โดย
นายนิอับดุลรากิ๊บ บินิฮัสซัน
มลายูและโลกมลายู
คำว่า
“มลายู” ในความหมายที่ทางองค์การ UNESCO ซึ่งได้ทำการศึกษาในหัวข้อ
Malay Cultural Studies Project ในปี 1972
ได้ให้คำอธิบายถึงความหมายของมลายูว่า คือ
กลุ่มชนที่รวมกันอยู่ในกลุ่มมลายู-โปลีเนเซีย (Melayu-Polinesia) ซึ่งมีอาณาเขตที่กว้างขวาง จากเกาะมาดากัสการ์ทางตะวันตก
จนถึงเกาะอิสเตอร์หรือที่ชาวมลายูเรียกว่าเกาะปัสกะห์ (Pulau Paskah) ทางตะวันออก รวมทั้งเกาะใต้หวัน และ ฮาวาย ทางด้านเหนือ
จนถึงหมู่เกาะอินโดเนเซีย และ นิวซีแลนด์ทางใต้
ศาสตราจารย์วัง
กง วู (Prof.
Wang Gung Wu) ได้ทำการศึกษาค้นคว้าในบันทึกจีนโบราณ
ปรากฏว่าในศตวรรษที่ 13 ยังไม่มีการบันทึกถึงคำว่า “มลายู” ในฐานะชนชาตหนึ่ง
มีเพียงการบันทึก “มลายู” ในฐานะเป็นสถานที่แห่งหนึ่งในทางตะวันออกของเกาะสุมาตรา
จะมีเพียงในศตวรรษที่ 18 ที่กล่าวถึง “มลายู” ในฐานะชนชาติหนึ่ง
ส่วนบันทึกของตะวันตกนั้นกล่าวว่า ตอนต้นศตวรรษที่ 17 คำว่า “มลายู”
มีการใช้ในความหมายที่กว้าง ครอบคลุมถึงชนชาติที่อยู่ในภูมิภาคมลายู (Nusantara)
ชนชาวมลายูได้ทิ้งร่องรอยทางอารยธรรมไว้มาก
อาณาจักรโบราณของชนชาวมลายู เช่น อาณาจักร ฟูนัน ซึ่ง Daniel George
E. Hall ได้กล่าวว่า “ชาวฟูนันเป็นชนชาติมลายู ”(The
Funanese were Malay Race) และ Prof. Nguyen The Anh ชาวเวียดนามก็ได้กล่าวว่า “อาณาจักรฟูนันใช้ภาษามลายู”
นอกจากนั้นยังมีอาณาจักรจามปาในเวียดนาม อาณาจักรลังกาสุกะ อาณาจักรมาชาปาหิต
อาณาจักรศรีวิชัย รวมทั้งอาณาจักรมะละกา
ชนชาวมลายูนั้นถือว่าเป็นชนชาติใหญ่ชนชาติหนึ่งในโลก
ทางองค์กรที่ที่ชื่อว่า Joshua
Project ซึ่งเป็นองค์กรเผยแพร่ศาสนาคริสต์ของสหรัฐตั้งอยู่ในรัฐ
โคโลราโด ของสหรัฐอเมริกา ได้สำรวจและปรากฎผลได้ดังนี้ :
โลกอาหรับ 279,654,470
คน
อินโด-อิหร่านเนียน
137,509,326 คน
ยิว 17,593,084 คน
ชนชาวมลายู 339,134,635
คน
ชาวตุรกี 169,026,980 คน
จากข้อมูลข้างต้นที่มีชนชาติมลายูถึง
339,134,635 คน ปรากฏว่าชนชาวมลายูเหล่านั้น กระจัดกระจายไปทั่วโลก
นอกจากพวกเขาจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศอินโดเนเซีย, มาเลเซีย,
บรูไน, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์,
ภาคใต้ของไทย, พม่า, เวียดนาม,
เขมร และลาวแล้ว พวกเขายังอพยพไปยังภูมิภาคต่างๆ
พวกเขาตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศอัฟริกาใต้, มาดากัสการ์,
สุรีนาม, ตะวันออกกลาง, ยุโรป
และสหรัฐ
คนฟิลิปปินส์ที่พูดภาษาตากาลอกนั้น
ส่วนใหญ่มาจากชนชาติมลายู
การอพยพของชาวมลายูจากแหลมมลายู-อินโดนีเซียไปยังดินแดนฟิลิปปินส์นั้นเริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่4
ก่อนหน้านั้นมีการอพยพของชาวเนกรีโต(Negrito) และชาวบอร์เนียว,
ชาวสุลาเวซี, ไต้หวันไปยังดินแดนนั้น
พวกเขาเหล่านั้นถูกรวมอยู่ในกลุ่มชนพื้นเมืองฟิลิปปินส์(Orang Asli
Filipina) การอพยพของชาวสุลาเวซีหรือชวาไปยังฟิลิปปินส์
หรือจากสุมาตราไปยังแหลมมลายูถือเป็นการอพยพของชนชาวมลายูที่อยู่ในวัฒนธรรมเดียวกัน
พวกเขาไม่ถูกเรียกว่าผู้อพยพ เพราะพวกเขาล้วนมีวัฒนธรรมที่เหมือนกัน
การห่างเหินของชาวมลายูฟิลิปปินส์จากชนชาติมลายูส่วนใหญ่ เกิดจากความสำเร็จของเจ้าอาณานิคมในการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ไปยังดินแดนเหล่านั้น
โดยเฉพาะเกาะลูซอน
พวกเขาได้ยอมรับวัฒนธรรมยุโรป-อเมริกา
และละทิ้งวัฒนะธรรมดั้งเดิมของพวกเขา ส่วนพวกที่อยู่ทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์นั้น
พวกเขาประสบความสำเร็จในการต่อต้านอาณานิคม และศาสนาคริสต์ ทำให้พวกเขายังคงอัตลักษณ์ของความเป็นมุสลิมไว้ได้.
ชาวมลายูที่นับถือศาสนาอิสลามหรือที่เรียกว่าโมโร ( Moro) นั้นมีประชากรประมาณ 4.9 ล้านคน จากจำนวนประชากรทั้งหมด
ของประเทศฟิลิปปินส์ 78 ล้านคน การยอมรับในความเป็นมลายู หรือ
มาลายันของคนฟิลิปปินส์ยังคงมีอยู่ บางพรรคการเมืองในฟิลิปปินส์ยังคงใช้คำว่า
มลายู เช่น พรรคที่ชื่อว่า The Malay Democrat Party of The Philippines
ในศรีลังกานั้น
ชาวมลายูยังคงยึดถืออัตลักษณ์ของชาวมลายูอยู่
แม้ว่าภาษามลายูของพวกเขาจะได้รับอิทธิพลของภาษาทมิฬ และสิงหล
ประชากรของศรีลังกาที่มีเชื้อชาติมลายูนั้น มีอยู่ประมาณ 62,000 คน
ชาวมลายูในศรีลังกามีประวัติภูมิหลังที่น่าสนใจจริง
พวกเขาถูกฮอลันดานำไปยังศรีลังกาในศตวรรษที่ 18
และบางส่วนถูกอังกฤษนำไปยังศรีลังกาในศตวรรษที่ 19
ซึ่งก่อนหน้านั้นชาวมลายูก็ได้อพยพไปยังศรีลังกาแล้ว ในหนังสือชื่อ “ มหาวังศา” ( Mahawansa) ซึ่งเป็นหนังสือประวัติศาตร์เก่าแก่ของศรีลังกาก็มีการบันทึกว่า
ในสมัยกษัตริย์ที่ชื่อ Prakrama Bahu
ในปี1268
มีกษัตริย์ชาวมลายูชื่อกษัตริย์จันทราภาณุ (Chandrabhanu) จากอาณาจักรตามพรลิงค์
( Tambralinga ) ได้ไปโจมตีศรีลังกาเป็นจำนวน 2 ครั้ง แม้แต่แม่ทัพของกษัตริย์
Prakrama Bahu เองก็เป็นชาวมลายูมีชื่อว่า Melayu
Rayer แต่ชาวมลายูเหล่านี้ถูกสังคมศรีลังกากลมกลืน จนสิ้นอัตลักษณ์
ด้วยพวกเขานับถือศาสนาเฉกเช่นเดียวกันกับชาวศรีลังกา
ปัจจุบันมีสมาคมชาวมลายูศรีลังกาทั้งในประเทศศรีลังกาและนอกประเทศอยู่หลายสมาคม
เช่น Sri
Lanka Australian Malay Association, Sri Lanka Malay Association of Toronto
Canada, Sri Lanka-Indonesia Freindship Association,
Ruhuna
Malay Association, Conference of Sri Lanka Malays (COSLAM), Ceylon Malay
Research Organisation (CEMRO), All-Ceylon Malay Association
ประเทศอัฟริกาใต้มีชาวมุสลิมประมาณ
700,000 คน และในจำนวนดังกล่าวเป็นชาวมุสลิมที่มีเชื้อสายมลายูอยู่ประมาณ 240,000
คน ส่วนใหญ่ชาวมลายูเหล่านี้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองเคปทาวน์ ( Cape Town ) ในบริเวณที่เรียกว่า
Malay Square หรือ Bokap ชาวมลายูในประเทศอัฟริกาใต้จะถูกเรียกว่าชาวมลายูแหลม
หรือ Care Malay
พวกเขาส่วนใหญ่ถูกฮอลันดานำพาไปยังอัฟริกาใต้
แม้ว่าภาษามลายูของพวกเขาเหล่านี้เกือบจะสูญหายไป
แต่พวกเขายังคงใช้บางคำของภาษามลายูในชีวิตประจำวัน พวกเขาจะพูดภาษาอัฟริกัน ( Afrikaan ) ในชีวิตประจำวัน โดยภาษาอัฟริกันนี้มีภาษาฮอลันดาเป็นหลัก
และนำคำภาษาอักฤษ และภาษามลายูเข้าไปใช้ในภาษาอัฟริกัน
ปัจจุบันมีสมาคมชาวมลายูอัฟริกาใต้ หรือที่เรียกว่ามลายูแหลม (The Cape
Malay) อยู่หลายสมาคม เช่น
Forum
For Malay Culture In South Africa, Indonesian and Malaysian Seamen’s Club, The
South Africa Malay Cultural Society, The Cape Malay Chamber of Commerce, The
Cape Malay Chorace Band.
ชาวมลายูจากประเทศมาเลเซีย
, อินโดนีเซีย, บรูไน และปัตตานี เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ทุกๆปี
และปรากฏว่ามีชาวมลายูจำนวนหนึ่งจากภูมิภาคมลายูเข้าไปตั้งถิ่นฐานในประเทศซาอุดิอารเบีย
ชุมชนชาวมลายูในประเทศซาอุดีอารเบีย มักมีชื่อต่อท้ายตามถิ่นกำเนิดของตนหรือ
บรรพบุรุษ เช่น Al – Palembani , Al- Indrakiri กิจการธุรกิจบางกิจการ
หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หรือข้าราชการของประเทศซาอุดิอารเบีย
บางคนมาจากบรรพบุรุษชาวปัตตานี เช่น อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ในสมัยกษัตริย์ไฟศอล มีชื่อว่า Sheikh
Abdullah Al-Fatani ปัจจุบันชุมชนชาวมลายูที่มีแหล่งกำเนิดจาอินโดนีเซีย,
มาเลเซีย , และปัตตานี
ยังคงมีบทบาทอยู่ในสังคมประเทศซาอุดิอารเบีย
เกาะโคโคส
( Cocos
Island ) เดิมเกาะนี้เป็นเกาะกรรมสิทธิ์ของตระกูล Clunies
Ross ต่อมาเมื่อชาวมลายูเกาะโคโคส ถูให้เลือกอนาคตของตนเองว่า
เกาะโคโคสของพวเขาจะเป็นดินแดนอิสระ หรือว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของประเทศออสเตรเลีย
เมื่อชาวเกาะโคโคส เป็นส่วนหนึ่งของออสเตรเลียแล้ว
บางส่วนของพวกเขาจึงอพยพไปตั้งถิ่นฐานบนแผ่นดินใหญ่ของออสเตรเลีย
ปัจจุบันมีชาวมลายูทั้งที่เป็นชาวเกาะโคโคส และชาวมลายูที่อพยพมาจากประเทศมาเลเซีย,
สิงคโปร์, อินโดนีเซีย ประมาณ 37,000 คน
ชาวมลายูเหล่านี้จำนวนหนึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองดาร์วิน (Darwin), เมืองเมเบิร์น (Melburne) และ เมืองเพิร์ธ (Perth)
ประเทศมาดากัสการ์
ซึ่งอยู่ในทวีปอัฟริกา เป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก
ประเทศนี้ก็เป็นอีหนึ่งประเทศที่มีชาวมลายูจากภูมิภาคมลาย (Nusantara ) อพยบไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศดังกล่าว
การอพยบของชาวมลายูไปยังเกาะมาดากัสการ์เกิดขึ้นเมื่อนับพันปีมาแล้ว
ชนชาวมาดากัสการ์ที่มีเชื้อสายมลายู ประกอบด้วยนับสิบชนเผ่า แต่ชนเผ่าเมรินา (Merina)
หรือที่พวกเขาเรียกตนเองสั้นๆว่า ชาวเมอร์ (Mer) นั้น นับว่ามีความใกล้ชิดทางชาติพันธุ์กับชาวมลายูในภูมิภาคมลายูมาก
จากการศึกษาวิจัยทางภาษาศาสตร์
ปรากฎว่าชนชาวเมรินามีความสัมพันธ์ทางภาษากับชนเผ่ามายัน (Mayaan) ในเกาะกาลีมันตันของอินโดนีเซีย ชาวเมรินามีประชาการ 2.8 ล้านคน
จากจำนวนประชากรของมาดากัสการ์ 16.9 ล้านคน ชาวเมรินาถือเป็นชาวมลายูโพ้นทะเลกลุ่มเดียวที่สามารถเป็นชนชั้นปกครองของประเทศที่ได้อพยบไปตั้งถิ่นฐาน
ในประเทศมาดากัสการ์มีสมาคมที่ดำเนินกิจกรรมประสานงานกับชาวมลายูในภูมิภาคมลายูอยู่สมามคมหนึ่ง
ชื่อว่า สมาคมมลายูแห่งมาดากัสการ์ (Fikambanana Malay Madagasikara) ภายใต้การนำของนาย Mboara Andriannarimanana โดยสมาคมนี้มีสถานีวิทยุและหนังสือพิมพ์ของตนเอง
และเคยมีเว็บไซต์ของตนเองภายใต้ชื่อ Suara Bangsa Merina
ประเทศเมียนมาร์หรือพม่า
เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีชุมชนชาวมลายูอาศัยอยู่
ชาวมลายูในประเทศเมียนมาร์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ชุมชนชาวมลายูที่นับถือศาสนาอิสลาม
กลุ่มนี้ชาวเมียนมาร์เรียกว่าชาว Salon มีประชากรทั้งหมด
31,600 คน ชุมชนชาวมลายูในประเทศเมียนมาร์มีความสัมพันธ์กับชาวมลายูในภาคใต้ของไทย
และชาวมลายูในรัฐเคดะห์ของมาเลเซีย
ส่วนหนึ่งของชุมชนชาวมลายูในประเทศเมียนมาร์ได้อพยบไปตั้งถิ่นฐานในเขต Sri
bandi รัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย อีกกลุ่มหนึ่งคือชาวเล (Orang
Laut) ที่เรียกตนเองว่ามอแกน ชาวมอแกนมีประชากรประมาณ 7,000 คน
ตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศเมียนมาร์
ประเทศสุรีนาม
ซึ่งตั้งอยู่ในทวีปละตินอเมริกา ถือเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีชาวมลายูอาศัยอยู่
ส่วนใหญ่ของชาวมลายูในประเทศสุรีนามจะมีเชื้อสายเผ่าชวา
กลุ่มชนเหล่านี้ฮอลันดาได้นำมาจากอินโดนีเซีย
ด้วยประเทศสุรีนามเคยเป็นอาณานิคมของฮอลันดา ชาวมลายูในประเทศสุรีนามมีประมาณ
75,000 คน ชาวมลายูในประเทศสุรีนามส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายชวา และในประเทศสุรีนามมีพรรคการเมืองของคนมลายูอยู่
2 พรรค และประธานรัฐสภาของประเทศสุรีนามคนปัจจุบันก็เป็นคนมลายู คือ นาย Paul Slamet
Somoharjo
กลุ่มประเทศอินโดจีน
ซึ่งประกอบด้วยประเทศเวียดนาม, เขมร และลาว นั้น
ในดินแดนดังกล่าวในอดีตเคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรของชาวมลายู-จาม ที่มีชื่อว่าอาณาจักร
จามปา (Champa Kingdom) อาณาจักรจามปาได้ทิ้งมรดกทางอารยธรรมของชาวมลายู-จาม
ในอดีตมากมาย ชาวจามนั้นนายจิตร ภูมิศักดิ์ ได้กล่าวไว้ว่า
“จามเป็นชนชาติตระกูลชวา-มลายู ที่ตกค้างอยู่บนพื้นทวีป”
สำหรับประชากรชนชาวมลายู-จามในกลุ่มประเทศอินโดจีนมีดังต่อไปนี้
ชนชาวมลายู-จามในประเทศเวียดนาม
ชาวจามตะวันตก
122,900 คน
ชาวจามตะวันออก
80,000 คน
ชาวบาห์นาร์จาม
33,000 คน
ชนชาวมลายู-จามในประเทศเขมร
ชาวจามตะวันตก
220,000 คน
ชนชาวมลายู-จามในประเทศลาว
ชาวจาม
14,000 คน
Melayu
Raya เป็นแนวคิดของการรวมชนชาติมลายูเขาเป็นหนึ่งเดียว
นั้นคือชนชาวมลายูที่ปัจจุบันอาศัยอยู่ในประเทศมาเลเซีย, อินโดเนเซีย,
บรูไน และสิงคโปร์ เข้าเป็นประเทศเดียวกันบางครั้งคำว่า Melayu
Raya จะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Indonesia Raya แนวคิดนี้มีการเสนอขึ้นในประเทศอินโดเนเซียโดยกลุ่มผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีซูการ์โน
และพรรคการเมืองในมาเลเซีย
เช่น พรรคมลายูแห่งชาติมาลายา (KMM)
ซึ่งเป็นพรรคการเมืองก่อนการกำเนิดของพรรคอัมโน (UMNO) ที่มีผู้นำหลายคนเช่น
Ibrahim Yaakub, Dr. Burhanuddin Al-Helmi, Ahmad Boestamam, Ishak Haji
Muhammad และอื่นๆ
Tiada ulasan:
Catat Ulasan