โดย นายนิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ผู้เขียนได้ร่วมงานสัมมนาด้านวรรณกรรมต่างๆ โดยได้พบปะนักเขียน นักวรรณกรรมชาวอินโดเนเซีย และจากการได้พบปะกับนักเขียนชาวอินโดเนเซียนี้เอง ผู้เขียนได้รับข้อความว่า ทางสมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซีย (Himpunan Sarjana-Kesusastraan Indonesia - HISKI) จะมีการจัดงานสัมมนาประจำปีของสมาคมฯในเดือนปลายเดือนตุลาคม 2024 พร้อมที่จะไปร่วมเป็นหนึ่งในองค์ปาฐก หรือ Keynote Speaker ไหม ด้วยในช่วงที่ได้รับการติดต่อนั้น ยังมีเวลาอีกหลายเดือน จึงตอบรับพร้อมที่จะเดินทางไปร่วมงาน แต่พอใกล้งาน ทางเจ้าภาพที่มหาวิทยาลัยศรีวิชัย หรือ Universitas Sri Wijaya แจ้งว่า จะร่วมการประชุมแบบ offline หรือ online ก็ตอบว่า ถ้ามีองค์ปาฐกจากต่างประเทศบางท่าน จะร่วมประชุมแบบ online ผู้เขียนจึงตอบว่า ขอร่วมประชุมแบบ online ก็แล้วกัน และในการสัมมนาครั้งนี้ มีองค์ปาฐกจำนวนหนึ่งเข้าร่วมโดยทาง online มีนักวิชาการจากเยอรมัน นักวิชาการจากญี่ปุน นักวิชาการจากรัฐซาบะห์ มาเลเซียในการสัมมนาวิชาการครั้งนี้
มีนักวิชาการด้านวรรณกรรมทั่วอินโดเนเซีย ยังมีองค์ปาถกมาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น
มหาวิทยาลัย
Goethe
University of Frankfurt ประเทศเยอรมัน
Universiti
Malaysia Sabah และ UPSI
ประเทศมาเลเซีย
Universidade
de Lisboa ประเทศโปร์ตุเกส
Akita
University ประเทศญี่ปุ่น
Nuantara
Studies Center ประเทศไทย
ตัวแทนจากสาธารณรัฐซานมารีโน
(อิตาลี)
ในการนี้
ขอเสนอความเป็นมาของสมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซีย ซึ่งผู้เขียนคิดว่า
ทางศูนย์นูซันตาราศึกษา จะทำงานร่วมมือกับทางสมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซียในโอกาสต่อไป
สมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซีย
(Himpunan
Sarjana-Kesusastraan Indonesia - HISKI) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17
พฤศจิกายน 1984 ในเมืองตูกู ปุนจัก จังหวัดชวาตะวันตก หนึ่งในผู้ก่อตั้งและผู้ริเริ่มองค์กรนี้คือศาสตราจารย์
ดร. ซาปาร์ดี โยโก ดาโมโน่ (Prof. Dr. Sapardi Djoko Damono)
นักเขียนรางวัลซีไรต์ ปี 1986
สมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซีย:
1. ส่งเสริมและพัฒนาความคิดและความคิดสร้างสรรค์ของสมาชิก
ในสาขาวรรณกรรม
2. เผยแพร่ผลการดำเนินงานเพื่อความก้าวหน้า ความรู้ การศึกษา
และวัฒนธรรมอีกด้วย
3. เพิ่มกิจกรรมวรรณกรรมในหมู่ประชาชนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของสมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซีย
1. จัดการประชุมทางวิชาการ
2. จัดการฝึกอบรมและการประชุมเชิงปฏิบัติการ
3. เผยแพร่ผลการดำเนินงานของเป้าหมายของสมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซีย
4. ส่งเสริมความเชี่ยวชาญให้กับสถาบันการศึกษาในด้านต่างๆ เช่น สาขาการพัฒนา
การสอน และการวิจัยวรรณกรรม
5. มีส่วนร่วมในกิจกรรมระดับชาติและระดับนานาชาติอย่างแข็งขัน
เพื่อปรับปรุงวิชาชีพและความรู้
6. ดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ตามหลักการและวัตถุประสงค์ของเป้าหมายของสมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซีย
สมาชิกของสมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซียประกอบด้วย
(1) สมาชิกสามัญ (ผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาวัฒนธรรม ภาษา และวรรณคดี
ตลอดจนนักวิชาการด้านการศึกษาภาษาและวรรณกรรมของอินโดเนเซีย ทั้งในระดับภูมิภาคและต่างประเทศ)
และ
(2) สมาชิกกิตติมศักดิ์ (บุคคลธรรมดา ทั้งชาวอินโดเนเซียและชาวต่างชาติ)
ซึ่งมีความสนใจและมีส่วนร่วมในการพัฒนาวรรณกรรม การจัดการของสมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซียประกอบด้วยการจัดการจากส่วนกลาง
การจัดการผู้แทน (ซึ่งตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค สถาบัน/หน่วยงาน หรือที่มหาวิทยาลัย)
และคณะกรรมการของสมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซีย
กิจกรรมต่างๆของสมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซีย เช่น
โรงเรียนวรรณกรรม
(Sekolah
Sastra)
โรงเรียนวรรณกรรมเป็นหนึ่งในโครงการงานที่สมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซีย จัดขึ้นทุกเดือนในสัปดาห์แรกและสัปดาห์ที่สอง โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นช่องทางในการสำรวจทฤษฎี วิธีการ และการศึกษานวัตกรรมทางวรรณคดี มีการอภิปรายเพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถแลกเปลี่ยนความคิดหรือแนวคิดแบบโต้ตอบได้
โครงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
(Tukar
Tutur Sastra)
การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านวรรณกรรมเป็นหนึ่งในโครงการของสมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซีย ซึ่งหัวหน้าสาขาของสมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซียจะร่วมมือกันและเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อแจ้งเกี่ยวกับปัญหาวรรณกรรมในพื้นที่ของตน โครงการนี้ดำเนินการเดือนละครั้งทุก ๆ สัปดาห์ที่สาม จุดมุ่งหมายของการจัด Literature Speech Exchange คือเพื่อนำมาแลกเปลี่ยนด้านวรรณกรรมที่มีอยู่ในอินโดเนเซีย
สุนทรพจน์ด้านวรรณกรรม
(Pidato
kesusastraan)
เป็นโครงการการทำงานจากสมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซียส่วนกลาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดแนวคิดบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับวรรณกรรม โครงการนี้ยังจัดให้มีพื้นที่สำหรับการอภิปรายระหว่างวิทยากรเพื่อให้การกล่าวสุนทรพจน์สามารถนำไปใช้ในชีวิตวรรณกรรมได้
สมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซียสู่โรงเรียน (Hiski Masuk Sekolah)
สมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซียสู่โรงเรียนกับชุมชน (Hiski Bersama Komunitas)
ความร่มมือสมาคมปัญญาชนนักวรรณกรรมอินโดเนเซียกับองค์กรอื่นๆ
(Hiski
Berkerjasama dengan Lembaga Lain)
Tiada ulasan:
Catat Ulasan