Rabu, 31 Oktober 2012

Situasi Hari Raya Aidil Adha 1433 di Patani, Selatan Thailand.

Oleh Nik Abdul Rakib Bin Nik Hassan

Di Patani, yang dimaksudkan 3 wilayah Melayu di Selatan Thailand iaitu Wilayah Pattani, Wilayah Yala(Jala) dan Wilayah Narathiwas (Kuala Menara). Pada saat sebelum Raya AidilAdha keadaan sangat genting. Kerana hari raya tersebut ditetapkan pada 26 Oktober 2012. Tetapi sebelum tarikh itu 24 Oktober adalah hari genap 8 tahun “trajedi Tak Bai” yang terkenal. Trajedi yang mengaut jiwa penduduk rakyat Melayu Patani seramai 85 orang.

Jadi, semasa penulis dan kawan sepejabat bertolak dari kampus universiti untuk ke Daerah Teluban di dalam Wilayah Pattani. Di kedua dua belah jalan penuh dengan kawalan pihak tentera dan polis Thailand. Kerana pihak kerajaan Thailand bimbang akan berlaku tembakan dan pengeboman di hari genap 8 tahun itu. Penulis dan kawan pergi ke rumah seorang guru agama di daerah tersebut untuk mengambil wang dari seorang guru agama Melayu Patani yang menetap di Kuala Lumpur. 
Sdr. Zawawee bersama Sdr. Abdullah Fathy Al-Fatany
Wang itu untuk membeli 2 ekor lembu qurban yang akan diadakan di sebuah kampung nelayan Melayu bersebelahan universiti. Tahun ini adalah tahun kedua yang pihak saya dan kawan dapat menyumbang lembu hasil dari wang orang Malaysia kepada kampung tersebut. Seletah kami berdua mendapat wang amanah qurban dari Malaysia. Kawan menghantar saya di Pekan Teluban untuk ke Pekan Narathiwas sebaliknya kawan terus pulang ke Pattani.
Peta kawasan penempatan orang Melayu dan orang Siam
Dalam perjalanan dari Pekan Teluban ke Narathiwas terdapat beberapa roadbock tentera dan polis di jalan tersebut. Setelah penulis sampai di kampung berdekat dengan kampong Bukit Tanjung dipinggir Pekan Narathiwas atau disebut orang Melayu tempatan dengan nama Pekan Menara. Kawasan kampung ini pada tahun 1909 masih terletak dalam negeri Kelantan. Tetapi pada tahun itu pihak british dengan Siam mengadakan perjanjian yang dinamakan Anglo-Siamese Treaty 1909. Perjanjian itu membataskan sempadan baru diantara Kelantan dengan Siam menyebabkan berlaku pertukaran kawasan diantara kedua dua pihak. Dan kampung-kampung orang Melayu Kelantan di kawasan yang disebut “A small corner Northeast of Kelantan” telah diserap ke dalam kawasan Wilayah Narathiwas.
Peta lama Kelantan kawasan Dearah Tak Bai (Taba) adalah jajahan Kelantan 
Pada hari rayapenulis telah pergi sembahyang raya di masjid di kampong itu. Keadaan pada hari raya ini diberitahu Imam masjid bahawa agak beza dari raya Aidil  Fitri. Kerana di raya Aidil  Fitri lebih meriah hampir semua warga kampung ini pulang. Tetapi pada hari raya Aidil Adha ini terdapat sesetengah warga tidak pulang ke kampung halaman. Menyebabkan jemaah sembahyang di masjid pada hari raya ini berkurangan jika dibanding dengan raya Aidil  Fitri. Walaupun begitu yang sering penulis pantau ialah kereta yang dibawa orang ke masjid. Setiap kali terlihat kereta plet Malaysia. Kerana terdapat sesetengah pada mereka kerja di Malaysia. Ini bukan hal yang mustahil kerana diantara mereka di kawasan ini dengan Kelantan adalah dua bersaudara. Patani dan Kelantan adalah abang dan adik. Kedua duanya berkongsi sejarah, bahasa, budaya dan sebagainya. Bukan sahaja di Daerah Tak Bai yang bersempadan dengan Daerah Tumpat, Kelantan, Malaysia yang wang Malaysia masih dipakai. Tetapi di Pekan Narathiwas juga wang Malaysia boleh dipakai di kebanyakan kedai untuk membeli barang keperluan harian.
Imam sedang membaca khutbat Sembahyang Raya Aidil Adha
Keadaan sebelum Imam membaca khutbat Raya Aidil Adha
 Setelah sembahyang raya Aidil Adha, pihak pengurusan masjid memberitahu bahawa mereka akan tunda pembinaan bangunan TADIKA selama seminggu kerana masih di dalam masa  raya Aidil Adha. Penulis sangat kagum dengan gotong royang pembinaan TADIKA ini dengan menggunakan tenaga sukarela dari orang kampung. Di Patani (Wilayah Pattani, Wilayah Yala @Jala dan Wilayah Narathiwas @Kuala Menara) peranan TADIKA adalah sangat penting sebagai badan mempertahankan jatidiri Melayu di wilayah-wilayah Melayu tersebut. di Patani agaknya berbeza dari Malaysia. Kerana di sini, TADIKA menjalankan aktiviti di hari sabtu dan ahad. Iaitu hari cuti di sekolah-sekolah rendah kerajaan. Maka pelajar sekolah-sekolah rendah itulah pelajar di TADIKA. Bukan pelajar sepenuh masa seperti  TADIKA di Malaysia.
 Bangunan Tadika yang didirikan atas usaha orang kampung.  
Setelah sembahyang raya Aidil Adha, terdapat sesetengah memberi wang saku kepada kanak-kanak seorang sebanyak 20 baht atau lebih kurang RM 2.  Dan pihak masjid juga letakkan meja untuk minuman dan makanan ringin supaya sesiapa dapat ambilnya.
Seorang wanita memberi wang 20 Baht kepada kanak-kanak
Kanak-kanak masih berpakaian Melayu dan Tub Arab
Setelah selesai sembahyang Raya Aidil Adha
Meja kuih dan biskut disediakan kepada semua orang
Seterusnya masing masing pulang ke rumah. Kerana sesetengah perlu menembelih lembu qurban. Dan daging diagih kepada orang orang kampung. Ini adalah sedikit gambaran tentang situasi hari raya Aidil Adha di sebuah kampong dipinggir Pekan Narathiwas. Walaupun beberapa kampung mungkin situasi berbeza dari kampung yang ditulis ini. Tetapi situasinya tidaklah sangat juah dari kampung dipinggir Pekan Narathiwas ini.
Dua wanita yang berkongsi bahagian dalam qurban
Sedang menjalankan tugas
Sedang menjalankan tugas
selesai berquran seekor lembu

Isnin, 22 Oktober 2012

สองประธานาธิบดีประเทศอินโดเนเซียที่ถูกลืม

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

สองประธานาธิบดีประเทศอินโดเนเซียที่ถูกลืม
           เมื่อเราศึกษาถึงประเทศอินโดเนเซีย  นอกจากจะมีการกล่าวถึงสภาพภูมิประเทศแล้ว จะต้องมีการกล่าวถึงชื่อประธานาธิบดีอินโดเนเซีย นับตั้งแต่ประธานาธิบดีคนแรก ซึ่งเป็นประธานาธิบดียุคเก่า (Orde lama) คือนายอาหมัด ซูการโน (Ahmad Sukarno)  ต่อมาประธานาธิบดียุคใหม่ (Orde baru) คือนายมูฮัมหมัด ซูฮาร์โต (Muhammad Suharto)  และหลังจากนั้นมาถึงประธานาธิบดียุคปฏิรูป (Orde Reformasi) ซึ่งประกอบด้วยนายบัคเตียร์ ยูซุฟ ฮาบีบี (Baktiar Jusuf Habibi)   นายอับดุลราห์มาน  วาฮิด  (Abdulrahman Wahid) นางเมอฆาวาตี ซูการโนปุตรี(Megawati Sukarnoputri) และสุดท้ายนายซูซีโล ยูโธโยโน (Susilo Yudhoyono) 
นายอาหมัด ซูการโน (Ahmad Sukarno) 
นายมูฮัมหมัด ซูฮาร์โต (Muhammad Suharto) 
นายบัคเตียร์ ยูซุฟ ฮาบีบี (Baktiar Jusuf Habibi)
นายอับดุลราห์มาน  วาฮิด  (Abdulrahman Wahid) 
นางเมอฆาวาตี ซูการโนปุตรี(Megawati Sukarnoputri)
นายซูซีโล ยูโธโยโน (Susilo Yudhoyono) 
แต่จะไม่มีกล่าวถึงบุคคลอีกสองคน ซึ่งบุคคลทั้งสองนี้ แม้จะไม่ได้รับการยอมรับอย่างทางการว่าเป็นประธานาธิบดี  แต่การปฏิบัติหน้าที่และบทบาทตามกฎหมายในขณะนั้นถือได้ว่ามีสถานะเป็นผู้นำของประเทศอินโดเนเซีย  นักประวัติศาสตร์บางคนกล่าวว่าสิ่งนี้อาจด้วยบุคคลทั้งสองไม่ได้เป็นชนเผ่าชวา จึงทำให้ไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ  เราน่าจะมาทำความรู้จักบุคคลทั้งสอง  เพราะในอนาคตบุคคลทั้งสองอาจได้รับการยอมรับว่าเป็นประธานาธิบดีประเทศอินโดเนเซียก็เป็นได้ บุคคลทั้งสองคือ นายอัสซาอัต ดาโต๊ะมูดอ (Asaat Datuk Mudo) และ 
นายชัฟรุดดีน ปราวีราเนอฆารา (Syafruddin Prawiranegara) 
 นายชัฟรุดดีน ปราวีราเนอฆารา
นายชัฟรุดดีน ปราวีราเนอฆารา:ประธานาธิบดีอินโดเนเซียที่ถูกลืม
ชื่อของเขานอกจากจะเขียนว่า Syafruddin Prawiranegara มีการเขียนอีกแบบหนึ่งว่า Sjafruddin Prawiranegara เกิดที่เมืองเซอรัง จังหวัดบันเต็น ประเทศอินโดเนเซีย เมื่อ 28กุมภาพันธ์ 1911 และสิ้นชีวิตเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 1989 ขณะที่มีอายุ 77 ปี 
 นายชัฟรุดดีน ปราวีราเนอฆารา
เขาเป็นนักต่อสู้เพื่อเอกราชของอินโดเนเซีย เคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีหรือ หัวหน้ารัฐบาลผลัดถิ่น ที่ชื่อว่า รัฐบาลในสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณรัฐอินโดเนเซีย หรือ PDRI (Pemerintah Darurat Republik Indonesia) ซึ่งขณะนั้นรัฐบาลอินโดเนเซียมีศูนย์อำนาจอยู่ที่เมืองยอกยาการ์ตา ถูกฮอลันดายึดครอง และประธานาธิบดีประเทศอินโดเนเซีย(นายอาหมัด ซูการ์โน)ก็ถูกฮอลันดาจับกุม เมื่อ 19 ธันวาคม 1948

จนนายอาหมัด ซูการ์โนต้องโอนอำนาจให้แก่นายชัฟรุดดีน ปราวีราเนอการา เป็นผู้รับช่วงต่อไป เขาเป็นผู้นำรัฐบาลในสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณรัฐอินโดเนเซียระหว่าง19 ธันวาคม1948 จนถึง 13 กรกฎาคม 1949 อย่างไรก็ตามแม้เขาจะมีสถานะเป็นผู้นำของประเทศอินโดเนเซียในขณะนั้น แต่รัฐบาลอินโดเนเซียในปัจจุบันไม่ยอมรับถึงสถานะดังกล่าว มีการกล่าวว่าถ้านายชัฟรุดดีน ปราวีราเนอการา ไม่จัดตั้งรัฐบาลในสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณรัฐอินโดเนเซีย หรือ PDRI (Pemerintah Darurat Republik Indonesia) 

ในขณะนั้น ไม่รู้ว่าปัจจุบันประเทศอินโดเนเซียจะเป็นอย่างไร ในปัจจุบันรัฐบาลอินโดเนเซียได้ประกาศให้วันที่ 19 ธันวาคม วันที่นายชัฟรุดดีน ปราวีราเนอการา จัดตั้งรัฐบาลในสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณรัฐอินโดเนเซีย หรือ PDRI (Pemerintah Darurat Republik Indonesia) เป็นวันสำคัญคือวันพิทักษ์ชาติ (Hari Pembela Bangsa) และเมื่อ พฤศจิกายน 2011 นายชัฟรุดดีน ปราวีราเนอการา ได้รับการยกฐานะให้เป็นวีรบุรุษแห่งชาติ  ในอนาคตบุคคลทั้งสองอาจได้รับการยอมรับว่าเป็นอีกสองประธานาธิบดีอินโดเนเซียก็เป็นได้
 นายอัสซาอัต ดาโต๊ะมูดอ
นายอัสซาอัต ดาโต๊ะมูดอ
เกิดที่หมู่บ้าน Pincuran Landai, Kubang Putiah, Banuhampu, Agam ในจังหวัดสุมาตราตะวันตก เมื่อ 18 กันยายน 1904 และเสียชีวิตเมื่อ 16 มิถุนายน 1976 รวมอายุ 71 ปี เขาทำหน้าที่เป็นรักษาประธานาธิบดีอินโดเนเซีย ขณะที่ตอนนั้นรัฐบาลตั้งอยู่ที่เมืองยอกยาการ์ตา เขาเคยเป็น รมต.มหาดไทยของอินโดเนเซีย 

รักษาการประธานาธิบดีอินโดเนเซีย 
นายอัสซาอัต ดาโต๊ะมูดอ เป็นรักษาการประธานาธิบดีสาธารณรัฐอินโดเนเซีย ขณะที่รัฐบาลตั้งอยู่ที่เมืองยอกยาการ์ตา ระหว่างเดือนธันวาคม 1949 ถึงเดือนกรกฎาคม 1950 ซึ่งขณะนั้นมีการจัดตั้งประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐอินโดเนเซีย (United States of Indonesia) โดยสาธารณรัฐอินโดเนเซียเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศและรัฐที่เข้าร่วมเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐอินโดเนเซีย ตอนที่มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกายะห์มาดา ในเมืองยอกยาการ์ตา นายอัสซาอัต ดาโต๊ะมูดอ เป็นผู้เซ็นในพ.ร.บ.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยดังกล่าวในฐานะประธานาธิบดีสาธารณรัฐอินโดเนเซีย

Rabu, 10 Oktober 2012

เกาะซีปาดัน (Pulau Sipadan) ไข่มุกแห่งรัฐซาบะห์ ประเทศมาเลเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
แผนที่รัฐซาบะห์ มาเลเซีย

เกาะซีปาดัน (Pulau Sipadan) ไข่มุกแห่งรัฐซาบะห์
เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในรัฐซาบะห์ประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ไม่ห่างจากเมืองเซิมโปร์นา ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันออกของรัฐซาบะห์  เกาะนี้เป็นเพียงเกาะหนึ่งเดียวที่เป็นเกาะเกิดจากหินปูนกลางมหาสมุทรของประเทศมาเลเซีย      มีความสูง 600 เมตรจากระดับน้ำทะเล
เกาะซีปาดัน
เกาะซีปาดันมีชื่อเสียง  ด้วยเป็นเกาะหนึ่งที่บรรดานักท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักดำน้ำ มักเลือกเป็นที่ดำน้ำ (scuba diving) และถือเป็นสถานที่หนึ่งที่ดีที่สุด

จากการลงคะแนนในหัวข้อ 7 สิ่งมหัศจรรย์ในโลก ที่ดำเนินการโดย New 7 Wonders of Nature votes committee ปรากฏว่าเกาะซีปาดันเป็นหนึ่งใน 77 ของพื้นผิวโลกที่มหัศจรรย์และสวยงามในปี 2009
เกาะซีปาดัน
ประวัติความเป็นมาของเกาะซีปาดัน
เกาะแห่งนี้เคยถูกประเทศมาเลเซียและอินโดเนเซีย อ้างกรรมสิทธิ์ในเกาะ จนทำให้ทั้งสองประเทศนำปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวขึ้นสู่ศาลโลก

ด้วยหลักฐานที่ประเทศมาเลเซียนำมาต่อสู้ในศาลโลก และด้วยการสนับสนุนจากประเทศอังกฤษ  ทำให้ศาลโลกลงมติให้ประเทศมาเลเซียเป็นผู้ชนะ โดยเกาะซีปาดัน (Pulau Sipadan) และเกาะลีฆีตัน (Pulau Ligitan) กลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซียเมื่อปี 2003
 เกาะซีปาดัน
รีสอร์ทที่เกาะซีปาดัน
การตัดสินให้ประเทศมาเลเซียชนะในปัญหาเกาะซีปาดันนั้น ด้วยประเทศอังกฤษแสดงหลักฐานการถือครอง หรือที่เรียกว่า effective occupation ที่มีต่อเกาะนี้  ซึ่งประเทศอังกฤษเป็นอดีตเจ้าอาณานิคมของประเทศมาเลเซีย และนอกจากนั้นประเทศอินโดเนเซียเองก็มีหลักฐานที่ด้อยกว่าประเทศมาเลเซีย รัฐบาลและประชาชนประเทศอินโดเนเซียผิดหวังกับผลการตัดสินของศาลโลกเป็นอันมาก ซึ่งปัญหาเกาะเกาะซีปาดันและเกาะลีฆีตันก็สร้างรอยแผลของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาเลเซียและอินโดเนเซีย
 รีสอร์ทที่เกาะซีปาดัน
รีสอร์ทที่เกาะซีปาดัน
ประวัติความเป็นมาของเกาะซีปาดัน
เกาะแห่งนี้เคยถูกประเทศมาเลเซียและอินโดเนเซีย อ้างกรรมสิทธิ์ในเกาะ จนทำให้ทั้งสองประเทศนำปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวขึ้นสู่ศาลโลก

ด้วยหลักฐานที่ประเทศมาเลเซียนำมาต่อสู้ในศาลโลก และด้วยการสนับสนุนจากประเทศอังกฤษ  ทำให้ศาลโลกลงมติให้ประเทศมาเลเซียเป็นผู้ชนะ โดยเกาะซีปาดัน (Pulau Sipadan) และเกาะลีฆีตัน (Pulau Ligitan) กลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซียเมื่อปี 2003
เกาะซีปาดัน
การตัดสินให้ประเทศมาเลเซียชนะในปัญหาเกาะซีปาดันนั้น ด้วยประเทศอังกฤษแสดงหลักฐานการถือครอง หรือที่เรียกว่า effective occupation ที่มีต่อเกาะนี้  ซึ่งประเทศอังกฤษเป็นอดีตเจ้าอาณานิคมของประเทศมาเลเซีย และนอกจากนั้นประเทศอินโดเนเซียเองก็มีหลักฐานที่ด้อยกว่าประเทศมาเลเซีย รัฐบาลและประชาชนประเทศอินโดเนเซียผิดหวังกับผลการตัดสินของศาลโลกเป็นอันมาก ซึ่งปัญหาเกาะเกาะซีปาดันและเกาะลีฆีตันก็สร้างรอยแผลของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาเลเซียและอินโดเนเซีย