โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
แผนที่รัฐซาบะห์ มาเลเซีย
เกาะซีปาดัน (Pulau
Sipadan) ไข่มุกแห่งรัฐซาบะห์
เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในรัฐซาบะห์ประเทศมาเลเซีย
ตั้งอยู่ไม่ห่างจากเมืองเซิมโปร์นา
ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันออกของรัฐซาบะห์
เกาะนี้เป็นเพียงเกาะหนึ่งเดียวที่เป็นเกาะเกิดจากหินปูนกลางมหาสมุทรของประเทศมาเลเซีย
มีความสูง 600 เมตรจากระดับน้ำทะเล
เกาะซีปาดันมีชื่อเสียง ด้วยเป็นเกาะหนึ่งที่บรรดานักท่องเที่ยว
โดยเฉพาะนักดำน้ำ มักเลือกเป็นที่ดำน้ำ (scuba diving) และถือเป็นสถานที่หนึ่งที่ดีที่สุด
จากการลงคะแนนในหัวข้อ 7
สิ่งมหัศจรรย์ในโลก ที่ดำเนินการโดย New 7 Wonders of
Nature votes committee ปรากฏว่าเกาะซีปาดันเป็นหนึ่งใน 77
ของพื้นผิวโลกที่มหัศจรรย์และสวยงามในปี 2009
ประวัติความเป็นมาของเกาะซีปาดัน
เกาะแห่งนี้เคยถูกประเทศมาเลเซียและอินโดเนเซีย
อ้างกรรมสิทธิ์ในเกาะ
จนทำให้ทั้งสองประเทศนำปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวขึ้นสู่ศาลโลก
ด้วยหลักฐานที่ประเทศมาเลเซียนำมาต่อสู้ในศาลโลก
และด้วยการสนับสนุนจากประเทศอังกฤษ
ทำให้ศาลโลกลงมติให้ประเทศมาเลเซียเป็นผู้ชนะ โดยเกาะซีปาดัน (Pulau
Sipadan) และเกาะลีฆีตัน (Pulau Ligitan) กลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซียเมื่อปี
2003
การตัดสินให้ประเทศมาเลเซียชนะในปัญหาเกาะซีปาดันนั้น
ด้วยประเทศอังกฤษแสดงหลักฐานการถือครอง หรือที่เรียกว่า effective
occupation ที่มีต่อเกาะนี้
ซึ่งประเทศอังกฤษเป็นอดีตเจ้าอาณานิคมของประเทศมาเลเซีย
และนอกจากนั้นประเทศอินโดเนเซียเองก็มีหลักฐานที่ด้อยกว่าประเทศมาเลเซีย
รัฐบาลและประชาชนประเทศอินโดเนเซียผิดหวังกับผลการตัดสินของศาลโลกเป็นอันมาก
ซึ่งปัญหาเกาะเกาะซีปาดันและเกาะลีฆีตันก็สร้างรอยแผลของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาเลเซียและอินโดเนเซีย
รีสอร์ทที่เกาะซีปาดัน
รีสอร์ทที่เกาะซีปาดัน
ประวัติความเป็นมาของเกาะซีปาดัน
เกาะแห่งนี้เคยถูกประเทศมาเลเซียและอินโดเนเซีย
อ้างกรรมสิทธิ์ในเกาะ
จนทำให้ทั้งสองประเทศนำปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวขึ้นสู่ศาลโลก
ด้วยหลักฐานที่ประเทศมาเลเซียนำมาต่อสู้ในศาลโลก
และด้วยการสนับสนุนจากประเทศอังกฤษ
ทำให้ศาลโลกลงมติให้ประเทศมาเลเซียเป็นผู้ชนะ โดยเกาะซีปาดัน (Pulau
Sipadan) และเกาะลีฆีตัน (Pulau Ligitan) กลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซียเมื่อปี
2003
การตัดสินให้ประเทศมาเลเซียชนะในปัญหาเกาะซีปาดันนั้น
ด้วยประเทศอังกฤษแสดงหลักฐานการถือครอง หรือที่เรียกว่า effective
occupation ที่มีต่อเกาะนี้
ซึ่งประเทศอังกฤษเป็นอดีตเจ้าอาณานิคมของประเทศมาเลเซีย
และนอกจากนั้นประเทศอินโดเนเซียเองก็มีหลักฐานที่ด้อยกว่าประเทศมาเลเซีย
รัฐบาลและประชาชนประเทศอินโดเนเซียผิดหวังกับผลการตัดสินของศาลโลกเป็นอันมาก
ซึ่งปัญหาเกาะเกาะซีปาดันและเกาะลีฆีตันก็สร้างรอยแผลของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาเลเซียและอินโดเนเซีย
Tiada ulasan:
Catat Ulasan