Ahad, 25 Disember 2022

ลัทธิล่าอาณานิคมผู้อยู่เบื้องหลังการแยกเกาะตีมอร์ออกเป็นสองส่วน

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

นักสำรวจตะวันตกสับสนว่า ชาวตีมอร์ จะเป็นชาวมลายู หรือว่าเป็นชาวปาปัว นายจอร์จ ดับเบิลยู. เอิร์ล นักชาติพันธุ์วิทยาชาวอังกฤษได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อว่า  The Native Races of the Indian Archipelago ตีพิมพ์ในปี 1853 โดยเขียนว่า การจำแนกชนชาติในหมู่เกาะมลายู (รวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่ม ได้แก่ มลาเนเซียและโปลีเนเซีย โดยดำเนินการสำรวจในปี 1832 โดยนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสและนักเขียนแผนที่ชื่อว่า Jules Dumont d'Urville

ผู้เขียนกับนายอับดุลลอฮ ซาการัน หลานชายอดีตนายกรัฐมนตรีตีมอร์เลสเต ปัจจุบันเป็นประธาน กกต. ตีมอร์เลสเต

โดยนายริคาร์โด โรเก เขียนบทความเรื่อง "แนวชาติพันธุ์วิทยาอาณานิคม" ลงนิตยสารเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ปี  2018 ว่าที่นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสสำรวจนั้น โดยเขามีจุดประสงค์เพื่อ "อ้างอิงถึงผู้ปกครองอาณานิคมที่เอาชนะปัญหาทางภูมิศาสตร์ของผู้ตกเป็นอาณานิคม ซึ่งในบางกรณีคนในท้องถิ่นก็ทำการต่อต้าน ระเบียบของเจ้าอาณานิคม แต่ในบางกรณีพวกเขาก็เฉยเมย" ณ จุดนี้ พวกเขาไม่สามารถรวมชาวตีมอร์เข้าในการจัดหมวดหมู่ทางชาติพันธุ์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากชาวตีมอร์ถูกค้นพบโดยตะวันตกเร็วกว่าออสเตรเลีย (ค้นพบในปี 1606) และทวีปแอนตาร์กติกา (1820)  นายริคาร์โด โรเก เขียนว่าสำหรับชาวตีมอร์ดูเหมือนจะสรุปการผสมผสานที่กลมกลืนกันของ ระหว่างชาวมลายูและชาวปาปัว นักมานุษยวิทยาชื่อ Antonis Augusto Mendes Correia ซึ่งก่อนหน้านี้นิยามชาวตีมอร์ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชาติพันธุ์ในกลุ่มตระกูลภาษามลายูอย่างชัดเจน เรียกพวกเขาว่าเป็น "การผสมผสาน" สิ่งนี้ทำลายแนวคิดของการทำแผนที่เกี่ยวกับเชื้อชาติตามแนวทางของนาย Alfred Russel Wallace ซึ่งเสนอให้วาดเส้นแบ่งระหว่างชายฝั่งและที่ราบสูงตีมอร์ออกเป็นสองส่วน

นายริคาร์โด โรเก กล่าวว่า นาย Alfred Russel Wallace ต้องการ "แบ่งหมู่เกาะออกเป็น 2 เชื้อชาติหลัก" การที่ชาวตีมอร์ออกจากการแบ่งแยกเชื้อชาติแบบนาย Alfred Russel Wallace เกิดจากความสัมพันธ์ที่ไม่มีวันสิ้นสุดกับโลกภายนอก เริ่มจากการเข้ามาของจีนในศตวรรษที่ 14 เพื่อค้าขายไม้จันทน์ จนกระทั่งการมาถึงของโปรตุเกสในต้นศตวรรษที่ 16 ไม่เหมือนกับชาติตะวันตกอื่น ๆ ชาวโปรตุเกสไม่ลังเลที่จะแต่งงานกับชาวตีมอร์ในท้องถิ่น แถมยังเป็นมหาอำนาจต่างชาติโดยเฉพาะตะวันตกที่ทำให้ตีมอร์ถูกแบ่งแยกทางภูมิศาสตร์ คือระหว่างตีมอร์ดัตช์ (ปัจจุบันคือตีมอร์ตะวันตกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอินโดเนเซีย) และติมอร์โปรตุเกส (ปัจจุบันเป็นประเทศเอกราชเรียกว่าติมอร์เลสเต)

นายวิลเลียม เบอร์ตัน โซวอช นักวิจัยของมหาวิทยาลัยชิคาโก และขายังเป็นนักวิเคราะห์ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้เขียนบทความเรื่อง Colonial Rivalries in Timor ลงพิมพ์ในนิตยสาร The Far Eastern Quarterly ในปี 1948 โดยเขากล่าวว่า ประมาณหนึ่งทศวรรษหลังจากที่วาสโก ดา กามาเดินเรือไปยังอินเดีย คณะเดินทางของโปรตุเกสที่นำโดยกัปตันอันโตนิโอ ดาเบรวได้มาถึงกาะตีมอร์

 

หลังจากที่ชาวท้องถิ่นขับไล่ออกจากเกาะโซโลร์  ในเกาะตีมอร์ไม่เหมือนในเกาะชวาหรือเกาะใหญ่อื่น ๆ ชาวโปรตุเกสสามารถยืนหยัดอยู่ได้เพราะผู้ปกครองท้องถิ่นไม่สามารถรวบรวมกำลังเพื่อต่อสู้ได้ สิ่งนี้ทำให้ชาวโปรตุเกสสามารถสร้างถิ่นฐานแห่งแรกขึ้นทางตะวันตกเฉียงใต้ของมืองกูปัง ด้วยกลยุทธ์ที่หยาบกระด้างและไม่แยแสต่อรายละเอียดของรูปแบบชีวิตในท้องถิ่น ชาวโปรตุเกสก็สามารถควบคุมตีมอร์ได้ทั้งหมดอย่างช้าๆ พวกเขาตั้งตนเป็นผู้ผูกขาดการค้าไม้จันทน์ เป็นเวลาเกือบศตวรรษที่โปรตุเกสควบคุมอาณาเขตทั้งหมดของเกาะตีมอร์อย่างปฏิเสธไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางฉากหลังของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคาบสมุทรไอบีเรียในปลายศตวรรษที่ 16 อำนาจของโปรตุเกสเหนือตีมอร์เริ่มสั่นคลอน

ในเวลานั้นสเปนสามารถควบคุมโปรตุเกสได้ กษัตริย์ฟิลิปที่ 2 แห่งสเปนได้ออกนโยบายหนึ่งในนั้นคือปิดท่าเรือลิสบอนซึ่งเป็นจุดสำคัญที่จะส่งไม้จันทน์จากเกาะตีมอร์ไปขายในยุโรป สิ่งนี้ถูกใช้ประโยชน์โดยชาวดัตช์ที่ประสบความสำเร็จในการขโมยเส้นทางการเดินเรือของโปรตุเกส ดังนั้นเมื่อกองเรือทหารของโปรตุเกสและสเปนถูกกักกันได้สำเร็จในการสู้รบกับอังกฤษที่เกิดขึ้นในปี 1588 "ตะวันออกไกลของอินเดีย" หรือที่รู้จักกันในชื่อ Nusantara ก็มีโฉมหน้าใหม่ในปี 1595 นั้นคือเนเธอร์แลนด์

กว่าทศวรรษต่อมา ในปี ค.ศ. 1612 บริษัท Verenigde Oostindische Compagnie (VOC) ซึ่งเป็นตัวแทนของชาวดัตช์ ได้เดินทางมาถึงเกาะตีมอร์ เนื่องจากการสู้รบในปี ค.ศ. 1588 ทำให้อำนาจของโปรตุเกสลดลงอย่างมาก การมาถึงของชาวดัตช์ในเกาะตีมอร์จึงยังคงถูกยึดครองต่อไป ชาวดัตช์สร้างโรงงานในเมืองอัมฟวง (Amfoang) ซึ่งต่อมาย้ายไปที่ป้อมโปรตุเกสเดิมในเมืองกูปัง ทัศนคติของชาวดัตช์ที่โหดร้ายต่อประชากรในท้องถิ่นทำให้พวกเขาต่อสู้และทำให้โอกาสชาวโปรตุเกสกลับคืนสู่อำนาจ ในปี ค.ศ. 1655 เกาะตีมอร์ถูกควบคุมโดยชาวดัตช์ในเมืองกูปัง ในขณะที่ชาวโปรตุเกสในเมืองลีฟาวและเมืองดิลี สิ่งนี้ทำให้ผู้ปกครองทั้งสองทะเลาะกันเรื่องพรมแดน

 

หลังจากถูกขับไล่ออกไปและถูกแทนที่โดยอังกฤษในการควบคุมเกาะตีมอร์อันเป็นผลมาจากการปฏิวัติในปี 1795  ชาวดัตช์ได้ลากชาวโปรตุเกสเพื่อเจรจาเกี่ยวกับปัญหาเขตแดนในเกาะตีมอร์ตั้งแต่ปี 1847 ถึงปี 1851 นอกจากนี้ ผลจากการแต่งงานระหว่างกันของชาวร์ตุเกสกับชาวท้องถิ่นซึ่งถือปฏิบัติกันทั่วไปโดยเจ้าหน้าที่อาณานิคมของโปรตุเกส  ทำให้ชาวดัตช์โกรธเพราะดินแดนโปรตุเกสในกาะตีมอร์มีการขยายเพิ่มขึ้น เนื่องจากการหารือเหล่านี้ดำเนินไปพร้อม ๆ กับปัญหาการคอร์รัปชั่นซึ่งได้บั่นทอนบริษัทมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การเจรจาไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งในที่สุดการเจรจาที่กรุงลิสบอน เมืองหลวงโปร์ตุเกส ในปี 1859 มีการบรรลุข้อตกลงเพื่อแบ่งเกาะตีมอร์ออกเป็นสองส่วนระหว่างตะวันตกและตะวันออก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากดัชต์เชื่อว่าหมู่เกาะโซโลร์ทางตอนเหนือของเกาะติมอร์มีค่ามากกว่าสำหรับเนเธอร์แลนด์ ซึ่งทำให้เนเธอร์แลนด์ให้ความสำคัญกับการซื้อโซโลร์จากโปรตุเกสเป็นประเด็นหลัก การเจรจาจึงไม่ได้แบ่งเกาะตีมอร์ออกเป็นสองส่วน ความซับซ้อนมีมากยิ่งขึ้น

อำเภอ O'Kusi-Ambenu ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมือง Lifau เช่นเดียวกับ Noi-Muti, Tahakay, Tamira-Ailala, Maoe-Besi, Maoe-Boesa และ Lakmaras ซึ่งยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของโปรตุเกส ในความเป็นจริง ในการเจรจาปี 1859 เขตอำเอ Oecusse อยู่ในการครอบครองของเนเธอร์แลนด์ ในทางกลับกัน ในท่ามกลางการปกครองของโปรตุเกส เขตที่เรียกว่าเมากาตาร์เป็นของชาวดัตช์ ในปี 1893 และปี 1898 จนถึงปี 1899

 

ความสับสนนี้จะได้รับการแก้ไขโดยการประชุมซึ่งจัดขึ้นอีกครั้งในกรุงลิสบอน แต่ข้อตกลงไม่ได้เกิดขึ้น ไม่ต้องการยืดเยื้อ ชาวดัตช์และชาวโปรตุเกสตกลงที่จะนำปัญหาพรมแดนในเกาะตีมอร์ไปสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศที่กรุงเฮกในปี 1902 ในเอกสารชื่อเขตแดนในเกาะตีมอร์ซึ่งออกโดยศาลอนุญาโตตุลาการถาวรลงวันที่ 25 มิถุนายน 1914 ข้อพิพาทนี้ยุติลงด้วยความยินยอมของชาวโปรตุเกสที่ให้ดัชต์มีอำนาจเหนือโนย-มูตี, ทาฮาเคย์, ทามิรา-ไอลาลา, มาเอ-เบซี, มาเอ-โบเอซา และลักมาราสเพื่อแลกกับเมากาตาร์ และเนื่องจากชาวโปรตุเกสไม่เต็มใจที่จะละทิ้งเขต O'Kusi-Ambenu ข้อตกลงนี้จึงถูกปิดผนึกโดยชาวดัตช์โดยกำหนดเส้นแบ่งเขตที่เริ่มต้นและสิ้นสุด

ในที่สุดชาวดัตช์ก็ปกครองฝั่งตะวันตกของเกาะตีมอร์ (ยกเว้นเขต O'Kusi-Ambenu) โดยผ่านคำตัดสินของศาล โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 13,000 ตารางกิโลเมตร ในทางกลับกัน ทางตะวันออกของเกาะตีมอร์ ชาวโปรตุเกสปกครองพื้นที่ 19,000 ตารางกิโลเมตร เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจที่เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในตะวันออกไกล (ภูมิภาคนูซันตารา) ด้วยการ "ปลดปล่อย" ส่วนหนึ่งของเกาะตีมอร์ที่พวกเขาควบคุม จากการปกครองอาณานิคมในมาเก๊า หลังจากที่ดัตช์และโปรตุเกสถูกขับไล่ เกาะตีมอร์ดัตช์ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซียสมัยใหม่ ในขณะเดียวกัน เกาะตีมอร์ที่เป็นของโปรตุเกสซึ่งถูกควบคุมโดยอินโดนีเซียในที่สุดก็กลายเป็นประเทศเอกราชที่เรียกว่าติมอร์เลสเต

อ้างอิง :

Goerge Windsor Earl, The native races of the Indian Archipelago Papuans,London, 1853.

Ahmad Zaenudin,Kolonialisme di Balik Terbelahnya Pulau Timor. https://tirto.id


 

Tiada ulasan: