โดย
นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ต่อมาเขาศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นที่วิทยาลัยมลายูกัวลากังซาร์ (Maktab Melayu Kuala Kangsar) หรือ MCKK ซึ่งเป็นโรงเรียนชั้นนำ เพื่อทำหน้าที่เป็นข้าราชการของมาลายา (Malayan Civil Service). ในปี 1930 โดยเคยเขาทำงานเป็นผู้ช่วยปลัดอำเภอ ผู้พิพากษาชั้น 2 และอาจารย์สอนภาษามลายู ก่อนที่เข้าสู่วงการเขียนหนังสือ ในปี 1934 เขาลาออกจากราชการ เขาเคยถูกจำคุก 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกในปี 1948 -1953 ครั้งที่สองในปี 1965-1966
ในปี
1938 เขาเป็นผู้ก่อตั้งองค์กรร่วมกับนายอิบราฮิม ยะอากู๊บ
(Ibrahim Yaakub) โดยใช้ชื่อว่า Kesatuan Melayu Muda ถือเป็นองค์การฝ่ายซ้ายแรกๆ
ของชาวมลายูในบริติชมาลายา ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่สองได้ 2 ในปี 1945 ได้ร่วมการก่อตั้งพรรคการเมือง ชื่อว่าพรรคชาวมลายูแห่งชาติมาลายา
หรือ Parti Kebangsaan Melayu
Malaya ต่อมาได้รับเลือกเป็นรองประธานพรรคชาวมลายูแห่งชาติมาลายา
เป็นนักเขียนที่เขียนหนังสือตั้งแต่ทศวรรษที่ 1930 จนถึง1950 เคยทำงานกับหนังสือพิมพ์ Utusan Melayu ภายใต้การนำของ Abdul Rahim Kajai เขาเขียนนวนิยาย เรื่องสั้น บทความ บันทึกความจำ เฉพาะที่เก็บไว้ในหอสมุดแห่งชาติมาเลเซียมีมากกว่า 1,000 ชิ้น ผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาคือ Putera Gunung Tahan และ Anak Mat Lela Gila เขาได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ด้านวรรณกรรมจากมหาวิทยาลัยมาลายาเมื่อ 29 มิถุนายน 1973 ต่อมาเมื่อเขาได้รับรางวัล Pejuang Sastera จากนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เขาเสียชีวิตเมื่อ ที่ 7 พฤศจิกายน November 1991 รัฐสลังงอร์ สุสานของเขาตั้งอยู่ที่บ้านเกิดของเขาที่รัฐปาหัง
นายอิสฮัก ฮัจญีมูฮัมหมัด เป็นนักชาตินิยม ที่มีความฝันในการจัดตั้งประเทศขึ้นมา เป็นการรวมชาติพันธุ์มลายูเข้าด้วยกัน โดยรวมอินโดเนเซีย มาเลเซีย บรูไน เข้าด้วยกัน
หนังสือของเขามีมากมาย
เช่น
1. Putera gunung tahan, Utusan Publications
& Distributors, 2000.
2. Memoir Pak Sako : putera gunung Tahan, UKM,
1997.
3. Budak beca / Pak Sako, Marwilis Publisher,
1992.
4. Biografi Pak Sako : hidup meniti ranjau
(oleh Wahba), Dewan
Bahasa dan Pustaka, 1991
5. Pepatah petitih , Creative Enterprise,
1989.
6. Renungan Pak Sako
7. Budak beca. Marang: Mohamad bin A. Rahman,
1957.
8. Judi karam. Singapura: Geliga, 1958.
9. Pengantin baru. Singapura: Geliga.
10. Putera Gunung Tahan. Singapura: Geliga, 1937.
มีการนำชื่อของเขาไปตั้งชื่อถนน
ชื่ออาคาร และอื่นๆ เช่น
1.
ถนนปะซาโก (Jalan Pak Sako)
เมืองเตอเมอร์โล๊ะห์ รัฐปาหัง
2.
วิทยาลัยปะซาโก (Kolej Pak Sako) มหาวิทยาลัยอุตสาหกรรมแห่งรัฐสลังงอร์
3.
สถาบันปะซาโก (Akademi Pak Sako) กัวลาลัมเปอร์
เป็นสถาบันฝึก อบรมด้านการเขียน
Tiada ulasan:
Catat Ulasan