Sabtu, 29 Jun 2024

Gurindam : Perpaduan, Goyong Royong dan Timbang Rasa - Tenas Effandy

 โดย นิอับดุบรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

ครั้งนี้ขอเสนออีกครั้ง บทกวี ที่เรียกว่า Gurindam ของนาย Tenas  Effendy หรือชื่อเต็มว่า Tengku Nasaruddin Said Effendy นักวิชการมลายูนามอุโฆษชาวจังหวัดเรียว เกาะะสุมาตรา ประเทศอินโดเนเซีย ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในโลกมลายู ผู้เขียนได้เคยเดินทางไปยังบ้านของ นาย Tenas  Effendy ที่จังหวัดเรียว นาย Tenas  Effendy เป็นนักวิชาการที่เต็มไปด้วยคำสอนปรัชญา ให้คำอธิบายถึงความหมายต่างๆของมลายู บทกวี หรือ Gurindam นี้ นำมาจากหนังสือชื่อ Tunjuk Ajar Melayu dalam Pantan, Gurindam, Seloka, Syair dan Ungkapan เขียนโดยนาย Tenas  Effendy จัดพิมพ์โดยความร่วมมือของ ผู้ปกครองจังหวัดเรียว มูลนิธิเตนัส เอฟฟันดี และสถาบันมลายูศึกษา มหาวิทยาลัยมาลายา บทกวี (Gurindam) บทนี้มีชื่อว่า Perpaduan, Goyong Royong dan Timbang Rasa


Apabila hidup dalam perpaduan

Beban yang berat menjadi ringan


Apabila hidup tolong menolong

Sakit senang sama ditanggung


Apabila hidup bertimbangrasa

Pahit dan manis sama dirasa


Apabila hidup tenggang menenggang

Kehidupan sempit terasa lapang


Apabila hidup seiya sekaya

Tentulah tercapai sebarang dicita


Apbila hidup berkasih sayang

Hidup rukun nama terbilang


Apabila hidup bersatu padu

Tentu tercapai maksud dituju


Apabila hidup seiring jalan

Tentu terhindar dari pergaduhan


Apabila hidup seiring langkah

Sebarang kerja beroleh berkah


Apabila hidup seayun tangan

Tentu terelak dari perpecahan


Apabila hidup berpadu hati

Sebarang kerja Allah rahmati


Apabila hidup hendak selamat

Kekal menjaga perpaduan umat


Apabila hidup hendak beruntung

Sebarang kerja tolong menolong


Tanda orang bertimbang rasa

Pahit dan manis sama dirasa


Apabila hidup hendak terpandang

Hidup beramai tenggang menenggang


Tanda orang yang tidak senonoh

Hidupnya selalu membuat gaduh


Tanda orang tidak semanggah

Hidupnya suka memecah belah


Apa tanda orang yang jahat

Tolong menolong tiada ingat


Apa tanda orang celaka

Tolong menolong tiada suka


Tanda perangai rusak binasa

Hidupnya tidak bertimbangrasa


Tanda orang tidak berbudi

Perasaan orang tiada peduli


Tanda hati sudah membatu

Perasaan orang tak mau tahu


Tanda hati sudah berkarat

Tolong menolong tiada ingat


Tanda orang sewenang wenang

Orang menderita dianya senang


Tenas Effandy 



Jumaat, 21 Jun 2024

นายเตาฟิก อิคราม ยามิล (Dato’ Taufik Ikram Jamil) นักเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมมลายูชาวจังหวัดเรียว อินโดเนเซีย

โดย นายนิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

ผู้เขียนได้เดินทางไปยังจังหวัดเรียว ประเทศอินโดเนเซีย หลายต่อหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการร่วมงานด้านวรรณกรรม วัฒนธรรม ที่มีเจ้าภาพจัดโดยองค์กรรัฐและเอกชนของชาวมลายูเรียว และผู้เขียนก็ได้พบปะ นายเตาฟิก อิคราม ยามิล หลายครั้ง แต่ที่ทำให้ผู้เขียนกับนายเตาฟิก อิคราม ยามิล (Dato’ Taufik Ikram Jamil) มีความใกล้ชิดขึ้นเมื่อมีการจัดงานครบรอบ 3 ปีของการที่องค์กร UNESCO ให้การยอมรับวรรณกรรมกลอนเปล่าที่เรียกว่า ปันตุน (Pantun) เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมขององค์กร UNESCO  หรือที่เรียกว่า Warisan Budaya Dunia Takbenda ซึ่งกลอนเปล่าปันตุน มีประเทศมาเลเซีย และอินโดเนเซีย เป็นเจ้าของร่วม การจัดงานนี้จัดโดยองค์กรที่ชื่อว่า Assosiasi Tradisi Lisan หรือ Tradition Oral Assiciation ของอินโดเนเซีย  สำหรับประธานองค์กรนี้ คือ Raja Yose Rizal ผู้มีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเรียว จังหวัดที่มีประชากรเกือบจะ 7 ล้านคน สำหรับนายเตาฟิก อิคราม ยามิล (Dato’ Taufik Ikram Jamil) มาในนามของประธานสภาจรีตประเพณีชาวมลายูของจังหวัดเรียว หรือ Lembaga Adat Melayu Provinsi Riau ซึ่งถือเป็นองค์กรสูงสุดทางจารีตประเพณีของชาวมลายูในจังหวัดเรียว

ผู้เขียนขอวกกลับมายังประวัติของนายเตาฟิก อิคราม ยามิล (Dato’ Taufik Ikram Jamil)  สำหรับนายเตาฟิก อิคราม ยามิล (Dato’ Taufik Ikram Jamil) เกิดเมื่อ 19 กันยายอนน 1963 เป็นนักเขียนชาวอินโดนีเซีย ชื่อของเขาเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางผ่านผลงานของเขาในรูปแบบของบทละครนวนิยายและเรื่องสั้นที่ตีพิมพ์ในสื่อมวลชนต่างๆ นายเตาฟิก อิคราม ยามิล (Dato’ Taufik Ikram Jamil) เป็นหนึ่งในผู้รับรางวัล Sagang Award ในปี 1997  สำหรับรางวัล Sagang Award ถือเป็นรางวัลระดับสูงสุดของจังหวัดเรียว ด้านศิลปะ วัฒนธรรม


Anugerah Sagang เป็นรางวัลในโลกมลายูที่มอบให้กับบุคคลหรือบุคคลที่อุทิศตนเพื่อชีวิตศิลปะผลงานที่ถือว่าเหนือกว่าคุณภาพและยิ่งใหญ่ตลอดจนความคิดที่สามารถเคลื่อนย้ายพลวัตของวัฒนธรรมมลายูในอาณาจักรหนึ่ง รางวัล Sagang มอบให้โดยมูลนิธิ Sagang ซึ่งเป็นมูลนิธิในกลุ่มหนังสือพิมพ์ Riau Pos ที่ให้การอนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมมลายู การมอบรางวัล Sagang เป็นความมุ่งมั่นของมูลนิธิ


นายเตาฟิก อิคราม ยามิล (Dato’ Taufik Ikram Jamil) เกิดที่ตะโล๊ะกือมัง  (Teluk Belitung) อำเภอเบ็งกาลิส (Bengkalis) จังหวัดเรียว เมื่อ 19 กันยายน 1963 การศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของเขา ได้รับการศึกษาเบ็งกาลิส หลังจากนั้นเขาศึกษาต่อที่คณะศึกษาศาสตร์ (Fakultas Keguruan dan Iilmu Pendidikan) มหาวิทยาลัยเรียว (Universitas Riau) สำเร็จการศึกษาในปี 1987 ในปี 1988 นอกจากงานเขียนแล้วเขายังประกอบอาชีพเป็นนักข่าวที่ หนังสือพิมพ์รายวัน Kompas ในปี 1999 นายเตาฟิก อิคราม ยามิล (Dato’ Taufik Ikram Jamil) เป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิอ่านมรดกเรียว หรือ Yayasan Membaca Pusaka Riau (Riau Heritage Reading Foundation) ซึ่งดำเนินกิจกรรมด้านศิลปะ วัฒนธรรม และสิ่งพิมพ์

สถาบันศิลปะมลายูเรียว 

ในปี 2002 เขาลาออกจากหนังสือพิมพ์รายวัน Kompas เพื่ออุทิศความคิดและความคิดสร้างสรรค์ของเขาเพื่อความก้าวหน้าของศิลปะ เขาได้ก่อตั้งและเป็นหัวหน้าสถาบันการศึกษาด้านศิลปะ  ชื่อว่า สถาบันศิลปะมลายูเรียว หรือ Akademi Kesenian Melayu Riau (AKMR) ในเมืองเปอกันบารู ซึ่งเป็นสถาบันศิลปะแห่งเดียวในเกาะสุมาตรา


สถาบันศิลปะมลายูเรียว หรือ Akademi Kesenian Melayu Riau (AKMR)

ก่อตั้งเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2002 ตั้งอยู่ในเมืองเปอกันบารู จังหวัดเรียว เปิดสอนหลักสูตรอนุปริญญา มี 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรอนุปริญญาสาขาการดนตรี หลักสูตรอนุปริญญาสาขานาฎศิลป์มลายู  และหลักสูตรอนุปริญญาสาขาการแสดง สถาบันศิลปะมลายูเรียวเดิมอยู่ภายใต้มูลนิธิ Sagang ภายหลังเพื่อความก้าวหน้าของสถาบันศิลปะมลายูเรียว ในปลายปี 2018 ทางมูลนิธิ  Sagang  ภายใต้การนำของนาย Kazzaini Ks ซึ่งเป็นเพื่อนของผู้เขียนคนหนึ่ง และเคยมาร่วมงานใน Pertemuan Penyair Nusantara VIII ซึ่งจัดขึ้นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อหลายปีก่อน  ซึ่งทำงานในหนังสือพิมพ์ Riau Pos เจ้าของมูลนิธิ Sagang และทางมูลนิธิราชาอาลีฮัจญี (Yayasan Raja Ali Haji) ซึ่งมีจังหวัดเรียวเป็นเจ้าของมูลนิธิ และมูลนิธิราชาอาลีฮัจญี เป็นเจ้าของมหาวิทยาลัยลันจังกูนิง (Universitas Lancang Kuning) มูลนิธิราชาอาลีฮัจญี มีประธานมุลนิธิชื่อ ศาสตราจารย์ ดร. อิรวัน เอฟเฟนดี (Prof. Dr. Irwan Effendy) ดังนั้นทั้งสองมูลนิธิจึงทำข้อตกลง ทำการโอนสถาบันศิลปะมลายูเรียว จาก มูลนิธิ Sagangมาเป็นของมูลนิธิราชาอาลีฮัจญี  โดยโอนหลักสูตรของสถาบันศิลปะมลายูเรียว มาเป็นส่วนหนึ่งของคณะวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยลันจังกูนิง (Universitas Lancang Kuning) นับเป็นการพัฒนาจากสถาบันศิลปะมลายูเรียว สู่การเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยลันจังกูนิง (Universitas Lancang Kuning)


งานของนายเตาฟิก อิคราม ยามิล (Dato’ Taufik Ikram Jamil) ในโลกศิลปะ มีชื่อเสียงมากขึ้นเมื่อเขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานทั่วไปของสภาศิลปัฒนธรรมจังหวัดเรียว หรือ Dewan Kesenian Riau ระหว่างปี 2002 ในโลกของวรรณกรรมนายเตาฟิก อิคราม ยามิล (Dato’ Taufik Ikram Jamil) ได้ผลิตผลงานมากมายที่ตีพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น Riau Pos, Kompas, Berita Buana, Republika, Suara Pembaruan, Kartini, Horison, Kalam และ Ulumul Qur'an บทกวีชุดแรกของเขาคือ Terkarena Haku Melayu ตามด้วยรวมเรื่องสั้น Sendiwara Hang Tuah


ผลงานของนายเตาฟิก อิคราม ยามิล (Dato’ Taufik Ikram Jamil)

Tersebab Haku Melayu Buku Sajak Penggal Pertama (1994)

Membaca Hang Jebat. (1995)

Sandiwara Hang Tuah (1996)

Negeri Bayang-bayang (1996)

Hempasan Gelombang (1999)

Dari Per­cikan Kisah

Membentuk Provinsi Riau (หนังสือประวัติศาสตร์ 2001)

Gelombang Sunyi (2001)

Hikayat Batu-Batu (2005)

Soeharto dalam Cerpen Indonesia 2001 Menagerie 4 (รวมเรื่องสั้นภาษาอังกฤษ)

Jumat Pagi Bersama Amuk


มีสิ่งหนึ่งที่น่าประทับใจ คือที่โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง คือ โรงเรียนมัธยมเฉพาะที่ชื่อว่า Sekolah Menengah Atas Binaan khusus Dumai เป็นโรงเรียนระดับนำของเมืองดูไม จังหวัดเรียว โรงเรียนแห่งนี้ มีห้องสมุดชื่อว่า ห้องสมุดเตาฟิก อิคราม ยามิล (Perpustakaan Taufik Ikram Jamil) เมื่อสำรวจดูห้องสมุดแห่งนี้ น่าที่โรงเรียน หรือสถาบันการศึกษาระดับมัธยม หรือ ห้องสมุดประชาชนอำเภอของบ้านเรา น่าจะนำมาเป็นตัวอย่าง ด้วยห้องสมุดแห่งนี้ มีระบบ OPAC ที่สามารถตรวจสอบรายชื่อหนังสือ นอกจากนั้นยังมีการจัดทำ Ebook ซึ่งผู้คนสามารถอ่านหนังสือ Ebook ได้  




Selasa, 18 Jun 2024

Gurindam : Menuntut Ilmu Pengetahuan Dari Tunjuk Ajar Melayu - Tenas Effendy

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

ครั้งนี้ขอเสนอบทกวี ที่เรียกว่า Gurindam ของนาย Tenas  Effendy นักวิชการมลายูนามอุโฆษชาวจังหวัดเรียว เกาะะสุมาตรา ประเทศอินโดเนเซีย ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในโลกมลายู บทกวี หรือ Gurindam นี้ นำมาจากหนังสือชื่อ Tunjuk Ajar Melayu dalam Pantan, Gurindam, Seloka, Syair dan Ungkapan เขียนโดยนาย Tenas  Effendy จัดพิมพ์โดยความร่วมมือของ ผู้ปกครองจังหวัดเรียว มูลนิธิเตนัส เอฟฟันดี และสถาบันมลายูศึกษา มหาวิทยาลัยมาลายา บทกวี (Gurindam) บทนี้มีชื่อว่า Menuntut Ilmu Pengetahuan


Apabila hidup hendak terpuji,

Tuntutlah ilmu sepenuh hati


Apabila hidup hendak selamat,

Tuntutlah ilmu dunia skhirat


Apa tanda orang terpandang,

Ilmunya banyak dadapun lapang


Kalau hendak dihormati orang,

Menuntut ilmu janganlah kurang


Apabila hidup hendak Berjaya

Tuntutlah ilmu sehabis daya


Apabila hidup hendak selamat

Tuntutlah ilmu dunia akhirat


Apabila hidup hendak senonoh

Tuntutlah ilmu dekat dan jauh


Apabila hidup hendak bermarwah

Menuntut ilmu janganlah lengah


Supaya hidup beroleh berkah

Tuntutlah ilmu di jalan Allah


Supaya hidup tidak terlantar

Tuntutlah ilmu secara benar


Supaya hidup tidak melarat

Tuntutlah ilmu sebelum terlambat


Supayat hidup beroleh mulia

Ilmu dituntut hendaklah diamalkan


Tenas Affendy

Jumaat, 7 Jun 2024

การสร้างแหล่งท่องเที่ยวตามแบบจังหวัดสุมาตราตะวันตก อินโดเนเซีย

โดย นายนิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

ประเทศอินโดเนเซีย จะมีวิธีการสร้างแหล่งท่องเที่ยวหลากหลายแบบ เรามาดูวิธีการของจังหวัดสุมาตราตะวันตก ประเทศอินโดเนเซียนะครับ  ผู้เขียนเอง เคยหลงประเด็นกับการสร้างราชวังปาฆารูยงของจังหวัดสุมาตราตะวันตก   เพราะเคยนึกว่า เป็นราชวังดั้งเดิมยุคโบราณของจังหวัดสุมาตราตะวันตก แต่เมื่อค้นคว้า ให้ลึกขึ้น จึงได้รู้ว่า เป็นการสร้างแบบจำลองของราชวังเดิม ที่ตั้งอยู่บนเขาลุกหนึ่ง แต่ปรากฏว่า ถูกเผาจากสงครามที่เรียกว่า สงครามนักบวช หรือ Perang Paderi ในอดีต เมื่อ 200 กว่าปีที่ผ่านมา สงครามนักบวช หรือ Perang Paderi เป็นสงครามระหว่างกลุ่มนักการศาสนาอิสลาม ที่ต้องการหลักการศาสนาอิสลามมาใช้ในดินแดนมีนังกาเบา แต่ฮอลันดา เรียกว่า นักบวช หรือ Paderi เหมือนนักบวชศาสนาคริสต์ กับกลุ่มนักจารีตประเพณี หรือ กลุ่ม Adat เป็นกลุ่มผู้นำที่ยึดถือปฏิบัติตามจารีตประเพณี และภายหลังกลุ่มนักจารีตประเพณี หรือ กลุ่ม Adat จึงขอความช่วยเหลือจากฮอลันดา จนทำให้ต่อมาฮอลันดา จึงเข้าร่วมในสงคราม และสามารถปราบกลุ่มนักการศาสนาอิสลาม จนพ่ายแพ้ไป และในสงครามนี้ ก็มีการเผาราชวังปาฆารูยง ที่ตั้งอยู่บนภูเขาลูกหนึ่งจนไหม้หมด

เรามารู้จักราชวังปาฆารูยง ในปัจจุบันกันนะครับ 

ราชวังปาฆารูยง หรือ Istano Basa Pagaruyung ถ้าในภาษาอังกฤษ ก็จะเป็นแนว Great Palace of the Pagaruyung เป็นอาคารที่ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ในรูปแบบจำลองของพระราชวังราชวังปาฆารูยงในอดีต ราชวังปาฆารูยง (จำลอง) นี้ตั้งอยู่ในตำบล (Nagari) Pagaruyung กิ่งอำเภอ (Kecamatan) Tanjung Emas อำเภอ (Kabupaten) Tanah Datar จังหวัดสุมาตราตะวันตก ระบบการปกครองของอินโดเนเซีย ไม่อาจเทียบกับระบบของไทยได้อย่างถูกต้องนัก ด้วยอินโดเนเซีย มีประชากรมากถึง 280 ล้านคน จึงมีระบบการปกครองที่แตกต่างจากไทยไปบ้าง ราชวังแห่งนี้อยู่ห่างจากเมืองบาตูซังการ์ (Batusangkar) เมืองศูนย์อำนาจของอำเภอตานะห์ดาตาร์ ประมาณ 5 กิโลเมตร ราชวังแห่งนี้สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของจังหวัดสุมาตราตะวันตก

ราชวังปาฆารูยง ซึ่งตั้งตระหง่านอยู่ในปัจจุบันนั้นแท้จริงแล้วคือแบบจำลอง หรือที่เรียกว่า Replika ของต้นฉบับราชวังปาฆารูยงดั้งเดิมตั้งอยู่บนเนินเขาบาตูปาตะห์ (Batu Patah) และถูกเผาจนหมดในปี 1804 ระหว่างสงครามปาดรี หรือสงครามระหว่างฮอลันดากับมีนังกาเบา และมีการสร้างราชวังจำลองขึ้นในบริเวณปัจจุบัน แต่ถูกไฟไหม้อีกครั้งในปี 1966


เมื่อปี 1968 ผู้ว่าราชการจังหวัดสุมาตราตะวันตกในขขณะนั้น นาย ฮารุน ซัยน์ (Harun Zain) มีแนวคิดในการสร้างราชวังปาการูอีกครั้ง เพื่อความจำเป็นในการได้รักษามรดกของชาวมีนังกาเบา


เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 1975 มีการตกลงร่วมกันให้สร้างแบบจำลองราชวังปาฆารูยัง ราชวังแห่งนี้ไม่ได้สร้างขึ้นบนพื้นที่เดิม แต่ย้ายไปทางใต้จากที่เดิม การก่อสร้างเริ่มเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 1976 และก่อสร้างเสร็จในปี  1985


ราชวังปาฆารูยง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของสุมาตราตะวันตก หลังจากสร้างเสร็จ ราชวังก็กลายเป็นที่รู้จักของสาธารณชนในฐานะสถานที่ท่องเที่ยวและพิพิธภัณฑ์

                                  ภาพราชวังปาฆารูยง ไฟไหม้


ราชวังปาฆารูยง ไฟไหม้ปี 2007

ในคืนวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2007 ราชวังปาฆารูยง ประสบเหตุเพลิงไหม้อย่างรุนแรงเนื่องจากฟ้าผ่าที่ด้านบนสุดของราชวัง ส่งผลให้อาคารสามชั้นหลังนี้ถูกไฟไหม้ เอกสารและผ้าประดับบางส่วนก็ถูกเผาเช่นกัน คาดว่ามีของมีค่าเพียงประมาณร้อยละ 15 เท่านั้นที่ไม่เสียหายจากไฟไหม้ สิ่งของที่เหลือจากการถูกไฟไหม้ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่อาคารรักษาของโบราณ สำนักงานอำเภอตานะห์ดาตาร์ (Tanah Datar) สำหรับสิ่งของมรดกของอาณาจักรปาฆรูยง ถูกเก็บไว้ที่ราชวังสลืนดงบูลัน (Istano Silinduang Bulan)  ซึ่งอยู่ห่างจากราชวังปาฆารูยง 2 กิโลเมตร


ในขณะเดียวกัน ค่าใช้จ่ายในการสร้างราชวังปาฆารูยง แห่งนี้ขึ้นใหม่คาดว่าจะมีมูลค่ามากกว่า 2 หมื่นล้านรูเปียะห์ ราชวังปาฆารูยง แห่งนี้สร้างขึ้นใหม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาหกปี และได้รับพิธีเปิดโดยประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินโดเนเซีย ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono) เมื่อเดือนตุลาคม 2013

นั้นคือประวัติความเป็นมาของราชวังปาฆารูยง ที่หลายคน ที่ไม่อาจทราบประวัติความเป็นมา จะหลงประเด็น นึกว่า เป็นราชวังเก่า ดั้งเดิม ถึงอย่างไร เราก็ต้องยอมรับถึงฝีมือในการสร้างของอินโดเนเซีย ถึงความปราณีต ทำให้เคลิ้ม นึกว่า เป็นของดั้งเดิม ซึ่งแตกต่างจากมาเลเซีย สร้างสิ่งโบราณขึ้นมาใหม่ แต่ไม่เนียนเท่าที่ควร 

                                      ภาพภายในราชวังปาฆารูยง 

Sabtu, 1 Jun 2024

สุสานสุลต่านอิสกันดาร์ มูดา แห่งอาเจะห์ อินโดเนเซีย สร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อการท่องเที่ยว

โดยนิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

เวลาเดินทางไปอินโดเนเซีย เวลามีเวลา หรือ มีเวลาอำนวยให้ผู้เขียน ผู้เขียนมักชอบไปเยี่ยมร้านหนังสือ และพิพิธภัณฑ์สถาน เพื่อเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของเมืองที่เดินทางไป แล้วถ่ายรูปเก็บไว้ แต่ครั้งหนึ่งก็ต้องแปลกใจ เมื่อถ่ายรูปศิลาจารึกแผ่นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์เมืองหนึ่ง ดันเหมือนกับศาลาจารึกแผ่นนั้นในอีกเมืองหนึ่ง ถามความ ก็ได้ทราบว่า มีการสร้งขึ้นใหม่ เลียนแบบของจริงจากเมืองที่เคยไป แถมยังไม่มีการเขียนว่า Replika หรือ แบบจำลอง น่าจะสร้างความเข้าใจผิดให้กับคนอีกหลายๆคนมาแล้ว ครั้งนี้ขอเล่าถึง สุสานสุลต่านอิสกันดาร์ มูดา แห่งรัฐอาเจะห์อินโดเนเซีย ที่สร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อการท่องเที่ยว แต่ก่อนอื่น ขอกล่าวถึง ประวัติของสุลต่านอิสกันดาร์ มูดา แห่งรัฐอาเจะห์

ภาพวาดสุลต่านอิสกันดาร์ มูดา

สุลต่านอิสกันดาร์ มูดา (1590 หรือ 1593– 27 ธันวาคม 1636) เป็นสุลต่านองค์ที่ 12 แห่งรัฐอาเจะห์ดารุสสาลาม ซึ่งสุลต่านสุลต่านอิสกันดาร์ มูดา ถือเป็นวีรบุรุษของคนอาเจะห์ เป็นสุลต่านที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของรัฐอาเจะห์ โดยสุลต่านอิสกันดาร์ มูดา เป็นผู้ที่มีอิทธิพลในฐานะสุลต่านมีอำนาจที่แข็งแกร่งที่สุดและรัฐอาเจะห์ เป็นรัฐที่ร่ำรวยแห่งหนึ่งในหมู่เกาะอินโดเนเซีย  ในระหว่างสมัยของสุลต่านอิสกันดาร์ มูดา รัฐอาเจะห์ยังเป็นที่รู้จักในฐานะศูนย์กลางการเรียนรู้และการค้าอิสลามในระดับนานาชาติ สุลต่านอิสกันดาร์ มูดา เป็นสุลต่านแห่งรัฐอาเจะห์คนสุดท้ายซึ่งเป็นทายาทสายตรงของสุลต่านอาลี มูฮายัต ชาห์ ผู้ก่อตั้งรัฐอาเจะห์ การเสียชีวิตของสุลต่านอิสกันดาร์ มูดา หมายความว่าราชวงศ์ที่สถาปนารัฐอาเจะห์ ราชวงศ์มือกูตา อาลัม สิ้นลง และถูกแทนที่ด้วยราชวงศ์อื่น


ชีวิตในวัยเด็ก

สุลต่านอิสกันดาร์ มูดา เกิดประมาณปี 1590 หรือ 1593 บิดาของสุลต่านอิสกันดาร์ มูดา คือสุลต่านมันซูร์ ชาห์ ผู้เป็นบุตรชายของสุลต่านอับดุลยาลิล มารดาของสุลต่านอิสกันดาร์ มูดา คือ ปุตรี ราชา อินทราราบังซา (Putri Raja Indra Bangsa) เป็นธิดาของสุลต่านอาลาอุดดิน รีอายาต ชาห์ สัยยิด อัล-มูกัมมาล ดังนั้น สุลต่านอิสกันดาร์ มูดา จึงถือว่า เป็นสายเลือดรวมของสองสาขาของราชวงศ์สุลต่านอาเจะห์เข้าด้วยกันผ่านทางบิดาและทางมารดาของสุลต่านอิสกันดาร์ มูดา

ในระยะเวลา 30 ปีของการปกครองรัฐอาเจะห์ของสุลต่านอิสกันดาร์ มูดา ได้นำรัฐอาเเจะห์ดารุสสาลามไปสู่ความรุ่งโรจน์ ในเวลานั้น รัฐอาเจะห์ได้กลายเป็นรัฐมุสลิมที่มีอำนาจ และขยายอำนาจจนถึงฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู และในด้านเศรษฐกิจแล้ว รัฐอาเจะห์ดารุสสาลามก็มีความสัมพันธ์ทางการค้าและการทูตที่ดีในระดับนานาชาติ


เมื่อวันที่ 14 กันยายน 1993 รัฐบาลสาธารณรัฐอินโดเนเซียได้มอบตำแหน่งวีรบุรุษแห่งชาติ (Pahlawan) ให้แก่สุลต่านอิสกันดาร์ มูดา


มีการนำชื่อสุลต่านอิสกันดาร์ มูดา มาเป็นชื่อสถานที่ต่างๆ เช่น

สนามบินนานาชาติสุลต่านอิสกันดาร์ มูดา

กองบัญชาการทหารอิสกันดาร์ มูดา (รับผิดชอบจังหวัดอาเจะห์ดารุสสาลาม)

มหาวิทยาลัยอิสกันดาร์ มูดา

บริษัทรัฐวิสาหกิจอิสกันดาร์ มูดา

เรือรบอิสกันดาร์ มูดา (กองทัพเรือ)

สวนสาธารณะอิสกันดาร์ มูดา

สถาบันการศึกษาสุลต่านอิสกันดาร์ มูดา (เมืองเมดาน จังหวัดสุมาตราเหนือ)

ชื่อถนน

อื่นๆ

ครั้งหนึ่งผู้เขียนได้เดินทางไปยังอาเจะห์ ด้วยต้องการข้อมูลเกี่ยวกับอาเจะห์ จึงเดินทางไปยังสำนักงานศูนย์ข้อมูลลเกี่ยวกับอาเจะห์ ที่มีชื่อว่า Pusat Dokumentasi dan Informasi Aceh หรือ PDIA เป็นศูนย์อิสระที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างจังหวัดอาเจะห์กับมหาวิทยาลัยซียะห์กัวลา (Universitas Syiah Kuala) ศูนย์นี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 1977 และเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 1978 โดยศาสตราจารย์ ดร. อิบราฮิม ฮาซัน (Prof. Dr. Ibrahim Hasan) อธิการบดีของมหาวิทยาลัยซียะห์กัวลา (Universitas Syiah Kuala) และมหาวิทยาลัย Syiah Kuala University และนายอับดุลลอฮ มูซักกีร์ วาลัด (Abdullah Muzakkir Walad) ว่าราชการจังหวัดเขตปกครองพิเศษอาเจะห์ โดยศูนย์มีหน้าที่รวบรวมสิ่งพิมพ์ทุกรูปแบบทั้งในรูปแบบหนังสือ ต้นฉบับ โฉนด บทความ จุลสาร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาเจะห์และเผยแพร่ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2004 ได้เกิดขึ้นภัยพิบัติสึนามิขึ้น ส่งผลให้ทั้งหมดที่ศูนย์สะสมรวบรวมสูญหายไป ป หลังจากนั้นทุกอย่างก็เริ่มต้นจากศูนย์อีกครั้ง สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้น คือเพื่อนของผู้เขียน นายสุไลมาน ดาวุด ซึ่งทำงานที่ศูนย์แห่งนี้ด้วย ได้เสียชีวิตจากภัยพิบัติสึนามิ  นายสุไลมาน ดาวุด ยังทำหน้าที่เป็นผู้ประสานระหว่างในส่วนหน่วยงานของอาเจะห์กับสมาพันธ์นักเขียนแห่งชาติมาเลเซีย (Persatuan Penulis Nasional Malaysia - GAPENA)  เมื่อผู้เขียนได้เดินทางไปยังศูนย์ดังกล่าว ก็ได้รับการต้อนรับจากเจ้าหน้าที่สตรีคนหนึ่ง ยิ่งเมื่อรู้ว่า เป็นเพื่อนเก่าของนายสุไลมาน ดาวุด และเดินทางไกลมาจากประเทศไทย เจ้าหน้าที่สตรีคนนั้น จึงพาไปยังสุสานสุลต่านอิสกันดาร์ มูดา เมื่อถ่ายรูปเรียบร้อย เจ้าหน้าที่สตรีคนนั้นได้กระซิบบ่อยๆว่า สุสานสุลต่านอิสกันดาร์ มูดา ไม่ใช่ของแท้นะ ซึ่งหมายถึงของสุสานจำลอง หรือ Replika แล้วถามกลับว่า แล้วสุสานแท้อยู่ที่ไหน ก็ได้รับคำตอบว่า สมัยสุลต่านอิสกันดาร์ มูดา มันก็ 400 ปีมาแล้ว ก็ไม่รู้ว่าสุสานแท้อยู่ที่ไหน ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งของอินโดเนเซียในการสร้างแหล่งท่องเที่ยว  ถ้าไม่บอกว่า เป็นเพื่อนเก่าของนายสุไลมาน ดาวุด น่าจะไม่ได้คำบอกเล่าเกี่ยวกับสุสานสุลต่านอิสกันดาร์ มูดา

                          ประมวลภาพสุสานสุลต่านอิสกันดาร์ มูดา