จังหวัดนราธิวาสในอดีตเป็นดินแดนที่ประกอบด้วยพื้นที่บางส่วนของเมืองสายบุรี พื้นที่เมืองระแงะ พื้นที่ส่วนหนึ่งของรัฐกลันตัน และพื้นที่ส่วนหนึ่ง อาจเรียกว่า พื้นที่ส่วนนิดของเมืองรามันห์ คือ พื้นที่บางส่วนของอำเภอรือเสาะ ประกอบด้วยบาตง, สาวอ และตามุง ซึ่งหลักฐานที่กล่าวถึงการเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนเมืองรามันห์นั้น มาจากหนังสือชื่อ Sejarah Raja Kota หรือประวัติรายาโกตา หรือภาษามลายูท้องถิ่นว่า ประวัติเจ้าเมืองกอตอ เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ฉบับคัดลอกจากต้นฉบับเดิมโดยนายเสนีย์ มะดากะกุล อดีตอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนราธิวาส
ซึ่งหนังสือ Sejarah
Raja Kota หรือประวัติรายาโกตา นี้ทางคุณ
อ. บางนรา ได้ทำการแปลเป็นภาษาไทย โดยเนื้อหาที่สรุปจากประวัติเจ้าเมืองกอตอ ซึ่งได้กล่าวถึงการเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนเมืองรามันห์ไว้ดังนี้
รายาบือซียง
(พระราชาที่มีเขี้ยว) จากเมืองเคดะห์ (มาเลเซีย) จะเดินทางไปเมืองกลันตัน (มาเลเซีย) เดินทางผ่านหลายแห่ง
จนถึงเมือรามันห์ ได้แต่งงานกับธิดาเจ้าเมืองรามันห์ ซึ่งมีศิริโฉมงดงามมาก มีนามเรียกขานว่า ตวนปุตรี (Tuan Putri ) ทางเมืองรามันห์ได้จัดงานแต่งงานใหญ่โตมาก มีการแห่ด้วยช้างเผือก 3 เชือก และช้างอื่นๆ อีก 40 เชือก อยู่ที่เมืองรามันห์เป็นเวลา13 เดือน ก็จะเดินทางไปเมืองกลันตันต่อไป
ขณะนั้นตวนปุตรีกำลังตั้งครรภ์ ซึ่งครบกำหนดจะคลอดแล้วก็ต้องติดตามสามีไปด้วย จึงได้เดินทางขี่ช้างไป มีช้างขนเสบียงอีก 2 เชือกตามหลัง
เมื่อไปถึง ณ ที่แห่งหนึ่ง ตวนปุตรีเจ็บท้องจะคลอด จึงหยุดที่ตรงนั้นและคลอดบุตรได้บุตรชาย มีนามว่า“มายน”หรือ “มายง”
รายาบือซียงจึงได้สร้างวัง
ณ ที่ตรงนั้น อันเป็นที่มาของบ้านกอตอ (แปลว่า
บ้านวัง) ณ บริเวณที่สร้างวังนั้น มีสัตว์ร้ายชุกชุม จึงได้ก่อกำแพงดินขึ้นมา มีประตูทางทิศตะวันตก เมื่อสร้างวังเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตวนปุตรีก็จะปักหลักอยู่ที่ตรงนั้น ไม่ยอมติดตามสามีต่อไป
รายาบือซียงจึงเดินทางไปตามลำพัง
ขณะนั้นโอรสมีพระชนม์ 1 ชันษา ทั้งมารดาและโอรสจึงได้พำนักอยู่ในวังนั้นพร้อมด้วยบริวารทรงปกครองบริเวณ
บาตง (Batong) สาวอ
(Sawa) และตามุง (Tambun) กล่าวกันว่า บ้านตามุงนั้นเป็นบ้านของผู้คนที่ถูกเกณฑ์ไปก่อกำแพงดิน
(ตามุง แปลว่า ก่อ เช่น ก่อดิน
ก่อทราย เป็นต้น) เขตบาตง มีผู้ปกครองคนหนึ่ง สาวอก็มีผู้ปกครองคนหนึ่ง ตอแล (Tolan) ก็มีผู้ปกครองคนหนึ่ง ซึ่งปกครองครอบคลุมบ้านตามุง ทั้งหมดนี้ขึ้นต่อผู้ปกครอง (เบินดาฮารา) ที่อยู่ที่กอตอ ซึ่งเป็นผู้ดูแลตวนปุตรีและโอรส
จนกระทั่งพระโอรสมีพระชนม์
20 ชันษา จึงได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าเมืองกอตอ และปกครองบ้านเมืองแถบนั้น จนพระองค์ได้รู้พฤติกรรมของดาโต๊ะเบินดาฮารากับพระมารดาของพระองค์ จึงได้รายงานไปยังเจ้าเมืองรามันห์ ซึ่งเป็นตา เจ้าเมืองรามันห์จึงได้เรียกเบินดาฮาราไปสอบสวนและสำเร็จโทษ ต่อมาพระนางตวนปุตรีได้สมรสใหม่กับเจ้าเมืองกือมุง
(Kemun) ซึ่งเป็นบุตรของเจ้าเมืองระแงะ ได้โอรสอีกพระองค์หนึ่ง โอรสพระองค์นี้ชอบเล่นกับช้าง พำนักอยู่ที่วังใกล้บ้านกูจิงลือปะ(Kucing Lepas)
ปัจจุบันอยู่ในตำบลเฉลิม
อำเภระแงะ จังหวัดนราธิวาส ที่อาบน้ำช้างเรียกว่า ลูโบ๊ะกาเยาะห์ รายอ (Lubuk
Gajah Raja) ปัจจุบันเป็นบ้านลูโบ๊ะกาเยาะห์ ตำบลเฉลิม
อำเภระแงะ จังหวัดนราธิวาส
การสถาปนาเจ้าเมืองกอตอนั้นจัดงานใหญ่โต
3 วัน 3 คืน มีการละเล่นต่างๆ สุลต่านปาตานีก็เสด็จไปกับขบวนช้าง 15 เชือก ได้ทรงนำผู้ทรงความรู้ทางศาสนา ชื่อ โต๊ะเซียะ เป็นผู้ทำพิธีสถาปนาเจ้าเมือง โดยสุลต่านปาตานี ได้ทรงมอบอำนาจให้ปกครองเมืองแถบนั้น โต๊ะเซียะ
เดิมเป็นชาวเมืองเซียะ (เมืองเซียะ Siak เป็นเมืองหนึ่งบนเกาสุมาตรา
อินโดเนเซีย) กล่าวกันว่า เจ้าเมืองกอตอนั้นปกครองบ้านเมืองไม่เป็นธรรม ท่านเลี้ยงช้างมากมาย ปล่อยปละละเลยให้ช้างไปทำลายไร่สวนของชาวบ้าน ชาวบ้านมาฟ้องร้องก็ไม่สนใจ ใครมีลูกสาวสวยก็จะถูกเจ้าเมืองนำไปอยู่ในวัง จึงมีราษฎรไปรายงานให้สุลต่านปาตานีเกี่ยวกับพฤติกรรมของเจ้าเมือง สุลต่านปาตานีจึงไปส่งครูสอนศาสนาไปให้คำแนะนำสั่งสอน เจ้าเมืองกอตอจึงได้งดกระทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ช้างดุก็ให้ฆ่าเสีย บ้านเมืองจึงได้สงบสุข
ต่อมาเจ้าเมืองได้สมรสกับธิดาเจ้เมืองปาตานีที่ได้กับภรรยาน้อย เมืองกอตอก็ยิ่งสงบ เมืองก็ขยายตัว ประชาชนก็เพิ่มมากขึ้น มีการโยกย้ายไปอยู่ใกล้วัง มีการขุดคลองหน้าวังไว้เป็นที่อาบน้ำและใช้น้ำดื่ม มีการซื้อขายช้างด้วยการแลกเปลี่ยนกับทองคำกับชาวเมืองกลันตันและเมืองโยโฮร์ สถานที่แลกเปลี่ยนคือที่เมืองรามันห์ของคุณตาของเจ้าเมืองกอตอ ส่วนวังก็สร้างอย่างแข็งแรงและทนทาน คือสร้างด้วยไม้ตะเคียน เสากลมใหญ่
พื้นไม้สยา ใช้หมุดเหล็กขนาดใหญาเท่าแขน หลังคามุงด้วยใบจากที่ผูกด้วยหวายกว้าง 8 วา ยาว 16 วา ไว้เป็นที่ประทับ ทางด้านขวาอาคารสำหรับรับแขกเมือง อาคารด้านซ้ายเป็นที่ว่าการเกี่ยวกับบ้านเมือง เสื่อทั้งหมดทำด้วยหวายผ่าสี่ หุงข้าวด้วยกระทะใบใหญ่ (กาเวาะห์) ทุกวัน ที่ประตูวังมีเจ้าหน้าที่เฝ้า 2 คน ทั้งกลางวันกลางคืน ถือหอกและกริช หอกยาวไว้สู้กับช้างเถื่อนและคนที่คิดไม่ดี
เจ้าเมืองมายนได้ธิดาคนหนึ่ง ภายหลังได้สมรสกับบุตรเจ้าเมืองสาย และไปสร้างวังที่บาโงปูโล๊ะ ทำไร่ทำสวนอยู่ที่นั้น แต่ในสมัยนั้นยังไม่ได้เรียกว่า บาโงปูโล๊ะ (ปัจจุบันอยู่ในตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส) วังอยู่ใกล้ภูเขาทางไปเมืองรามันห์ บุตรของเจ้าเมืองมายนอีกคนหนึ่ง มีนามว่า รายาบอซู (Raja Bongsu ) เมื่อเจ้าเมืองมายนแก่ชราแล้ว จึงได้สถาปนา รายาบอซูเป็นเจ้าเมือง รายาบอซูสมัยเป็นเด็กไว้ผมจุก วันที่เข้าสุนัตรายาบอซูได้มีการจัดงานกันอย่างใหญ่โตมาก มีผู้รู้ทางศาสนาจากปัตตานีเป็นผู้โกนจุก ขณะที่สถาปนารายาบอซูเป็นเจ้าเมืองกอตอนั้นพระองค์มีอายุ 18 ปี
Tiada ulasan:
Catat Ulasan