Khamis, 31 Disember 2020

การเข้ามาของศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

ศาสนาอิสลามได้เข้ามาสู่ดินแดนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มาเป็นเวลาหลายศตวรรษแล้ว  ด้วยปัตตานีเคยเป็นหนึ่งในท่าเรือสินค้าของพ่อค้าต่างชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  พ่อค้าต่างชาติมักแวะพักเรือสินค้าเพื่อทำการค้าที่ปัตตานี  ซึ่งในบรรดาพ่อค้าเหล่านั้นมีพ่อค้าจากประเทศอาหรับและเปอร์เซียด้วย

 

อินเดียได้เป็นแหล่งหนึ่งที่มีการเผยแพร่ศาสนาอิสลาม  โดยเป็นศูนย์การค้าขายระหว่างพ่อค้าอาหรับ, เปอร์เซียและจีนกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยนั้นต่อมาศาสนาอิสลามได้ถูกเผยแพร่ไปยังประเทศจีน, จามปา  พร้อม ๆ กับที่มีการเผยแพร่สู่แหลมมลายูและหมู่เกาะมลายู

มีหลักฐานที่แสดงว่าศาสนาอิสลามได้เข้าสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ศตวรรษที่  11  และ  12  บรรดาพ่อค้าอาหรับได้เดินทางไปยังประเทศจีนโดยผ่านภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นับตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง  ที่เกาะชวามีการค้นพบหินหลักหลุมศพ  (Nisan)  ที่เขียนด้วยอักขระอาหรับซึ่งแสดงถึงความนานของศาสนาอิสลามได้เข้าสู่เกาะดังกล่าว  โดยมีการจารึกว่าปี  ค.ศ.  1082  หรือ  1102  ที่จามปาที่การค้นพบหินหลักหลุมศพเขียนด้วยอักขระอาหรับปี ค.ศ.  1039  ส่วนในแหลมมลายูนั้นได้มีการค้นพบหินหลักหลุมศพสตรีอาหรับโดยจารึก  ปี  ค.ศ.  1028

 

ในสมัยมาร์โค  โปโล  เดินทางกลับมาประเทศจีนโดยผ่านช่องแคบมะละกา  เมื่อปี  1292  นั้นเขาได้ยินที่กว่าทางตะวันออกของเกาะสุมาตรานั้นคือรัฐเปอร์ลัก  ประชาชนของรัฐดังกล่าวได้เข้ารับศาสนาอิสลามตามพ่อค้าชาวอาหรับที่ทำการค้าขายในสมัยนั้น 

นักวิชาการส่วนหนึ่งเชื่อว่ารัฐปัตตานีกับรัฐปาหังเป็นสองรัฐแรกที่เข้ารับศาสนาอิสลาม  ตามหลักฐานที่มีว่า นักเดินทางชาวโปร์ตุเกสาที่ชื่อว่า  de Eredia  ได้บันทึกไว้เมื่อปี  1613  ความว่า

 

“More  ever  the  faith  of  the  Maumeth  (Islam)  was  accepted  in  Patane  (Patani)  and  Pan  (Pahang)  and  in  Certain  islands  of  Aromaik  Archipelago  especially  at  the  part  of  Bantan  in  Jawa  Major,  Later  it  was  accepted  and  eucouraged  by  Permicuri  (Permaisuri)  at  Malacca  in  the  year  1411. 


หินปักสุสานหรือ บาตูแนแซ (Batu  Nesan) ที่เขียนด้วยอักขระอาหรับ เมื่อหลายร้อยปี ซึ่งพบที่จามปา  ประเทศเวียดนาม

หินปักสุสานหรือ บาตูแนแซ (Batu  Nesan) ที่เขียนด้วยอักขระอาหรับ ปี ค.ศ. 1039  พบที่จามปาใต้ (เมืองพันราง)   ประเทศเวียดนาม   แสดงว่าศาสนาอิสลามเข้ามายังภูมิภาคอุษาคเนย์เกือบพันปีมาแล้ว

หินปักสุสานหรือ บาตูแนแซ (Batu  Nesan) ที่เขียนด้วยอักขระอาหรับ ผู้ตายชื่อนางฟาตีมะห์  บินตีมัยมุน ปี ค.ศ. 1082  พบที่เลรัน  ใกล้เมืองสุราบายา  ประเทศอินโดเนเซีย

ศิลาจารึก(Batu  Bersurat) ที่รู้จักกันในนามของศิลาจารึกตรังกานู  เป็นศิลาจารึกแรกในแหลมมลายูที่ใช้อักขระอาหรับ ปี ค.ศ. 1303  พบที่รัฐตรังกานู  ประเทศมาเลเซีย


การเข้ารับศาสนาอิสลามแรกเริ่มไม่ได้มาจากชนชั้นสูงเช่นกษัตริย์และขุนนางต่าง ๆ แต่มาจากชนชั้นสามัญชน  หรือประชาชนทั่วไป  ดังเช่นที่มีการกล่าวไว้ในตำนานปัตตานีหรือ  Hikayat  Patani   ว่ากษัตริย์ปัตตานีได้ปฏิเสธศาสนาอิสลามแต่บรรดาพ่อค้านั้นประกอบด้วยผู้นับถือศาสนาอิสลาม  ในการนี้หนังสือประวัติศาสตร์มลายู   หรือ  Sejarah  Melayu  ได้บันทึกว่า  กษัตริย์ศรีวังศา  (Raja  Sri  Wangsa)  แห่งโกตามะห์ลีกัย  (Kota  Mahligai)  ได้ต่อต้านกษัตริย์สุไลมานแห่งรัฐมะละกา   แต่ไม่สำเร็จดังนั้นพระองค์จึงเข้ารับศาสนาอิสลามความสุลต่านสุไลมานแห่งรัฐมะละกา  ซึ่งแนวความคิดนี้สอดคล้องกับแนวคิดของนักประวัติศาสตร์ที่มี  Daniel  Gorge E. Hall  ที่เขียนหนังสือชื่อ  A  History  of  South  East  Asia”

                   สุสานพญาอินทิรา เจ้าเมืองคนแรกที่เข้ารับศาสนาอิสลาม


                   สุสานพญาอินทิรา เจ้าเมืองคนแรกที่เข้ารับศาสนาอิสลาม

การเข้ารับศาสนาอิสลามของกษัตริย์ปัตตานีนั้นมีอยู่  2  ทัศนะ  ทัศนะแรกปรากฏตามหนังสือตำนานปัตตานี (Hikayat Patani) ได้กล่าวว่าก่อนกษัตริย์ปัตตานีเข้ารับศาสนาอิสลามนั้นมีหมู่บ้านอิสลามตั้งอยู่ชานเมืองปัตตานี  หมู่บ้านนั้นมีชื่อว่าหมู่บ้านปาไซ (Pasai)  เมื่อกษัตริย์ปัตตานีที่ชื่อ พญาตู  นักพา(Phya Tu Naqpa) เป็นโรคผิวหนัง  ไม่มีหมอผู้ใดสามารถรักษาได้  มีบุคคลผู้หนึ่งชื่อว่า  เชค  ซาอิค  อัลบาซีซา(Sheikh Said Al-Basisa) จากหมู่บ้านดังกล่าวรักษาโรคของกษัตริย์ปัตตานีโดยมีเงื่อนไขว่าเมื่อหายแล้วจะต้องเข้ารับศาสนาอิสลาม  ในที่สุดโรคของพระองค์ก็หาย  ต่อมาพระองค์จึงเข้ารับศาสนาอิสลามโดยใช้ชื่อว่า  สุลต่านอิสมาแอลชาห์  ส่วนทัศนะที่สอง  ตามหนังสือ  Sejarah  Kerajaan  Melayu  Patani  กล่าวว่า  บุตรของพญาตูนักพากษัตริย์ปัตตานีที่ชื่อว่า  พญาตูอินทิรา(Phya Tu Intira) เป็นผู้เข้ารับศาสนาอิสลามโดยใช้ชื่อว่าสุลต่านมูฮัมหมัดชาห์

                  สุสานเชคซาอิด ผู้ทำให้พญาอินทิรา เข้ารับศาสนาอิสลาม

อย่างไรก็ตามเชื่อว่าทั้งสุลต่านอิสมาแอลชาห์  และสุลต่านมูฮัมหมัดชาห์  คือบุคคลคนเดียวกัน  กล่าวกันว่ามีประชาชนชาวปัตตานีเข้ารับศาสนาอิสลามเป็นจำนวนมากเริ่มประมาณปี  ค.ศ.  1475  หลังจากนั้นศาสนาอิสลามจึงปักหลักด้วยความมั่นคงในปัตตานี  จนปัตตานีกลายเป็นศูนย์เผยแพร่ศาสนาอิสลามในภูมิภาคนี้  แม้แต่รัฐกลันตันเองก็กล่าวกันว่าได้รับศาสนาอิสลามจากปัตตานีด้วยการเผยแพร่ของนักปราชญ์ศาสนาอิสลามผู้หนึ่งจากปัตตานี  การเผยแพร่ศาสนาอิสลามครั้งนั้นเกิดขึ้นราว  ค.ศ.  1150

Rabu, 16 Disember 2020

Profesor Diraja Dr. Ungku Abdul Aziz bin Ungku Abdul Hamid : Kehilangan Permata di Malaysia

 Oleh Nik Abdul Rakib Bin Nik Hassan

Pada 15 Disember 2020 Malaysia dan seluruh ummat Melayu di Nusantara telah hilang sebuah permata. Iaitu Profesor Diraja Dr. Ungku Abdul Aziz bin Ungku Abdul Hamid tokoh Melayu Malaysia telah meninggal. Untuk penghormatan al-marhum  Profesor Diraja disini saya memetic riwyat hidupnya dari Wikipedia.

Profesor Diraja Dr. Ungku Abdul Aziz bin Ungku Abdul Hamid (28 Januari 1922 – 15 Disember 2020) merupakan seorang ahli ekonomi dan pensyarah Malaysia. Beliau merupakan seorang tokoh yang paling disegani terutamanya dalam bidang pendidikan dan ekonomi di Malaysia. Beliau mendapat gelaran Profesor Diraja (Royal Professor) dan satu-satunya pemegang gelaran tersebut di Malaysia. Beliau pernah memenangi Hadiah Budaya Asia Fukuoka IV pada tahun 1993

Kehidupan awal dan keluarga

Beliau merupakan keturunan diraja Johor. Bapanya, Ungku Abdul Hamid Ungku Abdul Majid merupakan seorang Leftenan dalam pasukan tentera Timbalan Setia Negeri Johor (JMF). Ibunya bernama Hamidah binti Abdullah, seorang wanita Inggeris. Pada 1924, ibunya meninggal dunia ketika Ungku Aziz berusia dua tahun. Setelah dilahirkan di London, beliau dibawa pulang ke Batu Pahat, Johor. Datuknya, Ungku Abdul Majid membawanya menjelajah ke serata Eropah.

 

Ayahnya seorang yang pintar dan pernah belajar di Universiti Cambridge dan boleh menguasai bahasa Parsi, Arab dan Sanskrit.

 

Beliau telah berkahwin dengan Sharifah Azah Aziz dan telah dikurniakan seorang anak perempuan iaitu Y.M. Tan Sri Dato' Sri Dr. Zeti Akhtar Aziz, bekas Gabenor Bank Negara Malaysia. Beliau juga merupakan sepupu kepada intelektual Muslim tersohor, Y.M. Tan Sri Prof. Dr. Syed Muhammad Naquib al-Attas.

 

Setelah isteri pertamanya meninggal dunia, beliau telah berkahwin dengan bekas Naib Yang Dipertua Angkatan Koperasi Kebangsaan Malaysia Berhad, Rohayah Ahmad Bahiran @ Rahaiah Baheran.[6]

 

Pendidikan

Beliau mendapat pendidikan awal di Sekolah Rendah Ngee Heng, Johor Bahru, kemudian di Sekolah Bukit Zahrah dan seterusnya di English College, Johor Bahru, Sekolah Melayu Batu Pahat, kemudian menyambung pengajiannya di Raffles College, Singapura (kini Universiti Malaya) untuk mendapatkan Diploma Seni dan di Universiti Malaya, Singapore (kini Universiti Malaya di Kuala Lumpur) pada tahun 1951 untuk mendapatkan Ijazah Sarjana Muda Sastera (Ekonomi). Pada tahun 1964, beliau mendapat Ijazah Doktor Falsafah dalam bidang ekonomi di Universiti Waseda, Tokyo.

Kerjaya

Beliau menyertai Perkhidmatan Awam Johor (JCS) pada 1951, kemudian sebagai Pensyarah Ekonomi di Universiti Malaya Singapura (1952-1961). Pada tahun 1961-1965, beliau telah dilantik sebagai Profesor dan Dekan di Fakulti Ekonomi, Universiti Malaya, Kuala Lumpur.

 

Kemudian dilantik sebagai Naib Canselor Universiti Malaya dari 1968 hingga 1988. Beliau merupakan rakyat Malaysia pertama yang memegang jawatan tersebut dan Naib Canselor yang paling lama berkhidmat dengan universiti tersebut kira-kira 20 tahun.

 

Atas inisiatifnya, di Universiti tercipta Taman Botani, Muzium Seni Asia, dan sebuah kedai buku koperasi. Waktu beliau memimpin UM, pertukaran mahasiswa mula dilaksanakan antara Universiti Malaya dan Institut Bahasa-Bahasa Timur (kemudian Institut Negara-negara Asia dan Afrika) di Universiti Negara Moscow (sejak tahun 1970).

Anugerah

Beliau yang dianugerahkan gelaran "Profesor Diraja Ekonomi" (Pembangunan Luar Bandar) oleh DYMM Seri Paduka Baginda Yang di-Pertuan Agong pada 17 Jun 1978.

 

Ungku Aziz juga merupakan pengasas ANGKASA dan Yang di-Pertua ANGKASA sejak ditubuhkan pada 1971. Pada 21 Julai 2002 beliau telah dianugerahkan Tokoh Koperasi Negara sempena Hari Koperasi Negara.

 

Beliau pernah memenangi Hadiah International Academic Prize of The 4th Fukuoka Asian Cultural Prizes 1993 by the City of Fukuoka.

 

Pada 1997, beliau telah dianugerahkan Tokoh Maal Hijrah oleh DYMM Seri Paduka Baginda Yang di-Pertuan Agong.

Beliau juga menempa sejarah negara apabila menjadi penerima pertama ‘Anugerah Melayu Terbilang’ sempena sambutan ulang tahun Ke-59 UMNO di Pusat Dagangan Dunia Putra (PWTC) 11 Mei 2005. Anugerah disampaikan oleh Presiden UMNO, Datuk Seri Abdullah Ahmad Badawi.

 

Pada 25 Jun 2005, beliau telah dianugerahkan 'Tokoh Ekonomi Melayu' oleh Dewan Perniagaan Melayu Malaysia (DPMM). Pada 2006, beliau menerima 'Anugerah Akademik Negara' sempena Majlis Pengisytiharan Universiti Penyelidikan dan Anugerah Akademik Negara 2006 pada 2 Ogos 2007 oleh YAB Dato’ Seri Najib Tun Razak, Timbalan Perdana Menteri Malaysia.




Sumbangan dan jawatan

Antara sumbangan, peranan utama dan jawatan yang dipegang Ungku Aziz kepada negara ialah:-

 

1. Pencetus idea penubuhan, dan Yang Dipertua, Angkatan Koperasi    

   Kebangsaan Malaysia Berhad (ANGKASA) (Mac 1971-)

2. Ahli Lembaga Pengarah, Koperasi Kedai Buku Universiti Malaya

    Berhad (KKUM) (1968-).

3. Fellow Kehormat, Institut Sosial Malaysia, Kementerian

   Pembangunan Wanita, Keluarga dan Masyarakat (1.10.2005 –

   30.9.2008).

4. Ahli Majlis Tadbir Urus, Pusat Pengajian Kewangan Islam   

    Antarabangsa, Bank Negara Malaysia (INCEIF Governing Council)

    (2006-2009).

5. Pelaksanaan Dasar Ekonomi Baru (DEB) bagi membantu

    bumiputera menikmati agihan kekayaan negara serta Majlis

    Perundingan Ekonomi Negara (Mapen) II.

6. Pencetus idea penubuhan Lembaga Urusan dan Tabung Haji

   (LTH).

7. Pencetus idea penubuhan dan Ketua Pengarah Pertama Dewan

   Bahasa dan Pustaka (DBP).

8. Mengasaskan Institut Bahasa Teikyo.

9. Mengasaskan Universiti Malaya.

10. Mencetuskan idea Akademi Islam.

11. Mencetuskan idea Pusat Asasi Sains.

12. Pengerusi Cosmopoint Sdn Bhd (25.9.1995 - 15.12.2020).

13. Pengarah PLUS Expressways Berhad (11.3.2002 - 15.12.2020).

14. Pengarah PLUS Berhad (9.9.1988 - 15.12.2020).

 

Kematian

Pada hari Selasa 15 Disember 2020, beliau meninggal dunia di Hospital Prince Court, Kuala Lumpur pada pukul 4:30 akibat sakit tua. Jenazah beliau dimandikan di hospital tersebut sebelum dibawa ke Masjid At-Taqwa, Taman Tun Doktor Ismail lalu tiba pada pukul 8:50 malam.[9][10] Jenazah disembahyangi selepas solat Isyak pada pukul 8:55 malam sebelum diibawa ke Tanah Perkuburan Islam Bukit Kiara lalu tiba pada pukul 9:15 malam. Jenazah beliau selesai dikebumikan pada sekitar pukul 9:50 malam.

Selasa, 24 November 2020

นายเวนเซสลาว คิว. วินซันส์ Wenceslao Q. Vinzons (1910-1942) วีรบุรุษชาวฟิลิปปินส์ที่ต่อต้านการยึดครองของกองทัพญี่ปุ่น

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

นายเวนเซสลาว คิว. วินซอนส์   ได้รับการยกย่องว่าเป็น "บิดาแห่งการเคลื่อนไหวของนักศึกษาในฟิลิปปินส์-The Father of Student Activity in The Philippines"[1]

 

นายเวนเซสลาว คิว. วินซอนส์  เกิดที่เมืองอินดาน (Indan) จังหวัดคามารีนส์นอร์เต (Camarines Norte ) บนเกาะลูซอน เดิมเมืองอินดานนี้มีชื่อว่าเมือง Tacboan เป็นเมืองที่ก่อตั้งโดยคณะนักบวชคริสเตียนทื่ชื่อว่า คณะฟรันซิสแคน (the Franciscan) เมื่อปี 1581 ต่อมาเมืองอินดานนี้ก็ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นเมืองวินซอนส์ เพื่อเป็นเกียรติให้กับนายเวนเซสลาว คิว. วินซันส์ ซึ่งครั้งหนึ่งเขาเคยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดคามารีนส์นอร์เต (Camarines Norte )

นายเวนเซสลาว คิว. วินซอนส์  เป็นบุตรของนายกาบีโน วินซอนส์ วาย. เวนีดา (Gabino Vinzons y Venida) และนางเองกราเซีย ควีนีโต วาย. เอเลป (Engracia Quinito y Elep) เขาเป็นหลานปู่ย่าของเซราฟิน วินซอนส์ (Serafín Vinzons) ซึ่งเป็นคนจีน กับนางบัลโดเมรา เวนีดา (Baldomera Venida) และหลานตายายของนายโรซาลีโอ ควีนีโต (Rosalío Quinito) และนางซีปรียานา เอเลป (Cipriana Elep)[2]

 

นายเวนเซสลาว คิว. วินซอนส์  มีชื่อเล่นว่า Bintao เขาเรียนชั้นเริ่มต้นที่ Vinzons Elementary School และการเรียนของเขาอยู่ในอันดับต้น ๆ ของชั้นเรียน จากนั้นเขาได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนระดับมัธยมชื่อว่า Camarines Norte High School และเขาได้เข้าศึกษาจนจบปริญญาตรีด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ (the University of the Philippines)   เขาได้สร้างชื่อเสียงในสมัยเรียนที่มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ โดยเขาได้รับรางวัลเหรียญทองคำประธานาธิบดีมานูเอล  แอล. เคซอน (the Manuel L. Quezon gold medal)  จากการที่เขาพูดในหัวเรื่อง “Malaysia Irredenta” ในวาระการจัดงานวาทศิลป์ประจำปีครั้งที่ 20 ของวิทยาลัยกฎหมาย มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ (20th Annual Oratorical Contest of the College of Law, University of the Philippines) ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 1932[3]

 

แม้จะมีบันทึกถึงคำว่า Malaysia และ Malaysian ในหนังสือราชกิจจานุเบกษาของรัฐซาบะห์ มาเลเซีย ที่ชื่อ The North Borneo Gazette ในปี 1889 แต่ยังไม่เผยแพร่นัก นักวิชาการส่วนหนึ่งจึงถือว่า นายเวนเซสลาว คิว. วินซันส์  เป็นบุคคลแรกๆ ที่สร้างชื่อคำว่า “มาเลเซีย” จากการพูดของเขาในปี 1932  

                                                
นายเวนเซสลาว คิว. วินซอนส์  ถือได้ว่าเขาเป็นคนหนึ่งที่มีจิตใจต้องการรวมชาติพันธุ์มลายูเข้าด้วยกัน เขายังเป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัยที่ชื่อว่า Philippine Collegian เป็นหนังสือพิมพ์ที่จัดพิมพ์ตั้งแต่ปี 1922  โดยแรกเริ่มในปี 1910 หนังสือพิมพ์นี้รู้จักในชื่อ the College Folio เป็นหนังสือพิมพ์ของนักศึกษาปริญญาตรี และต่อมาหนังสือพิมพ์นี้ในปี 1917 รู้จักในชื่อหนังสือพิมพ์ Varsity News และในปี 1922 หนังสือพิมพ์นี้จึงใช้ชื่อเป็นทางการว่า หนังสือพิมพ์ Philippine Collegian[4]  โดยนายเวนเซสลาว คิว. วินซอนส์   เป็นบรรณาธิการคนที่สามของหนังสือพิมพ์ Philippine Collegian  โดยเป็นบรรณาธิการตั้งแต่ปี 1931–1932

 

นอกจากนั้นเขายังเป็นนายกองค์การนักศึกษา (President of the Student Council) อีกด้วย   ในปี 1932 เขาเป็นผู้นำองค์กรที่ชื่อว่า The Youth Movement  ต่อต้านการขึ้นเงินเดือนของสมาชิกสภาเทศบาลกรุงมะนิลา 

                                                                 นาย Arturo M. Tolentino

หลังจากเขาจบการศึกษา เขาได้ร่วมกับเพื่อนๆ เช่น นาย with Narciso J. Alegre และนาย Arturo M. Tolentino ( ต่อมาเป็นวุฒิสมาชิก และเป็นรองประธานาธิบดีในยุคประธานาธิบดีเฟอร์ดินัน มาร์คอส) จัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นมา ชื่อว่า the Young Philippines Party และในปี 1933 เขาชนะเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ (Constitutional Convention) ในปี 1935  เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา (Congressman)   ต่อมาในปี 1940 เขาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดคามารีนนอร์เต (Camarines Norte ) เมื่อญี่ปุ่นเข้ายึดครองฟิลิปปินส์ ในปี 1941 เขาเป็นคนแรกๆ ที่จัดตั้งหน่วยจรยุทธ์ต่อต้านการยึดครองของกองทัพญี่ปุ่น โดยกองทัพญี่ปุ่นเข้ายึดครองพื้นที่เขตของเขาเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 1941

 

เชาสั่งให้ยึดฉางข้าวทั้งหมดในจังหวัดคามารีนส์นอร์เต (Camarines Norte) และสั่งยึดวัตถุระเบิดที่ใช้ในเหมืองทองคำของจังหวัดคามารีนนอร์เต เพื่อใช้ในการต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น  ในวันที่ 18 ธันวาคม 1941 เขาได้นำกำลังเข้าโจมตีกองทัพญี่ปุ่นในเมืองบาซุด จังหวัดคามารีนนอร์เต ในเวลาไม่นาน กองกำลังของนายเวนเซสลาว คิว. วินซอนส์   ก็เพิ่มขึ้นเป็น 2,800 คน และในเดือนพฤษภาคม 1942 นายเวนเซสลาว คิว. วินซอนส์  ก็สามารถนำกองกำลังของตัวเองปลดปล่อยเมืองดาเอ็ด (Daet) เมืองเอกของของจังหวัดคามารีนส์นอร์เต (Camarines Norte ) ได้สำเร็จ กล่าวกันว่าระหว่างเดือนธันวาคม 1941 ถึงเดือนพฤษภาคม 1942 กองกำลังของนายเวนเซสลาว คิว. วินซอนส์  นอกจากใช้อาวุธต่างๆแล้ว ส่วนหนึ่งจะใช้ลูกธนูอาบยาพิษ สามารถสังหารทหารญี่ปุ่นได้ราว 3,000 นาย  ซึ่งทำให้กองทัพญี่ปุ่นมีเป้าหมายยึดเมืองวินซอนส์เป็นเป้าหมายหลัก

 

การต่อสู้ต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นของนายเวนเซสลาว คิว. วินซอนส์ ก็สิ้นลง เมื่อชาวฟิลิปปินส์ที่เคยเป็นอดีตกองกำลังของเขาได้ทรยศ โดยได้แจ้งข่าวเกี่ยวกับเขาให้แก่กองทัพญี่ปุ่น จนต่อมานายเวนเซสลาว คิว. วินซอนส์ ก็ถูกจับคุมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 1942 เขาได้ปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือกับกองทัพญี่ปุ่น จึงถูกนำตัวไปยังเมืองดาเอ็ต (Daet) เมืองเอกของจังหวัดคามารีนส์นอร์เต (Camarines Norte ) และในวันที่ 15 กรกฎาคม 1942 กองทัพญี่ปุ่นได้ขอร้องเป็นครั้งสุดท้ายให้นายเวนเซสลาว คิว. วินซอนส์ ให้ความร่วมมือกับกองทัพญี่ปุ่น แต่เขาได้ปฏิเสธคำขอร้องดังกล่าว ดังนั้นกองทัพญี่ปุ่นจึงใช้ดาบปลายปืนสังหารนายเวนเซสลาว คิว. วินซอนส์  ถึงแก่ความตาย[5]  และหลังจากนั้นไม่นาน กองทัพญี่ปุ่นได้สังหารพ่อภรรยา น้องสาวและลูก ๆ อีกสองคนของเขาเช่นกัน[6]

มีหลายสิ่งที่แสดงถึงการรำลึกถึงเกียรติคุณของนายเวนเซสลาว คิว. วินซอนส์ ไม่เพียงได้รับการยกย่องว่าเป็น ”บิดาแห่งการเคลื่อนไหวของนักศึกษาในฟิลิปปินส์" เท่านั้น  ยังมีอีกอย่างเช่น

 

เมืองอินดาน ก็ได้รับการเปลี่ยนชื่อเมืองตามชื่อของเป็นเมืองวินซอนส์อีกด้วย

 

โรงเรียนประถมแห่งหนึ่งในกรุงมะนิลาก็ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนประถมวินซอนส์  

ศูนย์กิจกรรมนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ วิทยาเขตดิลิมัน ก็ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น Vinzons Hall ในปี 1959   นอกจากนั้นอาคาร Vinzons Hall ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานหนังสือพิมพ์ Philippine Collegian  ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์อีกด้วย

 

นอกจากนั้นวุฒิสมาชิกริชาร์ด  กอร์ดอน ซึ่งเป็นผู้ชื่นชมนายเวนเซสลาว คิว. วินซอนส์ และเป็นอดีตประธานสภานักเรียนมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ รับหน้าที่ปั้นรูปนายเวนเซสลาว คิว. วินซอนส์ ที่ Vinzons Hall

 

เครือญาติของนายเวนเซสลาว คิว. วินซอนส์ หลายคนเข้าสู่วงการทางการเมือง  เช่นนายเฟอร์นันโด วินซอนส์ ปาจาริลลา (Fernando Vinzons Pajarillo) ก็ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกรัฐสภาและผู้ว่าการจังหวัดคามารีนส์นอร์เต (Camarines Norte ) หลายสมัย บุตรชายของนายเวนเซสลาว คิว. วินซอนส์ เองก็เคยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดมาสมัยหนึ่ง   ส่วนบุตรสาวของนายเวนเซสลาว คิว. วินซอนส์ ที่ชื่อว่า นางแนนี่ วินซอนส์ ไกเต (Rannie Vinzons-Gaite) เคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัดคามารีนส์นอร์เต (Camarines Norte)

 

ผู้เขียนเอง เคยพานักศึกษาสาขาวิชามลายูศึกษาสองคนไปเยี่ยมมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ ที่ดิลีมาน กรุงมะนิลา และสิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ การไปเยี่ยมหอประชุมที่ชื่อว่า Vinzons Hall สิ่งที่น่าเสียใจยิ่ง เมื่อไม่นานมานี้ เพื่อนเฟสบุ๊คของผู้เขียนคนหนึ่ง คือ นางรานาวาโลนา คาโรลีนา วินซอนส์ ไกเต (Ranavalona Carolina Vinzons Gaite) ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทางสมาพันธ์สมาคมนักเขียนแห่งชาติมาเลเซีย หรือ Gabungan Persatuan Penulis Nasional Malaysia (GAPENA) โดยเฉพาะกับอดีตประธานสมาพันธ์ คือ ตันสรี อิสมาแอล ฮุสเซ็น ได้เสียชีวิตแล้ว นับเป็นการสูญเสียของบุตรสาว นายเวนเซสลาว คิว. วินซอนส์ ซึ่งนักวิชาการมาเลเซีย ถือว่า เป็นคนแรกๆ ที่สร้างชื่อ เผยแพร่ชื่อคำว่า มาเลเซีย คนหนึ่ง แม้ชื่อคำว่ามาเลเซียนี้  จะมีมาก่อนหน้านั้น



[1] Abel C. Icatlo,Wenceslao Q. Vinzons, Filipino exemplar, 

  https://opinion.inquirer.net/124327/wenceslao-q-vinzons-filipino-exemplar

[2] เป็นหลักฐานจากสำเนาสูติบัตรของนายเวนเซสลาว คิว. วินซอนส์  ในขณะที่ยื่นขอใบอนุญาต

   การแต่งงานที่จังหวัดคาวีเต (Cavite) อยู่ตอนใต้ของกรุงมะนิลา ในปี 1932

[3] Gaite, Ranavalona Carolina Vinzons,Wenceslao Q. Vinzons: A Youth to Remember

  (Mimeograph at  University of the Philippines Library, 1977. Speech by

  Wenceslao Q. Vinzons, entitled ‘Malaysia Irredenta’ on 12 February 1932 at 20th

  Annual Oratorical Contest of the College of Law, University of the Philippines.,.

[4] Chee, Tam Seong (1981). Essays on Literature and Society in Southeast

  Asia.National University of Singapore Press. หน้า 148

[5] Filipinos in History Vol. II. Manila, Philippines: National Historical Institute. 1990. หน้า 267

[6] Filipinos in History Vol. II. Manila, Philippines: National Historical Institute. 1990. p. 268

Ahad, 15 November 2020

นายอิบราฮิม ยะอากู๊บ (Ibrahim Yaakub) นักชาตินิยมมาเลเซียผู้หวังจัดตั้งประเทศอินโดเนเซียรายา

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

นักชาตินิยมชาวมาเลเซีย ที่อพยพไปตั้งถิ่นฐานในประเทศอินโดเนเซีย จนคนรุ่นใหม่ชาวมาเลเซียจำนวนหนึ่งไม่รู้จัก นายอัสวี วารมัน อาดัม นักวิชาการชาวอินโดซียได้เขียนไว้ในหนังสือ ชื่อว่า Menguak Misteri Sejarah[1] โดยเขียนว่า นายอิบราฮิม   ยะอากู๊บ  เกิดเมื่อ 27 พฤศจิกายน 1911 ที่หมู่บ้านตันหยงเกอร์เบา เมืองเตอเมอร์โละห์ รัฐปาหัง  บรรพบุรุษของเขา มีเชื้อสายชาวบูกิสได้เดินทางมายังรัฐปาหัง มาเลเซีย ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20  

นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ของมาเลเซียอีกคน คือ ศ. ดร. รัมละห์  อาดัม ได้เขียนหนังสือชื่อ Sumbangan Dikenang[2] โดยเขียนว่า พ่อของเขาชื่อ ฮัจญียะอากู๊บ เป็นนักการศาสนาในหมู่บ้าน ส่วนแม่ของเขาชื่อนางฮาวา บินตีฮุสเซ็น เมื่อนายอิบราฮิม   ยะอากู๊บ มีอายุเพียง 2 ขวบ ทางพ่อและแม่ก็ได้หย่ากัน โดยนายอิบราฮิม   ยะอากู๊บอาศัยอยู่กับแม่ ส่วนพ่อก็ได้ย้ายไปอยู่หมู่บ้านอื่น คือ หมู่บ้านเจอบง (Kampung Cebung) เขตเติมเบอลิง รัฐปาหังเช่นกัน ความสัมพันธ์กับพ่ออยู่ในระดับดี เขาได้รับการศึกษาด้านศาสนาจากพ่อของเขา

สำหรับความคิดชาตินิยมของเขาเริ่มในสมัยที่เรียนในวิทยาลัยฝึกหัดครูสุลต่านอิดริส  โดยนักวิชาการมาเลเซีย อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย ชื่อ ศ. ดร. วันฮาชิม วันเตะห์ เขียนหนังสือ ชื่อ Hubungan Etnik di Malaysia[3] ได้เขียนไว้ว่า ความรู้สึกชาตินิยมในหมู่ชาวมลายูเกิดขึ้นราวทศวรรษที่ 1920 ยิ่งเมื่อมีการจัดตั้งวิทยาลัยฝึกหัดครูสุลต่านอิดริส หรือ Maktab Perguruan Sultan Idris (SITC) ที่เมืองตันหยงมาลิม รัฐเปรัคในปี 1922 โดยวิทยาลัยฝึกหัดครูสุลต่านอิดริสได้สร้างนักชาตินิยมหลายคน รวมทั้งนายอิบราฮิม   ยะอากู๊บด้วย


ในช่วงที่เรียนที่ วิทยาลัยครูสุลต่านอิดริส (Maktab Perguruan Sultan Idris) ระหว่างปี 1928-1931 ครูของเขาได้สอนถึงขบวนการชาตินิยมของอินเดีย อิยิปต์ อินเดีย และญี่ปุ่น  นายอิบราฮิม   ยะอากู๊บ  ได้อ่านหนังสือพิมพ์ที่นำเข้ามาจากประเทศอินโดเนเซีย หรือ Dutch East Indies ในขณะนั้น หนังสือพิมพ์ดังกล่าว เช่น หนังสือพิมพ์ Persatuan Indonesia และหนังสือพิมพ์ Fikiran Rakjat


ในช่วงปี 1929-1930 ได้เกิดองค์กรลับทางการเมืองขึ้นมา 2 องค์กร คือ พันธมิตรแหลมมลายูบอร์เนียว  หรือ Ikatan Semenanjung Borneo (ISB) และองค์กรที่ชื่อว่าพันธมิตรเยาวชนนักศึกษา หรือ Ikatan Pemuda Pelajar (IPP) หรือ เยาวชนมาลายา หรือ Belia Malaya ซึ่งประกอบด้วยนายอิบราฮิม   ยะอากู๊บ  (Ibrahim Yaakub) นายมูฮัมหมัดอีซา มาห์มุด (Muhammad Isa Mahmud) นายยะอากู๊บ  มูฮัมหมัดอามีน (Yaakub Muhd. Amin) นายฮัสซัน ฮัจญีมานัน (Hassan Haji Manan) องค์กรหลังนี้มีสมาชิกอยู่ประมาณ 35 คน

โดยสร้างความสัมพันธ์กับองค์กรต่างๆในอินโดเนเซีย รวมทั้งพรรคแห่งชาติอินโดเนเซีย หรือ Parti Nasional Indonesia (PNI) ของซูการ์โน[4]

ในปี 1940 ขณะที่มีอายุได้ 29 ปี นายอิบราฮิม   ยะอากู๊บ  ได้กลายเป็นนักชาตินิยมหัวรุนแรง มีความภูมิใจในตัวของซูการ์โน แห่งอินโดเนเซีย และในปี 1941 ด้วยความช่วยเหลือทางการเงินของกงสุลใหญ่ญี่ปุ่นในประเทศสิงคโปร์  ทำให้นายอิบราฮิม   ยะอากู๊บ  สามารถซื้อหนังสือภาษามลายูในสิงคโปร์ นั้นคือหนังสือพิมพ์ Warta Malaya สำหรับหนังสือพิมพ์ Warta Malaya นั้นนักวิชาการประวัติศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย คือ นายซุลกีฟลี บิน มาห์มุด ได้เขียนว่า[5] เป็นหนังสือพิมพ์ที่ตีพิมพ์ระหว่างปี 1931-1941 นั้นคือก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นสื่อเพื่อต่อสู้เรียกร้องเอกราชให้แก่มาลายาของสมาคมมลายูหนุ่ม  หรือ Kesatuan Melayu Muda (KMM)


หนังสือพิมพ์ Warta Malaya จัดพิมพ์ขึ้นที่สิงคโปร์ มีบรรณาธิการหลายคน เช่น

ดาโต๊ะออนน์  บินยะอาฟาร์ ระหว่างปี 1930-33

สัยยิดอัลวี บินสัยยิดเชค อัล-ฮาดี ระหว่างปี1933-34

สัยยิดฮุสเซ็น บินอาลี อัล-ซากอฟฟ์ ระหว่างปี 1934-1941

นายอิบราฮิม   ยะอากู๊บ  ในปี 1941 โดยด้วยความช่วยเหลือของญี่ปุ่น ทำให้นายอิบราฮิม   ยะอากู๊บ สามารถซื้อหนังสือฉบับนี้ไว้ได้  

สำหรับการซื้อหนังสือพิมพ์ Warta Malaya ของนายอิบราฮิม   ยะอากู๊บ ทางนาย Cheah Boon Kheng[6] ก็ได้เขียนว่าในเดือนเมษายน 941 ด้วยความเห็นชอบของกรุงโตเกียว สั่งให้หัวหน้ากงสุลญี่ปุ่นประจำสิงคโปร์  นายเคน สึรุมิ (Ken Tsurumi) ได้มอบเงินจำนวน 18,000 เหรียญให้แก่นายอิบราฮิม   ยะอากู๊บ ในการซื้อหนังสือฉบับดังกล่าว จากเจ้าเดิมที่เป็นเชื้อสายอาหรับ คือ สัยยิดฮุสเซ็น บินอาลี อัล-ซากอฟฟ์

ผู้ที่จัดตั้งสมาคมมลายูหนุ่ม  หรือ Kesatuan Melayu Muda (KMM) นอกจากนายอิบราฮิม   ยะอากู๊บ  ยังมี นายฮัสซัน มานัน (Hassan Manan) นายอับดุลการิม ราชิด (Abdul Karim Rashid ) นายมูฮัมหมัด อีซา มาห์มูด ( Mohd Isa Mahmud)


ตอนที่เกิดสงครามแปซิฟิก เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 1941  นายอิบราฮิม   ยะอากู๊บ  และสมาชิกสมาคมมลายูหนุ่ม  หรือ Kesatuan Melayu Muda (KMM) จำนวน 110 คน ถูกจับ ต่อมาเมื่อกองทัพญี่ปุ่นขึ้นบกที่ฝั่งตะวันออกของแหลมมลายู บรรดาสมาชิกของสมาคมมลายูหนุ่ม  หรือ Kesatuan Melayu Muda (KMM) ได้กลายเป็นผู้ชี้ทาง และเป็นล่ามให้กับกองทัพญี่ปุ่น  และกองทัพญี่ปุ่นได้จัดตั้งกองทัพของชาวชาวอินโดเนเซียบนเกาะชวา เรียกว่า Tentera Pebela Tanah Air และบนเกาะสุมาตรา รวมทั้งมาลายา ได้จัดตั้ง กองทัพที่เรียกว่า Giyugun  โดยกองทัพญี่ปุ่นได้ฝึกนายอิบราฮิม   ยะอากู๊บ  เป็นเวลา 6 เดือน และตั้งยศเป็นพันโท


นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์มาเลเซีย กล่าวว่านายอิบราฮิม   ยะอากู๊บ  น่าจะเป็นบุคคลแรกๆที่เสนอแนวทางการต่อสู้เพื่อเอกราชของมาลายา   เขาได้ร่วมกับนายอิสฮัก ฮัจญีมูฮัมหมัด หรือ ปะซาโก (Pak Sako) และเพื่อนๆ เป็นผู้ก่อตั้งสมาคมมลายูหนุ่ม  หรือ Kesatuan Melayu Muda (KMM) โดยมีชื่อในภาษาอังกฤษว่า Young Malays Union ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์  ซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี 1938  เพื่อรักษาสิทธิและต่อต้านเจ้าจักรนิคมอังกฤษ   ก่อนที่เขาจะจัดตั้งสมาคมมลายูหนุ่ม  หรือ Kesatuan Melayu Muda (KMM) นั้น


ในปี 1938 เขาได้สมัครเป็นสมาชิกของสมาคมมลายูรัฐสลังอร์ แต่ปรากฎว่าสมาคมมลายูรัฐสลังงอร์อยู่ภายใต้อิทธิพลของบรรดาสายอนุรักษ์นิยม และมีเชื้อสายเจ้าเป็นองค์อุปถัมภ์ สิ่งที่สำคัญคือ สมาคมมลายูรัฐสลังงอร์ ค่อนข้างจะเป็นสมาคมรัฐนิยม รับเฉพาะสมาชืกที่เป็นชาวรัฐสลังงอร์เท่านั้น นอกจากนั้น แนวความคิดเกี่ยวกับมลายูที่ค่อนข้างจะแคบ ไม่เพียงไม่รับชาวมลายูนอกรัฐสลังงอร์ ชาวมลายูจากเกาะสุมาตรา เกาะชวา เกาะสุลาเวซี ยิ่งจะไม่รับใหญ่ ดังนั้นนายอิบราฮิม   ยะอากู๊บ กับเพื่อนๆ จึงออกมาตั้งสมาคมของตนเอง โดยใช้ชื่อว่า สมาคมมลายูหนุ่ม  หรือ Kesatuan Melayu Muda (KMM) เมื่อเดือนเมษายน 1938[7]


และต่อมาองค์กรนี้อีกยุบในปี 1945 เขาเป็นหนึ่งในนักการเมืองที่อยู่ในแหลมมลายู  ที่สนับสนุนแนวคิดการจัดตั้งประเทศ Melayu  Raya   หรือ  Indonesia Raya  ตามแผนการภายใต้การสนับสนุนของญี่ปุ่นนั้นอินโดเนเซียและมาลายาจะประกาศเอกราชพร้อมกัน   และรวมเป็นประเทศเดียวกัน   โดยมีนายซูการ์โนเป็นประธานาธิบดี และนายอิบราฮิม  ยะอากู๊บ ที่อยู่ในมาลายา เป็นรองประธานาธิบดี  แต่ปรากฏว่าญี่ปุ่นแพ้สงครามก่อน  ดังนั้นอินโดเนเซียจึงประกาศเอกราช  โดยปราศจากมาลายา  ต่อมานายอิบราฮิม  ยะอากู๊บหนีภัยไปอาศัยและเสียชีวิตในอินโดเนเซีย

การจัดตั้งประเทศอินโดเนเซียรายา ความฝันที่ไม่อาจเป็นจริงได้

หลังจากซูการ์โน กลับจากเมืองดาลัต ประเทศเวียดนาม เมื่อ 13 สิงหาคม 1945 ก็เกิดการประชุมพบปะลับ ระหว่างตัวแทนอินโดเนเซีย กับตัวแทนมาลายา ด้วยการให้ความสะดวกโดยทางฝ่ายญี่ปุ่น มติของการพบปะลับครั้งนั้น ไม่อาจเป็นจริงได้ ถ้าสามารถเป็นจริงได้แล้ว จะทำให้ประวัติศาสตร์การประกาศเอกราชของอินโดเนเซียเปลี่ยนแปลงไปแน่นอน


ก่อนหน้านั้น สามคนในสมาชิกคณะกรรมการเตรียมการประกาศเอกราชของอินโดเนเซีย ที่มีชื่อว่า Panitia Persiapan Kemerdekaan Indonesia (PPKI) ซึ่งประกอบด้วยซูการ์โน มูฮัมหมัดฮัตตา และรายิมาน เวดีโอดีนงกรัต (Radjiman Wediodiningrat) ถูกเรียกไปพบผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพญี่ปุ่นที่เวียดนาม นั้นคือ นายพลฮิไซชิ เทระอุชิ (Hisaichi Terauchi) ที่เมืองดาลัต เวียดนามในวันที่ 12 สิงหาคม 1945


นายพลฮิไซชิ เทระอุชิ ในนามของกองทัพญี่ปุ่น ได้สัญญาจะให้เอกราชกับอินโดเนเซียในวันที่ 24 สิงหาคม 1945 โดยทางญี่ปุ่นขอเวลาในการเตรียมการ ทางญี่ปุ่นขอให้ทางซูการ์โน และพรรคพวก เตรียมพร้อมในการประกาศเอกราช


การพบปะลับระหว่างซูการ์โน และพรรคพวกกับตัวแทนมาลายา ในวันที่ 13 สิงหาคม 1945 ไม่ได้เดินทางตรงไปยังจาการ์ตา แต่ได้แวะยังมาลายา  การพบปะลับครั้งนั้น มีข้อมูลสถานที่พบปะที่แตกต่างกัน โดยข้อมูลหนึ่งกล่าวว่า พบปะที่สิงคโปร์ แต่อีกข้อมูลหนึ่งกล่าวว่าพบปะที่เมืองไตปิง รัฐเปรัค  


ข้อมูลแรก นายอาหมัด มันโซร์ ซุรยาเนอฆารา ได้เขียนไว้ในหนังสือ Api Sejarah 2[8] กล่าวว่า พบกันที่สิงคโปร์ ตอนที่ซูการ์โน และพรรคพวกไปพบนายพลฮิไซชิ เทระอุชิ ที่เมืองดาลัต ในวันที่ 12 สิงหาคม 1945 นั้น ทางญี่ปุ่นก็นำอีกสองคน สมาชิกของคณะกรรมการเตรียมการประกาศเอกราชของอินโดเนเซีย ที่มีชื่อว่า Panitia Persiapan Kemerdekaan Indonesia (PPKI) คือ ตือกูมูฮัมหมัดฮาซัน (Teuku Mohammad Hasan)   และ ดร. มูฮัมหมัด อามีร์ (Dr. Mohammad Amir) ไปยังสิงคโปร์


และที่สิงคโปร์ คณะของซูการ์โน และคณะของตือกูมูฮัมหมัดฮาซัน ได้พบกับสองผู้นำขององค์กรที่ชื่อว่า Kesatuan Rakyat Indonesia Semenanjung (KRIS) คือ นายอิบราฮิม   ยะอากู๊บ  และดร. บูรฮานุดดิน อัล-เฮลมี (ต่อมาเป็นประธานพรรคปาสมาเลเซีย)  


ข้อมูที่สอง ซึ่งมีการเขียนมากกว่าหนึ่งคน หนึ่งในนั้นคือ นายอัสวี วารมัน อาดัม ได้เขียนหนังสือ ชื่อว่า Menguak Misteri Sejarah[9] ได้เขียนไว้ในหน้า 34-35 ของหนังสือดังกล่าว โดยเขียนว่า


แต่ในวันที่ 15 สิงหาคม 1945  กองทัพญี่ปุ่น ยอมแพ้สงคราม  และในวันที่ 19  สิงหาคม 1945  เครื่องบินญี่ปุ่น จึงนำนายอิบราฮิม  ฮัจญียะกู๊บ และภรรยาของเขา นางมาเรียม  ฮัจญีซีราจ พร้อมน้องภรรยา คือ นายโอนัน  ฮัจญีซีราจ และนายฮัสซัน ฮานาน  มายังเกาะชวา โดยซูการ์โน ต้องการให้คนเหล่านั้น มาต่อสู้เพื่อเอกราชร่วมกับเขา


ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 1955 ก่อนมาลายาจะได้รับเอกราช ตนกูอับดุลราห์มาน แห่งมาลายา ได้เดินทางไปยังอินโดเนเซีย เพื่อเข้าร่วมประชุมหนึ่ง โดยตนกูอับดุลราห์มาน ปุตรา ก็ได้ยอมรับถึงความสัมพันธ์ระหว่างมาลายากับอินโดเนเซีย ในฐานะที่เป็นคนที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน ทั้งตนกูอับดุลราห์มาน ปุตรา และนายอิบราฮิม  ฮัจญียะกู๊บ ก็ได้พบกัน ด้วยความช่วยเหลือของประธานาธิบดีซูการ์โน ทั้งสองมีความเห็นที่แตกต่างกัน


โดยนายอิบราฮิม  ฮัจญียะกู๊บ เห็นให้มาลายาเป็นเอกราชผนวกร่วมเข้ากับอินโดเนเซีย แต่ตนกูอับดุลราห์มาน ปุตรา เห็นควรให้มาลายาได้รับเอกราช โดยรวมอยู่ในเครือจักรภพอังกฤษ    ในปี 1973 ยุคที่ตนอับดุลราซัค เป็นนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ทางมาเลเซียจึงอนุญาติให้นายอิบราฮิม  ฮัจญียะกู๊บ  สามารถเดินทางกลับมาเยี่ยมประเทศมาเลเซียได้


ในยุคที่ประธานาธิบดีซูการ์โน ในระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยนำวิถี นายอิบราฮิม  ฮัจญียะกู๊บ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตัวแทนจังหวัดเรียว ของสภาที่เรียกว่า สภาผู้แทนราษฎรชั่วคราว  หรือ Majelis Perwakilan Rakyat Sementara (MPRS)  แต่หลังจากยุคที่ประธานาธิบดีซูฮาร์โต หมดอำนาจจากกรณี 30 กันยายน 1965 นายอิบราฮิม  ฮัจญียะกู๊บ จึงได้วางมือจากการเมือง และเข้าสู่วงการธนาคาร โดยเป็นประธานกรรมการบริหารของธนาคารหนึ่งที่ชื่อว่า Bank Pertiwi


นายอิบราฮิม  ฮัจญียะกู๊บ  เสียชีวิตเมื่อ 8 มีนาคม 1979 และศพของเขาถูกฝังที่สุสานวีรบุรุษแห่งชาติของประเทศอินโดเนเซีย ณ สุสานวีรบุรุษแห่งชาติกาลีบาตา กรุงจาการ์ตา  ปัจจุบัน สุสานของนายอิบราฮิม  ฮัจญียะกู๊บ มักจะมีชาวมาเลเซีย เดินทางไปเยี่ยม แต่จะหาไม่เจอในนามของนายอิบราฮิม  ฮัจญียะกู๊บ  สุสานของนายอิบราฮิม  ฮัจญียะกู๊บ จะรู้จักในนามของพันโท อิสกันดาร์ กาเมล ซึ่งเป็นชื่อที่เขาใช้นับตั้งแต่อพยพออกจากมาลายา มาตั้งถิ่นฐานในประเทศอินโดเนเซีย



[1] Asvi Warman,Menguak misteri sejarah, Jakarta : Penerbit Buku Kompas, 2010. หน้า 33.

[2] Ramlah Adam, Sumbanganmu Dikenang, Kuala Lumpur: Dewan Bahasa dan Pusaka, 1999,

   หน้า 41.

[3] Wan Hashim, Hubungan Etnik di Malaysia, Kuala Lumpur: Institut Terjemahan Negara Malaysia, 2011

[4] Lofti Ismail, Sejarah Malaysia 1400-1963, KL: Utusan Publication & Distributors, 1978, หน้า

   270

[5] 'Warta Malaya, penyambung lidah bangsa Melayu, 1930-1941' oleh Zulkipli bin Mahmud

   ;Jabatan Sejarah, Universiti Kebangsaan Malaysia ; 1979

[6] Cheah Boon Kheng, The Japanese Occupation of Malaya, 1941-45: Ibrahim Yaacob and the

   Struggle for Indonesia Raya, Indonesia, No. 28, 1979, หน้า 94.

[7] Cheah Boon Kheng, อ้างแล้ว หน้า 88.

[8] Ahmad Mansur Suryanegara,Api Sejarah 2, Jakarta : Penerbit Dinasti Surya, 2017.

[9] Asvi Warman, อ้างแล้ว หน้า 34-35