Rabu, 19 September 2007

ศาสนาพื้นเมืองหรือความเชื่อดั้งเดิมของชาวมลายูในภูมิภาคมลายู


โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซีน
ศาสนาพื้นเมืองหรือความเชื่อดั้งเดิมของชาวมลายูในภูมิภาคมลายูมีอยู่จำนวนหนึ่ง ก่อนที่ชาวมลายูในภูมิภาคมลายูจะนับถืศาสนาอิสลาม หรือส่วนหนึ่ง(ในอินโดเนเซีย)นับถือศาสนาคริสต์นั้น ชนชาวมลายูมีการนับถือความเชื่อดั้งเดิมของตนเอง และก่อนที่ศษสนาอิสลามจะเข้ามาในภูมิภาคมลายูนั้น ชนชาวมลายูก็ได้รับศาสนาฮินดู-พุทธอยู่ก่อนแล้ว ดังนั้นชนชาวมลายู(ในอินโดเนเซีย)บางส่วนจึงมีการผสมผสานความเชื่อดั้งเดิมกับศาสนาที่เข้ามาภายหลัง ศาสนาหรือความเชื่อที่ชนชาวมลายู (ซึ่งความหมายของชนชาวมลายูในที่นี้รวมถึงชนเผ่าชวา บูกิส มีนังกาเบา บาตัก ฯลฯ) มีดังต่อไปนี้

1.Kejawen เป็นภาษาชวา เป็นความเชื่อที่ชาวชวาส่วนหนึ่งนับถือมีลักษณะเป็นการผสมผสานระหว่างศาสนาฮินดู + ความเชื่อดั้งเดิม + ความเชื่อทางศาสนาอิสลาม หรือคริสต์ก็มีอิทธิพลอยู่ด้วย นักมานุษยวิทยาชาวสหรัฐที่ชื่อว่า Clifford Geertz ในหนังสือที่ชื่อว่า The Religion of Java เขาเรียกว่า ศาสนาชวา (Agami Jawi)

คนชวาที่ยึดถือความเชื่อดั้งเดิมนั้นมักไม่แยกเรื่องราวเกี่ยวกับตำนานกับพวกเขา คนชวามีการแบ่งตามสังคมดังนี้

Wong Cilik (คนเล็ก) หมายถึงชาวนาชาวไร่ที่มีรายได้ต่ำ

Kawan Priyayi หมายถึงกลุ่มข้าราชการและปัญญาชน

Kaum Ningrat หมายถึงกลุ่มชนชั้นสูงของสังคม

นอกจากนั้นคนชวา ยังแบ่งได้ตามความเชื่อได้เป็น 2 พวก คือ

1. Jawa Kejawen ซึ่งบางครั้งมีการเรียกว่า Abangan เป็นพวกที่ดำรงอยู่ด้วยวิถีชีวิตโดยยึดถือความเชื่อดั้งเดิมก่อนอิสลาม พวก Kaum Priyayi ที่มีความดั้งเดิมส่วนใหญ่จะเป็นพวกที่ถือเป็น Jawa Kejawen แม้ว่าพวกเขาโดยทางการแล้วจะยอมรับว่าตัวเองเป็นชาวมุสลิม

2. Santri เป็นกลุ่มที่มีจิตสำนึกในความเป็นมุสลิมและดำรงชีวิตอยู่ตามวิถีทางของอิสลาม

Kejawen คือแนวความคิดที่ผสมผสานระหว่างหลักการของศาสนาอิสลามกับแนวความเชื่อดั้งเดิมของคนชวา คนชวานั้นมีการเน้นด้านจิตวิญญาณ Niels Mulder ได้กล่าวว่าเป็นร่องรอยที่ยังเหลืออยู่ของความเชื่อทางศาสนาพุทธและฮินดูของคนชวา ส่วนใหญ่ของสังคมชวาเป็นสังคม Jawa Kejawen หรือ Islan Abangan พวกเขาไม่ปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลามตามที่ศาสนาได้บัญญัติ เช่น ไม่ละหมาดวันละ 5 เวลา ไม่ไปมัสยิด และไม่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอม การปฏิบัติของคนชวา Kejawen คือการถือศีลอด คนชวา Kejawen จะถือศีลอดในวันจันทร์,พฤหัส หรือถือศีลอดในวันเกิดคนชวา Kejawen ถือว่าการ bertapa เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในความหมายของ Bertapa ของคนชวา Kejawen นั้นมีลักษณะคล้ายกับการถือศีลอด (Berpuasa) การถือศีลอดของสังคมชวานั้นมีหลากหลายชนิดบางครั้งตรงกับหลักการของศาสนาอิสลาม แต่ก็มีอีกมากที่เป็นการถือศีลอดโดยยึดถือหลักการสอนของตนเอง เช่น

การ Bertapa / Berpuasaของสังคม Jawa Kejawen

Tapa Mutih (1) - กินเพียงข้าว 7 วัน ติดต่อกัน

Tapa Mutih (2) - ห้ามกินเกลือเป็นเวลา 3 วัน หรือ 7 วัน

Tapa ngrawat - กินเพียงพักเป็นเวลา 7 วัน 7 คืน

Tapa pati geni - ห้ามกินอาหารที่ทำให้สุกด้วยไฟเป็นเวลา 1 วัน 1 คืน

Tapa ngebleng - ไม่กินและไม่นอนเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน

Tapa ngrame - พร้อมที่เสียสละและเข้าช่วยเหลือใครในเวลาทันทีทันใด

Tapa ngoli - การลอยตัวในน้ำ

Tapa mendem - การซ่อนตัวต่อสาธารณะ

Tapa Kungkum - การดำน้ำ

Tapa nggntung - การแขวนตัวบนต้นไม้

ความแตกต่างระหว่างคนชวา Kejawen กับคนชวา Santri เช่นที่ประเทศสุรีนาม คนชวา Kejawen นั้นตอนอยู่ในชวาจะละหมาดทางทิศตะวันตก เมื่อไปถึงประเทศสุรีนามก็ยังละหมาดทางทิศตะวันตก ต่อมาเมื่อมีคนชวารุ่นที่สองเดินทางไปยังประเทศสุรีนาม พวกเขาจะละหมาดทางทิศตะวันออก ดังนั้นคนชวาในประเทศสุรีนามจึงมี 2 พวก คือ พวกที่ละหมาดทางทิศตะวันออก ดังนั้นคนชวาในประเทศสุรีนามจึงมี 2 พวก คือ พวกที่ละหมาดทางทิศตะวันตกจะมีความเชื่อเกี่ยวกับ Kejawen ส่วนพวกที่ละหมาดทางทิศตะวันออกจะมีความเชื่อทางศาสนาอิสลามสูงกว่าพวกแรด มีการนำหลักการอิสลามมาใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่ากลุ่มแรก

คนชวาจะยึดถือวันเกิดของผู้ชายและผู้หญิงว่าคนวันใดไม่เหมาะสมกับวันใดเช่น

ชาย หญิง

จันทร์ พุธ

อังคาร พฤหัสบดี

พุธ ศุกร์

พฤหัสบดี เสาร์

ศุกร์ อาทิตย์

เสาร์ จันทร์

อาทิตย์ อังคาร

2. ศาสนาอิสลามเวตูเตอลู (Agama Islam Wetu Telu)
เผ่าซาซัก (Suku Sasak)เป็นเผ่าที่อาศัยอยู่บนเกาะลอมบ๊อก (Pulau Lombok) มีประชากรประมาณ 3 ล้านคน และใช้ภาษาซาซัก ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และมีส่วนหนึ่งนับถือศาสนาอิสลามเวตูเตอลู (Agama Islam Wetu Telu) นอกจากนั้นมีชาวซาซักนับถือศาสนาดั้งเดิมก่อนศาสนาอิสลามเรียกว่า ศาสนาซาซักโบดา (sasak Boda) ศาสนาอิสลามเวตูเตอลู (wetu telu, waktu telu) มีหลักการคือ ละหมาด 3 เวลา คือ ซูบุห์, ซูฮูร์ และอิซาอฺ พบที่เกาะลอมบ๊อก บริเวณตำบลบายัน(Bayan) อำเภอลอมบ๊อกตะวันตก (Kabupaten Lombok Barat) จังหวัดนูซาเต็งการาบารัต (Nusa Tenggara Barat) สาเหตุ : ผู้เผยแพร่ศาสนาอิสลามสอนการละหมาดเพียง 3 เวลา ไม่ทันสอนให้ครบ 5 เวลาก็เดินทางนอกไปที่อื่นก่อน โดยสั่งให้ละหมาด 3 เวลาและไม่รับความเชื่ออื่นจนกว่าผู้เผยแพร่คนเดิมจะมาเผยแพร่สั่งสอนต่อ ปัจจุบันผู้นับถือศาสนานี้ลดน้อยลงมาก

เป็นศาสนาที่ประสมประสานระหว่าง ศาสนาอิสลาม, ความเชื่อดั้งเดิมและศาสนาฮินดูบาหลี มีหลักปฏิบัติเช่น - บูชาบรรพบุรุษ- ละหมาด 3 เวลา - ถือศีลอดในเดือนรอมฎอนเพียง 3 วัน- วันที่สำคัญที่สุดของWetu Telu คือวันเมาลิดูร์ราซูล (Maulidur Rasul)- สถานที่ประกอบศาสนกิจเรียกว่า masjid adat ใช้เพียงปีละ 3 ครั้ง คือ อัยดิลฟิตรี อัยดิลอัฎฮา และ เมาลิดูร์ราซูล-ไม่ประกอบการละหมาดที่มัสยิด เขาเชื่อการละหมาดที่มัสยิดโยผู้นำศาสนาที่เรียกว่า pemangku adat นับว่าเพียงพอแล้ว

กลุ่มความเชื่อนี้ยังมีพิธีกรรมอีกอย่างคือ ประกอบพิธี Nyiu คือครบรอบ 1000 วันการเสียชีวิตของญาติพี่น้อง มีการมอบ สิ่งของที่จำเป็นแก่ผู้ตาย เช่น เสื้อผ้า แปรงฟัน อาหาร ฟูก เพื่อให้วิญญาณอยู่ เสียชีวิตได้นำไปใช้ในสรรค์- พวกเขายังเรียกตนเองว่า เป็นชาวมุสลิม- ภูเขาไฟที่ชื่อว่า Gunung Rinjani ตั้งอยู่บนเกาะลอมบ๊อก ถือว่าเป็นที่สถิตของพระเจ้าและวิญญาณบรรพบุรุษ-โบสถ์ฮินดูที่ชื่อว่า Kuil Pura Lingsar กลางเกาะลอมบ๊อก เป็นที่ประกอบศาสนกิจของผู้นับถือ Wetu Telu - มี masjid adat ที่เก่าแก่ที่สุดที่ Bayan เป็นศูนย์กลางของผู้นับถือศาสนาอิสลามเวตูเตอลู

3. ศาสนากาฮารีงัน หรือ ฮินดูกาฮารีงัน (Kaharingan/Hindu Kaharingan)
เป็นศาสนาดั้งเดิมของเผ่าดายักในเกาะกาลีมันตัน kaharingan แปลว่า เกิดขึ้น, มีชีวิต เป็นศาสนาดั้งเดิมที่มีอยู่ในสังคมชนเผ่าดายักมานับตั้งแต่บรรพบุรุษ รัฐบาลอินโดเนเซียได้กำหนดให้ประชาชนยึดถือศาสนาที่รัฐบาลรับรองเท่านั้น ดังนั้นศาสนาของชนเผ่าดายักจึงถูกจัดอยู่ในกลุ่มศาสนาฮินดู แต่บางส่วนของพวกเขาไม่ยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาฮินดู พวกเขามีพิธีกรรมที่เรียกว่า Yadnya พิธีกรรมเพื่อพระผู้เป็นเจ้า มีองค์กรกลางชื่อ Majelis Besar Agama Hindu Kaharingan (MBAH) ตั้งอยู่ที่ Palangkaraya จังหวัดกาลีมันตันกลาง แต่ชนเผ่าดายักในรัฐซาราวัคของประเทศมาเลเซียที่นับถือศาสนากาฮารีงันจะไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาฮินดู

4.ศาสนาโตลโลตัง (Tollotang)
เป็นศาสนาหรือความเชื่อดั้งเดิมของชนเผ่าบูกิส โดยการผสมผสานระหว่างความเชื่อดั้งเดิมกับบางส่วนของศาสนาฮินดู ก็ถูกจัดเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาฮินดูด้วย

5.ศาสนาปาร์มาลิม (Parmalim) เป็นศาสนาหรือความเชื่อที่มีผู้นับถือในจังหวัดสุมาตราเหนือ เป็นความเชื่อดั้งเดิมของชนเผ่าบาตัก มีความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้า โดยเชื่อว่าผู้สร้างมนุษย์ ฟ้า ดิน และทุกสิ่งที่อยู่บนโลกนี้ คือ Tuhan Debata Mulajadi Nabolon ผู้นับถือศาสนานี้เรียกว่า Ummat Ugamo Malim หรือParmalim

Parmalim เป็นคำภาษาบาตัก โดย Par ในภาษาบาตักแปลว่า ผู้คนที่นับถือความเชื่อใดความเชื่อหนึ่ง ส่วนคำว่า Malim เป็นภาษาชายฝั่งทะเลเกาะสุมาตรา แปลว่า ผู้นับถือศาสนาอิสลาม เดิมเป็นความเชื่อทางจิต ในการต่อต้านการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ที่มีผลกระทบต่อความเชื่อดั้งเดิมของชนเผ่าบาตัก กลุ่มนี้ต่อมากลายเป็นขบวนการทางการเมือง เกิดขึ้นในปี 1883 เกิดขึ้นราว 7 ปีก่อนการสิ้นชีวิตของ Sisingamangaraja XII โดยการเผยแพร่ของ Guru Somalaing

6. ศาสนาชวา-ซุนดา (Agama Djawa Sunda) เป็นคำที่นักมานุษยวิทยาชาวฮอลันดาตั้งให้ มีผู้นับถือบริเวณตำบล Cigugur อำเภอ Kuningan จังหวัดชวาตะวันตก ศาสนานี้รู้จักอีกในนามของ Cara Karuhun Urang (tradisi nenek moyang) หรือ agama Sunda Wiwitan หรือ ajaran Madrais หรือ agama Cigugur. Abdul Rozak นักวิจัยเรื่องความเชื่อนี้กล่าวว่า Agama Djawa Sunda เป็นส่วนหนึ่งของศาสนา Buhun เชื่อในพระผู้เป็นเจ้า ผู้เผยแพร่คือ Pangeran Madrais และรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า Pangeran Sadewa Alibasa ส่วนใหญ่รู้จักในชื่อ Kiai Madrais เขาเรียนศษสนาอิสลาม ต่อมาเปิดปอเนาะ ภายหลังศึกษาความเชื่อั้งเดิมของชนเผ่าซุนดาก่อนที่มีการนับถือศาสนาอิสลาม มีการเชิดชูวิถีชีวิตแบบสังคมเกษตร วิถีชนเผ่าชวา-ซุนดา

อนาคตของความเชื่อนี้ ในยุคสมัยการปกครอง Orde Baru (ยุคซูฮาร์โต) ความเชื่อนี้ถูกกด มีการพยายามจะให้พวกเขานับถือศาสนาที่มีการยอมรับในรัฐธรรมนูญ ดังนั้นส่วนหนึ่งของผู้นับถือจึงเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามบ้าง คริสต์บ้าง Kiai Madrais สิ้นชีวิตในปี 1939 ต่อมาผู้นำคนถัดมาคือบุตรของเขาที่ชื่อ Pangeran Tedjabuana ผู้นำถัดมาเป็นหลานของผู้ก่อตั้งคือ Pangeran Djatikusuma ปัจจุบันเขามีการแต่งตั้งผู้ที่จะสืบทอดตำแหน่งผู้นำคือ Gumirat Barna Alam มีการสร้าง Paguyuban Adat Cara Karuhun Urang (PACKU)

7. ศาสนาซุนดาวีวีตัน Sunda Wiwitan เป็นความเชื่อดั้งเดิมของคนซุนดา ปัจจุบันมีการนับถือโดยเผ่าบาดุย (suku Baduy) ใน Banten มีการดำเนินวิถีชีวิตที่สมดุลระหว่างธรรมชาติกับพระผู้เป็นเจ้าที่เรียกว่า Gusti

8. ศาสนาบูฮุน (Agama Buhun) เป็นความเชื่อที่มาจากajaran-ajaran Mei Kartawinata มีผู้นับถือในจังหวัดชวาตะวันตก ในอินโดเนเซียมีผู้นับถือศาสนานี้ประมาณ 1 แสนคน มีประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ของผู้นับถือความเชื่อดั้งเดิม จากทั้งหมดแนวความเชื่อที่มีการจดทะเบียนกับทางรัฐบาลอินโดเนเซีย ผู้มีความเชื่อดั้งเดิมในประเทศอินโดเนเซียมีมากกว่า 4 แสนคน

Tiada ulasan: