Jumaat, 28 Mac 2025

เมื่ออัลกุรอ่านจากประเทศในอัฟริกา เดินทางมาสู่บ้านนูซันตารา


โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

ในเดือนถือศีลอดที่กำลังเริ่มต้น ผู้เขียนต้องเดินทางไปเป็นเพื่อนลูกชายที่กำลังจะสอบในสาขาวิชาการตลาด ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง และในช่วงที่สอบเสร็จก่อนกลับบ้านหนึ่ง ได้แวะไปยังชุมชนมุสลิมที่ปากลัด พระประแดง สมุทรปราการ โดยติดต่อประสานกับคุณสมเดช หรือคุณอับดุลกาเดร์ มัสแหละ และทางคุณอับดุลกาเดร์ มัสแหละ ได้เขียนลงเฟสบุ๊ค ซึ่งมีข้อความดังต่อนี้

ช่วงกำลังสับสนอลหมาน...กับอัลกุรอ่านเขียนด้วยมือ...

ช่วงที่ต้องย้ายที่อยู่แบบด่วนจี๋ไปอยู่ที่คลองสวน บอกตรงๆว่าเป็นเหตุการณ์ที่แทบตั้งตัวไม่ได้ เจอบททดสอบทั้งความเป็นอยู่ ทั้งเรื่อง "เฆบ" เรียกว่าเซแทบเอาไม่อยู่...ช่วงนั้นผมได้รับคำแนะนำชี้แนะ จากผู้รู้ให้อามัล โดยอ่านโองการอัลกุรอ่าน ซูเราะฮ์ที่ยาวไม่น้อย ต้องทำหลังละหมาดใดละหมาดหนึ่ง 41 วัน ผมจึงเลือกหลังละหมาดอีชาอฺ หากขาดวันใด จะต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่...โห้ งานหนักเลย ที่แรกก็ไม่คิดจะทำได้ แต่ด้วยชีวิตที่เจอมรสุมทุกอย่างแบบพร้อมๆกัน จึงตั้งเจตนาว่าต้องทำ...โดยเรื่มต้นวันที่ 1 ชะอฺบาน ตั้งใจให้จบในสิบวันแรกของรอมะฎอน...แต่เมื่อจะเข้ารอมะฎอน ได้รับโทรศัพท์จาก อ.ฆอซาลี ว่าอยากจะมอบอัลกุรอ่าน ที่เขียนด้วยมือเล่มหนึ่งให้ผม ...


ผมจำได้ว่า อัลกุรอ่านเล่มดังกล่าวมาถึงผมแบบเกินความคาดหมาย มาถึงภายในคืนเดี่ยว ถึงวันพฤหัสเย็น วันที่ 3 รอมะฎอน และจำได้ว่าช่วงตื่นกินข้าวซาโฮร์ ผมได้พบเจอเรื่องตื่นเต้น ต้องไปหาอ่านเอาเองนะครับ (อามัลอัลกุรอ่าน)...

ตอนที่ได้รับอัลกุรอ่าน ผมก็ยังสับสนกับคำพูดของ อ.ฆอซาลี ที่บอกว่าอยู่กับจูจะมีประโยชน์กว่า ผมนึกไม่ออกว่าจะมีประโยชน์อะไร จนมาถึงระยะหลังๆเริ่มจะเห็นภาพ ยิ่งช่วงที่  อาจารย์นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน ขึ้นมากรุงเทพฯ (ช่วงรอมะฎอนด้วย) ผมถือว่า อัลกุอ่านเล่มนี้ กำลังจะถูกไข คำว่าประโยชน์ออกแล้ว และผมได้ให้อัลกุรอ่านเล่มนี้ ให้ท่านนำไปศึกษาข้อมูลต่อไป แล้วค่อยเอามาคืน... อาจารย์นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน เล่าว่า จะถ่ายบางหน้าส่งไปทาง British Library London และ Manassa อินโดเนเซีย ซึ่งก็จะได้รายละเอียดมากขึ้น ที่นึกเรื่องแบบนี้ได้ ก็เพราะเดือนรอมะฎอนเป็นเดือนแห่งอัลกุรอ่าน และมันกำลังจะจากเราไปแล้ว...


และต่อมาทางผู้เชี่ยวชาญอัลกุรอ่านจากพิพิธภัณฑ์ Bayt Al Quran dan Museum Istiqlal จากประเทศอินโดเนเซีย ได้แจ้งว่าอัลกุรอ่านเล่มนี้มาจากอัฟริกา และบอกว่า น่าจะศตวรรษที่ 19 และส่งภาพบางหน้าไปให้ทาง British Library กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

คำตอบที่ได้รับจาก ดร. แอนนาเบล แกลล๊อป แห่ง British Library คือ เป็นอัลกุรอ่านจากประเทศในอัฟริกา ไม่แน่ใจว่าจะเป็นจากประเทศไนจีเรียหรือประเทศกานา แต่อยู่ในประเทศบริเวณนั้น ในบริเวณนั้นจะมีธรรมเนียมการเขียนอัลกุรอ่านที่จะไม่เย็บเล่ม แต่จะเก็บไว้ในกระเป๋าหนัง อายุของอัลกุรอ่าน น่าจะอยู่ช่วงศตวรรษที่ 18-19 สำหรับทาง ดร. อาลี อักบาร์ ซึ่งเป็นสมาชิกของ Manassa หรือสมาคมศึกษาเอกสารโบราณของอินโดเนเซีย แจ้งมาว่า น่าจะศตวรรษที่ 19 และคงมีการศึกษาต่อไป และดร. แอนนาเบล แกลล๊อป ได้ลิงค์บทความที่เขียนถึงอัลกุรอ่านที่สันนิฐานว่า มาจาภาคเหนือของไนจีเรีย

https://www.metmuseum.org/art/collection/search/823282

ประมวลภาพตอนที่เดินทางไปเยี่ยมศูนย์มุสลิม-มลายูชุมชนปากลัด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ















Tiada ulasan: