เริ่มแรกการต่อสู้ของประชาชนชาวอาเจะห์
ความสัมพันธ์ระหว่างบรรดาบรรพบุรุษขุนนางจุมบอกเหล่านั้นกับขบวนการแบ่งแยกดินแดนอาเจะห์เสรียากที่จะยืนยันได้ เพื่อเป็นการยืนยันหลักฐานยังต้องมีการศึกษาวิจัยที่ลึกยิ่งขึ้น แต่ที่แน่นอนคือ ขณะนี้จากบีรึนที่เคยเป็นฐานที่มั่นใหญ่สำหรับกลุ่มจุมบอกปรากฏว่ามีผู้นำจำนวนหนึ่งของขบวนการอาเจะห์เสรีอยู่ด้วย ไม่เพียงเท่านั้น
หนึ่งในฐานฝึกทางการทหารของขบวนการอาเจะห์เสรีก็ตั้งอยู่ในพื้นที่บีรึน บ่อยมากที่พื้นที่นี้ได้กลายเป็นหนึ่งในบรรดาฐานใหญ่ของขบวนการอาเจะห์เสรี
ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์จุมบอกและตือกู
มูฮัมหมัด ดาวุด จุมบอกเสียชีวิต
ไม่เคยได้ยินอีกถึงการต่อสู้จากบรรดาขุนนางหรือลูกหลานตระกูลขุนนางของพวกเขาที่มีนักต่อสู้ชาวอาเจะห์ที่สนับสนุนเอกราชของสาธารณรัฐอินโดเนเซีย ที่เกิดขึ้นมีเพียงประชาชนพร้อมนักต่อสู้ชาวอาเจะห์วุ่นอยู่กับสร้างความเป็นหนึ่งและประสานกับบรรดาผู้นำที่สนับสนุนการประกาศเอกราช
สาธารณรัฐอินโดเนเซีย
ส่วนหนึ่งของผู้นำอาเจะห์เริ่มสับสน
มีคำถามเกิดขึ้นว่าสามารถหรือไม่ในการสนับสนุนเอกราชของสาธารณรัฐอินโดเนเซียต่อไป นั้นคือในวันที่ 19 ธันวาคม 1948 ขณะนั้นเมืองหลวงของสาธารณรัฐอินโดเนเซียได้ย้ายไปตั้งที่เมืองยอกยาการ์ตาและถูกฮอลันดายึดครอง
สถานะของผู้ปกครองของสาธารณรัฐอินโดเนเซียอ่อนแออย่างยิ่ง โดยเฉพาะภายหลังจากประธานาธิบดีซูการ์โน,รองประธานาธิบดีมูฮัมหมัด
ฮัตตา
และจำนวนหนึ่งของผู้นำคนอื่นได้ถูกจับกุม
ความสับสนในหมู่ผู้นำชาวอาเจะห์จึงยิ่งมีมากขึ้น
เมื่อมองจากเรื่องนี้ ในขณะที่ชัยฟุดดินปราวีรานัคราได้ถูกมอบหมายให้จัดตั้งผู้ปกครองฉุกเฉินสาธารณรัฐอินโดเนเซีย
(Pemerintah
Darurat Indonesia)ที่บูกิตติงฆีสุมาตราตะวันตก ทางผู้นำอาเจะห์คือเต็งกู มูฮัมหมัด ดาวุด
บือเระห์ได้เข้าร่วมโดยตรง และได้ให้ความช่วยเหลือ
แม้แต่ในขณะที่สถานการณ์ที่บูกิตติงฆีไม่สงบ ทางเต็งกู ดาวุด บือเระห์ได้เชิญนายชัฟรูดดิน ปราวีรานครา
ผู้เป็นประธานาธิบดีผู้ปกครองฉุกเฉินสาธารณรัฐอินโดเนเซียอพยพไปยังอาเจะห์และได้รับการต้อนรับอย่างดีจากบรรดาผู้นำอาเจะห์
ในโอกาสนี้บรรดาผู้นำอาเจะห์ได้ใช้ในการจัดตั้งจังหวัดเป็นของตนเอง บรรดาผู้นำอาเจะห์ เช่น ดาวุด บือเระห์,ฮาซัน
อาลี,อายะห์ ฆานี,เอ็ช.เอ็ม.นูร์ เอล-อิบราฮีมี
และตือกู อามีน ได้ล๊อบบี้ประธานาธิบดีของผู้ปกครองฉุกเฉินสาธารณรัฐอินโดเนเซียเพื่อการดังกล่าว
แนวคิดนี้ได้รับการตอบรับจากซัฟรุดดินโดยตรงในการจัดตั้งจังหวัดอาเจะห์ ดังนั้นจึงออกกฎหมาย PDRI No.8/Des/WKPH ณ เมืองโกตาราชา ลงวันที่ 17
ธันวาคม 1949 ตั้งแต่เต็งกู ดาวุด
บือเระห์
เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดการทหารอาเจะห์
สถานการณ์วิกฤตก็คงยังดำเนินต่อเนื่อง
ผู้ปกครองฉุกเฉินสาธารณรัฐอินโดเนเซียจึงเพียงได้ดำเนินการต่อสู้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน สิ่งนี้ทำให้บรรดาผู้นำอาเจะห์เกิดความสับสนอีกครั้ง ในสถานการณ์เช่นนี้ ในวันที่17 มีนาคม 1949
เต็งกู ดร.มันซูร์
ผู้นำของรัฐสุมาตราตะวันออกได้เห็นว่าสมควรจัดตั้งประเทศเป็นของตนเอง แยกออกจากสาธารณรัฐอินโดเนเซีย เขาได้เชิญเต็งกู ดาวุด บือเระห์
ซึ่งขณะนั้นเป็นยผู้ว่าราชการจังหวัดการทหารอาเจะห์ไปยังเมืองเมดานเพื่อเจรจาแยกตังเป็นเอกราชของอาเจะห์ การประชุมครั้งนี้ ดร.มันซูร์ให้ชื่อว่า Muktamar
Sumatera และการประชุมเกิดขึ้นในวันที่ 28 มีนาคม 1949
นอกจากอาเจะห์แล้งตัวแทนอื่นก็ได้รับเชิญเช่นกัน
ทั้งจาก ตาปานูลี, นีอัส, มีนังกาเบา, เบงกาลิส, อินทรคีรี, จัมบี, เรียว,
บลีตง, สุมาตราใต้, ลัมปุง
และเบงกูลู สิ่งที่ซับซ้อนคือจดหมายเชิญที่สมบูรณ์ถูกหย่อนลงผ่านเครื่องบินฮอลันดาในหลายพื้นที่ของอาเจะห์ (4) สิ่งที่เห็นเด่นชัดนับตั้งแต่แรกแล้วที่ฝ่ายต่างชาติ
เช่นฮอลันดาได้มีบทบาทในการสร้างความแตกแยกให้อาเจะห์ออกจากสาธารณรัฐอินโดเนเซีย และจัดตั้งขบวนการแบ่งแยกดินแดนในดินแดนแห่งระเบียงมักกะห์นี้
ในความคิดของเต็งกู ดร.มันซูร์ อาเจะห์ขณะนั้นมีทางเลือกอยู่ 3 ทาง ทางแรกคือ อาเจะห์แยกออกจากสาธารณรัฐอินโดเนเซีย และรวมตัวกับรัฐสุมาตราที่จะจัดตั้งขึ้นมา ทางที่สองคือโอกาสในการจัดตั้ง อาเจะห์เป็นประเทศตนเองที่เป็นเอกราช และทางที่สามคือ
ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐอินโดเนเซีย จากความคิดของเต็งกู ดร.มันซูร์ นี้ ซึ่งขณะนั้น
ดาวุด บือเระห์ เชื่อว่าเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดการทหารอาเจะห์
ได้ยืนยืนว่าความรู้สึกท้องถิ่นนิยมไม่มีในอาเจะห์
“เพราะฉะนั้น
เราไม่มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งอาเจะห์ที่ยิ่งใหญ่ (Aceh Raya ) เพราะพวกเราที่นี่มีความคิดสาธารณรัฐนิยม
ดังนั้นการเชิญจากผู้นำรัฐสุมาตราตะวันออกนั้น เรามองว่าไม่มีอะไร
เราจึงไม่ตอบรับคำเชิญ ”
เป็นคำพูดของดาวุด บือเระห์ ในการอภิปรายแห่งหนึ่งที่เมืองบันดาอาเจะห์(5)
หลังจากนั้นพลตรี( ดาวุด บือเระห์ )
ผู้นั้นได้ยืนยันถึงความจงรักภักดีของประชาชนชาวอาเจะห์ต่อผ้ปกครองของสาธารณรัฐอินโดเนเซีย
ไม่ใช่เป็นการเสแสร้ง
แต่เป็นความจงรักภักดีที่บริสุทธิ์และจริงใจจากดวงจิตที่มีการคำนวรและคิดแล้ว
ดาวุด บือเระห์ กล่าวว่า ประชาชนชาวอาเจะห์รู้ว่าการมีเอกราชโดยการแยกเป็นเสี่ยงๆ
แยกเป็นประเทศ ไม่เป็นผลกำไรและไม่นำมาซึ่งเอกราชที่ยั่งยืน สิ่งที่ ดาวุด
บือเระห์ กล่าวนั้นในภายหลังก็เป็นความจริง
ผู้ว่าราชการจังหวัดการทหารอาเจะห์ผู้นี้จึงรวบรวมเงินจากทั่วประชาชนชาวอาเจะห์เพื่อสนับสนุนผู้ปกครองสาธารณรัฐอินโดเนเซียที่มีอายุไม่มากนักและอยู่ในวิกฤตล้มละลาย
เงินที่รวบรวมนับว่ามีจำนวนมาก ระหว่างเดือนตุลาคม
– ธันวาคม 1949 สามารถรวบรวมได้ถึง 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ
เงินจำนวนมากดังกล่าวได้แบ่งสำหรับเป็นงบประมาณในการต่อสู้ โดย 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ มอบแก่กองทัพ 50,000
ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับค่าใช้จ่ายสำนักงานสาธารณรัฐอินโดเนเซีย 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับการย้ายศูนย์การปกครองจากเมืองยอกยาการ์ตา
และ100,000 ดอลลาร์สหรัฐ มอบแก่ผู้ปกครองกลางผ่านนาย เอ.เอ. มารามิส (6)
ประชาชนชาวอาเจะห์ได้รวบรวมทองคำหนัก 5 กิโลกรัม
เพื่อซื้อพันธบัตร
นอกจากนั้นประชาชนชาวอาเจะห์ได้รวบรวมเงินดอลลาร์สิงคโปร์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของตัวแทนอินโดเนเซียในสิงคโปร์,
การจัดตั้งสถานทูตสาธารณรัฐอินโดเนเซีย
และซื้อเครื่องบิน 2 ลำ
เพื่อการคมนาคมของผู้ปกครองสาธารณรัฐอินโดเนเซีย
แต่ปรากฏว่าเวลาที่หวานชื่นอยู่ได้ไม่นาน ผู้ปกครองซูการ์โนและดาวุด บือเระห์มีความเห็นไม่ตรงกัน ประชาชนชาวอาเจะห์จึงทำการต่อสู้และผู้ปกครองซูการ์โนก็ได้ตอบโต้ต่อการต่อสู้ของประชาชนชาวอาเจะห์ดังกล่าว
และการต่อสู้ของประชาชนชาวอาเจะห์ต่อผู้ปกครองสาธารณรัฐอินโดเนเซียนั้นต่อมาได้เสริมสร้างความเป็นผู้นำของเต็งกู
มูฮัมหมัด ดาวุด บือเระห์
ชายผู้นี้เกิดเมื่อ 15 กันยายน 1899
โดยมีบิดาเป็นผู้นำศาสนา ชื่อว่า เต็งกู อิมุมอาหมัด
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเอง
ความไม่ลงรอยของดาวุด บือเระห์
มาจากความผิดหวังของประชาชนชาวอาเจะห์ต่อการปฏิบัตฺและการแสดงออกของผู้ปกครองสาธารณรัฐอินโดเนเซีย
ซึ่งพวกเขาให้การสนับสนุนมาโดยตลอด จุดเริ่มต้นของความผิดหวังนี้เกิดขณะที่มีการประชุมคณะรัฐมนตรีของสหพันธ์สาธารณรัฐอินโดเนเซีย(RIS) เมื่อวันที่ 8สิงหาคม 1950 ที่กรุงจาการ์ตา
ในการประชุมมีการลงมติให้พื้นที่อินโดเนเซียแบ่งออกเป็น 10 ดินแดนระดับ 1
(จังหวัด) ในการนี้จังหวัดอาเจะห์ถูกยุบเข้าในการปกครองของจังหวัดสุมาตราเหนือ
การยกเลิกจังหวัดอาเจะห์ดำเนินการโดยคณะรัฐมนตรีของนายฮาลิม เบอร์ดานากุสุมาห์
ด้วยการออกกฎหมายทดแทนเลขที่ 5 ปี 1950 ลงนามโดยนายอาซาอิต
ประจำสำนักงานประธานาธิบดี และนายซูซานโต ตีร์โตโปรโย
รัฐมนตรีมหาดไทยจากพรรคแห่งชาติอินโดเนเซีย ความจริงตามกฎหมายที่ออกโดยผู้ปกครองฉุกเฉินสาธารณรัฐอินเนเซีย
เลขที่ 8/Des/WKPH
ลงนามวันที่ 17 ธันวาคม 1949 ที่ลงนามโดยชัฟรุดดัน ปราวีรานคา
ประธานาธิบดีผู้ปกครองฉุกเฉินสาธารณรัฐอินเนเซียในการจัดตั้งจังหวัดอาเจะห์ โดยเต็งกู มูฮัมหมัด ดาวุด บือเระห์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดการทหารอาเจะห์
เป็นที่ชัดเจนว่าคณะรัฐมนตรีของสหพันธสาธารณรัฐอินโดเนเซียเห็นว่าการจัดตั้งจังหวัดอาเจะห์ดังกล่าวไม่ถูกต้อง
ดังนั้นเมื่อวันที่ 23 มกราคม 1951 นายกรัฐมนตรี มูฮัมหมัด นาเซร์
ได้พูดผ่านสถานีวิทยุ RRI ที่เมืองบันดาอาเจะห์ โดยอ่านหนังสือการลงมติการยุบจังหวัดอาเจะห์
เริ่มด้วยการอ่านบางประโยคของคัมภีร์อัล-กุรอ่าน และฮาดิษของท่านศาสดา
พร้อมกันนั้น ดาวุด บือเระห์
ถูกย้ายไปดำรงตำแหน่งระดับสูงที่ตั้งขึ้นในกระทรวงมหาดไทยที่กรุงจาการ์ตา
อ้างอิง
4. บทความ“The
Acheh Question” ที่เสนอโดย Teuku H. Ibrahim
Alfian ในการสัมนา Konferensi
Internasional Masalah Aceh ที่วอชิงตัน ดี.ซี.
สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 3 เมษายน 1999
5. หนังสือพิมพ์
Semangat Merdeka
วันที่ 23 มีนาคม 1949 พิมพ์ที่เมืองบันดาอาเจะห์
6. สัมภาษณ์ H. M. Nur
El Ibrahimy ในนิตยสาร
Tempo ฉบับ 26 ธันวาคม 1999
Tiada ulasan:
Catat Ulasan