โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
สหพันธรัฐมาลายา
จัดตั้งขึ้นเมื่อ 31 มกราคม 1948 ประกอบด้วย 11 รัฐในคาบสมุทรมลายู คือ 4 รัฐที่ตั้งอยู่ในรัฐมลายูที่เป็นสหพันธรัฐ (Federated Malay States), 5 รัฐที่ตั้งอยู่ในรัฐมลายูที่ไม่เป็นสหพันธรัฐ (Unfederated Malay States)และอีก 2 รัฐที่ตั้งอยู่ในสเตร็ทเซ็ตเติ้ลเมนท์ คือรัฐมะละกาและรัฐปีนัง โดยก่อนหน้านี้ ระหว่างปี 1946-1948 ทั้ง 11 รัฐข้างต้นทางอังกฤษได้จัดรวมกันเป็นสหภาพมลายา หรือ Malayan Union แต่ได้รับการคัดค้านจากชาวมลายู ทางอังกฤษจึงได้เปลี่ยนระบบการปกครองจากสหภาพมาลายามาเป็นการจัดตั้งสหพันธรัฐมลายา โดยสหพันธรัฐมาลายาได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 1957 มีตุนกูอับดุลราห์มาน ปุตราเป็นนายกรัฐมนตรี (Tunku Abdul Rahman Putra)
การลงชื่อสนธิสัญญา
จัดตั้งสหพันธรัฐมาลายาที่ King House กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันพุธ
ที่ 21 มกราคม 1948
การจัดตั้งประเทศมาเลเซีย
ประเทศมาเลเซียเกิดขึ้นจากความคิดของตุนกูอับดุลราห์มาน
ปุตรา (Tunku
Abdul Rahman Putra) โดยต้องการรวมสหพันธรัฐมาลายา, สิงคโปร์, ซาราวัค, บอร์เนียวเหนือ
(ซาบะห์) และบรูไนเข้าด้วยกัน
สำหรับแนวคิดการจัดตั้งประเทศมาเลเซียนี้ได้มีการประกาศเมื่อ 27 พฤษภาคม 1961
แต่การเสนอจัดตั้งครั้งนี้ได้รับการต่อต้านและพบอุปสรรคหลายอย่าง เช่น
1. เกิดการผจญหน้า (Confrontation)
จากประเทศอินโดนีเซีย
2. การเรียกร้องสิทธิของฟิลิปปินส์เหนือรัฐซาบะห์
3. ได้รับการต่อต้านจากพรรคประชาชนบรูไน
(Parti Rakyat Brunei)
4. ได้รับการต่อต้านจากบางพรรคการเมืองในรัฐซาราวัค
อย่างไรก็ตามการจัดตั้งประเทศมาเลเซียประสบความสำเร็จเมื่อ
16
กันยายน 1963 ในประเทศมาเลเซียนั้นถือว่าวันชาติของประเทศมาเลเซียคือ วันที่ 31 สิงหาคม ส่วนวันที่ 16 กันยายน
ถือว่าเป็นวันมาเลเซีย หรือวันจัดตั้งประเทศมาเลเซีย
บางคนอาจเข้าใจว่าชื่อของประเทศนี้มาจากการประดิษฐ์คำของชาวมาเลเซีย ความจริงแล้วคำว่า มาเลเซีย หรือ Malaysia นั้น มีมานานเป็นร้อยปีมาแล้ว
แต่คนที่สร้างชื่อเสียงให้แก่คำว่า มาเลเซีย กลับเป็นชาวฟิลิปปินส์ มีชื่อว่า นายเวนเซสลาว คิว. วินซันส์ (Wenceslao Q. Vinzons)
เขาเขียนหนังสือเล่มหนึ่ง ในปี 1932 นายเวนเซสลาว คิว. วินซินส์
ได้บรรยายถึงความเป็นของมาในเรื่องโลกมลายู-โปลีเนเซีย เขาบรรยายที่มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์(University
of The Philippines) ตามหัวข้อหนังสือที่เขาเขียน ซึ่งมีชื่อว่า
“Malaysia Irredenta” เขาเรียกร้องให้มีการรวมตัวของชนชาติมลายูเข้าด้วยกัน ถือได้ว่าเขาคนแรกๆ ที่สร้างชื่อเสียงให้แก่คำว่า
“Malaysia” ก่อนที่จะมีการนำชื่อนี้มาเป็นชื่อประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน
อ้างอิง
Mohd
Fuad Sakdan , Asas Politik Malaysia,
Dewan Bahasa dan Pustaka, Kuala Lumpur, 1999
Tiada ulasan:
Catat Ulasan