น Hulahula, Dongan Tubu หรือ Boru

อักขระของชนชาวบาตัก
ชนชาวบาตักเป็นชนที่มีอักขระเป็นของตนเอง แต่การที่ชนชาวบาตักมีความหลากหลายทางชนเผ่า ดังนั้นลักษณะของอักขระจึงมีความแตกต่างกันบ้าง

หนังสือชาวบาตัก

หนังสืออักขระบาตัก

ลักษณะหนังสืออักขระบาตัก

หนังสืออักขระบาตัก

พยัญชนะของชาวบาตักกาโร

สระของชาวบาตักกาโร

พยัญชนะของชาวบาตักมันไดลิง

สระของชาวบาตักมันไดลิง

พยัญชนะของชาวบาตักปักปัก

สระของชาวบาตักปักปัก

พยัญชนะของชาวบาตักซีมาลูงุน

สระของชาวบาตักซีมาลูงุน

พยัญชนะของชาวบาตักโตบา

สระของชาวบาตักโตบา


ชนชาวอาเจะห์
ชาวอาเจะห์อาศัยอยู่ในเกาะสุมาตรา บริเวณที่เรียกว่าจังหวัด Nangroe Aceh Darussalam ประชากรชาวอาเจะห์มีประมาณ 4 ล้านคน บางส่วนอาศัยอยู่ในประเทศมาเลเซีย

ขนบธรรมเนียม ประเพณีชนชาวอาเจะห์หรือ Adat Aceh
อาเจะห์มีเขตขนบธรรมเนียมประเพณี (Daerah Adat) อยู่ 7 เขตด้วยกัน และแต่ละเขตมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกัน เห็นได้จากในเรื่องของภาษา, การแต่งกาย,อาหารการกินประเพณีบางอย่างแต่ก็ยังมีอีกมากที่มีส่วนเหมือนกัน ซึ่ที่ทำให้เกิดความแตกต่าเหล่านี้เกิดจากสภาพภูมิศาสตร์วิถีชีวิตของขาวอาเจะห์ที่มีประมาณอยู่กว่า 4 ล้านคน


การแต่งกายของชนชาวอาเจะห์

การแต่งกายของชนชาวอาเจะห์

การแต่งกายของชนชาวอาเจะห์

การแต่งกายของชนชาวอาเจะห์

มีหนังสือที่ชื่อว่า Peraturan di dalam Negeri Aceh Bandar Darussalam disalin dari pada daftar Paduka Sri Sultan Makota Alam Iskandar Muda ซึ่งเป็นหนังสือว่าด้วยกฎหมายการปกครองของ Sultan Iskandar Muda (1607 - 1636)อาเจะห์ในสมัยการปกครองของหนังสือเล่มนี้รูจักกันในนามของ Adat Meukuta Alam โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการปกครอง กฎหมายและขนบธรรมเนียมประเพณีที่ใช้บังคับชาวอาเจะห์ให้ปฏิบัติตาม ขนบธรรมเนียมของชาวอาเจะห์มีเช่น

การตั้งฉายานาม(Gelar)
การมีฉายานามซึ่งหมายถึงการตั้งเมื่อเป็นเกียรติหรือเมื่อการง่ายต่อการเรียกบางครั้งจะใช้นามหมู่บ้าน ถิ่นฐานเรียกต่อท้ายชื่อ เช่น Teungku Chik Kutakarang (เต็งกูจิแห่งกูตาการาง) Teungku Syiah Kuala (เต็งกูซียะห์กัวลาโดยไม่กล่าวถึงชื่อจริงของเขา)

ฉายานามที่แสดงถึงสถานะหรือองค์ความรู้ของบุคคลก็มีออย่างเช่น
Leubee เป็นการขนานนามสำหรับผู้รู้ศาสนาซึ่งในสังคมมลายูทั่วไปจะใช้คำว่า Lebai
Teungku เป็นการขนานนามสำหรับผู้เป็นนักปราชญ์หรือผู้รู้ทางศาสนา แต่ถ้าผู้รู้ทางศาสนาคนนั้นมีความรู้มากกว่านั้นจะเรียกว่า Teungku Chik หรือที่หมายถึงซึ่งในสังคมมลายูนั้นจะหมายถึง Ulama
Teuku เป็นการขนานนามของเชื้อเจ้า ซึ่งเป็นผู้ปกครองในเขตการปกครองต่าง ๆ มีสายการบังคับบัญชาอยู่ต่ำกว่า Sultan

บ้านชนชาวอาเจะห์

บ้านชนชาวอาเจะห์

ในสมัยอดีตขนบธรรมเนียมประเพณีอาเจะห์ หรือ Adat Acehแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
1.Adatullahนั้นคือกฎหมายเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีส่วนคล้ายกับกฎหมายอิสลามโดยมีพื้นฐานมาจากอัล – กุรอานและฮะดิษ
2.Adat Muhakamah
นั้นคือกฎหมายเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีที่ได้จากการประชุม ลงความคิดเห็นกัน
3.Adatunnah
นั้นคือขนบธรรมเนียมประเพณีได้รับการปฏิบัติตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายปกครอง (Kanun)และเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ใช้ในการดำเนินวิถีชีวิตของสังคมอาเจะห์

ศิลปะการแสดงของชาวอาเจะห์
ชาวอาเจะห์มีศิลปะการแสดงหลายอย่าง เช่น การรำของชาวอาเจะห์ มี การรำที่เรียกว่า Tarian Saman, Tarian Rampak และ Tarian Suedati

การรำที่เรียกว่า Tarian Rampak

การรำที่เรียกว่า Tarian Saman

การรำ Tarian Saman

การรำ Suedati

การใช้กฎหมายอิสลาม
นับตั้งแต่รัฐบาลอินโดเนเซียให้อำนาจในการปกครองตนเองแก่จังหวัดอาเจะห์ หรือที่มีชื่อเต็มว่า จังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลาม (Nangroe Aceh Darussalam) ทางจังหวัดอาเจะห์จึงได้ออกกฎหมายอิสลามขึ้นมาใช้ในจังหวัดดังกล่าว สำหรับความผิดตามกฎหมายอิสลามที่ประกาศใช้ เช่น



- ผู้ดืมเครื่องดืมอัลกอฮอล จะถูกโบยตีเป็นจำนวน 40 ครั้ง หรือจำคุกไม่เกิน 40 เดือน
- ผู้เล่นการพนัน จะถูกโบยตีเป็นจำนวน 120 ครั้ง หรือจำคุกไม่เกิน 120 เดือน
- ผู้ผิดประเวณี สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้แต่งงาน จะถูกโบยตีเป็นจำนวน 100 ครั้ง และสำหรับผู้ที่แต่งงานแล้ว จะถูกขว้างด้วยก้อนหินจนเสียชีวิต หรือผู้ที่ทำผิดดังกล่าวอาจต้องโทษตามคำตัดสินของผู้พิพากษา โดยจำคุกไม่เกิน 40 เดือน

Tiada ulasan: