โดย
นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
มะโหย่ง เป็นการละเล่นที่เกิดขึ้นในดินแดนปาตานี แต่ปัจจุบันการละเล่นมะโหย่งได้กลายเป็นการละเล่นของชาวมลายูในประเทศเพื่อนบ้าน
มะโหย่ง เป็นการละเล่นที่เกิดขึ้นในวังของเจ้าเมืองปาตานี ดังที่ปรากฏจากการบันทึกในเอกสารเก่าแก่ แล้วมีการขยายสู่สังคมทั่วไป รวมทั้งขยายไปยังภูมิภาคมลายู จนปัจจุบันมะโหย่งได้กลายเป็นการละเล่นของชาวมลายูนอกดินแดนปาตานี
องค์การศึกษา
วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศรับรองขึ้นทะเบียน
‘มะโหย่ง’ เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ
โดยการเสนอของมาเลเซียในปี 2005
นอกจากการละเล่นมะโหย่งแล้ว
ที่ถือว่ามาเลเซียเป็นเจ้าของแล้ว ยังมีอีกอย่างหนึ่ง
คือเอกสารการละเล่นมะโหย่งที่ถือว่าเก่าแก่ที่สุด
ปัจจุบันมีครอบครัวของเต็งกูมูฮัมหมัดอาตันเป็นเจ้าของ
เต็งกูมูฮัมหมัดอาตันเกิดที่สิงคโปร์ในปี 1936 หลังจากนั้นไม่กี่ปี พ่อของเขา ชื่อ
เต็งกูอับดุลราห์มาน จึงพาเขาไปยังหมู่บ้านมันตังกายูอารัง บนเกาะบินตัน
หมู่เกาะเรียว กล่าวว่าพ่อของเขาไปเรียนการละเล่นมะโหย่งที่ปาตานี
เอกสารการละเล่นมะโหย่งนี้
เมื่อหลายปีก่อนทางอินโดเนเซียได้ยื่นเสนอต่อองค์การ UNESCO เพื่อให้เอกสารการละเล่นมะโหย่งนี้ถูกรับรองเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ
แต่ปัจจุบันยังไม่สำเร็จ
มีผู้เชียวชาญเกี่ยวกับการละเล่นมะโหย่งสองคนที่ได้รู้จัก
คนหนึ่งคือ ศาสตราจารย์ ดร. ปูเดนเตีย อาจารย์มหาวิทยาลัยอินโดเนเซีย อีกคนหนึ่ง
ศาสตราจารย์ ดร. ฟารุค ซากาเรีย ปัจจุบันอยู่ มอ. ปัตตานี
มะโหย่งจะสามารถฟื้นขึ้นมาอีกในดินแดนปาตานี เมื่อมีการตัดในสิ่งที่ขัดกับหลักการศาสนาอิสลาม
ดังที่การละเล่นมะโหย่งในรัฐกลันตัน มาเลเซียได้ทำ
ผู้เขียนได้เคยเดินทางไปยังบ้านของผู้เป็นเจ้าของเอกสารเก่าแก่มะโหย่งบนเกาะบินตัน จังหวัดหมู่เกาะเรียว ประเทศอินโดเนเซีย เมื่อดูสาพเศรษฐกิจแล้ว ค่อนข้างน่าเป็นห่วง ด้วยความเป็นครอบครัวศิลปินที่ไม่ได้รับการดูแลจากทางรัฐบาลไม่ว่าท้องถิ่น หรือรัฐบาลกลาง ครอบครัวมีรายได้จากการแสดงมะโหย่ง ซึ่งคิดว่าในปัจจุบัน สภาพสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว การแสดงมะโหย่งน่าจะไม่สามารถเป็นแหล่งรายได้เพื่อดำรงชีวิตอยู่ได้ สมควรที่จะต้องมีแหล่งรายได้อื่นๆด้วย และในความเป็นจริงแล้ว หน่วยงานรัฐไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐในท้องถิ่น หรือรัฐบาลกลาง สมควรที่จะดูแลครอบครัวศิลปินนี้
เมื่อดูการละเล่นมะโนราห์ของไทย
ก็มีการผลิตตุ๊กตามะโนราห์ เพื่อเป็นของที่ระลึก มีการขายทางออนไลน์ ซึ่งถ้าศิลปินมะโหย่งในอินโดเนเซียนี้
จะผลิตตุ๊กตามะโหย่ง เพื่อจำหน่ายเป็นของที่ระลึก ก็น่าจะเป็นแหล่งรายได้อีกทาง
Tiada ulasan:
Catat Ulasan