Khamis, 28 Januari 2021

เงินเหรียญที่ใช้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในอดีต

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

เราต้องขอบคุณคณะสำรวจของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ที่ได้ทำการสำรวจพื้นที่แหลมมลายู ระหว่างปี 1899-1900 จนสามารถบันทึก เก็บเรื่องราวในอดีตมาให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้

 

บุคคลหนึ่งที่เป็นตัวหลักในคณะสำรวจนี้คือ นายวอลเตอร์ วิลเลียม สกีต (Walter William Skeat) ในฐานะหัวหน้าคณะสำรวจ เขาเกิดเมื่อ 14 ตุลาคม 1866และเสียชีวิตเมื่อ 24 กรกฎาคม 1953  เป็นนักมานุษยวิทยาชาวอังกฤษ เขามีงานเขียนเกี่ยวกับชาติพันธุ์วิทยาในแหลมมลายู เขาเกิดที่เมืองเคมบริดจ์  ประเทศอังกฤษ เขาเป็นบุตรชายของนายวอลเตอร์ วิลเลียม สกีต (Walter William Skeat) ผู้พ่อ ที่เป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

 

นายวอลเตอร์ วิลเลียม สกีต (Walter William Skeat) ผู้ลูกได้รับทุนการศึกษาจากวิทยาลัยคริสตส์ (Christ's College) ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เขาจบจากวิทยาลัยดังกล่าวในปี 1891 หลังจากนั้นเขาก็เข้ารับราชการกับรัฐสลังงอร์  และหลังจากนั้นเขาเคยเป็นนายอำเภอที่เขตกลัง อูลูลางัต และกัวลาลางัต รัฐสลังงอร์   ต่อมาในปี 1898 เขาเป็นผู้พิพากษาของเขตลารุต ในรัฐเปรัค

 

นายวอลเตอร์ วิลเลียม สกีต (Walter William Skeat) ผู้ลูก ได้ศึกษาถึงวิถีชีวิตชาวมลายู และชนอัสลีในที่สูง โดยเขามีงานเขียน เช่น

1. Malay magic : being an introduction to the folklore and popular

    religion of the Malay Peninsula (1900)

2. Pagan races of the Malay Peninsula (1906)

3. The past at our doors (1913)

 

นายวอลเตอร์ วิลเลียม สกีต (Walter William Skeat) ได้เกษียณอายุราชการในปี 1932 และเขาเสียชีวิตที่กรุงลอนดอน เมื่อ 24 กรกฎาคม 1953

 

สิ่งหนึ่งที่เราได้จากคณะสำรวจของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ คือ การที่ทางคณะสำรวจได้สำรวจถึงการใช้เหรียญตรา ไม่เพียงในแหลมมลายู แต่ยังรวมถึงเมืองต่างๆในจังหวัดชายแดนภาคใต้

The Patani States, Kedah and neighbouring territory, about 1900

   The Patani States (JMBRAS Volum XXVI Part 4 December 1953)

 

งานของคณะสำรวจมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ภายใต้การนำของ นายวอลเตอร์ วิลเลียม สกีต (Walter William Skeat) ที่ได้บันทึกถึงการใช้เงินตราในพื้นที่การสำรวจได้รับการอ้างอิง จากหนังสือที่รวบรวมเงินเหรียญ ที่มีชื่อเสียง และเป็นหนังสือหายาก เดิมราคาในช่วงการจัดจำหน่าย มีราคาเพียง 80 ริงกิต แต่หนังสือนี้มีราคาในท้องตลาดถึง 1,500 ริงกิต แต่ก็ยากที่จะหาได้ หนังสือที่ว่านั้น คือ  The Encyclopedia of the Coins of Malaysia, Singapore, and Brunei, 1400-1967 เขียนโดย นายซารัน สิงห์ ชาวมาเลเซีย เชื้อสายอินเดีย

เหรียญ  7 หัวเมืองภาคใต้นี้ส่วนหนึ่ง เป็นเหรียญที่นำมาจากการสำรวจของคณะสำรวจมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และมีการอ้างอิงในหนังสือดังกล่าว

 

อัตราเงินเหรียญ   7 หัวเมืองภาคใต้

 

เงินเหรียญเมืองปัตตานี

                    25  ปีติส           เท่ากับ                      1   เกอนอรี

                    100  ปีติส หรือ 4 เกอเนอรี     เท่ากับ      1   กูปัง

                    หมายเหตุ  เงินเหรียญเมืองปัตตานี มีทั้งหมด 8 รุ่น คือ รุ่นที่ผลิตปี 1845, 1861, 1868, 1879,  1883/4,  18891 และอีก 2 รุ่นไม่ปรากฏปีผลิต


                                 เงินเหรียญเมืองปัตตานี

                  Al Matsaraffi Balad Al Patani Sanat 1309

                      Ini Pitis Belanja Dalam Negri Patani

 

เงินเหรียญเมืองยะหริ่ง

                    20  ปีติส           เท่ากับ                      1   เกอนอรี

                    100  ปีติส หรือ 4 เกอเนอรี        เท่ากับ   1   กูปัง

                    หมายเหตุ  เงินเหรียญเมืองปัตตานี มีทั้งหมด 5 รุ่น คือ รุ่นที่ผลิตปี 1845, 1879, 1884/45, 1894 และอีกรุ่นไม่ปรากฏปีผลิต

                              เงินเหรียญเมืองยะหริ่ง

         Hadza Al Dewan Al Raja Al Adil Fi Balad Al Jaring 1302

 

เงินเหรียญเมืองระแงะ

                    10  ปีติส            เท่ากับ                      1   เกอนอรี

                    100  ปีติส หรือ 4 เกอเนอรี        เท่ากับ    1   กูปัง

          หมายเหตุ  เงินเหรียญเมืองระแงะ  มีทั้งหมด 2 รุ่น คือ รุ่นที่ผลิตปี 1889 และอีกรุ่นไม่ปรากฏปีผลิต

                                  เงินเหรียญเมืองระแงะ

                          Pitis Negri Langkat Daral Salam

                          Malik Al Adil Khalifatul Muminin

 

เงินเหรียญเมืองสายบุรี

                    12  ปีติส            เท่ากับ                      1   เกอนอรี

                    100  ปีติส หรือ 4 เกอเนอรี        เท่ากับ    1   กูปัง

          หมายเหตุ  เงินเหรียญเมืองสายบุรี มีทั้งหมด 3 รุ่น คือ รุ่นที่ผลิตปี 1873, 1889 และ 1891

                                 เงินเหรียญเมืองสายบุรี

                  Al Daulat Al Kairiyat Fi Balad Al Saiwi 1307

 

เงินเหรียญเมืองรามันห์

        เงินเหรียญเมืองรามันห์       ค้นพบเมื่อปี 1956   ปรากฏว่าไม่ทราบกำหนดอัตราของเมืองรามันห์ได้  ปัจจุบันเงินเหรียญดังกล่าวเก็บไว้ที่ พิพิธภัณฑ์แห่งเมืองไตปิง  รัฐเปรัค  ประเทศมาเลเซีย

เงินเหรียญเมืองยะลา       

        เงินเหรียญเมืองยะลายังไม่มีการค้นพบ  สำหรับเมืองยะลาพบเพียงเงินเหรียญกงสีที่ใช้ในชุมชนคนจีน  ซึ่งปัจจุบันเก็บไว้ที่ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติสิงคโปร์

 

Tiada ulasan: