Jumaat, 8 November 2024

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ดาโต๊ะ ไซนาลอาบีดิน กลิง (Profesor Emeritus Datuk Dr Zainal Kling) นักวิชาการนามอุโฆษแหงมาเลเซีย

โดย นายนิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2024 มีข่าวจากมาเลเซียได้รายงานว่า  นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ คือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ดาโต๊ะ ไซนาลอาบีดิน กลิง (Profesor Emeritus Datuk Dr Zainal Kling) ได้เสียชีวิตลง เมื่อเวลา 04.30 น. ตามเวลามาเลเซีย ทีโรงพยาบาลชาห์อาลาม รัฐสลังงอร์ มาเลเซีย สำหรับศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ดาโต๊ะ ไซนาลอาบีดิน กลิง (Profesor Emeritus Datuk Dr Zainal Kling) นับเป็นนักวิชาการที่รอบรู้ของประเทศมาเลเซีย เมื่อหลายปีก่อนผู้เขียนได้ร่วมสัมมนาในประเทศบรูไนดารุสสาลาม โดยได้ร่วมพักห้องเดียวกันที่โรงแรมในประเทศบรูไนดารุสสาลามกับศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ดาโต๊ะ ไซนาลอาบีดิน กลิง (Profesor Emeritus Datuk Dr Zainal Kling) สองสามวัน ในขณะที่ได้ร่วมห้องเดียวกันนั้น ผู้เขียนก็ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ดาโต๊ะ ไซนาลอาบีดิน กลิง (Profesor Emeritus Datuk Dr Zainal Kling) หนึ่งสิ่งที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในห้องโรงแรมที่ประเทศบรูไนดารุสสาลาม คือ ได้ถามท่านว่า ท่านจบในสาขาอะไร เพราะเห็นสามารถที่จะขึ้นเวทีรวมเสวนาในหัวข้อต่างๆ ทั้งวรรณกรรม ภาษามลายู ประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา เพราะผุ้เขียนสงสัย แม้จะรู้วา ท่านอยู่ในสายสังคมวิทยา มานุษยวิทยา ท่านก็ตอบแบบ การร่วมงานกับเพื่อน พรรคพวกในหลากหลายสาขา ทำให้ เป็นคนที่สามารถนำประสบการณ์ต่างๆ มาพูด มาบรรยายในหลากหลายสาขา

ในครั้งนี้ เรามาทำความรู้จักกับศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ดาโต๊ะ ไซนาลอาบีดิน กลิง (Profesor Emeritus Datuk Dr Zainal Kling) นะครับ 

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ดาโต๊ะ ไซนาลอาบีดิน กลิง (Profesor Emeritus Datuk Dr Zainal Kling) เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 1944 ในรัฐมะละกา ในช่วงสิ้นสุดการยึดครองมลายาของญี่ปุ่น เขาเติบโตมาในบรรยากาศแบบหมู่บ้านและเข้าเรียนในโรงเรียนที่ใช้ภาษามลายูในปี 1950 โรงเรียนมลายูเป็นรูปแบบการศึกษารูปแบบเดียวที่พบในหมู่บ้านมลายูเกือบทุกหมู่บ้าน ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เด็กมลายูก็จะออกมาเป็นกรรมกร ชาวนา ชาวประมง หรือตำรวจ และทหารที่เสี่ยงชีวิตเพื่อปกป้องความปลอดภัยให้ทุกคน กล่าวคือ พวกเขาอยู่ที่ระดับล่างของสังคม คือเป็นสิ่งที่เจ้าอาณานิคมอังกฤษได้วางแผนไว้แล้ว ยกเว้นคนไม่กี่คนที่จะออกมาเป็นเจ้าหน้าที่และพนักงานระดับล่างในหน่วยงานของรัฐ


ต่อมาโรงเรียนมัธยมที่ใช้ภาษามลายูได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนตวนกูอับดุลราห์มาน (Sekolah Tuanku Abdul Rahman (STAR) ถนนไทเกอร์เลน (Tiger Lane) รัฐเปรัค ซึ่งเป็นโรงเรียนสมัยใหม่ที่นำชื่อของพระราชาธิบดีคนแรกมาเป็นชื่อโรงเรียน จากเด็กในหมู่บ้านที่ยากจนมากมาสู่เด็กสมัยใหม่ เขาสามารถได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเป็นนักเรียนชั้นม.6 และสามารถเข้ามหาวิทยาลัยมาลายาในปี 1964 โรงเรียนตวนกูอับดุลราห์มาน ได้กลายเป็นดวงดาวที่ส่องสว่างบนท้องฟ้าของประเทศมาเลเซียในยุคนั้น เพื่อช่วยให้ชาวมลายูหลายพันคน เด็ก ๆ จะได้รับการยกระดับการศึกษา ซึ่งไม่เพียงจะไม่กลายมาเป็นชนชั้นที่ยากจนและขัดสนอีกต่อไป ดังนั้นการใช้ชีวิตในหอพักเป็นเวลาหนึ่งทศวรรษในโรงเรียนของเขาทำให้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ดาโต๊ะ ไซนาลอาบีดิน กลิง (Profesor Emeritus Datuk Dr Zainal Kling) หลุดพ้นจากวงจรอุบาทว์ คือการกดขี่ต่อผู้เรียนที่ใช้ภาษามลายู

จากนั้นเขาได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมาลายา (Universiti Malaya) และสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต (B.A.Hons) ในปี 1964-1966/67 และปริญญาโทสาขาศิลปศาสตร์ (MA Hons) ที่มหาวิทยาลัยมาลายาเช่นเดียวกันในปี 1967-1969-70 และเขาศึกษาต่อจนถึงปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยฮุลล์ ประเทศอังกฤษ ในปี 1970-1973/74


ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ดาโต๊ะ ไซนาลอาบีดิน กลิง (Profesor Emeritus Datuk Dr Zainal Kling) เคยเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติมาลเซีย (Universiti Kebangsaan Malaysia) ในปี 1977/78 เขาเป็นผู้ตรวจสอบ หรือ Reader วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยไซนส์มาเลเซีย รัฐปีนัง ในปี 980/81 เขาเป็นอาจารย์พิเศษ และผู้ดูแลหลักสูตรการอบรมระดับอุดมศึกษา ทีมหาวิทยาลัยมาลายา ในปี 1983/85 เป็นอาจารย์พิเศษวิชามานุษยวิทยา ของหลักสูตรการอบรมพยาบาล มหาวิทยาลัยมาลายา ในปี 1985/89 เขามีโอกาสเป็นอาจารย์สอนสาขาวิชาวิเคระห์สังคมที่วิทาลัยตำรวจ (Police College) ที่เมืองกัวลากูบูบารู รัฐสลังงอร์ ในปี 1985 และเป็นอาจารย์พิเศษสาขาวิชาสังคมวิทยา ที่ State University of New York (SUNY-ITM) เป็นโครงการร่วม หรือ Join Education Programme ดำเนินการที่เมืองซูบังจายา กัวลาลัมเปอร์ ในปี 1985/87 เขายังเป็นคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรสำหรับมัคคุเทศก์ ขององค์การสงเสริมการท่องเที่ยวแห่งมาเลเซีย ในปี 1988 เขาเป็นอาจารย์พิเศษสำหรับผู้เข้าอบรมเป็นมัคคุเทศก์ องค์การสงเสริมการทิองเที่ยวแห่งมาเลเซีย ในปี 1989


ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ดาโต๊ะ ไซนาลอาบีดิน กลิง (Profesor Emeritus Datuk Dr Zainal Kling) เข้าสู่ระดับการบริหาร โดยเริ่มตั้งแต่ระดับล่างคือ


เป็นหัวหน้าหอนักศึกษาที่ชื่อว่า Kolej ke 4 (Fourth Residential College) โดยในมหาวิทยลัยมาลายา นั้นคือทุกหอพักนักศึกษาจะต้องมีอาจารย์ผู้ดูแลหอพัก โดยต้องพักอาศัยร่วมหอพักกับนักศึกษา เพื่อสามารถดูแลนักศึกษาตลอด 24 ชั่วโมง โดยดำรงตำแหน่งระหว่างเดือนพฤษภาคม 1976-เดือนธันวาคม 1978


ต่อมาดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ หรือ มาเลเซียเรียกว่า tutor ของมหาวิทยาลัยมาลายา ระหว่างเดือนมิถุนายน 1967- เดือนกันยายน 1969


ต่อมาเป็นอาจารย์ระดับเรียกว่า ผู้ช่วยอาจารย์ หรือ Pembantu Pensyarah ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์  1974- เดือนธันวาคม 1977


เป็นรองศาสตราจารย์ หรือ Prof. Madya ระหว่างเดือนธันวาคม 1977-1992 ในมหาวิทยาลัยมาลายา ไม่มีตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์อย่างในประเทศไทย


และได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ ในปี 1992


หัวหน้าภาควิชาสังคมวิทยา มานุษยวิทยา ของมหาวิทยาลัยมาลายา ในเดือนเมษายน ในปี 1984/88


เป็นคณบดีของคณะศิลปะศาสตร์และสังคมศาตร์ มหาวิทยาลัยมาลายา ระหว่างพฤษภาคม 1993 - เมษายน 1995


ได้รับแต่งตั้งเป็นรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมาลายา ฝ่ายกิจกรรมนักศึกษา ในเดือนเมษายน 1995 จนเกษียณก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณ หรือ Profesor Emeritus ของมหาวิทยาลัยต่างๆ  เริ่มตั้งแต่มหาวิทยาลัยอุตารามาเลเซีย (Universiti Utara Malaysia) โดยรับตำแหน่งศาสตราจารย์ของศูนย์ศึกษารัฐบาล หรือ Pusat Pengajian Kerajaan ของคณะกฎหมาย รัฐบาล และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (College of Law, Government and International Studies)  ของมหาวิทยาลัยอุตารามาเลเซีย (Universiti Utara Malaysia)


ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ดาโต๊ะ ไซนาลอาบีดิน กลิง (Profesor Emeritus Datuk Dr Zainal Kling) เป็นคนต่อต่อต้านนโยบาย PPSMI สำหรับนโยบาย PPSMI หรือ Pengajaran dan Pembelajaran Sains dan Matematik dalam Bahasa Inggeris หมายถึงการสอนและการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์โดยใช้ภาษาอังกฤษ (PPSMI) เป็นชื่ออย่างเป็นทางการของนโยบายการศึกษาของมาเลเซียที่กำหนดให้ภาษาอังกฤษเข้ามาแทนที่ภาษาประจำชาติ/ภาษาแม่เป็นสื่อกลางของวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในทุกระดับของการศึกษา นโยบาย PPSMI มักเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันอย่างถึงพริกถึงขิง นับตั้งแต่ถูกนำมาใช้โดยฝ่ายบริหารของยุค ดร. มหาเธี บิน โมฮัมหมัด ในปี 2003 และในสุดท้ายนโยบายนี้จะถูกยกเลิกโดยสิ้นเชิงในปี 2012 ตามที่ประกาศโดยรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการของมาเลเซีย ตัน ศรี มูห์ยิดดิน ยัสซิน

       การประชุมที่เรียกว่า Kongres Maruah Melayu หรือสมัชชาศักดิ์ศรีมลายู

สำหรับการยอมรับของกลุ่มฝ่ายมลายูที่มีต่อศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ดาโต๊ะ ไซนาลอาบีดิน กลิง (Profesor Emeritus Datuk Dr Zainal Kling) นับวาสูงพอควร คือ ครั้งมีการประชุมที่เรียกว่า Kongres Maruah Melayu หรือสมัชชาศักดิ์ศรีมลายู ที่ประกอบด้วยบรรดาพรรคการเมืองฝายมลายู และองค์กร NGO เมื่อ 6 ตุลาคม 2019 จัดขึ้นที่สนามกีฬามาลาวาตี (Stadium Malawati) เมืองชาห์อาลาม รัฐสลังงอร์ เป็นการชุมนุมของชาวมลายู เพื่อแสดงพลังความสามัคคี โดยมีนายมหาเธร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมด้วย การประชุมครั้งนั้นได้ให้ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ดาโต๊ะ ไซนาลอาบีดิน กลิง (Profesor Emeritus Datuk Dr Zainal Kling) เป็นประธานของการประชุม


ผลงานเขียนของศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ดาโต๊ะ ไซนาลอาบีดิน กลิง (Profesor Emeritus Datuk Dr Zainal Kling)


Zainal Kling.(1995) The Malay family: Beliefs and realities. Journal of comparative family studies, 26 (1). pp. 43-66. ISSN 0047-2328


Zainal Kling.(2013) Budaya unggul pekerja awam / badan berkanun. In: Pembudayaan pekerja dalam arus transformasi negara. Institut Pemikiran Tun Dr. Mahathir Mohamad, Sintok, pp. 65-84. ISBN 9789670193076


Zainal Kling.(2006) UMNO and BN in the 2004 election: The political culture of complex identities. In: Malaysia recent trends and challenges. Institute of Southeast Asian Studies, Singapore, pp. 157-194. ISBN 9812303367


Zainal Kling.(2015) Merdeka daripada apa? (6 September 2015). in Mingguan Malaysia, p. p. 8.


Zainal Kling.(2016) Hang Tuah: Adiwira sebenar bangsa Melayu. (3 April 2016). in Utusan Malaysia, p. p. 10.


Zainal Kling.(2003) The changing international image of Brunei. Southeast Asian Affairs 1990 (1). pp. 89-100. ISSN 0377-5437

 


Tiada ulasan: