Jumaat, 28 Mac 2025

เมื่ออัลกุรอ่านจากประเทศในอัฟริกา เดินทางมาสู่บ้านนูซันตารา


โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

ในเดือนถือศีลอดที่กำลังเริ่มต้น ผู้เขียนต้องเดินทางไปเป็นเพื่อนลูกชายที่กำลังจะสอบในสาขาวิชาการตลาด ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง และในช่วงที่สอบเสร็จก่อนกลับบ้านหนึ่ง ได้แวะไปยังชุมชนมุสลิมที่ปากลัด พระประแดง สมุทรปราการ โดยติดต่อประสานกับคุณสมเดช หรือคุณอับดุลกาเดร์ มัสแหละ และทางคุณอับดุลกาเดร์ มัสแหละ ได้เขียนลงเฟสบุ๊ค ซึ่งมีข้อความดังต่อนี้

ช่วงกำลังสับสนอลหมาน...กับอัลกุรอ่านเขียนด้วยมือ...

ช่วงที่ต้องย้ายที่อยู่แบบด่วนจี๋ไปอยู่ที่คลองสวน บอกตรงๆว่าเป็นเหตุการณ์ที่แทบตั้งตัวไม่ได้ เจอบททดสอบทั้งความเป็นอยู่ ทั้งเรื่อง "เฆบ" เรียกว่าเซแทบเอาไม่อยู่...ช่วงนั้นผมได้รับคำแนะนำชี้แนะ จากผู้รู้ให้อามัล โดยอ่านโองการอัลกุรอ่าน ซูเราะฮ์ที่ยาวไม่น้อย ต้องทำหลังละหมาดใดละหมาดหนึ่ง 41 วัน ผมจึงเลือกหลังละหมาดอีชาอฺ หากขาดวันใด จะต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่...โห้ งานหนักเลย ที่แรกก็ไม่คิดจะทำได้ แต่ด้วยชีวิตที่เจอมรสุมทุกอย่างแบบพร้อมๆกัน จึงตั้งเจตนาว่าต้องทำ...โดยเรื่มต้นวันที่ 1 ชะอฺบาน ตั้งใจให้จบในสิบวันแรกของรอมะฎอน...แต่เมื่อจะเข้ารอมะฎอน ได้รับโทรศัพท์จาก อ.ฆอซาลี ว่าอยากจะมอบอัลกุรอ่าน ที่เขียนด้วยมือเล่มหนึ่งให้ผม ...


ผมจำได้ว่า อัลกุรอ่านเล่มดังกล่าวมาถึงผมแบบเกินความคาดหมาย มาถึงภายในคืนเดี่ยว ถึงวันพฤหัสเย็น วันที่ 3 รอมะฎอน และจำได้ว่าช่วงตื่นกินข้าวซาโฮร์ ผมได้พบเจอเรื่องตื่นเต้น ต้องไปหาอ่านเอาเองนะครับ (อามัลอัลกุรอ่าน)...

ตอนที่ได้รับอัลกุรอ่าน ผมก็ยังสับสนกับคำพูดของ อ.ฆอซาลี ที่บอกว่าอยู่กับจูจะมีประโยชน์กว่า ผมนึกไม่ออกว่าจะมีประโยชน์อะไร จนมาถึงระยะหลังๆเริ่มจะเห็นภาพ ยิ่งช่วงที่  อาจารย์นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน ขึ้นมากรุงเทพฯ (ช่วงรอมะฎอนด้วย) ผมถือว่า อัลกุอ่านเล่มนี้ กำลังจะถูกไข คำว่าประโยชน์ออกแล้ว และผมได้ให้อัลกุรอ่านเล่มนี้ ให้ท่านนำไปศึกษาข้อมูลต่อไป แล้วค่อยเอามาคืน... อาจารย์นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน เล่าว่า จะถ่ายบางหน้าส่งไปทาง British Library London และ Manassa อินโดเนเซีย ซึ่งก็จะได้รายละเอียดมากขึ้น ที่นึกเรื่องแบบนี้ได้ ก็เพราะเดือนรอมะฎอนเป็นเดือนแห่งอัลกุรอ่าน และมันกำลังจะจากเราไปแล้ว...


และต่อมาทางผู้เชี่ยวชาญอัลกุรอ่านจากพิพิธภัณฑ์ Bayt Al Quran dan Museum Istiqlal จากประเทศอินโดเนเซีย ได้แจ้งว่าอัลกุรอ่านเล่มนี้มาจากอัฟริกา และบอกว่า น่าจะศตวรรษที่ 19 และส่งภาพบางหน้าไปให้ทาง British Library กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

คำตอบที่ได้รับจาก ดร. แอนนาเบล แกลล๊อป แห่ง British Library คือ เป็นอัลกุรอ่านจากประเทศในอัฟริกา ไม่แน่ใจว่าจะเป็นจากประเทศไนจีเรียหรือประเทศกานา แต่อยู่ในประเทศบริเวณนั้น ในบริเวณนั้นจะมีธรรมเนียมการเขียนอัลกุรอ่านที่จะไม่เย็บเล่ม แต่จะเก็บไว้ในกระเป๋าหนัง อายุของอัลกุรอ่าน น่าจะอยู่ช่วงศตวรรษที่ 18-19 สำหรับทาง ดร. อาลี อักบาร์ ซึ่งเป็นสมาชิกของ Manassa หรือสมาคมศึกษาเอกสารโบราณของอินโดเนเซีย แจ้งมาว่า น่าจะศตวรรษที่ 19 และคงมีการศึกษาต่อไป และดร. แอนนาเบล แกลล๊อป ได้ลิงค์บทความที่เขียนถึงอัลกุรอ่านที่สันนิฐานว่า มาจาภาคเหนือของไนจีเรีย

https://www.metmuseum.org/art/collection/search/823282

ประมวลภาพตอนที่เดินทางไปเยี่ยมศูนย์มุสลิม-มลายูชุมชนปากลัด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ















Rabu, 19 Mac 2025

มาเยือนถิ่นเก่าเก่ารามคำแหง

โดยนิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

ช่วงนี้เป็นช่วงสอบของนักศึกษารามคำแหง เลยถูกครอบครัวให้มาเป็นเพื่อนลูกชายที่เพิ่งสมัครเรียนเทอม 2 ของสาขาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง แม้จะเคยมาตอนเด็กๆ แต่พอโตมาเรียกได้มาไม่เคยมาเลย จึงต้องมาเป็นเพื่อน หลังจากที่เรียนมาในสาขาเดียวกันที่มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ หรือ มนร. ทางครอบครังเห็นว่า ต้องสร้างเด็กให้แกร่งขึ้นมากกว่าที่จะเรียนอยู่ในพื้นที่ จึงตกลงให้มาสมัครเรียนที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง แต่ให้กลับมาอ่านหนังสืออยู่ที่บ้านนราธิวาส ช่วยดูแลผู้เขียนด้วยผู้เขียนมีปัญหาสุขภาพ จากเป็นโรคเส้นสมองตีบ เมื่อการสอบเทอม 2 นี้เป็นครั้งแรกที่ลูกชายต้องมาสอบ ทางครอบครัวจึงให้ผู้เขียนมาเป็นเพื่อน การมาสัมผัสรามคำแหงของผู้เขียนครั้งนี้ ทำให้นึกถึงอดีตของผู้เขียนในรั้วมหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลับรามคำแหงไม่ใช่มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ และในประเทศไทย แต่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้ให้ประสบการณ์ชีวิต โดยเฉพาะประสบการณ์จากกิจกรรมนักศึกษา ประสบการณ์การสร้างเครือข่าย ซึ่งเครือข่ายเหล่านั้นนับตั้งแต่ในสมัยมหาวิทยาลัยยังคงใช้ได้จนถึงปัจจุบัน  และสองสามปีสุดท้ายก่อนจบ ผู้เขียนก็ได้พักที่บ้านของคุณพิศูจน์ หะยีดิน นักการทูตจากกระทรวงต่างประเทศที่ชำนาญด้านตะวันออกกลาง ด้วยจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอเมริกันแห่งไคโร ประเทศอิยิปต์ ท่านเป็นลูกศิษย์ของนายโคฟี อานัน เลขาธิการสหประชาชาติ  คุณพิศูจน์ หะยีดิน เคยเป็นกงสุลใหญ่ของไทย ประจำเมืองนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา เคยเป็นกงสุลใหญ่ของไทย ประจำเมืองเจดดะห์ ซาอุดีอาราเบีย เคยเป็นอุปทูตไทยประจำประเทศโอมาน และตำแหน่งสุดท้ายเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีต่างประเทศในสมัย ดร. อาทิตย์ อุไรรัตน์ เป็น รัฐมนตรีต่างประเทศ ด้วยได้อาศัยคุณพิศูจน์ หะยีดิน ทำให้ได้รับอิทธิพลโดยไม่รู้ตัว ได้เรื่องรู้เรื่องการต่างประทศทั้งจากหนังสือ จากพูดคุย และได้พบปะเพื่อนนักศึกษาจากต่างประเทศ ทำให้ในการทำกิจกรรมนักศึกษา จะทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบด้านต่างประเทศไปด้วย


มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นเป้าหมายเดียวของพวกเราที่มาจากสามจังหวัดชายแดนใต้ ในฐานะที่จะเป็นบ้านของพวกเราทั้งที่สอบเอนทรานส์เข้ามหาวิทยาลัยรัฐไม่ติดและไม่ได้สอบเอนทรานส์ สำหรับผู้เขียนอยู่ในประเภทหลังคือไม่ได้สอบเอนทรานส์  ด้วยคิดว่าถึงจะสอบเอนทรานส์  ก็คงสอบเอนทรานส์  เข้ามหาวิทยาลัยใดๆไม่ได้  ทั้งที่คุณพ่อมักพูดเสมอถึงท่านปรีดี พรหมยงค์  ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง หรือในปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงจะเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่ได้ แต่มักเข้าร่วมงานในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เสมอ จากงานเสวนา ร่วมทั้งงานของสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์นักศึกษาเอเชีย หรือ Asian Student Association (ASA) และในเวลาต่อมา ลูกสาวก็สามารถเข้าศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนจบออกมาเป็นนักโปรแกรมเมอร์ของบริษัทแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ถึงตัวเองจะไม่ได้เข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็มีคนในครอบครัวเข้าเรียนแล้ว

ครั้งแรกที่รู้จักชื่อมหาวิทยาลัยรามคำแหง ในสมัยผู้เขียนเรียนมัธยมปลายที่กรุงเทพฯ ได้เดินทางไปดูมหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งมีเพื่อนรุ่นพี่ นายซอลและห์ ชาวอำเภอเดียวกันกับผู้เขียนเรียนอยู่ ในสมัยที่ถนนหน้ามหาวิทยาลัยยังเป็นดินแดง อยู่ระหว่างสร้างถนนลาดยาง และเมื่อผู้เขียนเข้าเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ผู้เขียนได้รู้จักสองนักกิจกรรมนักศึกษาที่มาจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ คุณมันโซร์  สาและ ซึ่งเป็นคนอำเภอเดียวกันกับผู้เขียน และอีกคนคือ คุณณรงค์  ดูดิง เป็นชาวจังหวัดยะลา เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา พรรคประชาธิปัตย์


ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง ผู้เขียนค่อนข้างจะสนใจกิจกรรม จนเรียกว่าเป็นนักกิจกรรม บ้ากิจกรรมจนเสพติดขึ้นสมอง ทุกวันจะต้องมาที่ตึกกิจกรรมนักศึกษา ตึกที่นักศึกษาเรียกว่าตึกแสง เพื่อรำลึกถึงนายแสง รุ่งนิรันดรกุล นักศึกษารามคำแหงที่เป็น 1 ใน 9 นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงที่ถูกลบชื่อ นักเขียนหนังสือการเมือง ภายหลังถูกฆ่าเสียชีวิต ชื่อนี้ไม่ใช้ชื่อที่เป็นทางการของตึกกิจกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัย พอเปลี่ยนยุคสมัย คำว่า ตึกแสงก็คงจะไม่มี เสียดายไม่ได้ถามนักศึกษา ผู้เขียนต้องตกใจ ประหลาดใจเมื่อเดินไปตามชมรมต่างๆบนชั้นสาม ชั้นสี่ แทบจะร้าง ไม่มีนักศึกษามาทำกิจกรรม กะจะให้ลูกชายสมัครเป็นสมาชิกชมรมการตลาด สอบถามนักศึกษาได้ความว่า ตั้งแต่หลังโควิด 19 นักศึกษามาทำกิจกรรมน้อยลง เดินแวะเข้าชมรมนักศึกษามุสลิมรามคำแหง ก็นั่งคุยกับน้องๆ น่าจะเรียกรุ่นลูกๆมากกว่า ก็ได้ความว่า โครงการของชมรมมุสลิมมีลดลง ถามว่า มีโครงการพิมพ์หนังสือศาสนาไหม เพราะในสมัยก่อนจะมีการพิมพ์หนังสือศาสนาเพื่อแจกจ่าย นอกจากเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ศาสนาแล้ว ยังสร้างชื่อให้ชมรมมุสลิมอีกด้วย บอกน้องนักศึกษาว่า ผู้เขียนเคยรับตำแหน่งเป็นกรรมการกลางชมรมมุสลิม ซึ่งตำแหน่งนี้มี 3 คน ทำหน้าที่รับผิดชอบกิจกรรมฝ่ายวิชาการ กรรมการกลางชมรมมุสลิมรุ่นเดียวกันกับผู้เขียน มีนายนกเอี้ยง หรือ นายมูฮัมหมัด ส่าเหล็ม นักเขียนบทกวีชื่อดัง นายฮารุน ยีหมัด นักวิชาการมุสลิมชื่อดัง มีกรรมการที่พอจำเ เช่น นายสมาน งามโขนง นักจัดรายการวิทยุมุสลิมชื่อดัง ข้อดีของชมรมนักศึกษามุสลิม จะเป็นที่หลอมรวมของนักศึกษามุสลิมจากกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งมาจากจังหวัดต่างๆ ข้อดีของการร่วมกิจกรรมกับชมรมนักศึกษามุสลิม ทำให้มีเพื่อนมุสลิมจากสถานที่ต่างๆ ไม่จำกัดอยู่เพียงสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ผู้เขียนมีถิ่นฐานกำเนิด ซึ่งสิ่งนี้มีส่วนทำให้ลดดีกรีความเป็นภูมิภาคนิยม 


เมื่อผู้เขียนลงมาจากชมรมนักศึกษามุสลิม ชั้นสามตึกกิจกรรมนักศึกษา มายังชั้นสอง เจอป้ายทำเนียบรายชื่อประธานสภานักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง อ่านชื่อก็รู้จักหลายคน เช่น นายแวมาหะมะ จินาแว ชาวอำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส อดีตสมาชิกสภาจังหวัดนราธิวาส เขตอำเภอยี่งอ ผู้เขียนเคยเป็นสมาชิกสภานักศึกษา พรรคนักศึกษา 7 คณะ ปัจจุบันพรรคนักศึกษานี้น่าจะสลายไปแล้ว ซึ่งเป็นพรรคนักศึกษาที่ชนะเลือกตั้งมาหลายสมัย นอกจากเป็นสมาชิกสภานักศึกษาแล้ว ยังมาทำรับตำแหน่งเป็นฝ่ายวิชาการของสภานักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง การที่ต้องมารับตำแหน่งฝ่ายวิชาการ ทำให้ผู้เขียนต้องตัดหนังสือพิมพ์ หรือที่เรียกว่า clipping เกือบจะทุกวัน ตัดข่าวต่างๆ บทความสำคัญ ทำมาเป็นเวลานาน จนทำให้การตัดหนังสือติดจนเป็นนิสัยถึงปัจจุบัน เจอข่าว เจอบทความดีๆ เป็นต้องตัดเป็น clipping  ด้วยสมาชิกสภานักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง(สมร.) กับองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง (อศ.มร.) มาจากพรรคเดียวกัน ทำให้มีเพื่อนที่สนิทจนถึงปัจจุบันหลายคน หลายคนก็ห่างเหินไม่พบกันเคย แต่ก็ติดตามข่าวคราวเสมอ เช่น สายองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง (อศ.มร.)  มีนายเทพไท เสนพงศ์ นักการเมืองอดีต ส.ส. นครศรีธรรมราช เจ้าของสายล่อฟ้า นายสุพจ จริงจิต รองนายก อศ.มร. เคยเป็นนักข่าวเครือผู้จัดการของคุณสุทธิ ลิ้มทองกุล อีกคนคือนายบุญเลิศ กิตติธรกุล  อดีตนายก อศ.มร. ปัจจุบันผู้บริหารโรงแรมหนึ่ง น่าจะของครอบครัวบนเกาะพีพี จังหวัดกระบี่ นายสมเสือ  สุวรรณนิมิตร ผู้มาในโควต้าสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รับหน้าที่เป็นฝ่ายสวัดิการ เมื่อมหาวิทยาลัยมีการแจกจ่ายโต๊ะให้นักศึกษา นายสมเสือ  สุวรรณนิมิตรรก็รับผิดชอบแจกโต๊ะ โต๊ะส่วนหนึ่งก็แจกให้นักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้  ส่วนสายสภานักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง(สมร.)  มีนายละม้าย แสนขวัญแก้ว อดีตประธานสภานักศึกษา เคยเป็นอดีตสมาชิกสภาจังหวัด หรือ สจ. เขตอำเภอหัวไทร นครศรีธรรมราช และอดีตรองนายก อบจ. นครศรีธรรมราช  นายประจักษ์  มะวงศ์สา อดีตรองประธานสภา เป็นอดีตบรรณาธิการนิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์ ซึ่งผู้เขียนเคยเป็นคอลัมนิสต์อิสระให้ โดยเขียนข่าวต่างประเทศ  นายสมชาย เมฆาอภิรักษ์ อดีตรองนายกเทศมนตรีนครสงขลา ที่จำอีกคนที่เป็นอดีตสมาชิกสถานักศึกษา นักพูดคนหนึ่ง คือ นายคราศรี  ปัจจุบันเป็นทนายความแห่งจังหวัดสุรินทร์ 


สิ่งหนึ่งที่นายสมเสือ  สุวรรณนิมิตร ฝ่ายสวัสดิการ อศ.มร. ยังจำจนถึงปัจจุบัน คือ ในสมัยที่นายเบนิกโน อากีโน จูเนียร์ (ค.ศ. 1932—1983) หรือ นินอย อากีโน อดีตวุฒิสมาชิก ผู้นำฝ่ายค้านของฟิลิปปินส์ ผู้เป็นสามีของนางคอราซอน อากี อดีตประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ถูกลอบสังหารที่สนามบินในปี ค.ศ. 1983 ผู้เขียนได้ร่วมกันร่างโทรเลขประณามการสังหารดังกล่าว โดยฉบับหนึ่งส่งถึงประธานาธิบดีฟอร์ดินัน มาร์คอส และอีกฉบับหนึ่งส่งถึงนายพล ฟาเบียน แวร์ (Fabian Crisologo Ver) ผู้นำการทหารของฟิลิปปินส์ โดยผู้เขียนน่าจะกับนายสมเสือ  สุวรรณนิมิตร ได้ไปส่งโทรเลขที่ไปรษณีย์รามคำแหง ผู้เขียนได้เก็บรักษาใบส่งโทรเลขข้างต้น พร้อมตัดเก็บข่าวที่ออกในข่าวรามคำแหงเป็นเวลาหลายสิบปีจนปัจจุบันไม่รู้หายไปไหน เป็นการส่งโทรเลขประนามประธานาธิบดีฟอร์ดินัน มาร์คอสในนามขององค์การนักศึกษา (อศ.มร.) และสภานักศึกษา (สมร.) รู้ว่าส่งโทรเลขไปแล้ว ไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่เป็นการแสดงออกทางสัญลักษณ์


การร่วมกิจกรรมกับองค์การนักศึกษา (อศ.มร.) และสภานักศึกษา (สมร.) ทำให้ได้รับประสบการณ์มากมาย และสามารถนำประสบการณ์และประยุคใช้ในอนาคต ซึ่งเมื่อผู้เขียนมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผู้เขียนก็นำประสบการณ์เหล่านั้นมาเป็นประโยชน์ ในครั้งหนึ่งคณะกรรมการสภานักศึกษาได้มีการประชุม แนะว่าจะมีรุ่นพี่มาเป็นที่ปรึกษาสภานักศึกษา (สมร.) เป็นสองนักศึกษารามคำแหงที่เพิ่งออกจากป่า ภายหลังจากป่าแตก คนแรกคือ คุณสมคาด สืบตะกูล ส่วนคนที่สองคือ คุณพินิจ จารุสมบัติ สำหรับคุณพินิจ จารุสมบัติ เข้าทำงานช่วยคุณบุญชู โรจนเสถียร อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หลายสมัย เคยดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ ได้รับการยกย่องให้เป็น "ซาร์เศรษฐกิจ" มีใครคนหนึ่ง หรือผู้เขียนเองก็ไม่แน่ใจ ถามตรงไปว่า พี่ครับ ทำไมพี่ทำงานกับนายทุน คำตอบที่ได้รับคือ ยังก้องอยู่ในหูผู้เขียนจนถึงปัจจุบัน คำตอบทำนอง นายบุญชู โรจนเสถียร เป็นนายทุนที่จะช่วยคนจน ภายหลังคุณพินิจ จารุสมบัติ เคยเป็นอดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (สุจินดา คราประยูร) อดีตหัวหน้าพรรคเสรีธรรม ปัจจุบันเป็นแกนนำกลุ่มวังพญานาค พรรคชาติพัฒนา  ส่วนคุณสมคาด  สืบตระกูล ภายหลังเคยเป็นอดีตเลขานุการผู้ว่าฯ กทม. ยุคนายพิจิตต รัตตกุล เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และเขายังเคยเป็นส.ว. อีกด้วย 


สำหรับกิจกรรมนักศึกษาในช่วงท้ายๆ เมื่อนักกิจกรรมนักศึกษาจากทั้งองค์การนักศึกษา (อศ.มร.) และสภานักศึกษา (สมร.) จะใกล้หมดวาระ พวกเราก็เอาโต๊ะที่ได้รับแจกจากนายสมเสือ สุวรรณนิมิตร มาตั้งเป็นโต๊ะซุ้มตัวเอง ในที่ประชุมก็มติใช้ชื่อว่า องค์การนักศึกษาเสรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง และผู้เขียนเสนอใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Ramkhamhaeng University Free Student Union และที่โต๊ะเสนอสลักชื่อว่า Old Activist เพื่อแสดงว่า พวกเราเป็นนักกิจกรรมเก่าที่มาจากองค์การนักศึกษา (อศ.มร.) และสภานักศึกษา (สมร.) เมื่อเวลาแต่ละคนแยกย้ายกันจบ ก็คิดว่า โต๊ะที่สลักคำว่า Old Activist ถ้ายังอยู่ที่เดิม ต่อไปไม่รู้ว่าใครต่อใครจะเป็นเจ้าของ จึงนำมาไว้ที่โต๊ะซุ้มของกลุ่ม PNY เพราะต่อไปก็จะเป็นของกลุ่ม PNY ตลอดไป โต๊ะนี้อยู่กับกลุ่ม PNY เป็นสิบๆปี เพิ่งจะเมื่อไม่นานมานี้ ที่มหาวิทยาลัยได้มีการปรับปรุง จัดทำโต๊ะถาวรแบบไม่สามารถยกไปไหนได้ ส่วนโต๊ะที่สลักคำว่า Old Activist ก็ได้โละทิ้ง เสียดายถ้ารู้ว่าถูกทิ้งไว้มุมไหน หรือเอาไปขายแล้ว ไม่งั้นจะยอมเสียค่าขนส่งขนกลับมายังจังหวัดนราธิวาส เก็บไว้เป็นที่ระลึก

ในสมัยทำกิจกรรมกับองค์การนักศึกษา (อศ.มร.) และสภานักศึกษา (สมร.) ได้มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกับองค์การนักศึกษา 17 สถาบัน ต่อมาเปลี่ยนเป็นสหพันธ์นักศึกษาแห่งประเทศไทย หรือ Students Union of Thailand และได้มีโอกาสเข้าร่วมงานสมัชชาใหญ่ครั้งที่ 4 ของ Asian Students Association ซึ่งเป็นองค์กรร่วมขององค์กรนักศึกษาจากประเทศต่างๆในเอเชีย มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ ฮ่องกง และในการพูดคุยวงในของกลุ่มนักศึกษาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบบวงใหญ่ไม่ทราบ เสนอให้มีการวมตัวให้แน่นแฟ้นมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ โดยตัวแทนจากมหาวิทยาลัยมาลายา นายอิสมาแอล ซับรี ยะกุ๊บ เสนอให้มีการจัดตั้งองค์การนักศึกษามลายูจากประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในภายหลังนายอิสมาแอล ซับรี ยะกุ๊บ ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 9 ของประเทศมาเลเซีย ส่วนมหาวิทยาลัยมาลายาที่เขาศึกษา ในภายหลังผู้เขียนก็กลายเป็นศิษย์เก่าคนหนึ่ง และใช้เครือข่ายศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมาลายาในการทำกิจกรรมช่วงที่สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี


หลังจากเดินสัมผัสตึกกิจกรรมแล้ว ก็ลงไปสัมผัสกลุ่มนักศึกษาชาวจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือที่เรียกว่า กลุ่ม PNY ได้พบคุยกับรุ่นน้อง รุ่นลูก มีนักศึกษาหญิงคนหนึ่งครั้งก่อนถามผู้เขียนว่า ในสมัยที่เรียนเคยรับผิดชอบตำแหน่งอะไรบ้างในกลุ่ม PNY เออ... ผู้เขียน หัวเราะในใจ แล้วตอบว่า ไม่เคย ไม่มีจริงๆด้วย เพราะครั้งที่นายมะ จินาแว เป็นประธานกลุ่ม PNY ในการพูดคุยวงในครั้งนั้นเมื่อนายมะ จินาแว ชนะเลือกตั้ง มีการเสนอชื่อคนที่จะมาเป็นกรรมการกลุ่ม PNY จำได้ว่า ผู้เขียนจะเป็นคนที่เสนอใครต่อใครหลายคนมาเป็นกรรมการกลุ่ม PNY มากกว่าที่จะเสนอตัวเอง และปฎิเสธเมื่อถูกเพื่อนเสนอชื่อให้เข้าร่วมเป็นกรรมการกลุ่ม PNY จนมีเรื่องตลกเมื่อใครคนหนึ่งในกลุ่ม PNY บอกว่า ผู้เขียนอกหักที่ไม่ได้รับเลือกเป็นกรรมการกลุ่ม PNY การเลือกประธานกลุ่ม PNY ยุคนั้น ถือว่าดุเดือดมาก เมื่อกลุ่ม PNY แตกออกเป็น 2 ขั้วใหญ่ ส่งผู้สมัครลงชิงเป็นประธานกลุ่ม PNY คือ กลุ่มหนึ่งส่งในนามพรรคมาตุภูมิ หรือ Parti Pusaka ส่วนผู้เขียนกับนายมะ จินาแว ก็ตั้งทีมขึ้นมาใช้ชื่อว่า แนวร่วมนักศึกษาชายแดนภาคใต้ ในขณะที่จะเริ่มเป็นรูปเป็นร่างการเลือกตั้งมากขึ้น นายเสรี นักศึกษาจากตำบลบูกิ๊ต ขณะนั้นยังอยู่ในอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ก็ติดป้ายกระดาษที่โต๊ะกลุ่ม PNY ว่ากลุ่มของเขาก็พร้อมลงเลือกตั้งเป็นประธานกลุ่ม PNY ในนามกลุ่มกิบลัต ผู้เขียนเห็นช่องทางที่ดี จึงเสนอทั้งแนวร่วมนักศึกษาชายแดนภาคใต้และกลุ่มกิบลัต มารวมกันเป็นแนวร่วมกิบลัต นับแต่นั้นทางกลุ่มมาตุภูมิกับกลุ่มแนวร่วมกิบลัตก็หาเสียงกันอย่างดุเดือด ในขณะใกล้หมดเวลาปิดการลงคะแนน ทางนายสมเสือ สุวรรณนิมิตรวิ่งมาบอกว่า เขาลงคะแนนผิด โดยลงคะแนนให้อีกกลุ่ม จึงบอกให้นายสมเสือ สุวรรณนิมิตรไปหานักศึกษาจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มา ถ้าลงคะแนนผิด 1 คะแนน ก็ให้ไปหานักศึกษามาลงคะแนน  2 คน เพื่อเสียง 1 คะแนนจะไปลบที่ลงคะแนนผิด และอีก 1 คะแนนจะได้มาเพิ่มให้แก่คะแนนแก่กลุ่มแนวร่วมกิบลัต ซึ่งก็ได้ผลเมื่อนายมะ จินาแว ชนะเลือกตั้งเป็นประธานกลุ่ม PNY ด้วยคะแนน 141 คะแนน ต่อ 140 คะแนน และภายหลังนายมะ จินาแว เคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัดนราธิวาส เขตอำเภอยี่งอ กิจกรรมนักศึกษาของกลุ่ม PNY ก็จะเป็นแนวเน้นการเมือง มีลักษณะภูมิภาคนิยม ส่วนในปัจจุบัน ไม่ทราบเพราะไม่ได้พูดคุย แต่เชื่อว่า สิ่งที่ผู้เขียนและเพื่อนทำในสมัย 40 ปี มันช่างไกลมาก ไม่อาจเทียบกับความคิดของนักศึกษาจากจังวัดชายแดนภาคใต้ในยุคปัจจุบัน หนึ่งในนั้นคือเมื่อช่วงสำเร็จการศึกษาสักปีสองปี ผู้เขียน นายอุเซ็ง มาหะมะ (ฮุสเซ็น บ้านทอน) และนายกอเซ็ม บูเกะบากง ได้ร่วมเดินทางไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ด้วยได้รู้จักเลขานุการของนายดาโต๊ะสรีมูฮัมหมัดนายิบ  ตุนอับดุลราซัค ขณะนั้นเป็นรัฐมนตรีเยาวชนและการกีฬาของประเทศมาเลเซีย ภายหลังเป็นนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย จากการพูดคุยที่กระทรวงเยาวชนและการกีฬามาเลเซีย พวกเราจะขอนำเยาวชนจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปฝึกงานระยะสั้นในโรงงานของประเทศมาเลเซีย โดยความช่วยเหลือของกระทรวงเยาวชนและการกีฬามาเลเซีย เช่นโรงงานผลิตซ๊อสมะเขือเทศ และอื่นๆ หลังจากเยาวชนเหล่านั้นกลับมายังสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แล้วส่งเสริมชาวบ้านให้ปลูกพืขการเกษตรป้อนโรงงานที่เคยไปฝึกงาน ความคิดดีมาก และดีมากสำหรับคนจบการศึกษาใหม่ๆ แต่มันเด็กเกินไปที่จะทำโครงการดังกล่าว จึงเป็นท่าดีที่เลว ไม่เหมาะสำหรับเด็กน้อย ไร้เดียงสาอย่างพวกเรา แม้จะไม่สำเร็จ แต่ได้แสดงให้เห็นถึงความคิดก้าวไกลของเด็กเพิ่งจบการศึกษา เมื่อ 40 ปีที่แล้ว ซึ่งในปัจจุบันไม่ทราบ เพราะไม่เคยคุยเรื่องการทำงานใดๆในอนาคตของพวกเขา  สิ่งที่เขียนมาเป็นเกล็ดเล็กๆ ประสบการณ์ท่ได้รับจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง


Ahad, 16 Mac 2025

Sifat Kritis Dalam Tradisi Pemikiran Islam - Dr. Azhar Ibrahim Alawee NUS

Oleh Nik Abdul Rakib Bin Nik Hassan

Kali ini di dalam bulan Randhan, saya ketengahkan artikel berfokus kepada islami dengan Tajuk Sifat Kritis Dalam Tradisi Pemikiran Islam. Sebuah tulisan Dr. Azhar Ibrahim Alawee dari National University of Singapore. Isi tulisannya ada seperti berikut:-


Tradisi humanistik (bersifat kemanusiaan) mempunyai kehadiran yang kuat dalam tradisi pemikiran Islam klasik, baik dalam ranah teologi, falsafah, etika, hukum dan sastera (adab).


Sebagai suatu gaya pemikiran, humanisme kritis memberi penekanan kepada kesedaran manusia akan kehidupannya, bertanggungjawab dan berperanan dalam kehidupannya, dengan mengenal pasti akan kekuatan dan kelemahan masing-masing.


Dimensi sosial Islam menjadi bahagian terpenting dalam idealisme humanistik, yakni manusia itu sayugia dipupuk sempurna melalui pendidikan, dengan akur akan kedudukan akal yang tinggi, dengan memikul tanggungjawab etika, selain mengangkat kebebasan dan ketinggian kerohanian.


Menyelusuri sejarah pemikiran Islam, kita akan menemui pelbagai perspektif tentang pendidikan. Suatu aspek pemikiran yang akan kita ketemui ialah gaya pemikiran yang humanistik dalam aliran pemikiran Islam yang mana idea dan perspektif mereka tentang pendidikan dapat kita jejaki juga. Humanisme kritis pernah berdenyut dalam tradisi Islam dan itulah yang wajar kita gali dan bangunkan kembali.


Tarif Khalidi mentakrif humanisme sebagai “suatu sistem untuk mengkaji alam dan masyarakat yang… keluar dari pengkhususan yang sempit dan mendekati pendekatan yang diskusif dan berbilang dimensi, sanggup menyelidik segala fenomena alam dan sosial dalam semangat yang toleran dan skeptis".

Tarif Khalidi seorang ahli sejarah Palestin yang kini memegang Kerusi Shaykh Zayid dalam Pengajian Islam dan Arab di Universiti Amerika Beirut di Lubnan

Alija Izetvigobic, seorang pemimpin Muslim dari Bosnia mentakrifkan humanisme sebagai “asas afirmasi manusia dan kebebasannya, yakni nilainya sebagai manusia.”


Pastinya dalam masyarakat Islam, humanisme atau sifat berperikemanusiaan difahami sebagai humanisme agama dengan afirmasi Tauhid menjadi terasnya.


Humanisme kritis dalam tradisi Islam menyuguhkan agama sebagai pusat dalam pencerahan manusia dan masyarakat. Dalam rangka falsafah kritis, kewujudan manusia itu adalah pencapaian sa’adah (kebahagiaan) yang memiliki nuansa pembebasan, melawan kesengsaraan manusia dan melawan apa jua bentuk fikiran yang membungkam kebebasan manusia berfikir dan nuraninya. Keadaan ini boleh tercapai melalui pendidikan adab dan pelatihannya, serta pendedahan kepada hikmah dan falsafah. Malah era yang disebut sebagai zaman Islam klasik di mana beberapa sarjana telah menyebutnya sebagai periode reinasans (tempoh kelahiran semula) Islam, dan di situlah tradisi humanisme Islam dalam manifestasinya yang terbaik terungkap.


Bagi Al-Jahiz, tokoh humanis Islam zaman klasik yang terbilang beranggapan bahawa segalanya itu yang diturunkan kepada kita sebagai warisan (turath) adalah bagi kita yang terkemudian hari untuk memeriksa, menghargai dan memilihnya. Para humanis dalam Islam klasik melihat ilmu pengetahuan, sains dan hikmah yang mereka warisi dari umat yang terdahulu seperti Yunani, Parsi, dan India, sebagai satu tanggungjawab Muslim untuk membangunkan lagi dan menghargainya.


Hari ini, idealisme humanistik berdenyut dan terlafaz dalam kalangan Muslim reformis yang mengajukan rekonstruksi (pembangunan semula) masyarakat Islam lewat ijtihad dalam pemikiran keagamaan dan rombakan idea pendidikan.


Jelas sekali, tradisi humanistik bukan sahaja menyuguhkan cita-cita muluk untuk manusia sejagat tetapi juga ia harus ada kemahuan untuk mengadun semangat kreatif dengan pemikiran kritis demi menyempurnakan tugas transformatif sebagai khalifah di bumi ini.

            Setem Syria dengan wajah Al-Jahiz, dikeluarkan pada 1968.

Pengiktirafan Akal Manusia

Menarik diperhatikan tradisi rasionalistik (fikiran yang berasaskan logik) dalam Islam itu boleh dianggap sebagai gerbang utama untuk pemikiran humanistik terbangun dalam peradaban Islam. Dalam tradisi falsafah Islam, keunggulan akal ditekankan sambil menepis kegerunan ortodoks tentang bahaya dan kekurangan akal pada manusia.


Diperingatkan oleh Hayyan at-Tauhidi bahawa: “Segala tumpuan ilmu ataupun kesalihan tidak akan cukup untuk membentuk watak yang baik dan soleh, melainkan dengan iradat akal". Ibn Hazm dalam bukunya al-Muhalla berpendapat:


“Seorang mujtahid itu yang berijtihad tetapi terbabas lebih baik dari seorang yang mengikuti secara taqlid walaupun taqlid itu benar.”


Menuntut ilmu dan menguasainya hanya akan bermakna sekiranya ia ada matlamat untuk memberi bakti atau sumbangan kepada orang lain. Menuntut ilmu hanya semata-mata kerana ingin menuntutnya telah dikritik seperti yang disebut al-Ghazali,


“Sekiranya seorang itu membaca seratus ribu perihal ilmu dan mempelajarinya dengan tekun tetapi tidak ia mengamalkannya, maka ilmu itu tidak berguna kepadanya kerana kebesaran ilmu itu terletak apabila ia diamalkannya.”


Dalam zaman Islam klasik, menuntut dan menimbangkan secara falsafah bertujuan untuk “membangunkan roh, menguatkan akal, memperbaiki akhlak, menyemai amal dan menjauhi kejahatan.”


Sepertimana yang dinyatakan oleh Hayyan at-Tauhidi. Bagi ahli falsafah, ilmu mereka dianggap sebagai “puncak matlamat dalam pendidikan humanistik dan asas kepada segala ilmu yang boleh menyampaikan kepada kesempurnaan manusia serta mencapai kebahagiaan dan jalan selamat".


Pemikiran Humanistik dalam Era Moden

Hari ini, idealisme humanistik terungkap dalam kalangan reformis Muslim yang mengajukan rekonstruksi masyarakat Islam dengan mengambil jalan kembali kepada ilmu filsafat (falsafah), ilmu sains kemasyarakatan, ilmu pendidikan dan pedagogi, selain pembaharuan dalam pemikiran keagamaan Muslim.


Inilah yang dikatakan pemikiran Muslim zaman ini perlu disegarkan kembali dari tradisi humanismenya, yang dalam peredaran zaman telah terbeku dan dilupakan. Ini dapat kita lihat dalam pengajuan, pembaharuan yang dibawa oleh Jamaluddin al-Afghani yang terkenal dengan pengajuannya supaya dihidupkan kembali semangat berfalsafah, sedangkan anak didiknya mengikut jejak yang sama, yakni Sheikh Muhammad Abduh, Syeikhul al-Azhar yang terkenal dengan idea pembaharuannya.


Jamaluddin al-Afghani merupakan antara pemikir paling awal dalam era moden ini yang memperhatikan perlunya golongan ilmuwan dalam kalangan masyarakat Islam yang bersikap kritis dalam permasalahan pemikiran dan perbuatan mereka. Al-Afghani menyifatkan kemunduran masyarakat Islam disebabkan oleh pembekuan pemikiran dalam kalangan alim ulama, yang sepatutnya menjadi penjaga dan penentu kehidupan intelektual masyarakat Islam.


Antara pembekuan yang jelas adalah penolakan terhadap falsafah. Juga kepimpinan intelektual dalam masyarakat Islam sudah membeku dan tertutup. Ulama tradisionalis (pendukung fahaman, ajaran, dan lain-lain berdasarkan tradisi) hanya mempedulikan ilmu agama, mereka telah mengabaikan cabang ilmu yang lain, malah memandang sepi terhadap apa jua ilmu dunia yang bagi mereka tidak akan menyampaikan ke jalan akhirat.


Tanggapan seperti itu harus diperbetulkan dan itulah antara agenda pembaharu Islam, di saat-saat umat Islam terbelenggu dalam kemunduran dan penjajahan.


Membangunkan pemikiran Islam memerlukan sumbu ilmu yang membuana dan membumi. Tegas Al-Afghani, semangat falsafah itu membenarkan kita “untuk membicarakan hal ehwal umum tentang dunia dan keperluan manusia".


Semangat berfalsafah merupakan satu upaya yang menyebabkan manusia menjurus kepada penelitian, dan secara kritis, membelek-belek idea yang terlazim, menganalisis secara mendalam kerumitan-kerumitan dalam masyarakat dan fenomena alam, dan mencadangkan jalan keluar atau alternatif kepada permasalahan yang dihadapi oleh manusia dan masyarakat.


Satu ruang intelektual dan falsafah yang praktikal akan membolehkan pertukaran dan perdebatan, langsung mengurangkan proses-proses simplifikasi dan desakan pelbagai versi totalitarianisme dan kecenderungan harfiah.


Membangunkan Humanisme Kritis dalam Pendidikan Islam

Humanisme kritis adalah pemikiran kritis yang harus wujud dalam cakerawala pemikiran kita. Ranah agama juga harus dihidupkan dengan humanisme kritis ini, selain ia harus juga menyangkuti ranah-ranah pendidikan, kebudayaan, politik, dan kemasyarakatan.


Maka para humanis zaman ini seperti Mohamed Arkoun telah mengenal pasti pentingnya projek memikir ulang tradisi Islam atas sebab dua keperluan: pertama masyarakat Muslim harus memikirkan masalah mereka sendiri yang telah menjadi sesuatu yang tidak terfikir disebabkan oleh lamanya pemikiran yang bersifat ortodoks.


Kedua, perlunya pemikiran kontemporari untuk membuka ranah-ranah dan penemuan baharu dalam dunia ilmu lewat pendekatan lintas budaya dan displin ilmu, sewaktu berhadapan dengan masalah kehidupan sejagat.


Hari ini, para reformis Muslim melihat dimensi humanistik sebagai batu asas yang penting dalam kehidupan keagamaan, teristimewa pendidikan agamanya.


Merekonstruksikan kembali idea dan visi pendidikan agama adalah sama pentingnya dengan mengajukan perubahan pedagogi kurikulum.


Soedjatmoko, seorang pemikir Indonesia yang terkenal, dengan tuntas menunjukkan betapa pendidikan agama itu penting dalam pembangunan negara-bangsa seperti di Indonesia kerana menurutnya:


(1) ia berusaha ke arah pemupukan beberapa ciri seperti keberanian untuk hidup mandiri, mengambil inisiatif, sensitif terhadap hak-hak orang lain dan keperluan kolektif dalam masyarakat dan umat manusia, sanggup untuk bekerjasama demi kebaikan umum dalam proses perubahan sosial, tanpa takut kepada perubahan yang sedang berlaku;


(2) berusaha ke arah memupuk motivasi yang kental pada anak didiknya untuk mempelajari dan memahami realiti sosial yang terdapat dalam masyarakat;


(3) berusaha ke arah merangsang para pelajar untuk mempraktikkan apa yang mereka yakini;


(4) berusaha ke arah integrasi dan sinkronisasi (penyelarasan) dengan pendidikan yang bukan daripada jurusan keagamaan.


Pendek kata, apabila membicarakan pemikiran Islam bukan sahaja harus mengambil kira tradisi keintelektualan Islam yang berbagai, tetapi melihat aliran humanistik yang harus terbangun dalam sistem pendidikan Islam kontemporari.


Selagi kita tidak dapat mengaitkan soal pemikiran Islam dengan keperluan dan cabaran kemanusiaan dan kezamanan, kita sebenarnya telah memutuskan pemikiran dan pendidikan Islam dari nadi kerelevanannya.


Untuk kita membangunkan sebuah gagasan falsafah pendidikan Islam, kita harus mengambil kira kondisi semasa dan setempat, selain menimbangkan struktur sosioekonomi masyarakat masing-masing.


Memetik tanggapan Nurcholish Madjid, seorang pemikir Islam asal Indonesia, yang tekun mengajukan gagasan kemanusiaan Islam, wajar kita menimbangkan bersama:


“Kerja kemanusiaan atau amal soleh itu merupakan proses perkembangan yang permanen. Perjuangan kemanusiaan berusaha agar perubahan dan perkembangan dalam masyarakat selalu mengarah kepada yang lebih baik, lebih benar. Oleh sebab itu, manusia harus mengetahui arah yang benar daripada perkembangan peradaban di segala bidang."


"Dengan perkataan lain, manusia harus mendalami dan selalu mempergunakan ilmu pengetahuan. Kerja manusia dan kerja kemanusiaan tanpa ilmu tidak akan mencapai tujuannya, sebaliknya ilmu tanpa rasa kemanusiaan tidak akan membawa kebahagiaan bahkan mungkin menghancurkan peradaban.”


Di sinilah humanisme kritis boleh menyumbang. Membicarakan aspek-aspek humanisme kritis yang terlafaz dalam tradisi pemikiran Islam dari zaman sebelumnya, harus dapat memacu kita untuk membangunkan pemikiran Islam yang moden, progresif dan humanistik.


Itulah antara tugas umat Islam untuk benar- benar berdiri atas keyakinan bahawa Islam sebagai rahmatan lil alamin. Dan kitalah yang bersaksi dan bertindak ke arah itu, demi kesejahteraan umat manusia dalam alam ini. Inilah yang tertanggung ke atas kita hari ini.