โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
เมื่อปลายเดือนกันยายน 2013 ผู้เขียนได้รับเชิญจากทางสำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวจังหวัดหมู่เกาะเรียว ประเทศอินโดเนเซีย ให้เข้าร่วมงาน“มหกรรมอารยธรรมมลายู ครั้งที่ 1” หรือชื่อในภาษาอินโดเนเซียว่า “Festival Tamadun Melayu I” งานมหกรรมอารยธรรมมลายูครั้งนี้เป็นงานเฉลิมฉลองครบรอบการจัดตั้งจังหวัดหมู่เกาะเรียว 10 ปี ซึ่งจังหวัดหมู่เกาะเรียวนี้เป็นจังหวัดที่แยกตัวออกจากจังหวัดเรียว
เมื่อปลายเดือนกันยายน 2013 ผู้เขียนได้รับเชิญจากทางสำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวจังหวัดหมู่เกาะเรียว ประเทศอินโดเนเซีย ให้เข้าร่วมงาน“มหกรรมอารยธรรมมลายู ครั้งที่ 1” หรือชื่อในภาษาอินโดเนเซียว่า “Festival Tamadun Melayu I” งานมหกรรมอารยธรรมมลายูครั้งนี้เป็นงานเฉลิมฉลองครบรอบการจัดตั้งจังหวัดหมู่เกาะเรียว 10 ปี ซึ่งจังหวัดหมู่เกาะเรียวนี้เป็นจังหวัดที่แยกตัวออกจากจังหวัดเรียว
เดิมจังหวัดเรียวเป็นจังหวัดที่ใหญ่พอสมควร
มีพื้นที่ครอบคลุมดินแดนจังหวัดเรียวบนเกาะสุมาตรา
รวมทั้งบรรดาหมู่เกาะต่างๆที่รวมเรียกว่าหมู่เกาะเรียว
ต่อมาด้วยพื้นที่การติดต่อระหว่างหมู่เกาะเรียวกับตัวศูนย์อำนาจจังหวัดเรียว
คือเมืองเปอกันบารู บนเกาะสุมาตรา ค่อนข้างลำบาก ด้วยระยะทางที่ห่างไกล
เพื่อความสะดวกจึงมีการแยกหมู่เกาะเรียวออกเป็นอีกจังหวัดหนึ่ง
โดยมีศูนย์อำนาจอยู่ที่เมืองตันหยงปีนัง บนเกาะบินตัน
การจัดงานมหกรรมอารยธรรมมลายูในครั้งนี้ เขาแบ่งงานออกเป็น 3 ส่วน คือ งานศิลปะการแสดง งานสัมมนาวิชาการ และงานวรรณกรรม โดยผู้รับผิดชอบแต่ละส่วนของงาน จะดำเนินการเอง ไม่มีการประสานงานระหว่างกัน ทำให้เกิดเรื่องตลกขึ้นมา นั้นคือผู้เขียนได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานทั้งสามส่วน โดยแต่ละส่วนได้เชิญให้ผู้เขียนเข้าร่วมงานตามเนื้อหาของแต่ละงาน ซึ่งด้านงานศิลปะการแสดง ก็ได้ให้ผู้เขียนนำคณะการแสดงจากประเทศไทย โดยเฉพาะสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าร่วมแสดง ส่วนงานสัมมนาวิชาการก็จะเป็นการสัมมนาเกี่ยวกับอารยธรรมมลายู ประวัติศาสตร์ บทบาทของหมู่เกาะเรียว และงานวรรณกรรม ก็จะเป็นการอ่านบทกวี เสวนาเกี่ยวกับวรรณกรรมมลายู
การจัดงานมหกรรมอารยธรรมมลายูในครั้งนี้ เขาแบ่งงานออกเป็น 3 ส่วน คือ งานศิลปะการแสดง งานสัมมนาวิชาการ และงานวรรณกรรม โดยผู้รับผิดชอบแต่ละส่วนของงาน จะดำเนินการเอง ไม่มีการประสานงานระหว่างกัน ทำให้เกิดเรื่องตลกขึ้นมา นั้นคือผู้เขียนได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานทั้งสามส่วน โดยแต่ละส่วนได้เชิญให้ผู้เขียนเข้าร่วมงานตามเนื้อหาของแต่ละงาน ซึ่งด้านงานศิลปะการแสดง ก็ได้ให้ผู้เขียนนำคณะการแสดงจากประเทศไทย โดยเฉพาะสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าร่วมแสดง ส่วนงานสัมมนาวิชาการก็จะเป็นการสัมมนาเกี่ยวกับอารยธรรมมลายู ประวัติศาสตร์ บทบาทของหมู่เกาะเรียว และงานวรรณกรรม ก็จะเป็นการอ่านบทกวี เสวนาเกี่ยวกับวรรณกรรมมลายู
สำหรับงานการแสดงนั้น
ด้วยนักศึกษาสาขาวิชาเอกมลายูศึกษา เคยร่วมงานการแสดงที่ประเทศสิงคโปร์
โดยใช้ชื่อว่าคณะ Sri Patani ดังนั้นในการแสดงที่เมืองตันหยงปีนัง
จึงใช้ชื่อคณะในการแสดงว่า Sri Patani
แต่ด้วยบรรดานักศึกษาอยู่ในช่วงใกล้สอบปลายภาคผู้เขียนจึงเห็นว่าไม่สมควรที่จะนำคณะนักศึกษาไปแสดง
จึงได้เปลี่ยนมาเป็นคณะดีเกร์ฮูลู จากบ้านดูกู อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
โดยใช้ชื่อคณะว่า Sri Patani เช่นเดิม การประสานงานกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการทำหนังสือเดิทางที่
ศอ.บต. แจ้งว่าไม่สามารถทำหนังสือเดินทางหมู่คณะได้
ทั้งๆที่ในความเป็นจริงสามารถทำหนังสือเดินทางเป็นหมู่คณะได้
ดังนั้นจึงยกเลิกการเดินทางไปแสดงศิลปะการแสดงของจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เมืองตันหยงปีนัง
นับว่าเป็นที่น่าเสียดาย ทั้งๆที่ทางเจ้าภาพได้เตรียมค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้กับคณะจากจังหวัดชายแดนภาคใต้เกือบสี่หมื่นบาท
รองประธานาธิบดีเป็นประธานพิธีเปิดงาน
งานสัมมนาเกี่ยวกับอารยธรรมมลายู ส่วนหนึ่งที่ได้เข้าร่วมก็เพื่อสร้างความแน่นแฟ้นกับเพื่อนๆเก่า และสร้างความรู้จักกับเพื่อนนักวิชาการใหม่ๆ ในงานครั้งนี้ สิ่งที่แปลกใจ ปรากฏว่ามีชาวมาเลเซียคนหนึ่งได้เปิดบูธของตัวเอง เป็นบูธที่ขายหนังสือเกี่ยวกับปาตานี ที่เขียนโดยชาวปาตานี ขาบรูปภาพนักการศาสนาจากปาตานี ชนิดที่สิ่งเหล่านี้เรียกได้ว่าหายากมากในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้เขียนเองได้ซื้อหนังสือเอกสารเขียนด้วยลายมือที่ถ่ายเอกสารจากต้นฉบับขายในงานดังกล่าว เป็นหนังสือที่ญาติได้ขายหนังสือเขียนด้วยลายมือเล่มเหล่านี้ให้แก่ผู้สนใจเกี่ยวกับปาตานี ต่อมาผู้นั้นได้ถ่ายเอกสารร่วมเล่ม แล้วขายฉบับที่ถ่ายเอกสารไว้
ถ่ายภาพกับประธานองค์การโลกมลายูโลกอิสลาม
กับรมช.วิทยาศาสตร์ ฯ มาเลเซีย และประธานหอการค้ารัฐมะละกา
ได้รับมอบหนังสือในงานสัมมนา
ส่วนงานวรรณกรรม ก็มีนักเขียน
นักกวีจากประเทศอินโดเนเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน เข้าร่วมงาน มีการอ่านบทกวีบนเวที
มีหน่วยงานรัฐของจังหวัดหมู่เกาะเรียว และจังหวัดอื่น เปิดบูธแสดงเอกสารโบราณ
วัตถุโบราณ ผ้า และสิ่งสำคัญอื่นๆซึ่งมีการแจกหนังสือ เอกสารเผยแพร่
ทำให้ผู้เขียนต้องซื้อกระเป๋าอีกใบ เพื่อใส่หนังสือที่ได้ซื้อไว้
และหนังสือที่เขาแจกฟรี
สองหนุ่มสาวผู้ทำหน้าที่ดูแลผู้เขียน
เวทีอ่านบทกวี
สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ ห้องสมุดของจังหวัดหมู่เกาะเรียว
คือแทนที่จะเป็นห้องสมุดอย่างเดียว ปรากฏว่าเขาใช้ชื่อว่า
ห้องสมุดและหอจดหมายเหตุจังหวัดหมู่เกาะเรียว
ซึ่งผู้เขียนได้นำความคิดนี้เพื่อจะนำไปใช้ในห้องสมุดประชาชนอำเภอแห่งหนึ่งในจังหวัดนราธิวาส
ด้วยเท่าที่ทราบห้องสมุดประจำจังหวัด ประจำอำเภอต่างๆจะไม่มีการเก็บเอกสารสำคัญๆในอดีต
ดังนั้นคิดว่าน่าจะนำความคิดนี้ทดลองใช้ในจังหวัดนราธิวาส
ดังที่มีการกล่าวว่า เอกสารวันนี้ พรุ่งนี้ก็เป็นเอกสารประวัติศาสตร์แล้ว ต่อไปเวลาเยาวชนต้องการสืบค้นเอกสารเก่าๆ
ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของเขา ก็จะสามารถค้นหาได้ในห้องสมุดประชาชนอำเภอแห่งนี้ได้
Tiada ulasan:
Catat Ulasan