Selasa, 29 April 2025

จดหมายจากเจ้าเมืองเกาะลิบงถึงฟรานซิส ไลท์ ที่เกาะปีนัง

 โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

เรามักกล่าวว่า อันนั้นไม่มีหลักฐาน อันนี้ก็ไม่มีหลักฐาน แล้วสรุปเอาว่า ไม่มีเพราะไม่มีหลักฐาน ซึ่งไม่มีหลักฐานนั้นไม่ได้หมายความว่า หลักฐานไม่มี เพียงเรายังไม่ได้พบหลักฐานที่ว่า ดังนั้น ประวัติศาสตร์ใดๆ รวมทั้งประวัติศาสตร์สามสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ปาตานี ฟาตอนี สตูล ที่ไม่มีหลักฐานนั้นแสดงว่า เรายังไม่พบหลักฐาน ที่ไม่ได้หมายถึงหลักฐานไม่มีจริงๆ เราต้องค้นหา สืบเสาะหา หลักฐานต่างๆต่อไปที่เก็บรักษาอยู่ในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยไลเด้น ประเทศเนเธอร์แลนด์ มหาวิทยาลัยลอนดอน โดยเฉพาะที่ School of Oriental and Afircan Studies หรือรวมทั้งที่อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น British Library London และ The Royal Asiatic Society (RAS) สำหรับครั้งนี้ เรามาพูดถึงเอกสารเจ้าเมืองลิบง จังหวัดตรั้ง เกาะลิบง ที่เคยเป็นศูนย์อำนาจของจังหวัดตรัง ในอดีตเกาะลิบงมีความสำคัญยิ่ง แต่ความสำคัญของเกาะลิบง เริ่มลดลงในปัจจุบัน และในครั้งนี้ขอนำเอกสารสำคัญที่เจ้าเมืองเกาะลิบงส่งถึง Francis Light ผู้ว่าการของอังกฤษที่เกาะปีนัง

เกาะลิบง จังหวัดตรัง  ในอดีตเป็นเกาะที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ด้วยในอดีตมีการเดินทางส่วนใหญ่จะเป็นทางทะเล เกาะลิบงในอดีต น่าจะสำคัญกว่าในปัจจุบัน กล่าวว่า “โต๊ะปังกะหวา” ซึ่งเป็นปลัดเมืองตรัง ซึ่งอยู่ที่เกาะลิบงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นพระยาลิบง ทำหน้าที่เป็นผู้ว่าราชการเมืองตรัง มีศูนย์อำนาจอยู่ที่เกาะลิบง ตั้งเมืองตามที่อยู่ของผู้ว่าราชการ และเกาะลิบงเป็นท่าเรือค้าขาย ทั้งเป็นศูนย์กลางระหว่างเมืองทางทะเลกับเกาะภูเก็ต เกาะปีนัง ในจดหมายเขียนถึงเกาะลิบง ในภาษามลายูว่า เกาะตือลีบง การที่จะกล่าวถึงประวัติศาสตร์โดยเฉพาะภาคใต้ว่า อันนั้นไม่มี อันนี้ไม่มี นั้นไม่ได้หมายถึงไม่มีจริง เพียงอาจจะยังไม่พบ ครั้งนี้ขอกล่าวถึงเอกสารของพระปลัดเมืองลิบง (เกาะลิบง) วันอังคาร วันที่ 3 เดือระยับ ปีฮิจเราะห์ศักราช 1205 / 8 มีนาคม 1791 ที่เก็บไว้ที่ School of Oriental and African Studies (SOAS), University of London และสำเนาไว้ที่ USM เป็นจดหมายของพระปลัดเมืองลิบง ส่งถึง Francis Light เกี่ยวกับกองทัพของรัฐเคดะห์


Surat dari Prak Belat Libong, Pulau Libong (Pulau Telibong), pusat pentadbiran Wilayah Trang, Thailand di zaman dulu. Surat ini dari Prak Belat Libong kepada Francis Light di Pulau Pinang berkaitan angkatan Tengku Raja Muda, Bendahara dan Laksamana (Negeri Kedah) Surat ini bertarikh Selasa, 3 Rejab 1205 / 8 Mac 1791 di School of Oriental and African Studies (SOAS), University of London dan Salinan di USM.


Surat kasih sayang serta tulus ikhlas yang tiada berkesudahan selagi ada perkitaran matahari dan bulan dalam cakerawalanya daripada Prak Belat negeri Trang sampai pada sahabat beta Gurnador Pulau Pinang yang amat bijaksana pada segala pekerjaan lagi amat teguh setiawan pada segala sahabat hadainya


maka adalah beta balik dari Pulau Pinang ke Kuala Muda ini maka beta lihat segala angkatan Tenku Raja Muda dan Dato’ Bendahara dan Dato’ Laksamana sudah siap hendak angkat pergi ke Kuala Perai buat tempat maka dengan pinta beta rantai dahulu segala angkatan ini sementara beta hendak jawab mengadap Yang Dipertuan maklumkan perintah ini kalau lulus pada jalan kebajikan maka pada malam Arba’ inilah beta berlayar ke Kedah Tenku Raden Muhamad dan Syaudagar Mirangkandu pun beta bawa mengadap Yang Dipertuan maka apabila sampai penyuruh beta ini maka pinta dengan segeranya sahabat berbalik ikut beta ke Kedah serta dengan surat sahabat beta beri kepadanya kalau berjumpa dengan Jaga2 di laut akan beta ini jika lu[lu]s seperti bicara sahabat beta pada jalan kebajikan dengan segeranya beta balik berjumpa dengan sahabat beta jika tiada lulus pada jalan kebajikan maka tiadalah beta balik hingga surat betalah nyatakan pada sahabat beta beta pun hendak langsung pulang ke Pulau Telibong ahwal itulah beta nyatakan buat surat tiga hari bulan Rejab hari Selasa tamat


Sebermula inilah sirih beta kirim kepada isteri sahabat beta dan isteri kapitan Uskut pada seorang empat ikat ahwal itulah beta nyatakan tamat


จดหมายรักและจริงใจที่ไม่มีวันสิ้นสุด ตราบใดที่ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ยังคงโคจรอยู่บนขอบฟ้า จากพระปลัดเมือง ตรัง ถึงเพื่อนของข้าพเจ้า ท่านผู้ว่าการที่เกาะปีนัง ผู้เฉลียวฉลาดมากในการทำงานทุกอย่าง และยังคงภักดีอย่างมั่นคงต่อเพื่อนทุกคน


แล้วข้าพเจ้าก็กลับจากเกาะปีนังไปกัวลามูดา (รัฐเคดะห์) แล้วข้าพเจ้าก็เห็นกองกำลังทั้งหมดของเต็งกูราชามูดาและดาโต๊ะเบินดาฮารา และดาโต๊ะท่านแม่ทัพเรือพร้อมที่จะยกกำลังไปที่กัวลาเปไรเพื่อตั้งฐานที่มั่น ข้าพเจ้าต้องการที่จะเข้าพบท่าน ในคืนวันพุธนี้ จะเดินทางไปยังรัฐเคดะห์ พร้อมจะพาเต็งกูระเด่นมูฮัมหมัดและพ่อค้าชาวมีนังกาเบาเข้าพบท่าน ข้าพเจ้าได้ให้ผู้ส่งจดหมายนี้ นำข่าวกลับมายังรัฐเคดะห์  ถ้าพบผู้ตรวจการในทะเล ก็จะให้ดูจดหมายนี้ ถ้าท่านอนุมัติการพบ ข้าพเจ้าก็จะดำเนินการทันที  ถ้าไม่ได้รับอนุมัติให้เข้าพบ ข้าพเจ้าก็จะกลับตรงไปยังเกาะลิบง จดหมายนี้เขียนในวันอังคาร เดือนระยับ เบื้องต้นนี่คือพลูของข้าพเจ้าที่ส่งไปให้ภรรยาของเพื่อนข้าพเจ้าและภรรยาของกัปตัน Uskut จำนวนคนละสี่มัด จึงจบเพียงเท่านี้

Ahad, 27 April 2025

Kemasukan Islam ke Patani

Oleh Nik Abul Rakib Bin Nik Hassan

Kali ini saya ketengahkan berkaitan dengn “Kemasukan Islam ke Patani”. Saya mengambil sebahagian dari Tesis MA Sdr. Zawawee Pakda Ameen, pensyarah di Fakulti Kemanusiaan dan Sains Sosial di prince of Songkla University, Kampus Pattani. Tajuk tesis MA di Universiti Malaya ialah Identiti Melayu Patani: Kajian Tentang Peranan Institusi Pondok di Wilayah Pattani. Isi kandungan Kemasukan Islam ke Patani adalah seperti berikut:-


Penyebaran agama Islam di Patani berlaku di kalangan rakyat terlebih dahulu dan kemudian menyebar di peringkat pemerintah.   Menurut   Phra’ya  Rattana’  Phakdi, raja dan pembesar Patani memeluk agama Islam kira-kira pada awal abad ke-15 iaitu di sekitar tahun 1457, sedangkan rakyat jelata sudah ada yang beragama Islam sejak 300 tahun sebelumnya. B.J.O. Schrieke (1916) dalam bukunya Het Boek Van Bonang menyebut bahawa raja tidak percaya kepada agama Islam tetapi pedagang-pedagang terdiri daripada orang Islam. Dalam sejarah Kelantan pula menceritakan bahawa pada tahun 1150 terdapat seorang Syeikh Arab dari Patani datang menyebarkan agama Islam di negeri Kelantan (A. Bangnara 1976: 14-15). Oleh itu boleh dikatakan bahawa terdapat beberapa penduduk di zaman Langkasuka beragama Islam. Agama Islam dianuti oleh penduduk Patani sebelum didirikan Sukhothai. Sukhothai didirikan pada sekitar tahun 125 (Jitmoud, S. 1988 : 62-68).


Di Semenanjung Tanah Melayu, Patani dan Pahang adalah negeri paling awal menerima agama Islam. Bukti ini ditegaskan oleh de Eredia, seorang pengembara Portugis pada tahun 1613,


Moreover the faith of Maumeth (Islam) was accepted in Patane (Patani) and Pam (Pahang) on the eastern coast of Ujontana, and in certain islands of the Aromatic Archipelago. Later it was accepted and encouraged by Permicuri Parameswara at Malacca in year 1411.” (Mills, J.V. 1930 : 49)


Agama Islam di Patani tersebar dengan pesatnya apabila raja memeluk Islam. Dalam Hikayat Patani mengisahkan bahawa raja Patani yang bernama Phya Tu Nakpa menghidap penyakit kulit. Dukun Istana mengubatinya, tetapi tidak sembuh. Dalam situasi tersebut terdapat seorang dari Pasai bernama Syeikh Said sanggup mengubatinya dengan syarat apabila sembuh nanti, raja mesti memeluk agama Islam. Penyakit itu sembuh dan berulang lagi kerana raja tidak menepati janji. Pada kali yang ketiga Syeikh Said datang mengubatinya pula dan baginda tidak mungkir janji lagi. Baginda pun memeluk agama Islam dan menukar nama kepada Sultan Ismail Syah Zillullah Fil-Alam (Teeuw & Wyatt 1970 : 75). Dalam buku “Sejarah Kerajaan Melayu Patani” oleh Ibrahim Syukri (2002) pula menceritakan bahawa raja Patani pertama yang memeluk agama Islam adalah putra raja Phaya Tu Nakpa yang bernama Phya Tu Intira dan digelar Sultan Muhammad Syah.


Agama Islam bertapak teguh di Patani dan berperanan sebagai pusat penyebaran Islam di Nusantara. Nama penuh Patani adalah “Patani Darussalam” dan dianggap sebagai serambi Mekah kerana merupakan pusat menimba ilmu daripada para ulama yang giat mengarang kitab dan mengajar agama di institusi pondok dan masjid. Pada waktu itu juga institusi pondok berkembang dengan pesat dan berperanan sebagai institusi utama yang membina benteng untuk mempertahankan identiti Melayu Patani.


 

Khamis, 24 April 2025

ปริญญาตรีปลอมของอดีตประธานาธิบดีโจโกวี แห่งอินโดเนเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

ข่าวร้อนสำหรับวงการการเมืองของอินโดเนเซีย ก็คือข่าวปริญญาตรีปลอมของอดีตประธานาธิบดีโจโกวี แห่งอินโดเนเซีย ข่าวนี้ เริ่มอีกครั้งภายหลังจาก อดีตประธานาธิบดีโจโกวี ลงจากตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งอินโดเนเซีย สำหรับเหตุการณ์ปริญญาตรีของอดีตประธานาธิบดีโจโกวี เมื่อไม่กี่วันมานี้เริ่มเป็นข่าวร้อนอีกครั้ง นับเป็นข่าวร้อน สิ่งที่แปลกสุด แทนที่หลังจากอดีตประธานาธิบดีโจโกวี จะให้ดูใบปริญญาตรีตัวจริงของตนเอง จากมหาวิทยาลัยกายะห์มาดา เมืองยอกยาการ์ตา กลับบอกว่า ศาลเท่านั้นที่มีอำนาจจะสั่งให้ตนเองแสดงใบปริญญาบัตร ก็ยิ่งทำให้บางส่วนชาวอินโดเนเซีย สงสัยในตัวอดีตประธานาธิบดีโจโกวี นี้คือลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับข่าวปริญญาตรีของอดีตประธานาธิบดีโจโกวีว่า เป็นปริญญาตรี ถ้าปริญญาตรีปลอมจริง ไม่เพียงจะมีผลกระทบการการเป็นประธานาธิบดีของนายโจโกวี แต่จะมีผลกับการลงนามของนายโจโกวีกับสัญญาต่างๆ ร่วมทั้งการเป็นหนี้ของประเทศอินโดเนเซีย นอกจากนั้นก็จะมีผลต่อความเชื่อถือต่อนาย Gibran Rakabuming Raka รองประธานาธิบดีอินโดเนเซีย ผู้เป็นบุตรชายของนายโจโกวี ซึ่งก็กำลังมีข่าวว่า มีการพยายามที่จะใช้สภาผู้แทนราษฎรของอินโดเนเซีย ในการปลดออกจากตำแหน่งรองประธานาธิบดี

จุดเริ่มต้นการฟ้องร้องสู่ความคืบหน้าคดีล่าสุด

คดีปริญญาตรีปลอมของนายโจโก วิโดโด ประธานาธิบดีคนที่ 7 ของสาธารณรัฐอินโดเนเซีย ถูกเปิดเผยตั้งแต่ปี 2565 จนถึงปัจจุบัน โดยมีบุคคลที่เกี่ยวข้องจำนวนหนึ่งเข้าร่วมด้วย ต่อมาทางมหาวิทยาลัย Gadjah Mada (UGM) พร้อมเปิดเผยเอกสารทางวิชาการทั้งหมดของนายโจโก วิโดโด ในระหว่างการศึกษาที่มหาวิทยาลัยดังกล่าว หากได้รับการร้องขอในกระบวนการทางกฎหมายในศาล


ต่อไปนี้เป็นลำดับเหตุการณ์ในคดีปริญญาตรีปลอมของนายโจโก วิโดโด ตั้งแต่เริ่มฟ้องร้องจนกระทั่งมหาวิทยาลัยกายะห์มาดา หรือ UGM พร้อมที่จะนำเสนอหลักฐานทางวิชาการทั้งหมดในศาล

1. จุดเริ่มต้นของการฟ้องร้อง (ตุลาคม 2022) นายบัมบัง ตรี มูลโยโน ฟ้องนายโจโก วิโดโด ที่ศาลแขวงจาการ์ตาตอนกลางในข้อกล่าวหาใช้วุฒิการศึกษาปลอมในช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2019


2. การชี้แจง คำแถลงอย่างเป็นทางการของมหาวิทยาลัยกายะห์มาดา หรือ UGM นายโจโก วิโดโด เป็นศิษย์เก่าคณะวนศาสตร์ สำเร็จการศึกษาในปี 1985 สามารถตรวจสอบเอกสารทางวิชาการของเขาได้ เพื่อน ๆ จากสมัยมหาวิทยาลัยก็ยังให้การด้วยว่าอดีตประธานาธิบดีเคยเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งนั้นจริง


3. กระบวนการทางกฎหมาย นายบัมบัง ตรี มูลโยโน ร่วมกับนายซูฆี นูร์ ราฮาร์จา (กุส นูร์) ถูกระบุชื่อเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีเผยแพร่ข่าวปลอมและถ้อยคำที่แสดงความเกลียดชัง จากนั้นนายบัมบัง ตรี มูลโยโน ก็ถอนฟ้องที่ศาลแขวงจาการ์ตาตอนกลาง ซึ่งในเรื่องนี้ทนายความฝ่ายนายบัมบัง ตรี มูลโยโน กล่าวว่า เหตุที่ต้องถอนฟ้อง เพราะนายบัมบัง ตรี มูลโยโน ถูกจับคุมจากทางตำรวจ ทำให้พยานบุคคล และพยานเอกสารต่างๆที่นายบัมบัง ตรี มูลโยโน ได้เตรียมการไว้ ทางทนายความไม่สามารถเข้าถึงแหล่งดังกล่าวได้ นอกจากนายบัมบัง ตรี มูลโยโน ทางคณะทนายความจึงเห็นว่า จำเป็นต้องถอนฟ้อง ส่วนนายซูฆี นูร์ ราฮาร์ดจา ยังคงดำเนินต่อไป ศาลตัดสินว่าพวกเขากระทำความผิดฐานเผยแพร่ข่าวเท็จและพิพากษาให้จำคุก


4. สุดท้าย นายบัมบัง ตรี มุลโยโน และ นายกุส นูร์ ถูกตัดสินจำคุก 6 ปีในคดีเดียวกัน ศาลได้ปฏิเสธคดีทั้งหมดที่ฟ้องร้องเกี่ยวกับปัญหาวุฒิการศึกษาปลอมของนายโจโกวี


5. ฟิ้นคดีความปริญญาปลอมอีกครั้ง โดยได้เกิดขึ้นไม่นานมานี้ และถูกยื่นต่อศาล โดยเฉพาะศาลแขวงโซโล คดีเหล่านี้ตั้งคำถามถึงความถูกต้องของวุฒิการศึกษาของนายโจโกวี


6. เกิดการถกเถียงบนโซเชียลมีเดีย มีเรื่องเล่าที่สงสัยถึงความแท้จริงของวุฒิการศึกษาปลอมของนายโจโกวี ยังคงมีการแพร่หลาย โดยมักมาพร้อมกับการวิเคราะห์ที่น่าสงสัยในความจริง การถกเถียงเกี่ยวกับความชอบธรรมมักเต็มไปด้วยประเด็นทางการเมือง ซึ่งพรรคการเมืองบางพรรคใช้เพื่อโจมตีหรือปกป้องนายโจโกวี


7. ถ้อยแถลงจากฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ถ้อยแถลงจากฝ่ายต่างๆ รวมทั้งที่ปรึกษากฎหมายของนายโจโกวี มหาวิทยาลัย UGM และบุคคลอื่นๆ มีการถกเถียง ความแตกต่างทางความคิดเห็นและการตีความทำให้ประเด็นนี้ซับซ้อนมากขึ้น ตามคำกล่าวของรองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและการสอนของมหาวิทยาลัย UGM ศาสตราจารย์เวหนิง อุดัสโมโร ฝ่ายของเขามีเอกสารประกอบทั้งหมดที่แสดงให้เห็นว่านายโจโกวีเป็นนักศึกษาที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัยและสำเร็จการศึกษาอย่างเป็นทางการ

สำหรับนายโจโกวี ก็เตรียมฟ้องศาลบุคคล 4 คนในข้อหาปล่อยข่าวสร้างชื่อเสียให้แก่ตนเอง บุคคลเหล่านั้น คือ ดร. Rismon Hasiholan Sianipar อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัย Mataram นาย Roy Suriyo อดีตรัฐมนตรีเยาวชนและการกีฬาในรัฐบาล Bambang Yudhoyno ดร. Tifauzia Tyassuma และอีกหนึ่งคน เป็นการดีที่จะได้พิสูจน์ว่า ปริญญาตรีของนายโจโกวี เป็นปริญญาปลอมหรือปริญญาจริง


 

Selasa, 22 April 2025

15 มหาวิทยาลัยในอินโดเนเซีย ที่มีการสอนออนไลน์

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

สถาบันการศึกษาในหลายๆประเทศในปัจจุบัน ได้มีการเพิ่มการเรียนการสอน โดยใช้การเรียนการสอนทางออนไลน์ มหาวิทยาลัยต่างๆในอินโดเนเซีย มีการเรียนการสอนออนไลน์ ราว 15 แห่ง เช่น

1. Universitas Mercu Buana

Mercu Buana University (UMB หรือ Universitas Mercu Buana) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนภายใต้มูลนิธิ Menara Bhakti ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย


2. Universitas Bina Nusantara

Bina Nusantara University (เรียกย่อว่า Binus) ซึ่งรู้จักในอีกชื่อว่า Binus University เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยเอกชนของอินโดเนเซีย มหาวิทยาลัยแห่งนี้อยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ขององค์กรที่ชื่อว่า lembaga pendidikan Bina Nusantara ปัจจุบันมหาวิทยาลัย Binus มีวิทยาเขต 9 แห่งใน 6 เมือง โดยมีวิทยาเขตหลักอยู่ที่เคอมังฆีซาน (Kemanggisan) จาการ์ตาตะวันตก


3. Universitas Terbuka

Open University (UT) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐในอินโดนีเซีย ที่ใช้ระบบการเรียนทางไกลหรือการเรียนรู้แบบเปิดและทางไกล หรือ open and distance learning (ODL) Open University (UT) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2527 และมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงการเข้าถึงการศึกษาระดับสูงและแก้ไขวิกฤตคุณภาพครูในอินโดเนเซีย ระบบการเรียนรู้ของ UT ช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนได้อย่างยืดหยุ่น ทุกที่ทุกเวลา โดยไม่จำเป็นต้องไปเรียนแบบพบหน้ากันในมหาวิทยาลัย


4. Universitas Al Azhar

มหาวิทยาลัยอัลอัซฮาร์ อินโดนีเซีย (UAI) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2000 เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาภายใต้การอุปถัมภ์ของมูลนิธิ Yayasan Pesantren Islam (YPI) Al Azhar


5. Universitas Bina Sarana Informatika

มหาวิทยาลัย Bina Sarana Informatika (UBSI) หรือเรียกอีกอย่างว่า BSI เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในอินโดเนเซีย ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม1988 มหาวิทยาลัย Bina Sarana Informatika (UBSI)  เปิดสอนหลักสูตรการศึกษาระดับอนุปริญญา และปริญญาตรีใน 3 คณะ ได้แก่ วิศวกรรมศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ เศรษฐศาสตร์และธุรกิจ และการสื่อสารและภาษา มหาวิทยาลัย Bina Sarana Informatika (UBSI)  กำลังเตรียมเปิดหลักสูตรปริญญาโทสาขาการจัดการ


6. Institut Teknologi Harapan Bangsa

สถาบันเทคโนโลยี Harapan Bangsa หรือ Institut Teknologi Harapan Bangsa (ITHB) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในเมืองบันดุง ชวาตะวันตก ประเทศอินโดเนเซีย ก่อตั้งโดย 'มูลนิธิ Petra Harapan Bangsa' เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2002 มีหลักสูตรระดับปริญญาตรี 11 หลักสูตร


7. Universitas MH. Tamrin

Mohammad Husni Thamrin University Jakarta หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ MH Thamrin University ย่อว่า UNTHAM หรือ UMHT เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน (PTS) ในประเทศอินโดเนเซียที่ตั้งอยู่ในกรุงจาการ์ตา มีการสอนถึงระดับปริญญาตรี


8. Universitas Nusa Mandiri

มหาวิทยาลัย Nusa Mandiri (UNM) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในกรุงจาการ์ตา วิทยาเขตนี้ก่อตั้งโดยมูลนิธิ Yayasan Nusa Mandiri ซึ่งเตรียมการจัดตั้งมหาวิทยาลัย Nusa Mandiri ให้เป็นวิทยาเขตที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การพัฒนาการของมหาวิทยาลัยนูซามันดีรีไม่สามารถแยกออกจากประวัติศาสตร์ที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2003 และมหาวิทยาลัยที่แต่ละวิทยาเขตก่อตั้งได้ เริ่มต้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2001  มูลนิธิ Yayasan Indonesia Nusa Mandiri ได้จัดตั้งผ่านการจัดตั้งสถาบันการศึกษาชื่อว่า  Sekolah Tinggi Manajemen Informatika dan Komputer Nusa Mandiri เริ่มได้รับการรับรองอย่างเป็น โดยประกอบด้วยหลักสูตรการศึกษาในระดับปริญญาตรี 2 (หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรการศึกษาในระบบสารสนเทศ และหลักสูตรการศึกษาทางวิศวกรรมสารสนเทศ


9. Universitas Islam As-Syafi’iah

As-Syafi'iyah Islamic University เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ตั้งอยู่ที่เมือเบอกาซี จังหวัดชวาตะวันตก มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นจุดเชื่อมโยงในการบุกเบิกและความกังวลของนักการศาสนาที่ชื่อว่า KH. Abdullah Syafi'ie ในเรื่องการศึกษาอิสลามและการพัฒนาคุณภาพชุมชน มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นโครงการพัฒนาจาก Akademi Pendidikan Islam (AKPI) As-Syafi'iyah ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 1965 และในวันที่ 12 มีนาคม 1969 Akademi Pendidikan Islam (AKPI) As-Syafi'iyah ได้รับการยกระดับเป็นมหาวิทยาลัย ความริเริ่มนี้เริ่มต้นในปี 1928 เมื่อตอนอายุ 18 ปี KH. Abdullah Syafi'ie เริ่มเปิดโรงเรียนสอนศาสนาด้วยทุนเป็นที่ดินแปลงหนึ่งจากบิดาของเขา โรงเรียนสอนศาสนานั้นชื่อว่า "อัล-อิสลามิยะห์" ต่อมาเป็น "สถาบันการศึกษาอัส-ชาฟีอียะห์"


สถาบันการศึกษาอัส-ชาฟีอียะห์ได้รับการพัฒนาและได้รับความนิยมในหมู่ผู้คนเนื่องจากโรงเรียนประสบความสำเร็จในการผสมผสานรูปแบบการศึกษาอิสลามแบบดั้งเดิมและการศึกษาอย่างเป็นทางการเข้ากับมาตรฐานโรงเรียนของรัฐจนถึงระดับมัธยมศึกษา จากความสำเร็จครั้งนี้ทำให้ KH. Abdullah Syafi'ie รู้สึกตระหนักถึงการพัฒนาการศึกษาระดับทางการในระดับที่สูงขึ้น


10. Universitas Pembangunan Jaya

Pembangunan Jaya University (UPJ) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในเมืองตังเงอรังใต้ จังหวัดบันเต็น Pembangunan Jaya University (UPJ) ก่อตั้งขึ้นจากประสบการณ์อันยาวนานของกลุ่ม Jaya ซึ่งได้สร้างผลงานชิ้นเอกด้านอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอันยิ่งใหญ่ในกรุงจาการ์จาและ 25 เมืองทั่วอินโดนีเซีย รวมถึงประสบการณ์ในการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่มีคุณภาพตั้งแต่ปี 1992 ริเริ่มโดยผู้ประกอบการระดับสูงและโดดเด่นคือ  Dr. (HC) Ir. Pembangunan Jaya ก่อตั้งเมื่อปี 1961 โดยเป็นผู้บุกเบิกและผู้สร้างนวัตกรรมทางธุรกิจยุคใหม่ที่โดดเด่นในด้านธุรกิจหลายประเภท (โครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรมการพัฒนาเมือง และศูนย์นันทนาการ)


11. Universitas 17 Agustus 1945 กรุงจาการ์ตา

มหาวิทยาลัย 17 สิงหาคม 1945 กรุงจาการ์ตาเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตั้งอยู่ในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดเนเซีย มหาวิทยาลัยแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นภายใต้การอุปถัมภ์ของมูลนิธิ Yayasan Perguruan Tinggi 17 Agustus 1945 Jakarta  มหาวิทยาลัย 17 สิงหาคม 1945 กรุงจาการ์ตาก่อตั้งขึ้น 2 ปีหลังจากมหาวิทยาลัยอินโดนีเซียถูกส่งมอบจากรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ให้กับรัฐบาลอินโดเนเซีย มหาวิทยาลัย 17 สิงหาคม 1945 หรือที่รู้จักกันดีในชื่อย่อ UNTAG จาการ์ตา


12. Sekolah Tinggi Ilmu Ekonomi Semarang

ปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาเศรษฐศาสตร์เมืองเซอมารัง (Sekolah Tinggi Ilmu Ekonomi Semarang) มีหลักสูตรการศึกษา 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรปริญญาตรีสาขาการบัญชี และหลักสูตรปริญญาตรีสาขาการจัดการ โดยมีนักศึกษา ประมาณ 1,500 คน ทั้งสองหลักสูตรการศึกษาได้รับการรับรองจาก BAN-PT (คณะกรรมการรับรองแห่งชาติสำหรับการศึกษาระดับอุดมศึกษา)


13. Institut Bisnis Nusantara

เป็นสถาบันการศึกษาเอกชนของอินโดเนเซีย ตั้งอยู่ในกรุงจาการ์ตา อินโดเนเซี การพัฒนาการของสถาบันการศึกษานี้


มูลนิธิ Yayasan Lembaga Pendidikan Gunung Sewu (YLPGS) (1986 - 1991) เป็นผู้จัดตั้งสถาบันการศึกษาที่ชื่อว่า Institut Bisnis Nusantara (IBN)

(IBN) ซึ่งก่อตั้งโดยบุคคลสำคัญทางธุรกิจ นาย Dasuki Angkosubroto จากกลุ่มบริษัท Gunung Sewu เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 1986 สถาบันการศึกษา Institut Bisnis Nusantara ถือเป็นการพัฒนาต่อเนื่องจาก GS FAME ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า สถาบันการศึกษา GS FAME (Gunung Sewu Foundation the Advancement of Management and Economics) จัดตั้งในปี 1986.


STIE Gunung Sewu (1991 - 1996)

สถาบันการศึกษา GS FAME ภายหลังกลายเป็น  Sekolah Tinggi Ilmu Ekonomi (STIE) Gunung Sewu ในปี 1991


STIE Nusantara (1996 - 2008)

ต่อมาภายหลังสถาบันการศึกษานี้กลายเป็น Sekolah Tinggi Ilmu Ekonomi (STIE) Nusantara ในปี 1996


Institut Bisnis Nusantara (2008 - ปัจจุบัน)

ต่อมา Sekolah Tinggi Ilmu Ekonomi (STIE) Nusantara หรือสถาบันอุดมศึกษาเศรษฐศาสตร์นูซันตารา ได้เปลี่ยนเป็นสถาบันธุรกิจนูซันตารา หรือ Institut Bisnis Nusantara


14. Universitas Siber Asia

Asia Cyber ​​​​University (UNSIA) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกในอินโดเนเซียที่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาลเพื่อจัดการศึกษาระดับสูงตามการเรียนรู้แบบออนไลน์เต็มรูปแบบ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า PJJ (Pendidikan Jarak Jauh) การจัดตั้งมหาวิทยาลัยนี้มาจากความคิดของ Dr. El Amry Bermawi Putera อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งชาติ (Universitas Nasional) สามสมัย และ ดร. Jang Youn Cho อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัย Universitas Hankuk ด้านการวิจัยต่างประเทศ Asian Cyber ​​​​University อยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของมูลนิธิ  Yayasan Kemajuan Ilmu Pengetahuan dan Kebudayaan (YMIK) ซึ่งได้มีประสบการณ์ในมหาวิทยาลัยแห่งชาติ (Universitas Nasional) มาเป็นเวลากว่า 70 ปี Asia Cyber University (UNSIA) มีอยู่เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขึ้นของอัตราการมีส่วนร่วมโดยรวม (APK) หรือจำนวนประชากรวัยผลิตที่เรียนต่อในระดับอุดมศึกษาในอินโดนีเซียยังคงอยู่ในระดับต่ำ Asia Cyber ​​​​University ตั้งอยู่ที่ Pasar Minggu จาการ์ตาตอนใต้


15. Politeknik LPP Yogyakarta

วิทยาลัยโปลีเทคนิค LPP (สถาบันการศึกษาโปลีเทคนิคด้านการเพาะปลูก เมืองยอกยาการ์ตา) เป็นวิทยาลัยที่มีประสบการณ์มากที่สุดในอุตสาหกรรมการเพาะปลูกตั้งแต่ปี 1950 โดยมีบัณฑิตจากคนงานในการเพาะปลูกที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่งสำคัญๆ มากมายในบริษัทการเพาะปลูก กระบวนการเรียนดำเนินการที่วิทยาเขตโปลีเทคนิค LPP เมืองยอกยาการ์ตา ในขณะที่การฝึกปฏิบัติดำเนินการที่หน่วยงานต่างๆ ทั้งรัฐวิสาหกิจ โดยวิทยาเขตได้รับการสนับสนุนจากบริษัทปลูกสวนขนาดใหญ่ไม่น้อยกว่า 300 แห่ง

Khamis, 17 April 2025

ทำเนียบข้าราชการหัวเมือง ร.ศ. 125 หรือปีพ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907)

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

เราสามารถที่จะทราบว่า ในบริเวณ 7 หัวเมืองชายแดนภาคใต้มีการปกครองอย่างไร มีใครเป็นข้าราชการที่ทำหน้าที่อะไรบ้าง จากหนังสือ ทำเนียบข้าราชการหัวเมือง ร.ศ. 125 หรือปีพ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) ปรากฏว่า ในหนังสือดังกล่าว เขียนว่า ข้าราชการในบริเวณเจ็ดหัวเมืองภาคใต้ มีเจ้าเมืองที่เป็นชาวมลายูอยู่ 6 เมือง และหนึ่งในเมืองดังกล่าว คือเจ้าเมืองเมืองสายบุรี มีคำชัดเจนว่า ขอบเขตร์ประเทศมลายู และในชื่อบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองดังกล่าว ยังได้วงเล็บชื่อในภาษามลายูของเจ้าเมืองดังกล่าว แต่อาจผิดเพี้ยนตามสำเนียงของสยาในสมัยนั้น เพียงสังเกตว่า มีสามเมืองที่มีชื่อนำหน้าตามชื่อบรรพบุรุษ ซึ่งคงต้องศึกษาให้ลึกยิ่งขึ้นติ่ไป คือ เจ้าเมืองระแงะ (นิเงาะ) เจ้าเมืองยะหริ่ง (นิโวะ) และเจ้าเมืองสายบุรี (นิขดา) สำหรับนิขดา น่าจะหมายถึงเต็งกูอับดุลมุตตาลิบ (นิแปะ)

นอกจากนั้นยังบันทึกการปกครองในระดับอำเภอของเมืองต่างๆในบริเวณ 7 หัวเมือง ซึ่งสามารถที่จะทราบได้ดังนี้



Ahad, 13 April 2025

ตัวแทนคณะจากกรมศิลปวัฒนธรรมมาเลเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

วันนี้นักเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรม คุณ Arjunasukma Abe Yie และครอบครัว ได้เดินทางมาเยี่ยมที่บ้านนูซันตารา เขามาเป็นตัวแทนคณะจากกรมศิลปวัฒนธรรมมาเลเซีย ด้วยคณะดังกล่าวไม่ได้รับการอนุมัติเดินทางออกนอกประเทศ เพราะทำการขออนุญาตกระชันชิดเกินไป ครั้งแรกที่พบกับเขา เมื่อหลายปีก่อน ที่งาน Kenduri Seni Melayu ที่เมืองตันหยงปีนัง หมู่เกาะเรียว อินโดเนเซีย เราได้พูดคุยเรื่องดีเกร์บารัต และการแสดงอื่น ในการพูดคุยครั้งนี้ ทำให้ผมเริ่มความคิดในการค้นหาบันทึกความจำของนักเล่นดีเกร์บารัตคนหนึ่ง ที่ชื่อ นิฮาชิม หรือที่รู้จักของคนทั่วไปคือ นิโน๊ะ เจ๊าะไอร้อง








Rabu, 9 April 2025

การศึกษาทางเลือกในประเทศอินโดเนเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

การศึกษาเป็นหนทางหนึ่งในการหาความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการบรรลุความสำเร็จหรือเป้าหมายในอนาคต โดยพื้นฐานแล้วการศึกษาไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงวิธีที่เราจัดการกับการดำรงในชีวิตและแก้ไขปัญหาด้วย ในการเผชิญกับความท้าทายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เด็กๆ จะต้องเตรียมตัวให้พร้อมอย่างรอบคอบ โดยเริ่มจากความรู้และความเข้าใจที่กว้างขวาง รวมไปถึงประสบการณ์มากมาย ทำให้สามารถแข่งขันกับโลกภายนอกได้ดี


เพื่อที่จะสามารถแข่งขันกับโลกภายนอกได้ เด็กๆ จะต้องได้รับการศึกษาหรือการเรียนรู้ที่ดีตั้งแต่อายุยังน้อย ในปัจจุบันการศึกษาไม่ได้มุ่งเน้นแค่ที่โรงเรียนเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป นอกจากนี้ยังมีการศึกษาประเภทอื่นๆ ที่ให้ความรู้และพัฒนาความสามารถและความสนใจของเด็ก ซึ่งเรียกว่าการศึกษาทางเลือก


การศึกษาทางเลือกเป็นคำทั่วไปสำหรับการศึกษาประเภทต่างๆ ที่ดำเนินการด้วยวิธีการที่แตกต่างไปจากการศึกษาตามปกติหรือแบบดั้งเดิม โดยทั่วไปการศึกษาทางเลือกจะดำเนินการเป็นรายบุคคล โดยให้ความสำคัญกับตัวนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และตัวนักการศึกษาเองมากขึ้น การศึกษาครั้งนี้จะเน้นไปที่การพัฒนาความสนใจและความสามารถของเด็กมากขึ้น


จากนี้เราสามารถสรุปได้ว่าการศึกษาทางเลือกเป็นกลยุทธ์หรือกระบวนการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมที่ให้บุคคลหรือกลุ่มแต่ละคนมีทางเลือกของตนเองนอกเหนือจากทางเลือกที่มีอยู่ การศึกษาทางเลือกยังเป็นทางเลือกสำหรับนักเรียนที่ไม่ได้ไปโรงเรียนเพื่อให้สามารถเรียนรู้และรับความรู้ต่อไปได้

ประเภทของการศึกษาทางเลือก

การศึกษาทางเลือกมีหลายประเภทซึ่งมีอยู่ในอินโดเนเซียด้วย ตามที่ Jery Mintz กล่าว มีองค์กรสี่รูปแบบที่จัดอยู่ในประเภทการศึกษาทางเลือก ได้แก่ โรงเรียนทางเลือกของรัฐ โรงเรียนของรัฐสำหรับนักเรียนที่มีปัญหา โรงเรียนเอกชนหรือของรัฐ และการศึกษาที่บ้านหรือการเรียนที่บ้าน เพื่อให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น ด้านล่างนี้เป็นการทบทวนประเภทการศึกษาทางเลือกสี่ประเภท


1. โรงเรียนทางเลือกสาธารณะ

โรงเรียนทางเลือกของรัฐคือสถาบันการศึกษาที่ได้รับเงินทุนจากรัฐบาล แต่โรงเรียนเหล่านี้แตกต่างจากโรงเรียนของรัฐที่ใช้แนวทางการเรียนรู้แบบธรรมดา แม้กระนั้นก็ตาม การศึกษารูปแบบทางเลือกนี้ก็ยังคงดำเนินไปตามระเบียบข้อบังคับของทางราชการ หรือการดำเนินการไม่ออกนอกกรอบไปจากกฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้


การดำเนินการทางการศึกษาทางเลือกมีอยู่ในหลายภูมิภาคของประเทศอินโดเนเซีย ตัวอย่างได้แก่โรงเรียนเปิด เช่น โรงเรียนมัธยมต้นเปิด โรงเรียนมัธยมปลายเปิด และมหาวิทยาลัยเปิด นอกจากนั้นยังมีโรงเรียนทางไปรษณีย์/ทางไกล โรงเรียนเริ่มต้น (seed school) และโรงเรียนแม่เหล็ก (magnet school) อีกด้วย


คำว่า "โรงเรียนรัฐบาลที่ได้รับการคัดเลือก" มีความหมายในตัวเอง เช่น ในโรงเรียนประถมศึกษา ทำไมถึงเรียกว่าแบบนั้น? สาเหตุก็คือทางโรงเรียนมีโครงการการศึกษาพิเศษที่จะช่วยพัฒนาความสามารถหรือพรสวรรค์ของนักเรียนและผลิตเมล็ดพันธุ์ (นักเรียน) ที่มีคุณภาพ


ในทางกลับกัน โรงเรียนแม่เหล็กหมายถึงอะไร? คำตอบคือเพราะการศึกษาทางเลือกนี้ดึงดูดนักเรียนให้พัฒนาความสามารถหรือศักยภาพของตนเอง (เช่น ด้านกีฬาหรือศิลปะ)


7 กลยุทธ์ในการรับมือกับเด็กที่เรียนรู้เนื้อหาช้า

เด็กทุกคนไม่สามารถเรียนรู้เนื้อหาบทเรียนที่สอนในรูปแบบคลาสสิก (รูปแบบการเรียนรู้ที่เด็กทุกคนในชั้นเรียนเดียวกันทำกิจกรรมไปพร้อมๆ กัน) ได้อย่างง่ายดาย ดังนั้นต้องรู้วิธีการอบรมสั่งสอนเด็กที่มีปัญหาในการเข้าใจบทเรียน


จากโครงการนี้ จะเห็นได้ว่าการศึกษารูปแบบทางเลือกนี้แตกต่างจากการศึกษารูปแบบเดิมที่เน้นการสอน/ให้ความรู้แก่ผู้เรียนโดยไม่เน้นที่ความสามารถและความสนใจของผู้เรียน นั่นหมายความว่าการศึกษาทางเลือกได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อพัฒนาความสามารถของเด็กในด้านต่างๆ เช่น ศิลปะหรือกีฬา หวังว่าโรงเรียนแห่งนี้จะช่วยให้เด็กๆ ได้มุ่งเน้นไปที่ศักยภาพของตัวเองมากขึ้น


2. โรงเรียนรัฐบาลสำหรับนักเรียนที่มีความเสี่ยง

ทุกคนมีลักษณะนิสัย ความสามารถ ทัศนคติ หรือคุณสมบัติ รวมถึงสภาพชีวิตที่แตกต่างกัน ไม่ใช่ว่าตัวละครเด็กทั้งหมดควรได้รับการปฏิบัติเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ได้หมายความว่าเป็นอุปสรรคต่อการได้รับการศึกษาของเด็กทุกคน


การศึกษาทางเลือกจัดให้มีโครงการโรงเรียนของรัฐสำหรับนักเรียนที่มีความเสี่ยง คำว่า "ปัญหา" ในกรณีนี้มีขอบเขตกว้างมากและครอบคลุมหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น ดังต่อไปนี้


-นักศึกษาที่ขาดเรียนเนื่องจากมาเรียนสาย

-เด็กที่เสพยาเสพติดหรือสารเสพติด

-ทัศนคติหรือลักษณะนิสัยของเด็กที่ไม่ค่อยน่าชื่นชม เช่น เป็นคนเกเรหรือสร้างความื วุ่นวายให้กับชุมชน

-เด็กที่ได้รับบาดแผลทางจิตใจอันเนื่องมาจากปัญหาในครอบครัวอันเนื่องมาจากบ้านที่แตกแยกหรือการหย่าร้างของพ่อแม่ สภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ เชื้อชาติหรือวัฒนธรรมที่แยกห่างจากเด็กๆ และคนพเนจรหรือเด็กเร่ร่อน

-เด็กที่ออกจากโรงเรียนเพราะเหตุผลต่างๆ

ก่อนหน้านี้ไม่เคยหรือไม่เคยเข้าร่วมโครงการใดๆ เลย ในกรณีนี้จะไม่รวมโรงเรียนพิเศษเพราะโรงเรียนเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีความพิการทางร่างกายหรือจิตใจ เช่น ตาบอด หูหนวก ความพิการทางร่างกาย เป็นต้น


ภายใต้เงื่อนไขที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ที่ถือเป็นนักศึกษาที่มีปัญหา. จริงๆ แล้วคำว่า “ปัญหา” ในที่นี้สามารถขยายความให้หมายถึงนักเรียนที่ “ต้องการความเอาใจใส่เป็นพิเศษ” เพื่อทำให้การรับฟังน่าฟังยิ่งขึ้น เพราะไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดการศึกษาก็เป็นสิทธิที่ทุกคนควรมี


3. โรงเรียนเอกชน/อิสระ

สถาบันการศึกษาเอกชนหรืออิสระเป็นการศึกษาทางเลือกที่ไม่ได้รับการบริหารจัดการโดยรัฐบาลหรือการควบคุมและเป็นเจ้าของโดยแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม สถาบันแห่งนี้ก็ยังมีกฎระเบียบ/กฎเกณฑ์ที่ดีในการให้การศึกษาหรือการเรียนรู้แก่ผู้เรียนภายในอีกด้วย


การศึกษาทางเลือกมีหลายรูปแบบ ประเภท และโปรแกรม ตัวอย่างหนึ่งคือการศึกษาที่มีโปรแกรมที่เน้นความรู้ด้านศาสนา เช่น โรงเรียนประจำอิสลามและโรงเรียนวันอาทิตย์


ลักษณะเฉพาะของสถาบันการศึกษาแห่งนี้สามารถเห็นได้จากทักษะการใช้งานสำหรับหลักสูตรหรือการฝึกงาน และยังมีสถาบันการศึกษาที่มีโครงการดูแลเด็กหรือการศึกษาปฐมวัย เช่น โรงเรียนอนุบาล กลุ่มเด็กเล่น หรือการดูแลเด็ก


4. การเรียนที่บ้านหรือการศึกษาที่บ้าน

การศึกษาทางเลือกนี้คงคุ้นเคยกับคุณอยู่แล้ว การเรียนที่บ้านหรือการศึกษาที่บ้านเป็นทางเลือกของหลาย ๆ คนในการแสวงหาความรู้และพัฒนาตนเอง แม้ว่าจะไม่ได้รับการศึกษาในรูปแบบปกติก็ตาม โดยพื้นฐานแล้วการเรียนที่บ้านจะทำที่บ้าน อย่างไรก็ตามในปัจจุบันสามารถทำได้ทุกที่ตามที่เด็กต้องการเรียนรู้


ในทางปฏิบัติ การศึกษาดังกล่าวสามารถดำเนินการได้โดยสมาชิกในครอบครัวโดยตรงหรือโดยมีครูสอนพิเศษหรือครูสอนที่บ้านเข้าร่วม


ครูต้องรู้ นี่คือประเภทคำถามในรูปแบบการประเมินการเรียนรู้

การประเมินผลการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญมากในการวัดความสามารถของนักเรียน ครูจะต้องรู้ประเภทของคำถามเมื่อทำการประเมินการเรียนรู้


มีหลายเหตุผลว่าทำไมครอบครัวจึงเลือกที่จะสอนลูกๆ ที่บ้านแทนที่จะไปโรงเรียนตามปกติ ตัวอย่างหนึ่งคือการป้องกันไม่ให้เด็กๆ ได้รับการปนเปื้อนจากแนวคิดหรือปรัชญาการใช้ชีวิตที่ไม่สอดคล้องกับประเพณีของครอบครัว ยังมีเหตุผลที่จะต้องปกป้องลูกของคุณให้ปลอดภัยจากสภาพแวดล้อมเชิงลบและไม่ได้รับผลกระทบ


ไม่เพียงเท่านั้น บางครอบครัวยังเลือกการศึกษาประเภทนี้เพื่อปกป้องลูกๆ ของตนจากความผิดปกติทางร่างกายหรือจิตใจอันเนื่องมาจากอิทธิพลของสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีหรือเพราะสภาพร่างกายของเด็กไม่เอื้ออำนวย มีบางคนที่ไม่มีเงินทุนหรือสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาได้ด้วยเหตุผลอื่นๆ มากมาย


สิ่งเหล่านี้คือหลายๆ เรื่องเกี่ยวกับการศึกษาทางเลือก และการทบทวนสั้นๆ เกี่ยวกับประเภทการศึกษาทางเลือก 4 ประเภทตามคำกล่าวของ Jery Mintz การศึกษาทางเลือกทั้ง 4 ประเภทนี้มีอยู่ในอินโดเนเซียด้วย โดยทั่วไปแล้วการศึกษารูปแบบเดิมและการศึกษาทางเลือกต่างก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม มันกลับมาอยู่ที่ความต้องการของเด็กแต่ละคน ไม่ว่าจะเลือกการศึกษารูปแบบปกติหรือทางเลือก สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเด็กทุกคนสามารถได้รับการศึกษา

บางส่วนได้แบ่งการศึกษาทางเลือกครอบคลุมได้ดังนี้

1. การศึกษาทางวัฒนธรรมและภาษา

2. การฟื้นฟูระดับอาชีวศึกษา

3. หลักสูตรการศึกษาในวิทยาเขตอิสระหรือการศึกษาระดับอุดมศึกษา

4. การพัฒนาคุณภาพหลักสูตรการศึกษา

5. การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลของโรงเรียน

6. เพิ่มเงินทุนเพื่อการศึกษา

7. การพัฒนาคุณภาพผู้สอน


อ้างอิง

Epin Supini, Mengenal Macam-Macam Pendidikan Alternatif di Indonesia, https://blog.kejarcita.id


Samsul Hadi, K.R.T. Heru Arif Pianto Dwijonagoro, Taufik Hidayat, Membedah Pendidikan Alternatif di Indonesia, STKIP PGRI Pacitan,

https://ejournal.stkippacitan.ac.id