โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
เมื่อ 25 กันยายน 2010 ทางองค์กรเปอร์กาซา ได้จัดงานที่ชื่อว่า Perhimpunan Melayu Perkasa Kelantan จัดที่อำเภอปาเซร์ มส รัฐกลันตัน โดยเชิญ ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด มาปราศรัยในงานดังกล่าว มีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 2 หมื่นคน ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด ได้เรียกร้องให้ชาวมลายูมีความสามัคคีกัน เขากล่าวว่าปัจจุบันชาวมลายูได้แตกออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ผู้สนับสนุนพรรค UMNO,ผู้สนับสนุนพรรค PAS และผู้สนับสนุนพรรค PKR ดังนั้นชาวมลายูต้องกลับมาสามัคคีอีกครั้ง
ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด ขณะปราศรัยที่เขตปาเซร์ มัส รัฐกลันตัน
ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด ที่เขตปาเซร์ มัส รัฐกลันตัน
ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด ที่เขตปาเซร์ มัส รัฐกลันตัน
ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด ที่เขตปาเซร์ มัส รัฐกลันตัน
องค์การเปอร์กาซา หรือ Pertubuhan Pribumi Perkasa (Perkasa)
เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน หรือ NGO ของชาวมลายูที่ต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิพิเศษของชาวมลายูในประเทศมาเลเซีย องค์กร NGO นี้ได้รับการขนานนามว่าเป็น "องค์กรชาตินิยมสุดขั้วของชาวมลายู" หรือ Ultranationalist NGO และได้รับการต่อต้านจากกลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่ม
การจัดตั้งองค์กรเปอร์กาซา หรือ Pertubuhan Pribumi Perkasa (Perkasa)
จัดตั้งโดยดาโต๊ะอิบราฮิม อาลี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตปาเซร์มัส รัฐกลันตัน การลงสมัครรับเลือกตั้งของดาต๊ะอิบราฮิม อาลี ค่อนข้างแปลกว่าคนอื่น ด้วยดาต๊ะอิบราฮิม อาลี สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตปาเซร์มัสโดยไม่สังกัดพรรคการเมือง เป็นผู้สมัครอิสระ แต่ขอใช้ตราสัญญลักษณ์ของพรรอิสลามแห่งมาเลเซีย หรือ Parti Islam Malaysia (PAS)ปรากฎว่าเขาสามารถมีชัยเหนือผู้สมัครจากพรรคองค์การมลายูสามัคคีแห่งชาติ หรือ UMNO ในการประชุมจัดตั้งองค์กรเปอร์กาซานั้น ดาโต๊ะอิบราฮิม อาลี ได้รับความไว้วางใจให้เป็นประธานองค์กรเปอร์กาซา ส่วนรองประธานองค์กรเปอร์กาซา คือ ดาโต๊ะฟูอัด ตันศรีฮัสซัน อดีตสมาชิกสภานิติบัญญติแห่งรัฐสลังงอร์
ในช่วงทศวรรษที่ 1970 ตุน ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด ถูกกล่าวหาจากนายลี กวน ยิว รัฐมนตรีอาวุโสและอดีตนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ว่าเป็น "ชาวมลายูสุดขั้ว" หรือ "Ultra Malay" แต่ในยุคปัจจุบัน ปรากฎว่า ดาโต๊ะอิบราฮิม อาลี และ องค์กรเปอร์กาซา ได้รับการขนานนามว่าเป็น "ชาวมลายูสุดขั้ว" หรือ "Ultra Malay" ยุคใหม่
ดาโต๊ะอิบราฮิม อาลี
ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัดกับดาโต๊ะอิบราฮิม อาลี
ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัดกับดาโต๊ะอิบราฮิม อาลี
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์กร
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์กร
องค์กรมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสิทธิพิเศษของคนมลายูจากการถูกกดดันโดยคนไม่ใช่เชื้อชาติมลายู โดยเฉพาะกลุ่มคนจีน
สมาชิกองค์กร
ดาโต๊ะอิบราฮิม อาลี ได้กล่าวว่า องค์กรมีสมาชิกมากกว่า 5 พันคน ตามหลักฐานบัตรสมาชิกและใบประกาศนียบัตรที่ได้มอบให้แก่สมาชิก ปัจจุบันยังมีใบสมัครที่อยู่ระหว่างอนุมัติการเป็นสมาชิกอีกมากกว่า 5 หมื่นใบ องค์กรเปอร์กาซาเป็นองค์กรที่เคลื่อนไหวอยู่ภายใต้การนำของ สภาองค์กรพฒนาเอกชนชาวมลายู หรือ Majlis Perundingan NGO Melayu (MPM) โดยองค์กร MPM เป็นองค์กรร่วม (Umbrella Organisation) ขององค์กร NGO ชาวมลายูประมาณ 76 องค์กร องค์กรเหล่านี้เช่น หอการค้าชาวมลายูมาเลเซีย (Dewan Perniagaan Melayu Malaysia), สมาคมผู้รับเหมาก่อสร้างชาวมลายู (Persatuan Kontraktor Melayu Malaysia ), หอการค้ามุสลิมมาเลเซีย (Dewan Perniagaan Islam Malaysia), สหพันธ์นักศึกษาชาวมลายูแห่งแหลมมลายู (Gabungan Pelajar Melayu Semenanjung)
องค์กรเปอร์กาซาได้รับใบอนุญาตออกหนังสือพิมพ์
เมื่อ 3 มีนาคม 2010 องค์กรเปอร์กาซาได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทยในการออกหนังสือพิมพ์ของตนเอง โดยใช้ชื่อว่า เสียงเปอร์กาซา หรือ Suara Perkasa หนังสือพิมพ์นี้จะออกเป็นรายปักษ์
การประชุมใหญ่ครั้งแรกขององค์กรเปอร์กาซา
เมื่อ 27 มีนาคม 2010 องค์กรเปอร์กาซาได้จัดประชุมใหญ่ครั้งแรกขึ้นที่ Putra World Trade Center กรุงกัวลาลัมเปอร์ แรกเริ่มสุลต่านชาราฟฟุดดิน อิดริส ชาห์ (Sultan Shrafuddin Idris Shah) สุลต่านแห่งรัฐสลังงอร์จะทำหน้าที่เป็นองค์ประธานเปิดพิธีการประชุม แต่ต่อมาได้ยกเลิก ด้วยเหตุผลไม่ต้องการจะให้กลายเป็นประเด็นทางการเมือง พร้อมได้เรียกร้องให้องค์กรเปอร์กาซาลดความเป็นองค์กรมลายูสุดขั้วลง ดังนั้นองค์กรเปอร์กาซาจึงเชิญ ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด มาเป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่แทน ในการประชุมใหญ่ครั้งนี้มีสมาชิกเข้าร่วมประชุมมากกว่า 8 พันคน และแขกรับเชิญอีกประมาณ 2 พันคน
ตราสัญญลักษณ์องค์กรเปอร์กาซา
ในการประชุมใหญ่ขององค์กรเปอร์กาซา ดาโต๊ะอิบราฮิม อาลี ได้ปราศรัยในที่ประชุมถึงปัญหาทางเศรษฐกิจของชาวมลายู เขาอ้างถึงหนังสือที่ชื่อว่า World On Fire ซึ่งแต่งโดยนักวิชาการชาวจีนชื่อว่า Prof. Amy Chua แห่งมหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา ในหนังสือดังกล่าวแสดงให้เห็นภัยของการที่กลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งกลายเป็นผู้คุมเศรษฐกิจเหนือกลุ่มชนพื้นเมือง จนเกิดเหตุการณ์การเผาร้านค้าขึ้น เช่น ชาวฟิลิปปินส์เผาร้านค้าของคนจีนในประเทศฟิลิปปินส์ คนอินโดเนเซียเผาร้านค้าของคนจีนในประเทศอินโดเนเซีย หรือ การที่ชาวอฟริกาใต้เผาร้านค้าของคนอินเดียในประเทศอัฟริกาใต้ เขายังกล่าวถึงความอุดมสมบูรณ์ของประเทศมาเลเซียที่แต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ได้รับที่ไม่เท่าเทียมกัน เศรษฐกิจมาเลเซียถูกคนมาเลเซียเชื้อสายจีนคุมอยู่ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ส่วนชาวภูมิบุตร ชนพื้นเมืองมาเลเซียคุมเศรษฐกิจอยู่ไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์
นายอิบราฮิม ซูฟเฟียน จากสำนักโพลล์ ที่ชื่อว่า Merdeka Center กล่าวถึงการสำรวจประชามติของสำนักโพลล์ของเขา ปรากฏว่า เกือบ 70 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่มีสิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งเห็นด้วยกับข้อเรียกร้องขององค์กรเปอร์กาซา ประมาณ 61 เปอร์เซ็นต์เห็นด้วยให้องค์กรเปอร์กาซาให้การสนับสนุนพรรครัฐบาลในการเลือกตั้งครั้งต่อไป คือ ครั้งที่ 3 และ 44 เปอร์เซ็นต์ เห็นด้วยกับประเด็นที่ว่า “ในอนาคตชาวจีนจะสามารถยึดครองประเทศมาเลเซีย”
นักการเมืองที่มีความเห็นแตกต่างจาก ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด เช่น ดาโต๊ะศรีโมฮัมหมดนัซรี ตันศรีอาซีซ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ ตันศรีราฟีดะห์ อาซีซ โดยทั้งสองคนเป็นรัฐมนตรีในยุค ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด กล่าวว่า องค์กรเปอร์กาซา และองค์กร Gertak ( Gerakan Kebangsaan Rakyat) จะอยู่ไม่ได้ ถ้าไม่มี ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด
การประชุมจัดตั้งองค์กรเปอร์กาซา ที่ร้านอาหารชาวมาเลเซียเชื้อสายปัตตานี
ดาโต๊ะอิบราฮิม อาลี ช่วงการจัดตั้งองค์กรเปอร์กาซา
ดาโต๊ะอิบราฮิม อาลี ช่วงการจัดตั้งองค์กรเปอร์กาซา
ดาโต๊ะอิบราฮิม อาลี ช่วงการจัดตั้งองค์กรเปอร์กาซา
องค์การเปอร์กาซา สาขาต่างๆ
Tiada ulasan:
Catat Ulasan