โดย นายนิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ในปี 2015 เมื่อครั้งที่ผู้เขียนและเพื่อนๆ
ร่วมกับบรรดานักศึกษาสาขาวิชามลายูศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ได้จัดงาน “งานสัมมนาวรรณกรรมภูมิภาคมลายู ครั้งที่ 8” หรือ “Pertemuan Penyair Nusantara VIII”
ที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจบโครงการสัมมนาครั้งนี้ โดยพักคืนสุดท้ายที่อำเภอหาดใหญ่
จังหวัดสงขลา
ทางผู้เขียนในฐานะเป็นหนึ่งคณะทำงานฝ่ายไทย และรับหน้าที่เป็นประธานจัดงาน“งานสัมมนาวรรณกรรมภูมิภาคมลายู
ครั้งที่ 8” หรือ “Pertemuan Penyair Nusantara VIII”
ในครั้งนั้น โดยได้เชิญคุณนายอัซรีซาล นูร์ (Asrizal Nur) และทางนายอัซรีซาล
นูร์ (Asrizal Nur)
ได้เข้าร่วมงานสัมมนาครั้งนั้นด้วยความเต็มใจ แต่หลังจากนั้นในเวลาต่อมา
ผู้เขียนก็ได้ร่วมงานสัมมนาด้านวรรณกรรมในประเทศอินโดเนเซีย หลายต่อหลายครั้ง
ให้เห็นถึงการแปลกในการอ่านบทกวีของนายอัซรีซาล นูร์ (Asrizal Nur) โดยการอ่านบทกวีของเขา
จะมีการผสมผสานกับมัลตีมีเดีย ที่ในอินโดเนเซีย เรียกว่า Puisi Multimedia ทำให้การอ่านบทกวีของเขาจะแปลกกว่านักกวีคนอื่น และดึงดูดผู้ฟัง
ผู้ชมได้เป็นอันมาก ในครั้งนี้ขอแสดงขอเสนอประวัติ
และผลงานของนายอัซรีซาล นูร์ (Asrizal Nur)
นายอัซรีซาล
นูร์ (Asrizal Nur) เกิดที่เมืองเปกันบารู จังหวัดเรียว เมื่อ 16 พฤศจิกายน 1969 เป็นนักเขียน นักกวีชาวอินโดเนเซีย
เขามีชื่อเสียงจากบทกวีที่เขียนและอ่านพร้อมผสมผสานกับเสียงดนตรีและมัลตีมีเดียที่มีลักษณะเฉพาะ
นายอัซรีซาล
นูร์ (Asrizal Nur) เป็นที่รู้จักในฐานะหนึ่งในผู้ริเริ่มงาน “วันกวีนิพนธ์อินโดเนเซีย-Hari Puisi Indonesia”
ซึ่งเป็นที่รู้จักดีที่สุดจากคอนเสิร์ตบทกวีมัลติมีเดียอันตระการตา
ซึ่งเป็นผลงานที่มอบสีสันใหม่ให้กับการอ่านและแสดงบทกวีในอินโดเนเซีย เขาแสดงการอ่านบทกวีในประเทศต่างๆ
โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไนดารุสสาลาม ไทย
และเกาหลีใต้
ตั้งแต่วัยเด็ก นายอัซรีซาล นูร์ (Asrizal Nur) มีส่วนร่วมในงานเกี่ยวกับงานศิลปะและการละคร หลังจากโตขึ้น นายอัซรีซาล
นูร์ (Asrizal Nur) ได้ย้ายไปอยู่กรุงจาการ์ตาในปี
1995 และตั้งแต่ปี 2002
เขาได้อาศัยอยู่ในเมืองเดป๊อก (Depok) ซึ่งเป็นชานเมืองของกรุงจาการ์ตา
และเป็นเมืองที่ตั้งของมหาวิทยาลัยอินโดเนเซีย (Universitas Indonesia) ที่มีชื่อของอินโดเนเซีย
ในฐานะศิลปิน นายอัซรีซาล นูร์ (Asrizal Nur) ยังเป็นที่รู้จักในฐานะคนสำคัญที่ทำการละครแรงงาน
โดยมีคณะการแสดง ชื่อว่า Sanggar Pabrik โดยเป็นคณะการแสดงที่จะกระตุ้น ให้ผู้ใช้แรงงานตระหนักถึงความสำคัญของชนชั้นแรงงาน
โดยผ่านงานศิลปะ อย่างไรก็ตาม ความพยายามของเขา มักถูกขัดขวางโดยรัฐบาลยุคระบบใหม
หรือ Orde Baru (ยุคประธานาธิบดีซูฮาร์โต) ซึ่งจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก ในปี 1995 การแสดงของคณะ Sanggar Pabrik ที่มีชื่อว่า Surat
Cinta Kepada Marsinah (จดหมายรักถึงมาร์ซีนะห์) ถูกยกเลิกโดยรัฐ
จนต้องขึ้นศาลยุติธรรม จนในที่สุดศาลอินโดเนเซีย ที่เรียกว่า Pengadilan
Tata Usaha Negara (PTUN) หรือ Sate Administrative
Court ลงมติให้ทางคณะการแสดง Sanggar Pabrik ชนะในศาล
หลังจากนั้นรัฐบาลอินโดเนเซีย ได้ออกระเบียบฉบับที่ 3 กำหนดให้ออกแนวปฏิบัติว่ากิจกรรมทางวัฒนธรรมทุกอย่างไม่จำเป็นต้องดำเนินการขอใบอนุญาต
และถือว่าข้อระเบียบที่ประกาศนี้ เป็นหนึ่งในคุณูปการด้านศิลปะในประเทศมีความอิสระมากขึ้น
ในปี 1997 เขาและภรรยาที่เพิ่งคลอดบุตร และเพื่อนๆ
ของพวกเขาถูกจับกุมและจำคุกฐานจัดงานศิลปะเพื่อคนชายขอบ กลุ่มคนใช้แรงงาน แต่หลังจากเข้าสู่ยุคปฏิรูป
หรือ ยุคที่ระบบซูฮาร์โตล้มสลาย เขากลับไปทำกิจกรรมทางวัฒนธรรมและจัดอ่านบทกวี
รวมทั้งการอ่านบทกวีที่เรียกว่า Puisi Multimedia ทั้งในและต่างประเทศ
เขามีบทบาทในการพัฒนาบทกวีในอินโดเนเซีย นายอัซรีซาล
นูร์ (Asrizal Nur) ริเริ่ม
"บทกวีมัลติมีเดีย" จากนั้นก็ริเริ่มวันกวีนิพนธ์อินโดเนเซีย
(Hari Puisi Indonesia) และยังแนะนำบทกวีอินโดเนเซีย บนเวทีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ภายในประเทศ นอกเหนือจากการเขียนและอ่านบทกวีแล้ว นายอัซรีซาล นูร์ (Asrizal
Nur) ยังทำกิจกรรมต่างๆ อีกด้วย
หนึ่งในนั้นทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินในการแข่งขันบทกวีต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ
ครั้งหนึ่งเขาเคยเป็นผู้ตัดสินในการแข่งขันอ่านบทกวีระดับชาติที่จัดโดย Forum
Muda Cendekia (Formaci) จังหวัดชวากลาง ร่วมกับนักเขียนนามอุโฆษ
ฟาติน ฮามามะห์ (Fatin Hamama)และนายเซนดัง มุลยานา (Sendang
Mulyana) อาจารย์ของมหาวิทยาลัยดังระดับประเทศอินโดเนเซีย
ที่ชื่อว่ามหาวิทยาลัยซือบือลัสมาเร็ต (UNNES)
ในการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของนายอัซรีซาล นูร์
(Asrizal Nur) คือการจัดงานที่ชื่อว่า
Anugerah Pantun Mutiara Budaya Indonesia โดยเป็นงานที่มีความชื่นชมสูงสุดสำหรับนักเคลื่อนไหวด้านวรรณกรรมที่เรียกว่าปันตุน
(Pantun) ในอินโดเนเซีย ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2020 ที่เมืองบาตัม จังหวัดหมู่เกาะเรียว
สำหรับอินโดเนเซีย มีนโยบายหนึ่ง ที่บางประเทศอาจจะไม่มี นั้นคือการสนับสนุนนักกวี
นักวรรณกรรมในการสร้างหน่วยงาน สถานที่สร้างกิจกรรมด้านวรรณกรรม วัฒนธรรม ผู้เขียนมีเพื่อนนักเขียนคนหนึ่ง
เป็นข้าราชการระดับสูง มีบทบาทในทางการเมือง กล่าวว่า
เขามีที่ดินผืนหนึ่งบนเกาะที่เขาเกิด ต่อไปจะเมื่อเกษียณจากราชการ
เขาจะของบประมาณจากรัฐบาลมาสร้างอาคารเพื่อกิจกรรมทางวรรณกรรม ทางวัฒนธรรม
ด้วยรัฐบาลอินโดเนเซีย มีนโยบายเกี่ยวกับการสนับสนุนด้านวรรณกรรม ด้านวัฒนธรรม
ทำให้ผู้เขียนเข้าใจนายอัซรีซาล นูร์ (Asrizal Nur) มากขึ้น เมื่อเพื่อนจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้คนหนึ่งเคยพูดว่าไม่รู้ว่า นายอัซรีซาล
นูร์ (Asrizal Nur) เขาของบประมาณจากรัฐบาลอย่างไรในการสร้างบ้านของเขา
เพื่อเป็นบ้านทำกิจกรรมด้านวรรณกรรม วัฒนธรรม ภายใต้ชื่อว่า Rumah Seni
Asrizal Nur ต่อมาได้จัดตั้งกลุ่มนักวรรณกรรมภายใต้ชื่อ Perkumpulan Rumah Seni Seni
Asrizal Nur หรือชื่อย่อว่า PERRUAS
โดยผู้เขียนรับเป็นตัวแทนกลายๆของกลุ่ม Perkumpulan Rumah Seni Asrizal Nur สำหรับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
บทกวีของนายอัซรีซาล นูร์ (Asrizal Nur) หัวข้อ “Negeri Pantun”
Negeri Pantun
(Kepada Tanungpinang)
Aku saksikan mata air kata
Meluap di lafaz pemantun
Jika berlabuh di dermaga kota
Dipeluk peradaban negeri pantunahkan
Bahkan laut bahkan ikan
Riak air dan gelombang
Pantai, pasir dan awan
Nelayan dan air pasang
Air memberi kata ke laut
Riaknya berpantun gelombang
Gelombang seru bertaut
Mengalir pantun di air pasang
Air pasang berpantun pada ikan
Ikan membalas kata riang
Riang kata umpan nelayan
Ikan dipancing dibawa pulang
Ikan pantun di lahap perut kota
Jadikan orang berlidah pantun
Tuntun cakap, mematut kata
Adat Melayu bertuah santun
Asrizal Nur
Tanjungpinang, 2007.
จากหนังสือ Lambaian
Nusantara dari Kota Singa โดยมี Djamal Tukimn และ Ahmad Tahir เป็นบรรณาธิการ
เป็นหนังสือเนื่องในโอกาสจัดงาน Pertemuan Penyair Nusantara VII
สำหรับกลุ่มนักวรรณกรรมภายใต้ชื่อ Perkumpulan Rumah Seni หรือชื่อย่อว่า PERRUAS ได้ทำกิจกรรมต่างๆ เช่น
2019 จัดงาน Festival
Literais Perruas
2020 จัดงาน
Gerakan Menulis Pantun Budaya
2021 จัดงาน Gerakan 1000 Guru
Asean Menulis Pantun
ต่อมาจัดงาน rekor MURI เป็นการรวมเล่มบทกวีประเภทปันตุนที่เป็นเล่มหนาที่สุด
รางวัลที่นายอัซรีซาล
นูร์ (Asrizal Nur) ได้รับ
ชนะเลิศอ่านบทกวีระดับชาติ
Lomba Baca Puisi Piala
HB Jassin (1996)
รางวัล Anugerah Sagang สำหรับนักนักวรรณกรรมชาวจังหวัดเรียว
2007
องค์กรทางสังคม
ประธาน Paguyuban Seniman
Indonesia SBSI (1996-2000)
ผู้ก่อตั้งสมาคมที่ชื่อว่า
Persatuan Artis Melayu Dangdut Indonesia เมืองเดป๊อก (Depok)
ประธานสภาศิลปวัฒนธรรมเมืองเดป๊อก หรือ Dewan Kesenian Depok ( 2015 – ปัจจุบัน)
ประธานมูลนิธิที่ชื่อว่า Yayasan Panggung Melayu (2005 – 2014)
ประธานกลุ่ม Perkumpulan
Rumah Seni Asnur
เลขาธิการมูลนิธิที่ชื่อว่า
Yayasan Hari Puisi
Indonesia (2004 – ปัจจุบัน)
ผลงานของนายอัซรีซาล นูร์
(Asrizal Nur)
Sang yang Hitam (1992)
Umar Bin Khattab (1992)
Merambah Belantara Naga
(1993)
Antologi Puisi Nusantara
(2006)
Rampai Melayu Asia
Tenggara (2006)
Kumpulan puisi Portugal,
Malaysia dan Indonesia (2008)
Percakapan Pohon dan
Penebang (YPM, 2009)
Musi, Pertemuan Penyair
Nusantara V (2011)
Kumpulan Puisi dan
Cerpen Internasional Jilfest: Ibu Kota Keberaksaraan (2011)
Lambaian Nusantara Dari
Kota Singa, Antologi puisi bersama Pertemuan Penyair Nusantara VII (2014)
Antologi Puisi Asean, The Vice Of Humanity
(2015)
Pulara 5 (2015)
อาจารย์รุซณี ซูสารอ แห่งคณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในครั้งเดินทางไปศึกษา
ค้นคว้าเพื่อทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กรุงจาการ์ตา
ประเทศอินโดเนเซีย ได้มีโอกาสไปเยี่ยมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนายอัซรีซาล นูร์
และสัมพัสบ้านที่ทำเป็นที่ทำกิจกรรมของกลุ่มนักวรรณกรรมภายใต้ชื่อ Perkumpulan Rumah Seni หรือชื่อย่อว่า PERRUAS และได้นำหนังสือที่ผลิตโดยกลุ่ม Perkumpulan Rumah Seni หรือ PERRUAS มาให้ผู้เขียน