กลุ่มชาติพันธุ์ชาวมุสลิม
ที่ดังที่สุดในประเทศเมียนมาร์ คือกลุ่มชาวโรฮิงญา (Rohingya Ethnic)
ซึ่งเกิดจากการกดดันของรัฐบาลเมียนมาร์ อันมีหลากหลายปัจจัย จนเกิดการอพยพหนีภัยไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศบังคลาเทศ
รวมทั้งประเทศอื่นๆ เช่นประเทศมาเลเซีย ซึ่งชาวมาเลเซียส่วนหนึ่ง และค่อนข้างมากในประเทศมาเลเซียเริ่มมีความรู้สึกว่า
ชาวโรฮิงญามาอาศัยในประเทศมาเลเซียมีจำนวนถึงกว่า 2 แสนคน
แต่เรียกร้องสิทธิต่างๆ จนปัจจุบันเกิดคลื่นต่อต้านชาวโรฮิงญาในประเทศมาเลเซีย[1]
คลื่นต่อต้านชาวมุสลิมในประเทศเมียนมาร์เเกิดขึ้นมานานแล้ว
เช่น คลื่นการต่อต้านมุสลิมในปี 1938 ความจริงแล้วกลุ่มชาติพันธุ์ชาวมุสลิมในประเทศเมียนมาร์
นอกจากกลุ่มชาติพันธุ์โรฮิงญาแล้ว ยังมีจำนวนมากหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น
-ชาวเมียนมาร์เชื้อสายอินเดียที่อาศัยอยู่ในเมืองร่างกุ้ง
-ชาวปันไต
เป็นกลุ่มชาติพนธุ์เชื้อสายสายจีนมุสลิม
-กลุ่มชาติพันธุ์มลายูบริเวณเกาะสอง
-กลุ่มชาติพันธุ์ที่เรียกว่าชาวเซอร์บาดี
ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เกิดจากลูกหลานของบิดาชาวมุสลิมเอเชียใต้และตะวันออกกลาง
โดยมารดาเป็นชาวเมียนมาร์พื้นเมือง
-และกลุ่มชาติพันธุ์กามิน
เราแทบจะไม่รู้จักกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมที่มีชื่อว่าชาวกามิน สำหรับชาวกามินนั้น
เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยหนึ่งในประเทศเมียนมาร์ ชาวกามิน นี้จะเขียนภาษาในภาษาพม่า
(Bamar) ว่า ကမိန်လူမျိုး ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในรัฐอาระกัน
ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นรัฐยะไข่ (Rakhine
State) และถือเป็นชนพื้นเมืองของรัฐดังกล่าว
ชาวกามิน แตกต่างจากชาวโรฮิงญา
ด้วยชาวกามินได้รับการยอมรับจากรัฐบาลเมียนมาร์ให้จัดเป็น 1 ใน 7 ของกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองของรัฐยะไข่
ซึ่งถือเป็นพลเมืองเต็มตัวของประเทศเมียนมาร์
มีสิทธิชอบธรรมในการมีสัญชาติเมียนมาร์ ตามรัฐธรรมนูญประเทศเมียนมาร์ปี 1982
หรือ Burma Citizenship Law of 1982 (မြန်မာဘာသာ) ถึงจะเช่นนั้นก็ตาม
แต่ด้วยกลุ่มชาติพันธุ์กามินในฐานะที่เป็นชาวมุสลิม
ก็ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์วุ่นวายการก่อจลาจลในรัฐยะไข ในเดือนมิถุนายน
และเดือนตุลาคม ปี 2012 บ้านเรือนของกลุ่มชาติพันธุ์กามินก็ถูกชาวอาระกันพุทธเผาเช่นเดียวกันกับชาวโรฮิงญา[2]
วิถีชีวิตชาวกามิน
จะมีความแตกต่างจากชาวโรฮิงญาอยู่ ความเคร่งและความอนุรักษ์นิยมจะมีน้อยกว่าชาวโรฮิงญา
ซึ่งชาวโรฮิงญาจะมีความเคร่งกว่า ผู้หญิงชาวกามินส่วนใหญ่ จะไม่สวมฮิญาบ
ประวัติความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์กามิน
กล่าวว่าในปี 1660
หนึ่งในเจ้าชายของราชวงศ์โมกุล
ซึ่งราชวงศ์โมกุลปกครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของเอเชียใต้ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 เจ้าชายคนนั้นชื่อว่า เจ้าชายชูจาชาห์ (Prince Shuja
Shah) เป็นบุตรคนที่สองของกษัตริย์โยฮันชาห์ ได้เกิดปัญหาเรื่องการแย่งชิงบัลลังค์
หลังจากไม่ประสบความสำเร็จในการพยายามที่จะขึ้นครองบัลลังก์ราชวงศ์โมกุล
จึงได้หนีไปอาระกัน (Arakan) ซึ่งปัจจุบันคือ รัฐยะไข่ โดยเจ้าชายชูจาชาห์ พร้อมกับครอบครัวและผู้ติดตามของเขาย้ายไปยังเมือง
Mrohaung หรือปัจจุบันเรียกว่าเมือง Mrauk U[3]
ด้วยหวังว่ากษัตริย์แห่งอาระกันจะปกป้องเขาและครอบครัว
พร้อมผู้ติดตาม และจัดหาเรือให้เจ้าชายชูจาชาห์ได้ไปแสวงบุญที่นครเมกกะ
ภายหลังจากเจ้าชายชูจาชาห์ได้อพยพมายังอาระกันแล้ว
ได้เกิดคลื่นการอพยพของชาวมุสลิมจากเอเชียใต้อพยพขนานใหญ่สู่รัฐอาระกัน
กษัตริย์แห่งรัฐมารัคยู (Mrauk-U) ในอาระกันที่ชื่อว่า Sanda
Thudhamma ในครั้งแรกนั้นมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเจ้าชายชูจาชาห์ แต่ไม่นานความสัมพันธ์ของทั้งสองก็เสื่อมลง
เจ้าชายชูจาชาห์พร้อมด้วยผู้ติดตาม 200 คนและชาวมุสลิมในท้องถิ่นตัดสินใจโค่นล้มกษัตริย์แห่งมารัคยู
(Mrauk-U) ในเดือนกุมภาพันธ์ 1661 เจ้าชายชูจาชาห์และผู้ติดตามของเขาก็ถูกทหารอาระกันฆ่าเสียชีวิต
ในปี ค.ศ. 1663 บรรดาบุตรลูกของเจ้าชายชูจาชาห์
รวมถึงลูกสาวที่ถูกพาไปยังฮาเร็มของกษัตริย์แห่งรัฐมารัคยู (Mrauk-U) อาระกันก็ถูกฆ่าตายเช่นกัน[4]
บรรดาทหารของเจ้าชายชูจาชาห์ที่รอดชีวิต
ถูกนำเข้าเป็นหน่วยรักษาราชวังของกษัตริย์แห่งมารัคยู (Mrauk-U) เป็นหน่วยพิเศษเรียกว่า กองหน่วยกามิน
(کمان) ซึ่งเป็นภาษาเปอร์เซีย มีความหมายว่า กองหน่วยธนู
ต่อมากองหน่วยธนู นี้กลายเป็นผู้มีอิทธิพลในทางการเมืองของรัฐอาระกันจนถึงปี
1710
ต่อมาเมื่อกษัตริย์ Sanda Wizaya I มีอำนาจ และได้ทำการเนรเทศกลุ่มชาวกามินให้ไปตั้งถิ่นฐานบนเกาะรัมรี
(Ramree Island)[5]
หรือ เกาะ Yanbye)
หน่วยธนูเหล่านี้ได้แต่งงานกับชาวพื้นเมือง
จนเกิดลูกหลานกลายเป็นอีกกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง คือกลุ่มชาติพันธุ์กามิน
ในการสำรวจในรัฐยะไข่ หรือ อาระกัน พบว่าในปี 1931 มีกลุ่มชาติพันธุ์กามิน อยู่ 2,686
คน[6] และจากเหตุการณ์ความไม่สงบในรัฐยะไข่
ทำให้มีชาวกามิน อพยพไปตั้งถิ่นฐานในเมืองร่างกุ้ง ราว 500 กว่าคน
กลุ่มชาติพันธุ์กามินกับการเมืองประเทศเมียนมาร์
กลุ่มชาติพันธุ์กามินได้จัดตั้งพรรคการเมืองของตนเอง
เพื่อเป็นปากเสียงให้กับกลุ่มชาติพันธุ์ตนเอง โดยกลุ่มชาติพันธุ์กามิน
ก็ได้จัดตั้งพรรคการเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ตนเองขึ้นมา โดยในการเลือกตั้งปี 1990 กลุ่มชาติพันธุ์กามิน
ได้จัดตั้งพรรค Kaman National League for Democracy (KNLD) และสามารถชนะการเลือกตั้ง
มีที่นั่งในสภาจำนวน 1 ที่นั่ง
หลังจากนั้นในการเลือกตั้งปี 2010
ในเดือนมีนาคมของปีดังกล่าว กลุ่มชาติพันธุ์กามิน
ก็ได้จัดตั้งพรรคของกลุ่มชาติพันธุ์กามิน โดยใช้ชื่อว่า Kaman National Progressive Party (KNPP) และในการเลือกตั้งต่อมาใช้ชื่อว่า
Kaman National Development Party (KNDP)[7]
มัสยิดของชาวกามิน
นายธัน วิน ชาวกามิน นักการเมืองจากพรรค Kaman
Nationa l Development Party กล่าวว่า ความจริงชาวกามิน
สนับสนุนพรรคการเมืองของชาวอาระกันพุทธ (ANP) เพราะเราถือว่าเป็นพี่น้องกัน
แต่นับตั้งแต่พวกเขา ชาวอาระกันพุทธ เห็นว่าพวกเรา ชาวกามิน เป็นกลุ่มมุสลิม
ไม่แตกต่างจากชาวโรฮิงญา ชาวกามิน ก็ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์จลาจลในปี 2012
จากการต่อต้านมุสลิมของชาวอาระกันพุทธด้วย
ทำให้ชาวกามินหันไปสนับสนุนพรรค NLD ของนางออง ซาน
ซูจี มีการคาดการว่า มีกลุ่มชาติพันธุ์กามิน ทั่วประเทศอยู่ราว 50,000 โดยอาศัยอยู่ในรัฐอาระกันราว
20,000 คน[8]
ในเดือนกันยายนพรรค Kaman National Progressive Party (KNPP) ของชาวกามินได้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อสำนักงานประธานาธิบดีและสำนักงานที่ปรึกษาของรัฐโดยอ้างว่ามีการขอบัตรประจำตัวสีชมพูมากกว่า
3,000 คน ที่กำหนดชาวกามิน เป็นกลุ่มที่มีสิทธิ์ถือสัญชาติ
แต่กลับถูกส่งไปยังชาวมุสลิมโรฮิงญาในหมู่บ้าน Kyauk Ni Maw ในภาคเหนือของรัฐยะไข่[9]
รัฐบาลเมียนมาร์ได้ระงับการออกบัตรประจำตัวสีชมพู
แก่ชาวกามิน ที่มีการยื่นคำร้องกว่า 3,000 ราย ด้วยความจริงมีชาวกามิน เพียงไม่กี่ร้อยคน แต่ปรากฏว่า
มีชาวโรฮิงญาเป็นจำนวนมาก ที่สวมรอยอ้างตัวว่าเป็นชาวกามิน
เพื่อขออกบัตรประจำตัวสีชมพู[10]
[1] หนังสือพิมพ์ Berita Harian Online ฉบับ 29 เมษายน 2020
[2] Ashley South,
Marie Lall, editors,Citizenship in Myanmar
Ways of Being in and from Burma, ISEAS - Yusof Ishak
Institute, Chiang Mai University Press, 2017.
Ways of Being in and from Burma, ISEAS - Yusof Ishak
Institute, Chiang Mai University Press, 2017.
[3] เป็นเมืองสำคัญทางโบราณคดีในภาคเหนือของรัฐยะไข่
นอกจากนั้น
ระหว่างปี 1430 ถึง 1785 ยังเป็นเมืองหลวงของรัฐมารัคยู Mrauk-U)
ในอดีต ซึ่งรัฐนี้ถือเป็นรัฐที่สำคัญและทรงอำนาจที่สุดในรัฐยะไข่
ระหว่างปี 1430 ถึง 1785 ยังเป็นเมืองหลวงของรัฐมารัคยู Mrauk-U)
ในอดีต ซึ่งรัฐนี้ถือเป็นรัฐที่สำคัญและทรงอำนาจที่สุดในรัฐยะไข่
[4] Moshe
Yegar,The Muslims of Burma - A Study of a Minority
Group, Harrassowitz, 1972.
[5] เกาะรัมรี
(Ramree Island) มีชื่ออีกชื่อหนึ่ง คือ เกาะ Yanbye
เป็นเกาะนอกชายฝั่งของรัฐยะไข่ เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในชายฝั่งยะไข่
มีพื้นที่ของเกาะประมาณ 1,350 ตารางกิโลเมตร และศูนย์กลาง
ที่มีประชากรอาศัยอยู่คือ เมืองรัมรี
เป็นเกาะนอกชายฝั่งของรัฐยะไข่ เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในชายฝั่งยะไข่
มีพื้นที่ของเกาะประมาณ 1,350 ตารางกิโลเมตร และศูนย์กลาง
ที่มีประชากรอาศัยอยู่คือ เมืองรัมรี
[6] Ashley South,
Marie Lall, อ้างแล้ว.
[7] Aung Aung,Emerging
Political Configurations in the Run-up to
the 2020 Myanmar Elections, ISEAS - Yusof Ishak Institute,
Singapore, 2019.
[8] Reuters, 7 November 2015.
[9] Coconuts
Yangon, 20December 2018.
Tiada ulasan:
Catat Ulasan